Praepattra
ผู้ช่วยศาตราจารย์ Praepattra Kiaochaoum

การปฏิวัติสังคมโดยธรรม...ของมหาชน...ตามวิถีพุทธ


เจริญพรสาธุชนผู้มีความศรัทธาต่อพระพุทธศาสนา
ในห้วงเวลาที่สังคมไทยขับเคลื่อนมาถึงจุดสำคัญแห่งการเปลี่ยนแปลง
ด้วยการตื่นตัว... ตื่นรู้... ตื่นทำ ของมหา ชนเจ้าของประเทศ
จำเป็นอย่างยิ่งที่จะต้องมี บุคคล/องค์กร
ที่มีสรรพกำลังพร้อมในทุกด้านเข้ามาช่วยเหลือ เพื่อช่วยกัน หาทางออก
บอกทางถูก... ชี้จุดหมายที่เหมาะควรโดยธรรม ให้กับ มหาชน หรือสังคมไทย...

...เป็นเรื่องจำเป็นอย่างยิ่งในห้วงวิกฤตการณ์ของ อาณาจักรไทย ที่ชาว
พุทธ (อันหมายถึงพุทธบริษัททุกฝ่าย) ต้องช่วยกัน แม้ว่า
พระพุทธศาสนาไม่ใช่การเมือง... แต่พระพุทธศาสนา
มีหลักธรรมคำสั่งสอนอันเป็น จริยศาสตร์-จริยธรรม
สำหรับนำไปเป็นหลักการในการบริหารจัดการให้สังคมเคลื่อนไหว ปฏิรูป...
ปฏิวัติสังคม ไปในทิศทางเพื่อ ประโยชน์โดยธรรม... ที่สามารถให้ความ
ยุติธรรมกับมหาชนได้อย่างเสมอกันถ้วนหน้า...
โดยเฉพาะการนำหลักพระธรรมคำสั่งสอนในพระพุทธศาสนาไปปรับใช้
กำกับระบบการเมืองให้เป็นระบบที่มีคุณธรรม...

ก่อนอื่น พึงเข้าใจว่าเราทุกคนที่ปวารณาตนเป็น พุทธบริษัท
ย่อมปรารถนาการเข้าถึงประโยชน์ในพระ พุทธศาสนา หมายถึง
เพื่อมีสิทธิในฐานะเป็นสมาชิกในศาสนจักรนี้
ที่จะต้องถือปฏิบัติตามหน้าที่ของชาวพุทธ
เพื่อจะได้เข้าถึงสิทธิประโยชน์นั้น โดยต้องศึกษาหลักธรรมให้เข้าใจ
เพื่อนำไปปฏิบัติ เมื่อปฏิบัติได้ผลแล้วต้องมีความกรุณาต่อผู้อื่น
โดยการแนะนำสั่งสอนกันต่อๆ ไป และเมื่อมีเหตุการณ์ร้ายแรง เกิดขึ้น...
จะได้ช่วยกันแก้ไข... ซึ่งจะต้องยึด หลักการณวสิกตา คือ
ต้องรู้ว่าอะไรควรทำ อะไรไม่ควรทำ มีปัญญาไตร่ตรอง...
รู้จักพิจารณาโดยแยบคาย

จากที่กล่าวมาจะเห็นได้ว่า พุทธศาสนามอบหมายหน้าที่ให้ชาวพุทธ ตื่นรู้...
ตื่นตัว... ตื่นทำ นั้นหมายถึง รู้ในฐานะบทบาทอันควร...
ทำตัวเองให้ถึงพร้อม เพื่อการปฏิบัติที่ชอบโดยธรรม...
ซึ่งมุ่งไปสู่ความสงบ!!

...เมื่อวิกฤตการณ์ของสังคมเกิดขึ้น ชาวพุทธจะต้องรู้จัก ตื่นรู้-ตื่นตัว
ขึ้นมา เพื่อพร้อมในการช่วยกันกระทำอย่างมี ปัญญา รู้พินิจใคร่ครวญ
เพื่อนำพากันไปสู่ทิศทางที่เป็นประโยชน์ ให้ สังคมมีความสงบ
และความสงบในสัง คมจะเกิดขึ้นได้นั้น สมาชิกในสังคมจะต้องรู้จักปรับ
ทัศนคติและบทบาท ให้มีความยืดหยุ่นต่อกัน รู้จักการรับฟังซึ่งกันและกัน
ไม่ทำเรื่องเล็กให้เป็นเรื่องใหญ่ จึงต้องแก้ไขปัญหาโดยแยบคาย
เพื่อไม่ให้เรื่องราวลุกลามใหญ่โตจนยาก ที่จะแก้
ต้องคำนึงถึงการทำอย่างไรที่มุ่งไปสู่ความสงบ...
โดยต้องยึดเหตุผลที่มุ่งไปสู่ประโยชน์ส่วนรวมเป็นหลัก...
ไม่ใช่ชอบอ้างเหตุผลอย่างเดียว แต่ต้องถือปฏิบัติอย่างมีเหตุผล...

การช่วยกัน ปรับทัศนคติเชิงบวก ให้กับสมาชิกในสังคม
เป็นงานสร้างสรรค์ทางจิตวิญญาณที่ยิ่งใหญ่ ซึ่งจะต้องช่วยกันสร้าง
พลังน้ำใจ ขึ้นในสังคม ด้วยการ ผูกมิตรคิดช่วยเหลือกัน
ไม่ใช่การผลักไสไล่ส่งทำร้ายทำลายกัน จนเป็นศัตรูกัน

การผูกมิตรกับบุคคล... การช่วยเหลือกันด้วย หลักการสงเคราะห์
จะนำไปสู่การทำให้เกิดความรักใคร่นับถือ ร่วมมือร่วมใจ กันในสังคม
ประเทศชาติ... นักบริหารจัดการที่ดีในวิถีพุทธจึงต้องรู้จักสร้างพลังน้ำใจให้เกิดขึ้นในองค์กร
โดยการใช้หลักมนุษยสัมพันธ์เป็นพลังในการบริหารจัดการ
เพื่อการนำสังคมให้ก้าวพ้นวิกฤตการณ์ความขัดแย้งไปสู่ความสงบสุข
ซึ่งนับว่าเป็นงานที่ยิ่งใหญ่
เป็นบุญกุศลอันเป็นเลิศประเสริฐยิ่งต่อการได้กระทำ...
สมดังพระพุทธดำรัสที่ว่า

เอโส หิ อุตฺตริตโร ภาราวโห ธุรนฺธโร

โย ปเรสาธิปนฺนานํ สยํ สนฺธาตุมรหติ

แปลความว่า เมื่อใด ผู้คนเหล่าอื่นขัดแย้งกันอยู่ ตน
เองเป็นผู้ประสานให้พวกเขาคืนดีกัน ผู้นั้นเป็นผู้รับภาระและ
จัดการธุระที่ยอดเยี่ยม

ในห้วงเวลาแห่งวิกฤตการณ์ของสังคมที่ปรากฏสืบเนื่องมาจนถึงปัจจุบัน...
ชาวไทยมีความทุกข์ใจกันถ้วนหน้า มีความหวาดระแวง วิตกกังวล
และมีความหวาดกลัวสูงขึ้น ด้วยการเคลื่อนไหวของบางหมู่ชน
เพื่อทำลายโครงสร้างพื้นฐานความสงบสุขของสังคมในทุกรูปแบบ... สถาบันชาติ
ศาสนา และพระมหากษัตริย์ ได้ถูกกัดกร่อนด้วยพลังทำ
ลายที่เกิดจากจิตใจที่ไร้คุณธรรมของบุคคลบางกลุ่ม บางคณะในสังคม...
จนนำไปสู่ความเกินกำลังที่จะรับได้กับอำ นาจทำลายสังคม ที่อาศัยเงื่อนไข
กฎระเบียบในสังคมที่ถูกจัดสร้างขึ้น
ประกาศเป็นกฎหมายใช้กำกับพฤติกรรมของบุคคลในสังคม

การคิดปฏิวัติสังคมจึงเกิดขึ้น
เพื่อนำพาประเทศชาติออกไปจากระบบอำนาจดังกล่าว ที่คนในสังคมเชื่อว่า...
สิ่งนั้นคือภัยร้ายของสังคมที่ทำให้มหาชนไร้ความสงบสุข...
บ้านเมืองเสียหาย...
กระบวนการปฏิวัติสังคมจึงก่อตัวเกิดขึ้นในจิตวิญญาณของบุคคลที่มีความ
ตื่นรู้...

การคิดอ่านแก้ไขปัญหาในทุกรูปแบบจึงเกิดขึ้นมาอย่าง ต่อเนื่อง
และเมื่อไม่สามารถใช้วิธีการในรูปแบบเพื่อแก้ไขปัญหา วิกฤตการณ์ได้...
จึงมีการคิดอ่านหาทางออกให้กับสังคมในรูป แบบอื่นๆ
เพื่อแก้ไขวิกฤตการณ์จาก ระบบอำนาจ ที่ใช้เงื่อน ไขในรูปแบบ...
การคิดหาวิธีการปฏิวัติสังคมโดยธรรมจึงเกิดขึ้น...

หากกล่าวถึง การปฏิวัติสังคมนั้น ไม่ได้เป็นเรื่องที่แปลก ใน
วิถีพุทธศาสนา... หากว่าการกระทำนั้นชอบโดยธรรม... ถูกต้องตรงธรรม...
เพื่อประโยชน์โดยธรรม ซึ่งเกิดขึ้นจากการกระทำของผู้มีจิตสำนึกในทางที่ดี
หมายถึง มีอัตตสัมมาปณิธิ (การตั้งตนไว้ชอบ)...
กล่าวให้เข้าใจตรงกันได้ว่า การมีจิตคือความนึกคิดที่ดี... ซึ่ง
ความคิดดีจะนำไปสู่การกระทำที่ดี... สู่เส้นทางที่ถูกต้องตรงธรรม...
ด้วยการยึดหลักความเชื่อตามเหตุผลที่ว่า... ชะตาชีวิต... วิกฤตการณ์ต่างๆ
ในสังคม สามารถเปลี่ยนแปลงได้ด้วยการกระ ทำความดีของมวลมหาชนในสังคม
นั้นๆ...

ที่สำคัญของ การกระทำความดี นั้น จะต้องเข้าใจในความดีแท้ ที่ไม่เป็นโทษ
เพื่อจะได้นำไปสู่การสร้างความดี
และให้พิจารณาว่าความดีนั้นเพื่อประโยชน์แก่ตน... หรือผู้อื่น
เป็นความดีที่บริสุทธิ์ใจ... หรือไม่ ...สิ่งที่ต้องระวังคือ
ความดีที่กระทำนั้นได้ ทำถูกหรือทำผิด... เป็นความดีที่
มีความยุติธรรมหรือไม่ยุติธรรม นี่สำคัญที่ สุด!!

ประการสำคัญ การปลูกสร้างอุดม
การณ์ให้จิตวิญญาณธำรงไว้ซึ่งความเป็นธรรมนั้น
เป็นหัวใจของการปฏิวัติสังคมที่จะนำไปสู่สันติสุขโดยธรรม...
การธำรงไว้ซึ่งความเป็นธรรมนั้น เรียกว่า การอนุวัติตามธรรม
หรือธัมมานุวัติ เป็น ธรรมาธิปไตย โดยถือหลักสำคัญของความมี
ธรรมเป็นใหญ่...

การปฏิวัติสังคมโดยธรรมย่อมทำได้เสมอในทุกกาลสมัย
เพื่อความเป็นอยู่ที่ชอบธรรม หากติดขัดในกฎ หมาย ก็แก้ไขได้ด้วยกฎสังคม
หากติดขัดทั้งกฎหมาย กฎจารีตประเพณี (สังคม) ก็แก้ไขด้วยกฎศีลธรรม...
แม้ติดขัดที่ศีล ก็ยังแก้ได้ด้วยกฎธรรม (ธรรมนิยาม) โดยสรุป
การคิดเพื่อปฏิวัติ... ปฏิรูป หรืออภิวัฒน์ สังคมโดยธรรมนั้น
จะต้องมีธรรมเป็นธง หมายถึง ที่สุดต้อง ธำรงซึ่งความเป็นธรรม
ดังคำกล่าวที่ว่า ธรรมาภิวัฒน์... อนุวัติตามธรรม และการจะ
อนุวัติตามธรรมได้นั้น ต้องถือหลัก พุทธานุมัต
จึงจะมุ่งตรงไปสู่ความสงบสุขโดยธรรมตามพุทธศาสนาอย่างแท้จริง...

เจริญพร
 

 
การปฏิวัติสังคมโดยธรรม...ของมหาชน...ตามวิถีพุทธ


หนังสือพิมพ์ไทยโพสต์ -- ศุกร์ที่ 13 ธันวาคม 2556

โดย.. พระ อ.อารยวังโส

[email protected]
หมายเลขบันทึก: 556723เขียนเมื่อ 18 ธันวาคม 2013 10:54 น. ()แก้ไขเมื่อ 18 ธันวาคม 2013 10:54 น. ()สัญญาอนุญาต: ครีเอทีฟคอมมอนส์แบบ แสดงที่มา-ไม่ใช้เพื่อการค้า-ไม่ดัดแปลงจำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (1)

หากพุทธะ สามารถรับ ในสันติธรรม กันได้ ประเทศชาติ อาจจะไม่ตกต่ำ แตกแยกกันขนาดนี้

แล้วสันติธรรม อยู่ที่ใดเล่า ค้นหาเถิด อิถิบาท4 อินทรีย์5 มีให้ไว้แล้วผู้อ้างตนเป็นผู้เบิกบาน(คนเดียว) คนอื่นอาจจะมิได้เบิกบานด้วยนะ

พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท