รูปแบบการสอนของ ดิคและคาเรย์ (Dick and Carey)


รูปแบบการสอนของ  ดิคและคาเรย์ (Dick and Carey) 

 

          ดิคและคาเรย์ (Dick and Carey) ได้เสนอรูปแบบระบบการสอน สรุปรวมได้ 3 องค์ประกอบคือ 

1. กำหนดผล (จุดมุ่งหมาย) ของการสอน 
2. การพัฒนาการสอน 
3. การประเมินการเรียนการสอน


จากองค์ประกอบหลักทั้ง 3 ประการนี้ ดิคและคาเรย์ ได้แบ่งกิจกรรมการจัดระบบการสอนออกเป็น 10 ขั้นดังนี้

1. การกำหนดความมุ่งหมายการสอน (identify instructional goals)
 เป็นการกำหนดความมุ่งหมายการสอนซึ่งต้องพัฒนาให้สอดคล้องกับความมุ่งหมายทางการศึกษา จากนั้นก็ทำการวิเคราะห์ความจำเป็น (need analysis) และวิเคราะห์ผู้เรียน 

2. การวิเคราะห์การสอน (conduct instructional analysis)
 ขั้นตอนนี้อาจทำก่อนหรือหลังขั้นที่ 3 หรืออาจจะทำไปพร้อม ๆ กันก็ได้ การวิเคราะห์การสอนเป็นการวิเคราะห์ภารกิจ หรือวิเคราะห์ขั้นตอนการดำเนินการสอน ในเรื่องนี้ กาเย่ (Gagne. 1985) ได้เสนอแนะว่าการวิเคราะห์การสอนอีกลักษณะหนึ่งก็คือ information-processing analysis ตามแนวคิดของกาเย่นั้นเอง ผลการวิเคราะห์การสอนที่ได้ จะเป็นการจัดหมวดหมู่ของภารกิจ (task classification) ตามลักษณะของจุดมุ่งหมายการสอน 

3. ศึกษาพฤติกรรมเบื้องต้นและคุณลักษณะของผู้เรียน (identify entry behaviors and characteristics)
 

4. เขียนจุดมุ่งหมายการเรียน (write performance objectives)
 ซึ่งเป็นจุดมุ่งหมายเฉพาะ หรือจุดมุ่งหมายเชิงพฤติกรรมและสอดคล้องกับความมุ่งหมายการสอน จุดมุ่งหมายการเรียน 

5. สร้างแบบทดสอบอิงเกณฑ์ (develop criterion referenced test)
 เพื่อประเมินการเรียนการสอน 

6. พัฒนายุทธศาสตร์การสอน (develop instructional strategy)
 เป็นแผนการสอน หรือเหตุการณ์การสอนที่จะช่วยให้ผู้เรียนสามารถเรียนรู้ได้อย่างมีประสิทธิภาพ ตามจุดมุ่งหมายของการสอน 

7. เลือกและพัฒนาวัสดุการเรียนการสอน (develop and select instructional materials)
 เป็นการเลือกและพัฒนาสื่อการสอนทั้งสื่อสิ่งพิมพ์และสื่อโสตทัศน์ 

8. ออกแบบและจัดการประเมินระหว่างเรียน (design and conduct summative evaluation)
 

9. ออกแบบและจัดการประเมินหลังเรียน (design and conduct summative evaluation)
 

10.แก้ไขปรับปรุงการสอน (revise instruction)
 เป็นขั้นการแก้ไขและปรับปรุงการสอน นับตั้งแต่ขั้นที่ 2 จนถึงขั้นที่ 8

หมายเลขบันทึก: 561218เขียนเมื่อ 8 กุมภาพันธ์ 2014 09:50 น. ()แก้ไขเมื่อ 8 กุมภาพันธ์ 2014 09:50 น. ()สัญญาอนุญาต: ครีเอทีฟคอมมอนส์แบบ แสดงที่มา-ไม่ใช้เพื่อการค้า-ไม่ดัดแปลงจำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (1)

มีขั้นตอนที่น่าสนใจครับ ปรับใช้กับ วงจร PDCA ก็ได้เช่นกันครับ

plan> do> check> act cycle นิยมนำมาใช้กับทุกการงานที่ต้องการการพัฒนา

หรือในการพัฒนาศึกษา OLE triple steps

  1. objective
  2. learning experience
  3. Evaluation
พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท