บทบาทครู เพื่อส่งเสริมให้นักเรียนคิด


การออกคำสั่งเป็นการถืออำนาจ ต้องปฏิวัติตัวเองด้วยการไม่ออกคำสั่ง หรือถ้าจำเป็นจะต้องใช้จริงๆ ควรใช้ในยามที่อับจนปัญญาหรือหมดหนทางอื่นๆแล้วเท่านั้น(ฮา) การไม่ออกคำสั่งจะนำไปสู่การปรึกษาหารือ การหารือจะนำไปสู่การร่วมคิด ถ้าครูทำได้อย่างนี้ นักเรียนจะได้คิดอย่างเต็มกำลังความสามารถแน่นอน

นักเรียนคิดไม่เป็นคิดไม่ได้ ถ้าตามมาตรฐานสมศ.ก็คือ นักเรียนไม่สามารถคิดวิเคราะห์ คิดสังเคราะห์ หรือคิดอย่างมีวิจารณญาณ จัดเป็นตัวบ่งชี้ถึงปัญหาการจัดการศึกษาของบ้านเราได้อย่างชัดเจนในรอบการประเมินหลายปีมานี้

สาเหตุคงหลากหลาย เริ่มตั้งแต่วัฒนธรรมไทย ที่มักไม่ให้โอกาสผู้อาวุโสน้อยคิดมากนัก จึงเกิดประโยคเดินตามหลังผู้ใหญ่หมาไม่กัด หรืออาจจะกลายเป็นคนก้าวร้าว ไม่รู้จักที่ต่ำที่สูง ขาดความเจริญก้าวหน้าเอาได้ง่ายๆ หากยังฝืนคิดแปลกแตกต่างไปจากกรอบกติกาหรือค่านิยมของคนส่วนใหญ่ ณ ที่นี้จะขอกล่าวถึงเฉพาะบทบาทของครูต่อการณ์นี้ ซึ่งน่าจะเป็นสาเหตุสำคัญอย่างหนึ่งในความคิดไม่เป็นหรือคิดไม่ได้ของนักเรียนตามทัศนะผู้เขียน

เพื่อเปิดโอกาส“คิด”ให้กับลูกศิษย์หรือนักเรียนที่เรารับผิดชอบจัดการเรียนรู้ให้ ครูควรปฏิบัติ ดังต่อไปนี้

1. ครูต้องไม่ใช้อำนาจหรือใช้อำนาจให้น้อยที่สุด

ไม่ว่ากิจกรรมใดๆ โดยเฉพาะการเรียนรู้ของนักเรียนในห้องเรียน ครูต้องใช้อำนาจให้น้อยที่สุด และถ้าไม่ใช้อำนาจเลยจะดีที่สุด การออกคำสั่งเป็นการถืออำนาจ ต้องปฏิวัติตัวเองด้วยการไม่ออกคำสั่ง หรือถ้าจำเป็นจะต้องใช้จริงๆ ควรใช้ในยามที่อับจนปัญญาหรือหมดหนทางอื่นๆแล้วเท่านั้น(ฮา) การไม่ออกคำสั่งจะนำไปสู่การปรึกษาหารือ การหารือจะนำไปสู่การร่วมคิด ถ้าครูทำได้อย่างนี้ นักเรียนจะได้คิดอย่างเต็มกำลังความสามารถแน่นอน

ครูควรเห็นว่าศิษย์เป็นเพื่อนหรือเป็นผู้ใหญ่เท่าๆเราคนหนึ่ง ศักดิ์ศรีและสิทธิในความเป็นคนมิได้น้อยไปกว่าเราเลย เครื่องมือที่จะนำมาใช้ในการพูดคุยหรือร่วมกันคิด ต้องเป็นเหตุผลที่ดีที่สุด อยู่ในร่องในรอยของศีลธรรมจรรยา สองประการนี้ต้องถือเป็นเรื่องใหญ่ หมายถึงต้องใหญ่กว่าอำนาจที่ครูเคยมี

2. ครูต้องยั่วยุให้นักเรียนถกเถียง ไม่ใช่ห้าม

นอกจากไม่ห้ามแล้ว ครูต้องยั่วยุให้นักเรียนถกเถียง การเถียงด้วยเหตุและผลอยู่บนพื้นฐานของศีลธรรมตามที่กล่าวมาแล้ว ฝึกให้นักเรียนคิดได้อย่างวิเศษที่สุด ขณะเดียวกันครูต้องฟังความคิดเขาอย่างตั้งอกตั้งใจ พร้อมจับประเด็นให้ดีว่าเขาต้องการสื่ออะไร ความในใจเขามีสิ่งใดค้างคาอยู่ ปมปัญหาทั้งที่บ้านและที่โรงเรียนอาจได้เป็นของแถมให้ครูรู้จักลูกศิษย์ตัวเองมากขึ้นด้วย เพียงเปิดโอกาสหรือยั่วยุให้เขาพูดและตั้งใจฟังเขา

ครูต้องดีใจและภูมิใจที่นักเรียนกล้าเถียงเรา แค่ทำให้เขากล้าเถียงได้ก็เปิดโลกใบใหม่ ซึ่งใหญ่และเป็นโลกจริงให้เขาแล้ว ครูกระทำเยี่ยงนั้นได้จะยิ่งใหญ่มากในบทบาทหน้าที่ ยิ่งทำให้เขาเถียงด้วยเหตุและผลอยู่บนศีลธรรมหรือคุณธรรมจริยธรรมได้ด้วยแล้ว ต้องนับเป็นเกียรติประวัติอย่างสูงของคนที่มีอาชีพครู ครูมืออาชีพ ครูเพื่อศิษย์ น่าจะวัดกันตรงนี้ยิ่งกว่าสิ่งอื่นใด

3. ครูต้องอดทนรอ ไม่รีบบอกคำตอบ หรือด่วนแสดงความคิดตัวเอง จนกว่าจะแน่ใจว่านักเรียนแสดงความคิดเขาออกมาทั้งหมดแล้ว

ครูมักติดเล่าหรืออธิบายให้เข้าใจ จนบางคราวไม่เปิดโอกาสให้นักเรียนคิดโดยไม่ได้ตั้งใจ ไม่ต้องรีบร้อน อย่าไปกลัวแต่จะสอนไม่ทันตามหลักสูตร ไม่ทันจริงๆต้องช่างหัวมันบ้าง เพื่อแลกให้ลูกศิษย์เราคิดได้คิดเป็น และถ้าเขาคิดได้คิดเป็น การค้นคว้าหาความรู้ในโลกยุคปัจจุบันไม่ใช่เรื่องยากแล้ว โดยเฉพาะอย่างยิ่งในโลกไร้พรมแดน ซึ่งมีความรู้ให้ค้นคว้าศึกษามากมาย อาจมากเกินจนต้องเรียนรู้ที่จะคัดกรองความรู้เหล่านั้นด้วยซ้ำไป

ฉะนั้นครูต้องใจเย็น อดทนและรอคอย ยั่วยุและฟังนักเรียนคิดให้เสร็จสรรพเสียก่อน หากรอไม่ได้ เกรงแต่จะเสียเวลา ก็จะเข้าอีหรอบเดิม คือครูบรรยายให้ฟังลูกเดียว เด็กๆก็ได้แต่นั่งอ้าปากหวอ ฟังครูเพลิน โดยมิได้ลงทุนลงแรงค้นหาคำตอบหรือคิดด้วยตัวเองอีกนั่นเอง

จะว่าไปทั้งสองสามประเด็นที่กล่าวมา ล้วนเป็นเรื่องที่ครูถือตนว่ามีอำนาจเหนือกว่า รู้กว่า หรืออาวุโสกว่าทั้งสิ้น ครูจึงเป็นได้แค่คนทั่วๆไป ซึ่งมักคิดกันอย่างนี้ แต่ด้วยบทบาทหน้าที่ของครูแล้ว ครูต้องฉุกคิดให้ได้มากกว่า

วิกฤตนักเรียนคิดไม่เป็นคิดไม่ได้ แม้สาเหตุจะมีอย่างหลากหลาย อาจโทษนั่นโทษนี่ โทษสังคม หรือโทษสภาพแวดล้อมก็คงถูกทั้งนั้น แต่สาเหตุอย่างหนึ่งแน่นอนคือครูเราใช่หรือไม่?

แถมไม่อาจปฏิเสธการปรับปรุงแก้ไขได้เลย เพราะเป็นงานของเรา เป็นหน้าที่ของครู

(พิมพ์ในมติชนรายวัน , 20 เมษายน 2557)

หมายเลขบันทึก: 561357เขียนเมื่อ 10 กุมภาพันธ์ 2014 22:29 น. ()แก้ไขเมื่อ 20 เมษายน 2014 23:14 น. ()สัญญาอนุญาต: ครีเอทีฟคอมมอนส์แบบ แสดงที่มา-ไม่ใช้เพื่อการค้า-ไม่ดัดแปลงจำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (19)

ขออนุญาตนำไปเผยแพร่นะครับ ขอบคุณครับ

1.ครูต้องไม่ใช้อำนาจหรือใช้อำนาจให้น้อยที่สุด

2. ครูต้องยั่วยุให้นักเรียนถกเถียง ไม่ใช่ห้าม

3. ครูต้องอดทนรอ ไม่รีบบอกคำตอบ หรือด่วนแสดงความคิดตัวเอง จนกว่าจะแน่ใจว่านักเรียนแสดงความคิดเขาออกมาทั้งหมดแล้ว


เป็นแนวทางปฎิบัติที่ดีมากๆ เลยนะคะ .... ไม่ใช้อำนาจ...ดีจังเลยค่ะ ... ไม่เช่นนั้นจะไป Blog ideas ของเด็กๆ นะคะ ... ทำให้เขาไม่กล้าคิด ..ไม่กล้าที่จะฝัน นะคะ

ขอบคุณบทความดีดีนี้ค่ะ

ครูต้องอดทนรอ ไม่รีบบอกคำตอบ หรือด่วนแสดงความคิดตัวเอง

จริงด้วยเป็นที่สุด

นักเรียนคิดยากเพราะเล็ก ถ้าโตคงคิดได้ถึงจะเอาบ้าบเมืองเสียหาย ควรช่วยกันปฏิรูปให้คู่ควร

อ.ธนิตย์ ครับ

ขออนุญาตแลกเปลี่ยนมุมมองครับ จากประสบการณ์บางส่วนของผมเอง ผมพบว่า คุณครูบางท่าน ในขณะที่สอนในห้องเรียน เด็กเงียบกริบ ไม่มีใครกล้าพูด กล้าแสดงความคิดเห็น แต่ในขณะเดียวกัน คุณครูท่านนี้ มาสอนพิเศษ นักเรียน กล้าพูด กล้าคุย กล้าแสดงออก

และ ก็เห็นคุณครูหลายท่านครับ ที่มีลักษณะอย่างนี้

ผมจึงมองว่า บางที คุณครูเองก็ทราบดีนะครับ ว่าสอนอย่างไรให้เด็กคิดวิเคราะห์ แต่จพทำหรือไม่ทำเท่านั้นเอง

เป็นมุมมองส่วนตัวนะครับ ผมอาจจะผิดก็ได้

ขอบคุณครับ

  • เด็กคิดได้-คิดไม่ได้ พฤติกรรมครูน่าจะมีส่วนมากๆครับ
  • ขอบคุณDr.Ple ครับ
  • ต้องเตือนตัวเองบ่อยๆเลยเหมือนกันครับอาจารย์..
  • ขอบคุณครูหยินครับ
  • ครูเราสำคัญมากๆเลยนะครับ ในการปลูกฝังให้นักเรียนคิดได้คิดเป็น
  • ขอบคุณpap2498ครับ
  • เท่าที่เห็นเป็นอย่างนั้นครับ รู้แต่ไม่พยายามทำ หรือรู้แต่ไม่ใส่ใจที่จะทำ..
  • ขอบคุณท่านรองฯsmall manมากครับ

ขอบพระคุณบทความดีๆค่ะ

จะเพิ่มความอดทนในการรอคำตอบจากนักเรียนให้มากขึ้นค่ะ

  • ตัวเองก็ติดจะเล่า จะอธิบาย ให้เด็กๆฟังอยู่เรื่อยเหมือนกันครับ
  • ขอบคุณครูมุกครับ

การใช้คำสั่งในบางโอกาสก็จะช่วยให้เข้าใจตรงกันค่ะ

สงสัยพลาดบันทึกนี้ไปได้อย่างไร

สงสัยมัวไปปลูกผักอยู่

พี่ครูสบายดีไหม

หายไปนานมากๆๆ

  • ครูคงต้องละเอียดละออ..พิจารณาแต่ละเรื่องด้วยนะครับ
  • ขอบคุณอาจารย์NU 11ครับ
  • อ๋อ! คงปลูกผักหนักนี่กระมัง ทำให้ดูซูบไป แต่คงมีความสุขยิ่งขึ้นนะครับอาจารย์..
  • ขอบคุณอาจารย์ขจิตครับ
พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท