ไปเรียนรู้ร่วมกับชาวบ้านคลองเรือ


ทดลองใช้เครื่องมือในการวิเคราะห์ข้อมูลร่วมกับชุมชน ในช่วงแรกของการลงชุมชนครั้งนี้

                   

 

                   

 

       เมื่อเร็วๆนี้( ๑๓ กุมภาพันธ์ ๒๕๕๗ ) ผมได้มีโอกาสไปร่วมเวทีการแลกเปลี่ยนเรียนรู้ระหว่างเจ้าหน้าที่ หน่วยงานสังกัดกระทรวงเกษตรและสหกรณ์ ประจำจังหวัดกำแพงเพชร  โดยมีวัตถุประสงค์ของการจัดเวที คือให้ชุมชนบ้านคลองเรือ หมู่ ๑๑ ตำบลเทพนครอำเภอเมืองกำแพงเพชร จังหวัดกำแพงเพชร ได้วิเคราะห์ปัญหาในการประกอบอาชีพของคนในชุมชน ซึ่งโดยทั่วไปของระบบการผลิตหลักของชุมชนนี้คือส่วนใหญ่ประกอบอาชีพทำนาร้อยละ ๙o รองลงมาร้อยละ ๒o ก็จะเป็นการทำไร่อ้อย ชุมชนนี้มอยู่ในเขตชลประทานวังบัว และโครงการชลประทานท่อทองแดง

 

 

          ในการจัดเวทีครั้งนี้ เราได้ร่วมกันทดลองใช้เครื่องมือในการวิเคราะห์ข้อมูลร่วมกับชุมชน ในช่วงแรกของการลงชุมชนครั้งนี้ เราได้แนะนำตัวของตัวแทนหน่วยงานที่เข้าร่วม ได้แก่ หน่วยงานประมงจังหวัด ชลประทานจังหวัด พัฒนาที่ดินจังหวัด  สหกรณ์จังหวัด เกษตรและสหกรณ์จังหวัด  เกษตรจังหวัด ปศุสัตว์จังหวัด  ธกส. จากนั้นก็ ชี้แจงวัตถุประสงค์ของการลงชุมชนครั้งนี้

 

 

 

          การเริ่มกระบวนการ ผมได้รับมอบหมายให้เป็น คุณอำนวยพร้อมตั้งคำถาม ในช่วงแรกก็ใช้คำถามนำว่า ทุกวันนี้พี่น้องส่วนใหญ่ประกอบอาชีพอะไรกัน และอาชีพรองคืออะไร พี่น้องเกษตรกรที่เข้าร่วมเวทีก็จะช่วยกันตอบพร้อมแลกเปลี่ยนข้อคิดเห็นอย่างเป็นกันเอง จากนั้นเราได้หัวข้อประเด็นที่สำคัญของชุมชนอยากจะพัฒนา ปรากฏว่า พี่น้องเกษตรกรส่วนใหญ่ต้องการจะพัฒนาด้านการผลิตข้าวของชุมชน ซึ่งปัจจุบันการผลิตข้าวค่อนข้างมีปัญหามากมาย จากนั้นเราค่อยๆปล่อยคำถามออกไปถามเกษตรกรที่เข้าร่วมเวที รวมทั้งสลับคำถามถามตัวแทนหน่วยงานที่เกี่ยวข้องที่เข้าร่วมเวทีในครั้งนี้

               

                      

             

         รู้ไหมครับช่วงนี้ภาคเช้า ผมลองใช้เครื่องมือ Swot analysis และ Swot matrix  จนได้แนวทางการพัฒนาออกมาในภาพรวมของกระบวนการผลิตข้าวของชุมชน จากนั้นภาคบ่าย ให้ฝึกให้เกษตรกรใช้เครื่องมือ Problem Tree วิเคราะห์ปัญหาเชิงระบบของการผลิตข้าวในชุมชนบ้านคลองเรือแห่งนี้ ปรากฏว่า ได้ข้อมูลที่เกษตรกร ได้ร่วมกันระดมความคิดเห็นออกมามากมาย ต้องขอชื่นชมพี่น้องเกษตรกรจริงๆ สามารถใช้เครื่องมือ ทั้ง ๒ เครื่องมือนี้มีข้อมูลที่ออกมาค่อนจะดีและครอบคลุมครับ

 

           

               

         จากนั้น เราก็ให้ตัวแทนเกษตรกรในกลุ่มย่อยต่างๆจำนวน ๔ กลุ่มที่เราได้ให้เขาร่วมกันวิเคราะห์ปัญหา โดยใช้เครื่องมือ Problem Tree  ได้ส่งตัวแทนมานำเสนอผลของการวิเคราะห์ปัญหาการผลิตข้าวของชุมชนบ้านคลองเรือ แห่งนี้ โดยชุมชนได้สะท้อนข้อมูลสภาพการผลิตข้าวและปัญหาการผลิตข้าวของชุมชน บ้านคลองเรือ โดยสะท้อนข้อเท็จริงออกมาให้รับทราบโดยทั่วกัน

 

              จากนั้น เราก็ได้ร่วมกันสรุปของการจัดเวทีแลกเปลี่ยนเรียนรู้ ร่วมกันในครั้งนี้ พร้อมนั้นหมายที่จะพบกันในครั้งต่อๆไป สำหรับบรรยากาศการแลกเปลี่ยนวันนี้ดีมากครับ

 

 

เขียวมรกต

๑๔ กพ. ๕๗

 

 

หมายเลขบันทึก: 561654เขียนเมื่อ 14 กุมภาพันธ์ 2014 16:42 น. ()แก้ไขเมื่อ 15 กุมภาพันธ์ 2014 10:03 น. ()สัญญาอนุญาต: ครีเอทีฟคอมมอนส์แบบ แสดงที่มา-ไม่ใช้เพื่อการค้า-ไม่ดัดแปลงจำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (4)
พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท