สอนและเรียนรู้กับเกษตรกร


สอนและเรียนรู้กับเกษตรกร

การเป็นวิทยากร ลำดับแรกหลังจากแนะนำตัว คำที่กล่าวเสมอคือ "ไม่มีใครที่รู้ทุกๆ เรื่อง และไม่มีใครที่ไม่รู้อะไรเลย" เนื่องจากการแนะนำความรู้ให้กับเกษตรกร ซึ่งมีองค์ความรู้อยู่แล้วในบางคนที่รู้ไม่เหมือนกัน อีกทั้งไม่รู้ว่าอะไรที่เขาต้องการ หรือยังไม่รู้ "การจัดการความรู้คือนวัฒกรรมหนึ่งที่เลือกมาใช้ในการส่งเสริมการเกษตร" เนื่องจากจะได้รับรู้ในหลายเรื่องคือ

           1. ปัญหาของเกษตรกร

           2. ภูมิปัญญาชาวบ้าน

           3. ความรู้และแนวคิดในหลายๆ ด้านที่ยังไม่รู้ หรือลืมไปแล้ว และไม่ได้ตระหนักในความสำคัญของประเด็นนั้น

นี่เพียงบางประเด็นที่ได้รับจากการจัดการความรู้ ในพื้นที่ของเกษตรกร เพียงแต่ต้องดำเนินการอย่างรอบคอบ เพราะบางครั้ง อาจทำให้เกษตรกรบางรายที่ชอบฟังอย่างเดี๋ยว หรือขี้เกียจคิด คงต้องพลิกเทคนิคต่างๆ นำมาใช้ อีกทั้งบางครั้งก็ท้อเหมือนกัน เพราะการสอนอย่างเดียวง่ายกว่าเยอะ คือเตรียมวิชาการไป พูดๆ ให้ครบเวลา จบ กลับบ้าน

                   จากการดำเนินการที่อำเภอหนองมะโมง ธ.ก.ส. ให้ไปบรรยาย ความรู้การเกษตร เรื่อง อะไรก็ได้ ก็คงไม่หนักใจมากนักถ้ามีข้อมูลที่ครบถ้วนสมบูรณ์ว่า บุคคลที่จะรับเป็นใคร กิจกรรมการเกษตรทำอะไร และพบปัญหาอะไร แต่นี่ไม่มี "หนักใจ" เตรียม 1 คืน เมื่อถึงเวลาต้องบรรยาย สอบถามเกษตรกรถึงกิจกรรมที่ทำอยู่ มีทั้งทำนา อ้อยโรงงาน และมันสำปะหลัง "ปัญหาเข้ามาซะแล้ว" จึงกำหนดเป้าหมายในใจทันที โดยทิ้งหลักสูตรที่เตรียมไว้ เปลี่ยนเป้าหมายคือ วันนี้สอนกระบวนการคิดให้เกษตรกร เพื่อขจัดปัญหาของตัวเองได้ การดำเนินงานได้น้อมนำคำสอนของพระพุทธเจ้า คือ หลักอริยสัจสี่ เป็นที่พึ่ง

ขั้นแรก ให้เกษตรกร ค้นหาปัญหาหรือ "ทุกข์" ที่พบในการทำการเกษตร และสาเหตุของปัญหา "สมุทัย" ที่แท้จริง ใช้เวลา 10 นาที ได้ผลเป็นที่น่าพอใจ ถึงแม้ต้องไปกระตุ้นให้คิดตลอด หยอกล้อและส่งคำถามให้คิด เกษตรกรคิดเก่งมาก ถึงแม้ว่าจะไม่ครบสมบูรณ์ เมื่อเสร็จแล้วให้นำเสนอ ก็สนุกดีครับเขาหยอกล้อกันเอง หลังจากนั้นจึง ส่งคำถามวิธีแก้ปัญหานั้นๆ ในแต่ละประเด็น และชี้แจงปัญหาที่เกิดถ้า ประเด็นนั้นได้รับจากเกษตรกรยังไม่สมบูรณ์ เพื่อให้เขาได้เข้าใจจึงต้องอธิบายนำหลักวิชาการเข้าสนับสนุน ซึ่งพบว่าปัญหาส่วนใหญ่เกิดจากการจัดการที่ไม่ดีเท่าที่ควร หรือเกิดจากน้ำมือของคนนั่นเอง แต่มีปัญหาบางปัญหาที่ไม่สามารถแก้ปัญหาได้ด้วยตัวเกษตรกรได้ คือเรื่องน้ำ เพราะอยู่นอกเขตชลประทาน อีกทั้งต้องใช้ทุนสูง จึงแนะนำเรื่องการจัดการดินให้อุดมสมบูรณ์ เพราะอินทรียวัตถุมีคุณสมบัติอุ้มน้ำได้อย่างดี เมื่อสอบถามเกษตรกรที่ตัดอ้อย โดยไม่เผาใบอ้อย พบว่าอ้อยจะเหี่ยวและเสียหาน้อยกว่าผู้เผาใบอ้อย เมื่อพบปัญหาฝนทิ้งช่วง

ขั้นที่ 2 ให้เขาคิดตั้งเป้าหมาย "นิโรธ"การทำการเกษตร และขั้นตอนการดำเนินงาน "มรรค" กว่าจะครบสมบูรณ์ หมดเวลา

ขั้นที่ 3 ให้กำลังใจกับพ่อแม่พี่น้องเกษตรกร ได้แก้ปัญหาด้วยตัวเอง โดยนำหลักการคิดไปใช้ เพื่อให้ผลผลิตปลอดภัยจากสารพิษและได้มาตรฐาน ต้อนรับ "ประชาคมเศรษฐกิจอาเซียนต่อไป"

ขั้นที่ 4 ได้ความรู้บางประเด็น ที่น่าสนใจ จากคำบอกเล่าของเกษตรกรที่ได้ทำแล้วประสบผลสำเร็จ พบมีหลายท่านที่มีองค์ความรู้อย่างน่าสนใจ และคงต้องเข้าไปหา เพิ่มพูนความรู้อีกครั้งในโอกาส ต่อไป

หมายเลขบันทึก: 561700เขียนเมื่อ 15 กุมภาพันธ์ 2014 10:47 น. ()แก้ไขเมื่อ 15 กุมภาพันธ์ 2014 10:47 น. ()สัญญาอนุญาต: ครีเอทีฟคอมมอนส์แบบ แสดงที่มา-ไม่ใช้เพื่อการค้า-ไม่ดัดแปลงจำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (0)

ไม่มีความเห็น

พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท