การประกันราคา : สัญญาณเศรษฐกิจตำต่ำ บทเรียนจากสหรัฐอเมริกา


การประกันราคา : สัญญาณเศรษฐกิจตำต่ำ บทเรียนจากสหรัฐอเมริกา

 



ปัจจุบัน นโยบายประชานิยมเรื่องการประกันราคาได้แผลงฤทธิ์หวนกับสู่รัฐบาลผู้ออกนโยบาย เปรียบเสมือนเดินไปเหยียบกับระเบิดที่ตนวางไว้ หากจะมองไปแล้วสัญญาณนี้มีลางบอกเหตุมานานมากมาย และในอดีตก็เคยมีเหตุการณ์เช่นนี้เกิดขึ้น แม้ขนาดยักษ์ใหญ่อย่างอเมริกาก็ยังแทบจะอาตัวไม่รอด

ก่อนปี ค.ศ. ๑๙๕๓ ประธานาธิบดีรูสเวลท์ออกนโยบายประกันราคาผลผลิตทางการเกษตรถึง ๙๐% ของมูลค่าผลผลิตที่ได้ ระยะแรกก็เป็นผลดีต่อเกษตรกร แต่ภายหลังกลายเป็นผลลบอย่างใหญ่หลวง โดยเฉพาะอย่างยิ่งมาออกฤทธิ์ในรัฐบาลของประธานาธิบดีไอเซนฮาวร์ (ค.ศ. ๑๙๕๓ – ๑๙๖๑) ประธานาธิบดีลำดับที่ ๓๔ 

ช่วงเวลานั้นตลาดทางการเกษตรถูกต่างประเทศแย่งไป โดยเฉพาะในเอเชียและอมเิรกาใต้ แต่เกษตรกรกลับไม่ยอมลดจำนวนการผลิตลง เพื่อรักษาสมดุลของราคากับความต้องการของตลาด เพราะยังถือว่ารัฐยังประกันราคา ทำให้ผลผลิตเช่น ข้าโพด ฝ้าย ใบยาสูบ เนื้อสัตว์ นม ฯลฯ ล้นตลาด ราคาตกต่ำ เกษตรกรจำนำผลผลิตไปขายให้กับรัฐจนเต็มยุ้งฉาง จนไม่รู้ว่า รัฐจะระบายออกไปได้หมดเมื่อไหร่ไม่มีตลาดระบายสินค้าเนื่องมาจากต้นทุนที่สูงกว่าตลาดทั่วไป ประเทศเกิดภาวะขาดสมดุลอย่างยิ่ง

ประธานาธิบดีไอเซนฮาวร์ไหวตัวทันไม่ดำเนินนโยบายประชานิยมต่อ จึงยกเลิกการประกันราคาในอัตตา ๙๐ % และกำหนดการประกันราคาผลผลิตใหม่ที่ยืดหยุ่นกับราคาตลาด จากนั้นรัฐสภาได้ผ่านกฎหมายเกษตรกรรมปี ค.ศ. ๑๙๕๔ (The Agricultural Act of 1954) กำหนดการประกันราคาผลผลิตในอัตรา ๗๐ – ๙๐ % ทำให้เกษตรกรมีเงินกำไรจากการผลิตลดลงและหันไปปลูกพืชที่เป็นที่ต้องการของตลาด

จากนั้นรัฐบาลเสนอแผน The Soil Bank Program โดยผ่านกฎหมาย The Agricultural Act or The Soil Bank Program of 1956) เพื่อช่วยเหลือเกษตรกรที่ลดที่ดินหรือเลิกผลิตพืชที่ล้นตลาด ให้เข้าร่วมแผนธนาคารที่ดิน ที่ดินนั้นจะทำการปศุสัตว์ ปลูกป่า ปลูกต้นไม้หายากและสวยงาม ทำอ่างเก็บน้ำ และอนุรักษ์ดินให้มีสภาพดีดังเดิม โดยรัฐจะให้เงินเป็นการตอบแทน มีเกษตรกรเข้าร่วมเป็นจำนวนมาก ในปี ค.ศ. ๑๙๕๘ รัฐจ่ายเงินค่าตอบแทนถึง ๑.๖ พันล้านดอลลาร์

กว่าเศรษฐกิจของประเทศจะกระเตื่องขึ้น รัฐต้องหมดเงินไปหมาศาล แต่ก็ยังดีกว่าดันทุรังที่จะดำเนินนโยบายประชนนิยมจอมปลอมต่อไป มองอดีตของประเทศอื่นบ้าง เพื่อไม่ให้ประวัติศาสตร์ซ้ำรอย

สุดท้าย ผมไม่ได้อยู่ฝ่ายไหนทั้งสิ้น กรุณาอย่าเอาไปโยง 

อ้างอิง
อรพินท์ ปานนาค,รศ. ประวัติศาสตร์สหรัฐอเมริกาในคริตส์ศตวรรษที่ ๒๐. พิมพ์ครั้งที่ ๔. กรุงเทพฯ : สำนักพิมพ์มหาวิทยาลัยรามคำแหง. ๒๕๕๑.

วาทิน ศาสนติ์ สันติ
๒๐ กุมภาพันธ์ ๒๕๕๗

หมายเลขบันทึก: 562276เขียนเมื่อ 20 กุมภาพันธ์ 2014 14:55 น. ()แก้ไขเมื่อ 20 กุมภาพันธ์ 2014 14:55 น. ()สัญญาอนุญาต: ครีเอทีฟคอมมอนส์แบบ แสดงที่มา-ไม่ใช้เพื่อการค้า-ไม่ดัดแปลงจำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (1)

เป็นไปตามหลักไตรลักษณ์ของพุุทธศาสนาจริง ด้วยจิตคารวะ

อนุญาตให้แสดงความเห็นได้เฉพาะสมาชิก
พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท