มุ่งมั่นที่จะสร้างทีมการทำงานใน MRCF SYSTEM


การพัฒนาและเสริมสร้างสมรรถนะให้บุคลากรขององค์กรและหน่วยงาน อย่างต่อเนื่อง ตลอดจนมีการกำหนดเป้าหมายในการทำงานอย่างมีประสิทธิภาพ

             

             ความมุ่งมั่นที่จะสร้างทีมการทำงานใน MRCF SYSTEM ในปัจจุบันเกือบจะทุกองค์กร ที่ให้ความสำคัญกับการพัฒนาและเสริมสร้างสมรรถนะให้บุคลากรขององค์กรและหน่วยงาน อย่างต่อเนื่อง ตลอดจนมีการกำหนดเป้าหมายในการทำงานอย่างมีประสิทธิภาพ จึงทำให้องค์กรเหล่านั้นมักจะประสบความสำเร็จอยู่เสมอ ในขณะเดียวกันบางองค์กรหรือบางหน่วยงาน ได้ให้ความสำคัญกับการพัฒนาบุคลากรค่อนข้างน้อย เพียงมองเห็นแต่ผลประโยชน์นั้นมากกว่าการพัฒนาองค์กรหรือหน่วยงาน ย่อมจะเสื่อมถอยไปในที่สุด

 

           มีบางองค์กรเช่นกันที่มีความพยายามที่จะสร้างบุคลากรของตนเอง ให้มีความเป็นมืออาชีพ การที่จะเสริมสร้างหรือพัฒนาบุคลากรให้มีความเป็นมืออาชีพนั้นเราจะทำอย่างไร หากพูดง่ายๆก็คือเราจะเริ่มต้นกันตรงจุดไหนก่อน ทีมบริหารองค์กร หรือทีมบริหารหน่วยงานนั้นๆให้ความสำคัญเพียงใด  ณ.ปัจจุบันหากเราไม่รีบเริ่มต้นที่ตัวเราก่อนเป็นอันดับแรก เราก็อาจจะไม่มีความหวังที่จะเห็นความเป็นมืออาชีพในองค์กรหรือหน่วยงานของเรานั่นเอง

 

    

 

                เมื่อวันที่ ๒๑ กุมภาพันธ์ ๒๕๕๗ สำนักงานเกษตรจังหวัดกำแพงเพชร โดยมีท่านสมจิตร ธีระบุญชัยกุล เกษตรจังหวัดกำแพงเพชร ได้เปิดไฟเขียว ให้ทีมการพัฒนาบุคลากรหรือที่เรียกกันว่า ทีมงาน KM ของสำนักงานเกษตรจังหวัดกำแพงเพชร ได้ลงไปสร้างและพัฒนาทีมงานในระดับอำเภอได้ เริ่มแรกเราได้เชิญนักส่งเสริมการเกษตรที่รับผิดชอบตำบลนำร่องในการดำเนินงานตามรูปแบบ MRCF SYSTEM ในปีงบประมาณ พ.ศ. ๒๕๕๗ นี้ รวมทั้งสิ้น ๑๑ คน อำเภอละ ๑ คน มาสร้างความเข้าใจในการดำเนินงานส่งเสริมการเกษตรในมิติใหม่ ในวันนี้ ที่ห้องประชุมสำนักงานเกษตรอำเภอเมืองกำแพงเพชร มีดังนี้

 

                 .ขั้น ๑.  การทบทวนหมู่บ้านหรือชุมชนเป้าหมายของแต่ละตำบลที่มีการคัดเลือกดำเนินการนำร่อง

 

                 ขั้น ๒. การตั้งทีมงาน การที่จะลงไปปฏิบัติงานในชุมชน นักส่งเสริมการเกษตรที่รับผิดชอบตำบล ก็จะต้องจัดหาทีมงานเพื่อที่จะลงไปทำงานในการวิเคราะห์ข้อมูล ปัญหาร่วมกับชุมชน เพื่อพัฒนาไปสู่การหาโจทย์และมีการวางแผนในการทำงานร่วมกัน

 

                  ขั้น ๓. การเรียนรู้เทคนิคและการใช้เครื่องมือ ในการวิเคราะห์ศักยภาพชุมชน ตลอดฝึกทักษะการเป็นวิทยากรกระบวนการ ทั้งจะต้องมีการลงมือปฏิบัติจริงในชุมชน คือทำไป เรียนรู้ไปและพัฒนาไปพร้อมๆกัน

 

                  ขั้น ๔. นำข้อมูลมือ ๒และ Mapping ของชุมชน ลงไปให้ชุมชนตรวจสอบข้อมูลร่วมกัน เพื่อให้ข้อมูลมีความถูกต้อง ตรงกับความเป็นจริงมากที่สุด

 

                   ขั้น ๕. การกระตุ้นและพัฒนาการเกิดกลุ่มอาชีพเป้าหมายในการผลิตสินค้าเกษตรที่สอดคล้องกับความเป็นจริงของชุมชน ที่มีแนวทางการพัฒนาอาชีพ ตลอดจนการสร้างเครือข่ายกลุ่ม

 

                   ขั้น ๖ การวางแผนการปฏิบัติงานของนักส่งเสริมการเกษตรให้สอดคล้องกับแผนพัฒนากลุ่มอาชีพ เพื่อให้เกิดการทำงานร่วมกัน  มีการบูรณาการกับหน่วยงานภาคีในการพัฒนาอาชีพ ตลอดจนการเสริมหนุนให้กลุ่มเกิดการพัฒนาที่ยั่งยืน

 

              

 

 

                 จากเวทีการแลกเปลี่ยนเรียนรู้ร่วมกันในครั้งนี้ ได้เชิญ คุณสุภาพ อุ่นเรือน นักวิชาการส่งเสริมการเกษตรชำนาญการ ซึ่งรับผิดชอบ ตำบลเทพนคร อำเภอเมืองกำแพงเพชร ได้เล่าประสบการณ์ที่ลงไปปฏิบัติงานในหมู่บ้านชุมชนเป้าหมาย นำร่อง MRCF SYSTEM ของตำบลเป้าหมาย ให้ผู้เข้าร่วมได้รับฟังพร้อมแลกเปลี่ยนข้อคิดเห็นร่วมกัน  พร้อมนี้ได้ฝึกการถอดบทเรียนและสรุปบทเรียนร่วมกัน ครับ

 

เขียวมรกต

๒๒ กพ. ๕๗

 

 

 

 

                

หมายเลขบันทึก: 562422เขียนเมื่อ 22 กุมภาพันธ์ 2014 06:53 น. ()แก้ไขเมื่อ 22 กุมภาพันธ์ 2014 06:53 น. ()สัญญาอนุญาต: ครีเอทีฟคอมมอนส์แบบ แสดงที่มา-ไม่ใช้เพื่อการค้า-ไม่ดัดแปลงจำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (5)

ชื่นชม และเป็นกำลังใจนะคะ...

ขอขอบคุณ ท่านอาจารย์ ดร.พจนา ครับ

ขอบคุณครับท่านวอญ่าฯ สบายดีนะครับ

ขอบคุณครับ เพชรน้ำหนึ่ง ที่กรุณาช่วยขับเคลื่อน MRCF SYSTEM

อนุญาตให้แสดงความเห็นได้เฉพาะสมาชิก
พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท