ใส่บาตร ไม่ถามพระ (2-154)


“การใส่บาตรทำบุญนั้นแท้จริงเน้นให้คนรู้จักละความตระหนี่ในใจ รู้จักสละออกไป” ส่วนทำบุญใส่บาตรแล้ว ท่านจะไปให้ใครต่อหน้าต่อตาฉันก็ไม่รู้สึกอะไร เพราะเมื่อใส่บาตรแล้ว เราอิ่มใจแล้ว ยิ่งท่านให้คนอื่นต่อหน้าต่อตา ก็ถือว่านอกจากได้ “ทำบุญ” แล้วยังได้ “ทำทาน” อีก กำไรสองต่อเห็นๆ มีแต่ได้กับได้...ดีจะตายไป

ื่

เมื่อวาน เป็นวันพระ (วันขึ้น 1 ค่ำ เดือน 4)  วันที่ 1 มีนาคม 2557 เป็นอีกหนึ่งวันหยุดที่ต้องไปสะสางงานที่คั่งค้างตั้งแต่วันศุกร์ ออกจากบ้านช้ากว่าปกติราวครึ่งชั่วโมง แต่รถโล่ง ไม่ติดเหมือนที่กังวล ได้แวะใส่บาตรที่ตลาดใกล้ๆ ที่ทำงาน รอยามมาเปิดประตูสำนักงานฯ ให้

           ตลาดราชวัตรยามเช้า คลาคล่ำไปด้วยผู้ออกมาจับจ่ายซื้อหาอาหาร ผักผลไม้ รวมทั้งพระสงฆ์ที่รอโปรดสัตว์ในที่ซึ่งมีคนผ่านไปมาและมีแม่ค้าพ่อค้าอำนวยความสะดวกด้วยอาหารคาวหวาน น้ำ และดอกไม้ให้แก่ผู้ต้องการใส่บาตร  ฉันใส่บาตรด้วยใจผ่องแผ้ว หลังรับพรแล้วก็เดินชมตลาดหาเสบียงอาหารสำหรับช่วงเช้าที่ต้องเร่งงานให้เสร็จก่อนเที่ยง แน่ล่ะ...ทั้งข้าวโพดต้ม ข้าวเหนียวหมูปิ้ง ขนมครก น้ำเต้าหู้ ปาท่องโก๋ ฯลฯ  ^_^ ขณะกำลังเดินหิ้วเสบียงลัดเลาะสองข้างทางอย่างสบายใจ ก็มาทำงานวันหยุดนี่นา ไม่ต้องเร่งรีบแข่งกับเวลา มาเช้าหรือสาย ก็ไม่เป็นไร... พลันได้ยินเสียงคุยกันด้านหลังของสองสาว

 ก: ฉันล่ะเบื่อ ไม่ใส่หรอกบ่งบาตร พระมายืนรอที่ตลาด มีอย่างที่ไหน...#@-+%x *

ข : แหมมมมม เธอ...สมัยนี้ก็อย่างนี้แหละ พระอำนวยความสะดวกให้โยมแหละ

ก: แล้วมันใช่หรือเปล่า เอ๊...รู้ว่าไม่ถูกไม่ใช่ ยังทำอีก ก็เท่ากับส่งเสริมให้ทำลายศาสนานะ

ข: อูย เยอะอ่ะ แม่คู้นแม่คุณ...

ก: แล้วดูสิ คนเพิ่งใส่บาตร เดินๆไป...ก็เอาไปให้ใครไม่รู้ เห็นไหมๆ ใช่พระหรือเปล่าไม่รู้...

         ฉันก็เป็นคนหนึ่งที่มักใส่บาตรยามเช้าที่ตลาด ด้วยการซื้ออาหารสำเร็จรูปที่จัดไว้เป็นชุดๆ บางทีก็จะซื้ออาหาร/ขนม/ผลไม้เพิ่มเติมเข้าไปตามสภาพและเวลาที่มีอยู่อย่างจำกัด จะว่าไปแล้วก็ยอมรับว่าไม่ค่อยเหมาะสม การใส่บาตรทำบุญควรทำด้วยความประณีตและตั้งใจ ไม่ใช่สักแต่มีเงินก็ใช้เงินซื้อๆ ใส่บาตรตามที่เห็นต่อๆ กันมา ที่หนักกว่านั้นคือคนส่วนหนึ่งใส่บาตรด้วยการใส่เงิน (แบงค์ยี่สิบบ้าง แบงค์ร้อยก็มี) ลงไปในบาตรพระ...(ฮาๆ) แต่ก็นะ ในสภาพแวดล้อมยุคนี้ (สำหรับฉัน) แค่เอาตัวมาถึงที่ทำงานได้ทันเวลาเข้างาน แถมได้แวะใส่บาตรด้วยนี่เป็นเรื่องดีงามที่น่าทึ่งแล้ว

         ฉันคิดต่อจากเสียงของสองสาวด้านหลัง... ฉันไม่ใส่บาตรด้วยการใส่เงินลงในบาตรพระ เพราะผิดวัตถุประสงค์ หากต้องการทำบุญด้วยปัจจัย (เงิน) ควรหาเวลาไปที่วัดและใส่ซองให้เรียบร้อย เพื่อให้ท่านได้ใช้สอยในสิ่งจำเป็นจะดีกว่า แต่ฉันยึดหลักที่ครูบาอาจารย์สั่งสอนมาว่า “การใส่บาตรทำบุญนั้นแท้จริงเน้นให้คนรู้จักละความตระหนี่ในใจ รู้จักสละออกไป”  ส่วนทำบุญใส่บาตรแล้ว ท่านจะไปให้ใครต่อหน้าต่อตาฉันก็ไม่รู้สึกอะไร เพราะเมื่อใส่บาตรแล้ว เราอิ่มใจแล้ว ยิ่งท่านให้คนอื่นต่อหน้าต่อตา ก็ถือว่านอกจากได้ “ทำบุญ” แล้วยังได้ “ทำทาน” อีก กำไรสองต่อเห็นๆ มีแต่ได้กับได้...ดีจะตายไป

         ฉันเดินมาถึงที่ทำงานพอดี... ยิ้มกับยามที่มายืนรออยู่ ยื่นปาท่องโก๋และน้ำเต้าหู้ที่เตรียมมาให้ โดยไม่รู้ว่าเขาอยากกินน้ำเต้าหู้กับปาท่องโก๋หรือเปล่า?  ความคิดขำๆ ผุดขึ้นมาว่า ส่วนใหญ่เราทำอะไรก็มักจะอิงอยู่บนฐานความคิดความเชื่อของตัวเอง ฉันก็เหมือนกัน... “ใส่บาตร อย่าถามพระ” แต่ฉันน่ะ...”ใส่บาตร ไม่ถามพระ...เลย” ...ฮาๆๆๆๆ

       

หมายเลขบันทึก: 563035เขียนเมื่อ 2 มีนาคม 2014 09:45 น. ()แก้ไขเมื่อ 2 มีนาคม 2014 09:45 น. ()สัญญาอนุญาต: ครีเอทีฟคอมมอนส์แบบ แสดงที่มา-ไม่ใช้เพื่อการค้า-ไม่ดัดแปลงจำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (7)

http://www.oknation.net/blog/print.php?id=823118

ผมรู้สึกว่าพระรับเงินผิดศีลครับ และพระเดินดีกว่านะ เพราะนั้นคือการฝึกของพระ

หลวงปู่จะสอนพระเสมอให้ถือข้อวัตร ที่ไม่รับ จับ ถือ เงิน เพราะผิดศีลต้องปาจิตตีย์ และเราจะลดละเลิก ลำแบกครับ

..วันนั้น..วันหนึ่ง..ไปเดินเล่น..ชายหาดหัวหิน..."ถามพระว่า..ใส่..บาท"..ได้ไหม..พระ..รับ..บาท...แล้ว..ให้พร...แล้วเราก็เดิน..จากกันไป..อ้ะะ...(ใส่บาตร..ถามพระ..อ้ะะๆๆๆ...แวะมาเล่าจ้ะะ)....ยายธี

ธรรมสวัสดีค่ะท่าน วิชญธรรม

สาธุๆๆ กับข้อธรรมของหลวงปู่ค่ะ

เห็นด้วยที่สุดค่ะ

สวัสดีค่ะคุณ ยายธี

สิ่งที่คุณยายธีเล่า... คือ ความจริงที่พบเจอค่ะ ;)

การใส่บาตรทำบุญนั้นแท้จริงเน้นให้คนรู้จักละความตระหนี่ในใจ รู้จักสละออกไป

ขอบคุณครับคุณหยั่งราก

ขอบคุณค่ะคุณแสงแห่งความดี

ชอบจังเลยค่ะไปอ่านหนังสือสอบก่อนล่ะค่ะ น่าอ่านเยอะลเยค่ะ

อนุญาตให้แสดงความเห็นได้เฉพาะสมาชิก
พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท