เตรียมตัว ก่อนเรียนสันสกฤต (บทที่ 1) สระ – พยัญชนะ – เครื่องหมาย


เนื่องจากมีผู้อ่านที่สนใจภาษาสันสกฤต ได้เข้ามาอ่านบันทึกใน ภาษาสันสกฤตง่ายนิดเดียว แล้วรู้สึกว่ายังยาก แม้บทที่ 1 ก็ไม่ได้เตรียมพื้นฐานให้ ผมจึงคิดว่าควรมีบทนำก่อนอ่านบทเรียนที่ 1 ในบทเรียนภาษาสันสกฤตของเรา

อันที่จริง บทเรียนนี้ผมไม่ได้เขียนขึ้นเอง แต่ปรับปรุงจากหนังสือ A Sanskrit Primer ซึ่งศาสตราจารย์ E. D. Perry ได้แต่งไว้เมื่อ ค.ศ. 1883 โน่น (ซึ่งท่านได้ปรับปรุงมาจากตำรา Leitfaden für den Elementarcursus des Sanskrit ของศาสตราจารย์ Georg Bühlr อีกทอดหนึ่ง

หนังสือของเพอร์รีรับความนิยมสำหรับใช้เรียนและสอนภาษาสันสกฤตมาจนปัจจุบัน เพราะครอบคลุมเนื้อหาค่อนข้างครบถ้วน (ดังจะได้ทราบต่อไป)

       

ขอว่าถึงอักษรก่อนนะครับ

การเขียนภาษาสันสกฤตนั้น ใช้อักษรใดก็ได้ แต่ตำราส่วนใหญ่นิยมใช้อักษรเทวนาครี देवनागरी devanāgarī แบ่งเป็นสระ พยัญชนะ และเครื่องหมายต่างๆ ดังนี้

 

1.สระ

สระเดี่ยว

เสียงสั้น

เสียงยาว

ฐานเสียง

.

อะ

a

อา

ā

คอหอย (กณฺฐฺย)

.

อิ

i

อี

ī

เพดาน (ตาลวฺย )

.

อุ

u

อู

ū

ริมฝีปาก (โอษฺฐฺย)

.

ฤๅ

ศีรษะ (มูรฺธนฺย)

.

ฦๅ

ฟัน (ทนฺตฺย)

สระประสม

.

เอ e

ไอ ऐ āi

ฟัน (ทนฺตฺย)

.

.

โอ ओ o

เอา औ āu

ริมฝีปาก (โอษฺฐฺย)

 

สระในภาษาสันสกฤต มีสระเดี่ยว สั้นยาว 5 คู่ และสระประสมอีก 4 ตัว (จะนับเป็น 2 คู่ก็ได้)

สระ อะ อา อิ อี อุ อู นั้นเป็นสระปกติ พบได้มากๆๆๆๆ

 

สระ ฤ ฤๅ ฦ ฦๅ เป็นสระพิเศษ นั่นคือ โดยธรรมชาติแล้วถือว่ามีเพียง ฤ กับ ฦ แต่อาจมีการยืดเสียง หรือเติมเสียงให้ครบคู่ จึงมี ฤๅ และ ฦๅ เข้าด้วย สระเสียงยาวสองตัวนี้พบน้อย

 

เสียงสระถือว่าเป็นเสียงก้องทั้งหมด มีแหล่งกำเนิดเสียงระบุตามตำแหน่งลิ้น เป็นการอธิบายแบบโบราณ

หลักภาษาศาสตร์สมัยใหม่ระบุสระว่า สระหน้า กลาง หลัง บน กลาง ล่าง ฯลฯ

 

 ตัวอย่าง

ตัวอย่างการเขียนอักษรเทวนาครี

 

2. พยัญชนะ

เสียงไม่ก้อง

ลมน้อย

เสียงไม่ก้อง

ลมมาก

เสียงก้อง

ลมน้อย

เสียงก้อง

ลมมาก

นาสิก

(จมูก)

ฐานเสียง

ก क k

ข ख kh

ค ग g

ฆ घ gha

ง ङ ṅ

คอ (กณฺฐฺย)

จ च c

ฉ छ ch

ช ज j

ฌ झ jh

ญ ञ ñ

เพดาน (ตาลวฺย)

ฏ ट ṭ

ฐ ठ ṭh

ฑ ड ḍ

ฒ ढ ḍh

ณ ण ṇ

ศีรษะ (มูรฺธนฺย)

ต त t

ถ थ th

ท द d

ธ ध dh

น न n

ฟัน (ทนฺตฺย)

ป प p

ผ फ ph

พ ब b

ภभ bh

ม म m

 

ริมฝีปาก(โอษฺฐฺย)

 

เศษวรรค

เสียงก้อง

เสียงไม่ก้อง.

.

ย य y

ศ श ś

เพดาน (ตาลวฺย )

ร र r

ษ ष ṣ

ศีรษะ (มูรฺธนฺย)

ล ल l  ฬ ळ ḷ

ส स s

ฟัน (ทนฺตฺย)

ว व v

 .

ริมฝีปาก (โอษฺฐฺย)

ห ह h

 .

.

 

เสียงพยัญชนะอาจแบ่งเป็น 2 พวกหลักๆ คือ เสียงก้อง และเสียงไม่ก้อง

นอกจากนี้ยังแบ่งตามฐานเสียง หรือวรรค (ก จ ฏ ต ป) แบบนี้ก็ได้

 

พยัญชนะตัวสุดท้ายของแต่ละวรรค คือนาสิก เป็นเสียงก้อง

พยัญชนะนอกวรรค (ย... ห) เป็นเสียงก้องทั้งหมด ยกเว้น ศ ษ ส

 

นอกจากนี้ยังมีเครื่องหมายเพิ่มเสียงได้แก่

1. วิสรฺค (วิสรรคะ विसर्गหรือ วิสรรชนีย์ विसर्जनीय)   : ะ ḥ เสียงหลังเสียงสระอื่น เพื่อเพิ่มเสียงลมหายใจ

2. อนุสฺวาร (อนุสวาระ अनुस्वारหรือพินฺทุ बिन्दु) เป็นจุดเขียนไว้เหนืออักษร เช่น สํ (อ่านว่า สัม) นำ (น สระอา แล้วมีอนุสวาร อ่านว่า นาม)

 

ก มาก่อน ข

ท่านเห็นการเรียงลำดับ ก ข แล้ว คงจะตอบได้ในใจ ว่าทำไม ก จึงมาก่อน ขเพราะท่านเรียงลำดับเสียงลมน้อย มาก่อนเสียงลมมาก ลำดับอักษรเช่นนี้ กลายเป็นต้นแบบในการเรียงลำดับอักษรของอินเดีย และอักษรอื่นๆ ที่รับแบบเช่นนี้ไป (เรื่องนี้คงว่าได้ยืดยาว เราคงไม่พูด)

ท่านที่สนใจศึกษาภาษาสันสกฤต คงไม่อ่านเนื้อหาแค่นี้ แต่คงจะต้องค้นคว้าเพิ่มเติมอีกมาก ผู้เขียนแนะนำให้อ่านบทความที่เคยเขียนมาแล้ว ดังนี้

 

 

นอกจากนี้ยังมีบทความ หรือเนื้อหาอื่นๆ อีกมาก ในเว็บไซต์ ตำรา ฯลฯ ถ้าสนใจจริง ต้องค้นต่อครับ...

คราวหน้าจะมาทำความเข้าใจเรื่อง คำ พยางค์ และการประสมสระกับพยัญชนะ

หมายเลขบันทึก: 563479เขียนเมื่อ 8 มีนาคม 2014 20:32 น. ()แก้ไขเมื่อ 8 มีนาคม 2014 20:39 น. ()สัญญาอนุญาต: ครีเอทีฟคอมมอนส์แบบ แสดงที่มา-ไม่ใช้เพื่อการค้า-ไม่ดัดแปลงจำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (9)

มีประโยชน์มากเลยครับอาจารย์...

อยากถามอาจารย์ครับว่า คำว่า "เศรษฐ เศรษฐี เศรษฐกิจ" รากศัพท์หมายถึงอะไรครับ แปลว่าอะไรบ้าง และคำว่า ประเสริฐ แปลว่าอะไร ขอบคุณครับ

เศรษฐ ต่างๆ ก็มาจาก เศฺรษฺฐ นี่แหละครับ

หมายถึง มากที่สุด ดีที่สุด ยอดเยี่ยม ฯลฯ

เศรษฐี มาจาก เศรษฐ + อิน = เศฺรษฺฐินฺ ใช้เป็นประธาน เอกพจน์ ได้เป็น เศฺรษฺฐี (ผู้มีมากที่สุด ผู้ยอดเยี่ยม)

ส่วน เศรษฐกิจ เป็นคำที่ไทยเรานำมาประกอบศัพท์ขึ้นเองครับ

สำหรับ ประเสริฐ แปลว่า ยอดเยี่ยม ดีที่สุด แต่ไม่แน่ใจว่ามาจากคำใดในภาษาบาลี/สันสกฤตครับ

คุณ ส.รตนภักดิ์ สันนิษฐานว่ามาจาก เศรษฐ ใช่ไหมครับ ก็ดูเข้าเค้า แต่ยังหาเค้าจริงไม่เจอครับ

ภาษธรรมดาก็ยากแล้วค่ะ แต่น่าสนใจค่ะ

ขอบคุณค่ะ ได้ความรู้มากเลยค่ะ

_ สระ

_ พยัญชนะ

_ เศษวรรค

ต้องเป็นคนที่สนใจและเก่งจริงๆ นะคะ ^_^

คงไม่ง่ายอย่างที่คิด ยากกว่าบาลี

"เศรษฐี มาจาก เศรษฐ + อิน = เศฺรษฺฐินฺ ใช้เป็นประธาน เอกพจน์ ได้เป็น เศฺรษฺฐี (ผู้มีมากที่สุด ผู้ยอดเยี่ยม)

...สำหรับ ประเสริฐ แปลว่า ยอดเยี่ยม ดีที่สุด แต่ไม่แน่ใจว่ามาจากคำใดในภาษาบาลี/สันสกฤตครับ"

I looked up a Pali dictionary:

seṭṭha: foremost; excellent. (adj.)

seṭṭhī: a millionaire. (m.)

Paseṭṭha at Pv ii.973 is to be read pasaṭṭha (see pasattha)

pasaṭṭha: extolled; commended. (pp. of pasaṃsati)

So, it is quite plausible as you say that all these words are related in Pali and Sanskrit ;-)

ขอบคุณค่ะ ดีใจจัง

ทรายพอเขียนตัวอักษรได้แล้ว พอดีว่ามีรุ่นน้องให้แบบคัดตัวอักษรกับสระมา

จะรอบทต่อไปค่ะ เพราะถึงทรายจะเคยศึกษาพื้นฐานมาแล้ว แต่มันก็เป็นเพียงการศึกษาด้วยตัวเอง ไม่มีใครมาคอยตรวจสอบให้ การที่ได้อ่านบทความของอาจารย์ ทำให้ทรายได้สำรวจความเข้าใจไปในตัว

ขอบคุณค่ะ

ขอบคุณครับ

พี่แก้ว แก้ว..อุบล และพี่Dr. Ple

ท่านpap2498

อาจจะมีกฎเกณฑ์เยอะกว่าภาษาบาลีสักหน่อยครับ แต่ถ้ารู้บาลีแล้วก็น่าจะง่ายครับ

ขอบคุณท่าน sr

คำที่มีอักษรพวกนี้ มีโอกาสสูงที่จะมาจากบาลีสันสกฤต แต่สระเปลี่ยนไป

อย่างคำว่า เกณฑ์ ยังไม่แน่ใจว่าแผลงมาจากคำใด

สวัสดีครับ คุณ i-Sign

ถ้าได้เรื่องอักษรก็ถือว่าผ่านขั้นแรกไปแล้ว

แต่ต้องจดจำลักษณะเสียงด้วย เพื่อจะนำไปใช้ในกฎเกณฑ์อื่นๆ ต่อไปครับ



สวัสดีครับ ตอนนี้ผมสนใจเรียนภาษาบาลี ไม่ทราบว่าควรเลือกเรียนบาลีหรือว่าเรียนสันสกฤตก็ได้ ผมไม่ทราบถึงความแตกต่างครับ

อนุญาตให้แสดงความเห็นได้เฉพาะสมาชิก
พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท