ดาวดวงใหม่เกิดแล้ว ที่บ้านทุ่งโป่ง และดาวก็มีสีเขียวมะกอกด้วย


           ผมเองได้ส่ง นศ. คณะเภสัชศาสตร์ หลักสูตร เภสัชกรรมปฐมภูมิ จาก มหาวิทยาลัยวลัยลักษณ์ ในรุ่นแรกเป็นนักศึกษา 2 คนคือ น้องติดตี่ กับ น้องเอรินเอิ้ล แรกผมก็กลัวๆ คิดว่า นักศึกษาเภสัช ผู้หญิง คงจะลุยออกหมู่บ้าน ไม่ไหว แต่ผิดคาด นักศึกษาใจสู้มาก จากวันแรก ที่อ่อนปวกเปียก ตอบคำถามอะไรก็ไม่ได้ ออกไปชุมชน ก็ดูปอดๆ ขาดความเชื่อมั่นในตนเอง ในส่วนวิชาการที่่ขาดผมสอน เสริมความรู้เข้าไป และ แสดงตัวอย่างในการบริบาลทางเภสัชกรรม คนไข้จริงให้ดู สอนตรวจร่างกายคนไข้ ตรวจเลือด



               วัดความดันโลหิต และ ผลักดันให้นักศึกษาลงชุมชน เกือบทุกวันไปบ้านทุ่้งโปร่ง บ้านที่ หลายๆ คนขยาดว่าชาวบ้านหัวแข็ง มาก แต่เนื่องจาก ความขยัน รับผิดชอบ ใส่ใจ ของนักศึกษาบวกกับผมแนะนำเพีัยงเล็กน้อย มันทำให้นักศึกษา เป็นชวัญใจชาวบ้านในเวลาแค่ 1 เดือนเท่านั้น หากใครได้ไปเห็นกับตา จะเข้าใจเลย ว่าชาวบ้านรัก และให้การยอมรับ นักศึกษามากแค่ไหน และแน่นอน ดาวดวงใหม่เกิดแล้ว ที่นี่ บ้านทุ่งโปร่ง อำเภออุบลรัตน์ จ.ขอนแก่น และเป็นดาวที่มี สีเขียวมะกอกด้วยครับ

นศภ.ให้ข้อมูลว่ารู้แล้ว ทำไมคนใต้ถึงเกลียดคนเสื้อแดง และทำไมคนเสื้อแดงถึงเกลียด กปปส

นศภ.บอกว่าที่บ้านดฅูบลูสกายทุกวัน โดนยุ โดนเชียร์ให้เกลียด นปช.มากๆๆ

มาอยู่ที่ทุ่งโป่งได้ดู เอเซียอัพเดท บ่อยๆ ตอนนี้ ใจ เริ่มเกลียดชังการกระทำของ กปปส.บ้างแล้ว

พอ นศ.ได้สติก็เลยรู้ว่าการเสพสื่อ พวกนี้บ่อยๆ มันยุยงให้คนไทยเกลียดชังกัน

2 นศ.สาวใต้ ทำได้ พิชิตใจ ชาวอีสาน บ้านทุ่งโปร่งใน 25 วัน
 
       ในเวลาไม่นาน ที่ นศ.สาวใต้ 2 คน (สงขลา+พัทลุง) จาก มหาวิทยาลัยวลัยลักษณ์ ลงไปบ้านที่ว่าหินมากที่สุด คือบ้านทุ่้งโปร่ง (บ้านคนเสื้อแดง)ที่มีคนไข้มากมาย และ ชาวบ้านหลายคนฐานะดี สิ่งที่สามารถเรียนรู้จากการฝึกงานครั้งนี้ก็คือว่า ทำไมชาวบ้านทุ่้งโปร่งนั้น จึงยอม รับนศ.สาว จาก มหาวิทยาลัยวลัยลักษณ์เนื่องจาก
 
1 ความสามารถในการลุย ในการเดินไปทุกพื้นที่ในหมู่บ้านเดินสำรวจอย่างตั้งใจพยายามทำแผนที่เดินดินด้วยตนเองทั้งหมด และค้นหาบ้าน อสม. บ้่านคนป่วย บ้่านผู้นำชุมชน มากมาย เพื่อที่จะเข้าใจบริบทของชุมชนอย่างจริงจัง และผมเองก็ยังให้ นศ.ได้ไปทำประวัติชุมชน สำรวจระบบสุขภาพชุมชน ปัญหาด้านผลิตภัณฑ์สุขภาพต่างๆ ทำให้ นศ.ได้เดินไปถึงทุกหนแห่งในหมู่บ้าน อย่างรู้ลึก รู้มากและเข้าใจพอสมควร
 
2 ลักษณะนิสัยที่อ่อนน้อมและอดทน ทำให้สามารถเข้ากับชาวบ้านได้ดี นอกจากนี้ นศ.จากใต้ยังพบความแตกต่างทางวัฒนธรรมที่ต่างกัน ทำให้เกิดความสนใจใคร่เรียนรู้ ที่จะเข้าใขชาวบ้านเป็นอย่างมาก การสนใจ รับฟัง ซักถามนั้น ทำให้ นศ.ได้รับการยอมรับ และเอ็นดู จากชาวบ้าน เป็นอย่างมากนั่นเอง และอีกอย่าง หลายคนอาจไม่รู้ เพราะผมเติบโตมากับคนใต้(ชุมพร) และเป็นคนอีสาน ผมพบว่าคนใต้ และคนอืสาน มีสิ่งที่มีเหมือนกันก็คือ ความมีน้ำใจโอบอ้อมอารีย์ ความที่เหมือนกันแบบนี้ นี่เอง ที่จะทำให้คนเราเข้าอกเข้าใจกัน และรักกันในที่สุด
 
 
3 ความขยันในการทำงานมาลงพื้นที่เกือบทุกวัน ทำให้ นศ.ได้มีโอกาสดูแลผู้ป่วยอย่างใกล้ชิด ติดตามต่อเนื่องมาดูแลคนป่วยแทบทุกวัน ประสานดูแล พูดคุยที่จริงจัง อ่อนน้อมแต่ขยัน ทำตัวเหมือนลูกเหมือนหลาน การทำงานแบบนี้ คือการทำงานอย่างจริงจัง ซึ่งโดนใจชาวบ้านมาก จึงทำให้ได้ใจชาวบ้านทุ่้งโปร่งไปเต็มๆ
 
4 ทำงานแบบมืออาชีพด้านเภสัชกรรม ผมเองได้ออกแบบการฝึกงานชุมชน โดยให้นักศึกษาแสดงบทบาทของเภสัชกรอย่างเต็มที่ในการจัดการบริบาลทางเภสัชกรรม การดูแลผู้ป่วย นศ.เองได้คัดกรองเจอผู้ป่วยโรคเกาต์ และความดันโลหิตสูง มีการดูแลเยียวยาผู้ป่วยระยะสุดท้ายอย่างใส่ใจ การประสานติดต่อกับแพทย์เมื่อพบปัญหาด้านยาด้วยตัวเอง ติดต่อ พยาบาล และ รพสต. มีการรับฟังคนไข้อย่างเปิดใจ และมีความรู้ทางเภสัชกรรมที่เข้มแข็งพอจะเป็นที่พึ่งให้ชาวบ้านได้ ซึ่งการทำงานแบบนี้ ยังไงๆ ชาวบ้านก็รักก็ชอบอยู่แล้ว
 
ปล.และผมเองก็ได้มีความหวังเล็กๆ ว่าคนใต้กับคนอีสานจะรักและเข้าใจกันได้
หมายเลขบันทึก: 563977เขียนเมื่อ 16 มีนาคม 2014 09:56 น. ()แก้ไขเมื่อ 16 มีนาคม 2014 09:56 น. ()สัญญาอนุญาต: ครีเอทีฟคอมมอนส์แบบ แสดงที่มา-ไม่ใช้เพื่อการค้า-ไม่ดัดแปลงจำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (0)

ไม่มีความเห็น

อนุญาตให้แสดงความเห็นได้เฉพาะสมาชิก
พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท