ภาษาสันสกฤตอย่างง่าย บทที่ 45


ก กริยาย่อย อดีตกาล กรรมวาจก ลงปัจจัย ต (ต่อ)
ข กริยาย่อย อดีตกาล กรรตุวาจก ลงปัจจัย ตวนฺตฺ (หรือ นวนฺต)

บทนี้ว่าด้วยเรื่องการเติมปัจจัย ต โดยเฉพาะ เพราะเราเรียนรู้เรื่องธาตุมาพอสมควรแล้ว รู้เรื่องนามก็พอสมควร จะสังเกตได้ว่าในภาษาสันสกฤต (และคำยืมสันสกฤตในภาษาไทยเอง) มีคำที่ลง ต เยอะมาก (โปรดอ่านเพิ่มเติม )

ก. กริยาย่อย อดีตกาล กรรมวาจก ลงปัจจัย ต (ต่อ)
กริยาที่ลงปัจจัย ต เพื่อแสดงอดีตกาล กรรมวาจกนั้นมีมากมายในภาษาสันสกฤต (บาลีก็เถอะ) แต่ไม่สามารถวางกติกาให้แน่ชัดได้ เว้นแต่จะระบุข้อสังเกตเอาไว้ ซึ่งก็มีหลายข้อทีเดียว

1.ไม่มีการแทรกเสียง อิ นั่นคือ เติม ต ที่ท้ายธาตุได้เลย เช่น ชฺญาต (จาก √ชฺญา), ชิต (จาก √ชิ), กฺษิปฺต (จาก √กฺษิปฺ), หูต (จาก √หู หรือ √หฺวา), วฺฤตฺต (จาก √วฺฤตฺ)

2. หากธาตุลงท้ายด้วยพยัญชนะอื่น ที่ไม่ใช่ ก ต ป ส, จะมีการสนธิเสียง ดังต่อไปนี้

  • 2.1 จฺ และ ชฺ จะกลายเป็น กฺ, เช่น สิกฺต < √สิญฺ+ต, ยุกฺต < √ยุชฺ+ต, ตฺยกฺต < √ตฺยชฺ
  • 2.2 ศฺ กลายเป็น ษฺ (รวมทั้งที่ลงท้ายด้วย ษฺ) และ ต จะกลายเป็น ฏ (คือเปลี่ยนสองครั้ง เปลี่ยน ศ เป็น ษ แล้วเปลี่ยน ต เป็น ฏ ให้อยู่ในฐานเดียวกันเพื่อให้ออกเสียงง่าย) เช่น ทฺฤษฺฏ < ทฺฤศฺ, ทฺวิษฺฏ < ทฺวิษฺ
  • *2.3 ช กลายเป็น ษฺ และ ต กลายเป็น , สฺฤษฺฏ < สฺฤช, มฺฤษฺฏ < มฺฤชฺ **
  • ต้นธาตุเป็น ย เปลี่ยนเป็น อิ และต้นธาตุเป็น ว เปลี่ยนเป็น อุ เช่น ยชฺ> อิษฺฏ (เปลี่ยนตามกฎข้างบนมาก่อน) ปฺรฉฺ > ปฺฤษฺฏ, ตกฺษฺ > ตษฺฏ

3. ธ ท้าย เปลี่ยนเป็น ท, ภ เป็น พ คือทำให้เสียงลมน้อยลง, ส่วน ต ตัวที่มาเติมก็เสียงเพิ่มขึ้นเป็น ธ, เช่น วฺฤธฺ > วฺฤทฺธ, ลภฺ > ลพฺธฺ (คงนึกออก ลาภ และ ลัพธ์ ในภาษาไทย)

4. ห ท้าย จะหดเสียงลงในหลายแบบตามประวัติคำ ดังนี้

  • 1) หฺ รวมกับ ต เป็น ฒฺ และสระข้างหน้าที่สั้นก็จะยืด (เว้น ฤ) เช่น คาฒ < คาหฺ, ลีฒ < ลิหฺ, รูฒ < รุหฺ, มูฒ < มุหฺ, แต่ ทฺฤหฺ > ทฺฤฒ และ สหฺ > โสฒ
  • 2) ห กลับไปเป็น ฆ ตัวเดิม แล้วรวมกับ ต เป็น คฺธ (ฆ ลดเสียงลมเป็น ค, ส่วน ต เพิ่มเสียงลมเป็น ธ) เช่น ทหฺ > ทคฺธ, ทิหฺ > ทิคฺธ, ทุหฺ > ทุคฺธ, มุหฺ > มุคฺธ
  • 3) นหฺ นั้น เสียง หฺ เดิมมาจาก ธ (dh>h) เมื่อเติม ต จึงกลับเป็นตัวเดิมคือ นทฺธ (เท่ากับว่า นธฺ+ต > นทฺธ)

5. ธาตุที่เติม ต ปกติจะทำเสียงอ่อนลงหากทำได้ ดังนี้

  • 1) ลบเสียงนาสิกที่แทรกอยู่ เช่น อญฺชฺ > อกฺต (อญฺชฺ > อชฺ (เข้ากฎข้อ 2 เปลี่ยน ช เป็น ก) > อกฺต), พนฺธฺ > พทฺธ, สฺรํสฺ (หรือ สฺรสฺ) > สฺรสฺต, ศํสฺ > ศสฺต
  • 2) ธาตุที่หดเสียงในรูปสมบูรณ์กาล เมื่อจะเติม ต ก็ย่อด้วย เช่น วจฺ หดเป็น อุจฺ > อุกฺต, วปฺ > อุปฺต, สฺวปฺ > สุปฺต, วหฺ > อูฒ, ยชฺ > อิษฺฏ (เหมือนกับ อิษฺ) วฺยธฺ > วิทฺธ, ปฺรฉฺ > ปฺฤษฺฏ
  • 3) สระอาท้ายธาตุ จะเปลี่ยนเป็น อี บ้าง เช่น คา > คีต, ปา > ปีต. เป็น อิ บ้าง เช่น สฺถา > สฺถิต, ธา > หิต (เปลี่ยน ธ เป็น ห ก่อน), มา > มิต (พระอมิตพุทธ) และธาตุอื่นๆ อีกไม่กี่ตัว
  • 4) มฺ ท้ายธาตุตะหายไปเมื่อมีอะข้างหน้า (ธาตุที่ลงท้ายเป็น อมฺ) เช่น คมฺ > คต, ยมฺ > ยต, รมฺ > รต, 5) นฺ ท้ายธาตุตะหายไปเมื่อมีอะข้างหน้า (ธาตุที่ลงท้ายเป็น อนฺ) เช่น กฺษนฺ > กฺษต, ตนฺ > ตต, มนฺ > มต, วนฺ > วต, หนฺ > หต
  • 5) กรณีพิเศษ ศาสฺ > ศิษฺฏ, ทีวฺ > ทฺยูต

6. กรณีพิเศษเพิ่มเติม

  • 1) ธาตุที่ลงท้าย อมฺ แต่เติม ต เป็น อานฺต เช่น กมฺ, กฺรมฺ, กฺษมฺ, ตมฺ, ทมฺ, ศมฺ, ศฺรมฺ > กานฺต, กฺรานฺต, กฺษานฺต, ตานฺต, ทานฺต, ศานฺต, ศฺรานฺต เป็นต้น
  • 2) ชนฺ, กฺษนฺ และสนฺ เติม ต แล้วเป็น ชาต กฺษาต และ สฺนาต
  • 3) ทา1 (ให้) ได้รูป ทตฺต (มาจาก ททฺ คือซ้ำเสียงก่อน) และมีรูปย่อ “ตฺต” ซึ่งพบมากในคำประสม โดยเฉพาะที่มีอุปสรรคข้างหน้า เช่น ปฺรทตฺต ปฺรตฺต, นิทตฺต หรือ นีตฺต เป็นต้น

7. กรณีแทรกเสียง อิ ก่อนเติม ต, เป็น อิต ปกติจะใช้กับเค้ากริยาที่เปลี่ยนจากธาตุมาชั้นหนึ่ง และ.... (เช่น ชินฺวฺ, หึสฺ) และยังพบได้กับธาตุดั้งเดิมด้วย

8. เมื่อเติม อิต กับเค้ากริยาบอกเหตุ หรือนามธาตุ ปัจจัย อย จะหายไป เช่น จุรฺ > โจริต, คณย > คณิต, ตฑฺ > ตาฑิต, มฺฤ บอกเหตุ มารยติ > กริยาย่อย กรรมวาจก บอกเหตุ มาริต, หนฺ บอกเหตุ, ฆาตยติ > กริยาย่อย ฆาติต

9. การเติม อิต กับธาตุดั้งเดิม

  • ปตฺ (ตก) > ปติต
  • กุปฺ (โมโห) > กุปิต
  • วสฺ (อาศัย) > อุษิต
  • ศฺวสฺ (หายใจ) > ศฺวสิต,
  • ตฺฤษฺ (กระหาย) > ตฺฤษิต
  • ลิขฺ (เขียน) > ลิขิต
  • อีกฺษฺ (ดู) > อีกฺษิต
  • วทฺ (พูด) > อุทิต
  • คฺรหฺ (จับ) > คฺฤหีต
  • ศี (นอน) > ศยิต

10. ธาตุน้อยมากที่ใช้ได้ทั้งเติมและไม่เติม อิ เช่น มทฺ > มตฺต, มทิต
*11. นักไวยากรณ์ถือว่ากริยาย่อยที่ได้จากปัจจัย น เป็นคุณศัพท์ มาจากธาตุที่ไม่ได้ทำเป็นกริยาย่อยตามวิธีปกติ เช่น กฺษาม (ไหม้) กฺษา, กฺฤศ (บาง (กฺฤศฺ), ปกฺก (สุก) ปจฺ, ศุษฺก แห้ง (ศุษฺ), ผุลฺล (ผุลฺ)

ข. กริยาย่อย กรรตุวาจก อดีตกาล เติมปัจจัย ตวนฺตฺ (หรือ นวนฺตฺ) สามารถสร้างโดยเติม วนฺตฺ จากกริยาย่อย กรรมวาจกได้เลย ถ้าเป็นเพศหญิงก็เติม วตี เป็นรูปที่มีความหมายและโครงสร้างแบบกริยาย่อย สมบูรณกาล กรรตุวาจก เช่น กฺฤตวนฺตฺ, ปฺรติปนฺนวนฺตฺ

การใช้งานนั้นมักจะเป็นรูปสมบูรณ์บอกบุคคล โดยไม่มีกริยา เช่น มำ น กศฺจิทฺทฺฤษฺฏวานฺ ไม่มีใครได้เห็นฉัน, หรือมีกริยา เช่น มหตฺกฺฤจฺฉํ ปฺราปฺตวตฺยสิ. (ปราปฺตวตี + อสิ) ท่าน(สตรี)ได้มาสู่ความเศร้าอันยิ่งใหญ่

กริยาย่อยเช่นนี้อาจสร้างจากธาตุที่ไม่ต้องการกรรมก็ได้ เช่น สา คตวตี. นางไปแล้ว.

คำศัพท์
ธาตุ

  • ตฺฤ+ปฺร [บอกเหตุ] (ปฺรตารยติ) ลวง (ธาตุนี้ พจนานุกรมบางเล่มว่า ตฺฤๅ)
  • นหฺ + สมฺ (สมฺนหฺยติ) เตรียมตัว
  • ปทฺ + วิ-อา [บอกเหตุ] (วฺยาปาทยติ) ฆ่า
  • ปลายฺ (มาจาก อิ (ไป) +ปรา(ห่าง)) หนี
  • 2ภุชฺ เพลิดเพลิน, กิน
  • มนฺ+สมฺ ยกย่อง
  • มุหฺ มุหฺยติ. สับสน งุงงน เขลา
  • รุธฺ + อป. ล้อม
  • รุหฺ + ปฺร. (ปฺรโรหติ) เติบโต
  • วิศฺ + ปฺร. (ปฺรวิศติ) เข้าไป แทรก
  • วฺฤตฺ + ปฺร. [บอกเหตุ] (ปฺรวรฺตยติ) ต่อเนื่อง
  • ศิษฺ + อว. รอดชีวิต
  • สฺตฺฤ + อุป. คั้น บีบ

นาม

  • อนฺต ปุ. ปลาย, ในที่สุด (ใช้ อธิกรณการก)
  • อินฺทฺรปฺรสฺถ นปุ. ชื่อเมืองเดลลี
  • ขร ปุ. ลา(สัตว์)
  • คุหา ส. ถ้ำ
  • จริต นปุ. ชีวิต ความประพฤติ
  • ปฺฤถฺวีราช ปุ. ชื่อบุคคล
  • เปาร ปุ. พลเมือง (จาก ปุร)
  • ปฺราสาท ปุ. ปราสาท พระราชวัง
  • ยวน ปุ. ชาวกรีก, คนเถื่อน, บางทีก็ใช้ว่า โยนก
  • ศฺฤคาล ปุ. หมาใน
  • ไสนิก ปุ. ทหาร (จาก เสนา)
  • ไสนฺย นปุ. กองทัพ (จาก เสนา อีกนั่นแหละ)
  • หสฺตินฺ ปุ. ช้าง (จาก หสฺต)

 คุณศัพท์

  • ภูยสฺ (ประสมกับคำอื่น) อีก. เมื่อใช้เป็น นปุ.เอก. หมายถึง ส่วนใหญ่
  • สฺนิคฺธ (กริยาย่อย จาก สฺนิหฺ) ที่รักใคร่

แบบฝึก

๑. แปลสันสกฤตเป็นไทย

๒. แปลไทยเป็นสันสกฤต

ต่อไปนี้ให้ใช้กริยากฤต แทนกริยาอาขยาต
1. ทหารจำนวนมากถูกฆ่า, ผู้ที่รอดหนีแล้วสู่เมือง
2. ประตูทั้งหลายแห่งพระนครถูกปิดแน่น (ใช้คำนี้เลย "ทฺฤฒา อปิหิตาะ"), ชาวเมืองทั้งหลายเตรียมพร้อมเพื่อการรบ
3. ชาวกรีกทั้งหลายไปถึงแล้วและปล้น(ยึด)พระนครแล้ว
4. ในที่สุด ชาวกรีกทั้งหลาย เมื่อได้ชัยชนะ (ใช้กฤติ ปัจจุบัน กรรตุ) เข้าเมืองแล้วโดยกำลัง
5. ชายหนุ่มและแก่ส่วนใหญ่ (ภูยสฺ ไม่แจก) ถูกสังหาร, หญิงถูกทำให้เป็นทาส, ทรัพ์จำนวนมากของชาวเมืองถูกปล้น, พระราชวังและบ้านถูกเผาด้วยไฟ
6. บั้นปลายของปฺฤถฺวีราชถูกบรรยายโดยชาวกรีกทั้งหลาย และชีวิตในกาลก่อนของพระองค์ถูกขับร้องโดยกวีชื่อ จณฺฑ

หมายเลขบันทึก: 564724เขียนเมื่อ 26 มีนาคม 2014 19:00 น. ()แก้ไขเมื่อ 31 พฤษภาคม 2014 22:00 น. ()สัญญาอนุญาต: ครีเอทีฟคอมมอนส์แบบ แสดงที่มา-ไม่ใช้เพื่อการค้า-ไม่ดัดแปลงจำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (17)


...... ตามมาให้กำลังใจ ท่านอาจารย์ นะคะ

ขอบคุณมากครับ คุณพี่ Dr. Ple

1.) ศฺรีมโต ราชฺญะ สํมไตเรภิะ กวิภิริษฺฎานิ วสูนิ ลพฺธานิ

2.) กุโต ภวานาคต อติ ทฺทธิ สฺถิตะ ปริวฺรา .. หสฺย ปตฺยา ปฺฤษฺฎะ

3.) .. ภิรฺคฺฤหีโต หริณี วฺยาไธวฺรฺยาปาทิตะ

4.) มูฑูะ ขระ ศฺรคาลสฺย สฺนิคฺธาภิรฺวาคฺภิะ ปฺรตาริตะ สิํหสฺย คูหายามาคตสฺเตน หตะ

5.) กฺเษเตฺรษุ สิ .. ภิรฺเมธานาม .. รฺธานฺยํ ปฺรรูฑมฺ

6.) กาศฺยามุษิไตรฺภฺราตฺฤภิะ ศาสฺพาธิ สมฺยคธีตานีติ เตษามมาจารฺเยณา ลิขิตาตฺปพฺราทวคมฺยเต

7.) อุทีจฺยาทิโศ ยวเนษฺวาคจฺ .. ตฺสุ ปฺฤยฺวีราช อินฺทฺรปฺรสฺถาตฺไสนฺเยน สห นิษฺกฺรานฺตะ

8.) ปถิ สํคจฺ..ภาไนทิ .. ภิะ สห มห .. สํชาตมฺ

9.) ตสฺมินฺราชาปราชิตะ ศไรรฺวิ .. หสฺติโน ภูเมา ปติโต ยวไนโชรฺวนฺเนว คูหิตะ ป.. ธาติตะ

1.) ศฺรีมโต ราชฺญะ สํมไตเรภิะ กวิภิริษฺฎานิ วสูนิ ลพฺธานิ

2.) กุโต ภวานาคต อติ ทฺทธิ สฺถิตะ ปริวฺรา .. หสฺย ปตฺยา ปฺฤษฺฎะ

กุโต ภวานาคต อิติ ทฺวาริ สฺถิตะ ปริวฺรางฺคฺฤหสฺย ปตฺยา ปฺฤษฺฎะ

3.) .. ภิรฺคฺฤหีโต หริณี วฺยาไธวฺรฺยาปาทิตะ

ศฺวภิรฺคฺฤหีโต หฺฤริณี วฺยาไธวฺรฺยาปาทิตะ

4.) มูฑูะ ขระ ศฺรคาลสฺย สฺนิคฺธาภิรฺวาคฺภิะ ปฺรตาริตะ สิํหสฺย คูหายามาคตสฺเตน หตะ

มูฒะ ขระ ศฺฤคาลสฺย สฺนิคฺธาภิรฺวาคฺภิะ ปฺรตาริตะ สิํหสฺย คูหายามาคตสฺเตน หตะ

5.) กฺเษเตฺรษุ สิ .. ภิรฺเมธานาม .. รฺธานฺยํ ปฺรรูฑมฺ

กฺเษเตฺรษุ สิกฺตาภิรฺเมฆานามทฺภิรฺธานฺยํ ปฺรรูฒมฺ

6.) กาศฺยามุษิไตรฺภฺราตฺฤภิะ ศาสฺพาธิ สมฺยคธีตานีติ เตษามมาจารฺเยณา ลิขิตาตฺปพฺราทวคมฺยเต

กาศฺยามุษิไตรฺภฺราตฺฤภิะ ศาสฺตฺราณิ สมฺยคธีตานีติ เตษามมาจารฺเยณ ลิขิตาตฺปตฺตฺราทวคมฺยเต

7.) อุทีจฺยาทิโศ ยวเนษฺวาคจฺ .. ตฺสุ ปฺฤยฺวีราช อินฺทฺรปฺรสฺถาตฺไสนฺเยน สห นิษฺกฺรานฺตะ

อุทีจฺยาทิโศ ยวเนษฺวาคจฺฉตฺสุ ปฺฤถฺวีราช อินฺทฺรปฺรสฺถาตฺไสนฺเยน สห นิษฺกฺรานฺตะ

8.) ปถิ สํคจฺ..ภาไนทิ .. ภิะ สห มห .. สํชาตมฺ

ปถิ สํคจฺฉมาไนทฺวิฑฺภิะ สห มหทฺยุทฺธํ สํชาตมฺ

9.) ตสฺมินฺราชาปราชิตะ ศไรรฺวิ .. หสฺติโน ภูเมา ปติโต ยวไนโชรฺวนฺเนว คูหิตะ ป.. ธาติตะ

ตสฺมินฺราชา ปราชิตะ ศไรรฺวิทฺธา หสฺติโน ภูเมา ปติโต ยวไนรฺโชวนฺเนว คูหีตะ ปศฺจาจฺจาสินา ฆาติตะ

อาจมีพิมพ์ผิดบ้าง ช่วยเช็คด้วย เวลาอ่านแล้วจะฟ้องเอง

1.) ศฺรีมโต ราชฺญะ สํมไตเรภิะ กวิภิริษฺฎานิ วสูนิ ลพฺธานิ

'''..ศฺรีมโต ราชฺญะ..'' สองคำนี้มาจาก - ศฺรีมนฺตฺ (เพศชาย) ผู้มีศรี - ผู้ร่ำรวย - มีสิริมงคล แจกเป็นเคสห้า เอกพจน์ --> ศฺรีมตสฺ
- ราชฺญะ มาจาก ราชนฺ (เพศชาย) พระราชา แจกเป็นเคสห้าเช่นกัน เอกพจน์ --> ราชฺญสฺ, สองคำนี้เป็นพยัญชนะการันต์นะ เลยแปลว่า จากพระราชาผู้ร่ำรวย

วสูนิ มาจาก วสุ เพศกลาง อุการันต์ --> แจกเป็นเคส 1,2 พหูพจน์ = ทรัพย์ ความมั่นคง

กวิภิสฺ มาจาก กวิ = กวี,ผู้รจนาพระเวทย์ อิการันต์ เพศชาย แจกเคสสาม พหูพจน์

ลพฺธานิ มาจาก ธาตุ ลภฺ ตามกฎกฤตอดีตกาลกรรมวาจก เปลี่ยน พ เป็น ภฺ เติม ต แปลง ต เป็น ธ แล้วผัน

อิษฺฎานิ มาจากธาตุ ยชฺ บวงสรวง บูชา ทำกฤตอดีตกรรมวาจก เปลี่ยน ย หน้า ธาตุเป็น อิ เปลี่ยน ช เป็น ษฺ เติม ต แล้วแปลง ต เป็น ฎ อีกทีแล้วผัน

สํไตสฺ เอภิสฺ แจกเคสสาม พหูพจน์

หนูเลยแปลว่า ที่สรรเสริญแล้วโดยกวีทั้งหลายเหล่านั้น(และ)รับแล้วซึ่งทรัพย์ทั้งหลายจากพระราชาผู้ร่ำรวย

คือหนูไม่เข้าใจ อิษฺฐานิ ทำไมถึงแจกเป็นเคสหนึ่งเคสสอง ดูไม่สัมพันธ์กับตัวอื่นเลยค่ะ



ครูคะ แบบฝึกแปลสันสกฤตเป็นไทยข้อสอง ปตฺยา มาจากไหนคะ ครูช่วยดูหน่อยค่ะ มาบทนี้รู้สึกว่าหนูจะมีปัญหางงงวยกับทุกข้อจริงๆ

2.)กุโต ภวานาคต อิติ ทฺวาริ สฺถิตะ ปริวราฎฺคฺฤหสฺย ปตฺยา ปฺฤษฺฎะ

นักบวช (ปฺริวาราฎฺ) ได้ถาม (ปฺฤษฺฎสฺ) ท่าน (ภวานฺ) ว่า (อิติ) มา (อาคตสฺ) อยู่ (สถิตสฺ) ในประตู (ทฺวาริ) ที่ใด (กุตสฺ) ของบ้าน (คฺฤหสฺ)

ข้อสาม ศฺวภิรฺคฺฤหีโต หฺฤริณี วฺยาไธวฺรฺยาปาทิตะ

แยกได้สองคำเองค่ะ คฺฤหีโต --> ธาตุ คฺรหฺ (จับ) แล้วเติม -อิต --> คฺฤหีต และ วฺยาไธ --> วฺยาธิ

2) "กุโต ภวานาคต" อิติ ทฺวาริ สฺถิตะ ปริวราฎฺ คฺฤหสฺย ปตฺยา ปฺฤษฺฎะ

นักบวชผู้อยู่ที่ประตู ถูกถามแล้วโดยเจ้าของบ้าน ว่า "ท่านมาจากไหน"

ปตฺยา <= ปตี/ปติ

ศฺวภิรฺ  คฺฤหีโต หริโณ วฺยาไธรฺ วฺยาปาทิตะ

กวางที่ถูกจับโดยสุนัขทั้งหลาย ถูกฆ่าแล้วโดยพรานทั้งหลาย 

หริโณ ไม่ใช่ หริณี

คราวหน้าสงสัยต้องเช็คปริวรรตโดยละเอียด

4.) มูฒะ ขระ ศฺฤคาลสฺย สฺนิคฺธาภิรฺวาคฺภิะ ปฺรตาริตะ สิํหสฺย คูหายามาคตสฺเตน หตะ

ลา (ขระ) โง่ (มูฒะ) ถูกลวง (ปฺรตาริตะ) มา (อาคตสฺ) ฆ่า (หตะ) ในถ้ำ (คูหายามฺ) ด้วยคำพูดทั้งหลาย (วาคฺภิสฺ) อันอ่อนหวาน (สฺนิคฺธาภิสฺ) ของราชสีห์ (สิํหสฺย) และของหมาใน (ศฺฤคาลสฺย)

# ส่วน เตน นี้มาจากสรรพนาม ต ที่แปลว่าสิ่งนั้นใช่มั้ยคะ ตอนแรกว่าจะจับเข้าพวกกับ สฺนิคฺธาภิสฺ และ วาคฺภิสฺ เห็นว่าแจกเคสเดียวกันแต่คนละพจน์เลยแปลไม่ถูกค่ะ

4.) มูฒะ ขระ ศฺฤคาลสฺย สฺนิคฺธาภิสฺ วาคฺภิสฺ ปฺรตาริตะ/ สิํหสฺย คูหายามฺ อาคตสฺ/ เตน หตะ

ลาโง่ ถูกลวงแล้วโดยคำพูดอันอ่อนหวาน ของหมาใน, มาแล้วในถ้ำแห่งสิงโต, ถูกฆ่าแล้วโดยเขา

เตน คือ ผู้เขา (สิงโต). ตทฺ แปลว่า เขา หรือ สิ่งนั้น ก็แล้วแต่เพศ


แปลถูก แต่ให้แยกข้อความเป็นกลุ่มๆ จะได้ไม่หลง

5.)กเษตฺรษุ สิกฺตาภิรฺเมฆานามทฺภิรฺธานฺยํ ปฺรรูฒมฺ

ข้าว (ธานฺยํ) ที่เติบโตแล้ว ( ปฺรรูฒมฺ) ในนา(กฺเษตฺรษุ) ถูกประพรมแล้ว(สิกฺตาภิสฺ) ด้วยน้ำทั้งหลาย( อทฺภิสฺ) ของเมฆทั้งหลาย (เมฆานามฺ)

5.) กเษตฺรษุ สิกฺตาภิรฺ เมฆานามฺ อทฺภิรฺ ธานฺยํ ปฺรรูฒมฺ

ข้าว (ธานฺยํ) เติบโตแล้ว (ปฺรรูฒมฺ)  ด้วยน้ำทั้งหลาย( อทฺภิสฺ) ของเมฆทั้งหลาย (เมฆานามฺ) 

ที่ถูกประพรมแล้ว(สิกฺตาภิสฺ) ในนาทั้งหลาย (กฺเษตฺรษุ)

แยกสนธิได้หมดแต่แปลไม่ได้ค่ะ เลยขอส่งแบบมั่วๆไปแทน

กาศฺยามุษฺไตรฺภฺราตฺฤภิะ ศาสฺตราณิ สมฺยคฺธีตานีต เตษามาจารเยณ ลิขิตาตฺปตฺฺตราทวคมฺยเต

กาศฺยามฺ อุษิไตสฺ ภฺราตฺฤภิสฺ ศาสฺตฺราณิ สมฺยกฺ อธีตานฺ อิติ เตษามฺ อาจารเยณ ลิขิตาตฺ ปตฺตฺราตฺ อวคมฺยเต (√คม + อว กรรมวาจก ปัจจุบันกาล )

ความรู้ทั้งหลายถูกทำให้เข้าใจโดนอาศัยพี่ชายในเมืองกาศี โดยการศึกษาที่เหมาะสมว่าจากอาจารย์เขียนจดหมาย ฮ่าๆๆ ขำตัวเอง

1. ทหารจำนวนมากถูกฆ่า, ผู้ที่รอดหนีแล้วสู่เมือง = ปฺรภูตาะ ไสนิกา วฺยาปาทยตาะ นครํ ปลายฺตาะ
2. ประตูทั้งหลายแห่งพระนครถูกปิดแน่น (ใช้คำนี้เลย "ทฺฤฒา อปิหิตาะ"), ชาวเมืองทั้งหลายเตรียมพร้อมเพื่อการรบ = นครสฺย ทฺวาระ ทฺฤฒา อปิหิตาะ ,เปาราะ สมฺนหฺยนฺติ ยุทฺธาย
3. ชาวกรีกทั้งหลายไปถึงแล้วและปล้น(ยึด)พระนครแล้ว = นครี ยวนา คตา อปรุทฺธาะ
4. ในที่สุด ชาวกรีกทั้งหลาย เมื่อได้ชัยชนะ (ใช้กฤติ ปัจจุบัน กรรตุ) เข้าเมืองแล้วโดยกำลัง = อนฺเตน ยวนา ชยนฺตา พเล นครํ คตาะ
5. ชายหนุ่มและแก่ส่วนใหญ่ (ภูยสฺ ไม่แจก) ถูกสังหาร, หญิงถูกทำให้เป็นทาส, ทรัพ์จำนวนมากของชาวเมืองถูกปล้น, พระราชวังและบ้านถูกเผาด้วยไฟ = แต่งไม่ได้สับสนค่ะ
6. บั้นปลายของปฺฤถฺวีราชถูกบรรยายโดยชาวกรีกทั้งหลาย และชีวิตในกาลก่อนของพระองค์ถูกขับร้องโดยกวีชื่อ จณฺฑ = ปฺฤถิวีราชสฺยนฺโต วรฺณยโต ยวเนภฺยะ เต ชีวิตะ กฺวเยะ นาม จณฺโฑ คียเต

7.) อุทีจฺยาทิโศ ยวเนษฺวาคจฺฉตฺสุ ปฺฤถฺวีราช อินฺทฺรปฺรสฺถาตฺไสนฺเยน สห นิษฺกฺรานฺตะ

- ปฺฤถฺวีราช > ข้าแต่ปฤถวีราช

- อินฺทฺรปฺรสฺถาตฺ > จากเมืองอินทรปรัสถ์

- ไสนฺเยน > โดยกองทัพ

- สห นิษฺกฺรานตะ > พร้อมกับได้ถูกขับไล่ออกไปแล้ว

ส่วน อุทีจฺยาทิโศ คิดว่า อุทีจฺ คงมาจากเค้าแข็งของ อทญฺจฺ เค้าแข็งคือ อุทญฺจฺ แต่หนูสงสัยว่า ย นั้นมาจากไหน

ทิโศ ก็คงมาจาก ทิศฺ ในโจทย์บังคับแจกเคสห้า เลยคิดว่าสองคำนี้น่าจะแปลว่าทิศเหนือเลย

ส่วน ยวเนษฺวา แยกได้แค่ ยวน และ อาคจฺฉตฺสุ ค่ะ ไม่รู้ว่า ษฺว นั้นมาจากไหน

อนุญาตให้แสดงความเห็นได้เฉพาะสมาชิก
พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท