เตรียมตัว ก่อนเรียนสันสกฤต (บทที่ 3) การประสมสระ และพยัญชนะประสม


การเขียนอักษรเทวนาครีนั้น ใช้หลักเดียวกับอักษรตะวันออกทั้งหลาย นั่นคือ พยัญชนะตัวหนึ่งและมีรูปย่อยหลายรูป ขึ้นกับสระหรือพยัญชนะที่มาประสมด้วย ในที่นี้จะแบ่งประเภทดังนี้

ก.สระ

สระนั้นกล่าวไปบ้างแล้วว่ามีสระลอย และสระจม คราวนี่ขอกล่าวให้ครบเครื่องสำหรับสระจม หรือสระที่ประจมด้วยพยัญชนะอื่น

๑.สระอะ ถ้าไม่ได้อยู่ต้นคำ จะไม่มีรูปสระปรากฏ ดังนั้น क च त प ก จ ต ป อย่างนี้ ก็อ่านว่า กะ จะ ตะ ปะ

๒.สระอา มีลักษณะเป็นเส้นตรง เขียนหลังพยัญชนะอื่น मा มา दा ทา रामायण รามายณ บางครั้งจะมีจุดใต้สระอา เมื่อสระอะ/อาสนธิกัน ข้างล่างนี้คือ ปศฺจาจฺจาสินา (ปศฺจาตฺ, จ, อสินา สนธิกัน ca และ asinā สนธิกันเป็น อา และมีจุดข้างใต้)

๓. สระอิ นั้นเขียนข้างหน้าพยัญชนะ เช่น हि หิ क्षिप् กฺษิปฺ

๔. สระอี เขียนหลังพยัญชนะ เช่น वि  วิ श्री ศฺรี ว่ากันว่า อิและอี เดิมนั้นเขียนโค้งข้างบน ยังไม่ยืดลงมาข้างล่าง (คล้ายของไทยเราเลยเนอะ) ลองสังเกตสระอุ อู ในข้อต่อๆ ไป

๕. สระอุ และอู เขียนใต้พยัญชนะ ไม่มีเขียนขึ้นมาแต่อย่างไร ต่างกันที่สระอุ เขียนหัวใต้พยัญชนะ แล้วตวัดหางไปข้างหน้า ส่วนอูนั้นตวัดหางไปข้างหลัง สระอุอูนั้นบางครั้งก็เปลี่ยนรูปไปเมื่อพยัญชนะที่จะใช้มีรูปขัดกัน เช่นเมื่อประสมกับพยัญชนะ ร จะได้ रु रू รุ รู

๖. ฤ ฤๅ และ ฦ ฦๅ เขียนใต้พยัญชนะ ถ้าเสียงสั้นก็เขียนหยักเดียว เสียงยาวก็สองหยัก พยัญชนะบางตัวไม่เหมาะที่จะเขียนข้างใต้ ก็ไปห้อยไว้ตรงกลาง เช่น कृहृगृपृหฺฤ

กรณีพิเศษ ร ประสมสระฤ จะเขียน ร บนเส้นบรรทัดเหนือสระฤ เช่น นิรฺฤติ निरृति (แต่การแสดงผลของฟอนต์บางแบบอาจไม่ถูกต้อง)

๗.สระประสม เอ ไอ เขียนบนพยัญชนะ สระ โอ เอา เขียนบนและหลังพยัญชนะ नो โน भो โภ यो โย तो โต ज्योतिस् ชฺโยติสฺ ตัวพิมพ์บางแบบเครื่องหมายบนพยัญชนะ จะไม่ติดกับขีดด้านหลัง ก็มี

ข. พยัญชนะประสม

โดยหลักการแล้วจะเขียนพยัญชนะตัวหน้าครึ่งตัว ตัวหลังเต็มตัว เรียงกันไป เช่น ชฺช (jja) คฺค ยฺป ज्जग्गय्प

  • บางตัวก็เขียนซ้อนบนล่าง เช่น क्क च्च क्व प्त त्न กฺก, จฺจ, กฺว, ปฺต, ตฺน (ทั้งนี้การแสดงผลในจอคอมพิวเตอร์ ขึ้นกับชนิดของฟอนต์)
  • บางตัวมีการย่อเหลือเพียงบางส่วน เช่น ปฺล
  • บางตัวดูยาก द्द ทฺท द्ध ทฺธ
  • บางตัวมีรูปเฉพาะ เช่น क्ष กฺษ มีรูปเฉพาะ ज्ञ ชฺญ มีรูปเฉพาะ

อักษร ร เมื่อควบกับพยัญชนะอื่น จะมีรูปพิเศษ ดังนี้

  1. เมื่อตามหลังพยัญชนะอื่น จะเป็นขีดเฉียง หน้าพยัญชนะนั้น เช่น क्र กฺร ग्र คฺร प् रปฺร स्र สฺร(บางตัวอาจเปลี่ยนแปลง เช่น त्र ตฺร श्र ศฺร)
  2. เมื่อนำหน้าพยัญชนะอื่น จะมีลักษณะคล้ายตะขอ เหนือพยัญชนะนั้น เช่น कर्म กรฺม र्म รฺม र्द รฺท
  3. กรณีนี้สำคัญ เมื่อ ร ประสมกับสระ ฤ ให้เขียนเหมือน ร ประสมพยัญชนะ คือเขียนเป็นขอบนสระฤ เช่น निरृति นิรฺฤติ

ภาพซ้ายคือที่การแสดงผลทั่วไป ภาพขวามือคือการเขียนคำนี้ที่ถูกต้อง

พยัญชนะประสมสามตัวขึ้นไป (เต็มที่คือ 5 ตัว แต่พบน้อยมาก) ก็ใช้หลักการเดียวกัน เช่น

त्त्व ตฺตฺว द्ध्य ทฺธฺย द्व्य ทฺวฺย द्र्यทฺรฺย ..

ลองอ่านนะครับ

*สำหรับ นิคหิต บนตัวพยัญชนะ จะออกเสียงเป็นตัวสุดท้ายของพยัญชนะวรรคที่ตามมา

ถ้าพยัญชนะนอกวรรคตามมา หรือไม่มีพยัญชนะตามมา ให้ออกเสียงเหมือนมี มฺ สะกด

เช่น พุทฺธํ = พุทฺธัม, สํฆํ = สังฆัม

नमो तस्स भगवतो अरहतो  सम्मासम्बुद्धस्स

सरणत्तय

बुद्धं सरणं गच्छामि

धम्म सरणं गच्छामि

संघं सरणं गच्छामि

पच्चसीलानि

पाणातिपता वेरमणि , सिक्खापदं समदियामि 
अदिन्नादाना वेरमणि , सिक्खापदं समदियामि 
कामेसु मिच्छाचारा वेरमणि , सिक्खापदं समदियामि 
मुसावादा वेरमणि , सिक्खापदं समदियामि 
सूरा-मेरय-मज्ज पमादटठाना वेरमणि , सिक्खापदं समदियामि 

(ขอบคุณ ข้อความจาก http://namobudhay.blogspot.com/2012/04/blog-post.html)

หมายเลขบันทึก: 565266เขียนเมื่อ 2 เมษายน 2014 19:51 น. ()แก้ไขเมื่อ 8 สิงหาคม 2014 17:51 น. ()สัญญาอนุญาต: ครีเอทีฟคอมมอนส์แบบ แสดงที่มา-ไม่ใช้เพื่อการค้า-ไม่ดัดแปลงจำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (6)

เทวนาครียากจังเลย แต่จะพยายามลองหัดเรียนรู้ดู 

กลับมาแล้วค่าาา

ทรายกลับมาเรียนต่อค่ะ

หายไปแว้บเดียว บทเรีบนเพิ่มขึ้นเยอะเลย ขอบคุณอาจารย์มากเลยค่ะ

ดีใจที่บทเรียนเพิ่ม ทั้งที่ทรายยังไม่ได้เริ่มบท 1 เลย (แต่บทปรับพื้นฐานของอาจารย์นี่ก็ไม่เด็กนะ ทรายว่า ^^")

ทรายมี 2 เรื่องค่ะอาจารย์

1. คำถาม

2. ลองอ่านให้ อ. ช่วยตรวจความถูกผิดค่ะ

---

คำถาม:

1. ตรง "ปศจาจฺจาสินา" ตัว ศะ+จะ นี่คือ ต้องจำตีวนี้เป็นตัวเฉพาะเลยใช่ไหมคะ

เนื่องจากทรายลองกลับอักษรไปมา ระหว่าง "श กับ च" แล้ว มันไม่ได้ตัวนั้นเลย หรือว่มตัว "ศ" มีรูปร่างอื่นอีก?

2. ตรงหัวข้อพยัญชนะประสม

คำว่า "ज्जग्गय्ण" ตรง "य्प" ไม่ได้ออกเสียง "ยฺป" เหรอคะ?

3. ตรงนิคหิตค่ะ ไม่ค่อยเข้าใจ แต่คิดว่าถ้ามีตัวอย่างจะเข้าใจค่ะ

อย่างออกเสียงเป็นตัวท้ายของพยัญชนะวรรคที่ตามมา ขอตัวอย่างสักคำ 2 คำที่ตามกันมาได้ไหมคะ

และ สํ ฆํ ทำไมไม่เป็นสังฆัง?

รบกวนอาจารย์ช่วยไขข้อข้องใจหน่อยค่ะ ขอบคุณค่ะ

ต่อไป ขอส่งการลองเขียนเสียงอ่านดูค่ะ

ดีใจมากที่ อ. ยกบทนี้มาให้ลองอ่าน (ทรายฝึกเขียนตามด้วย) เพราะมีประสบการณ์ร่วม ที่ดีใจคือรู้ความหมาย ^^!

แต่อาจจะมีการเข้าใจผิด ทรายเลยขอรบกวนอาจารย์ช่วยตรวจที่ทรายพิมพ์ หากอาจารย์มีเวลาเหลือบ้างนะคะ

1. นโม ตัสฺสะ ภควโต สัมฺมาสัมฺพุทฺธัสฺส

2. สรณัตฺตยา

3. พุทฺธัง สรณัง คัจฺฉามิ

ธัมฺมัง...

สังฆัง... (<-- คาใจ สัมฆัง เลย ^^! )

4. ปัจฺจสีลานิ

5. ปาณาติปาตา เวรมณี สิกฺขาปทัง สมทิยามิ

อะทินฺนาทานา ...

กาเมสุ มิจฺฉาจารา ...

มุสาวาทา ...

สุรา เมรย มัชฺช ปมาทฏฐานา ...

ขอบพระคุณค่ะ

กลับมาแล้วค่าาา

ทรายกลับมาเรียนต่อค่ะ

หายไปแว้บเดียว บทเรีบนเพิ่มขึ้นเยอะเลย ขอบคุณอาจารย์มากเลยค่ะ

ดีใจที่บทเรียนเพิ่ม ทั้งที่ทรายยังไม่ได้เริ่มบท 1 เลย (แต่บทปรับพื้นฐานของอาจารย์นี่ก็ไม่เด็กนะ ทรายว่า ^^")

ทรายมี 2 เรื่องค่ะอาจารย์

1. คำถาม

2. ลองอ่านให้ อ. ช่วยตรวจความถูกผิดค่ะ

---

คำถาม:

1. ตรง "ปศจาจฺจาสินา" ตัว ศะ+จะ นี่คือ ต้องจำตัวนี้เป็นตัวเฉพาะเลยใช่ไหมคะ

เนื่องจากทรายลองกลับอักษรไปมา ระหว่าง "श กับ च" แล้ว มันไม่ได้ตัวนั้นเลย หรือว่าตัว "ศ" มีรูปร่างอื่นอีก?

2. ตรงหัวข้อพยัญชนะประสม

คำว่า "ज्जग्गय्ण" ตรง "य्प" ไม่ได้ออกเสียง "ยฺป" เหรอคะ?

3. ตรงนิคหิตค่ะ ไม่ค่อยเข้าใจ แต่คิดว่าถ้ามีตัวอย่างจะเข้าใจค่ะ

อย่างออกเสียงเป็นตัวท้ายของพยัญชนะวรรคที่ตามมา ขอตัวอย่างสักคำ 2 คำที่ตามกันมาได้ไหมคะ

และ สํ ฆํ ทำไมไม่เป็นสังฆัง?

รบกวนอาจารย์ช่วยไขข้อข้องใจหน่อยค่ะ ขอบคุณค่ะ

ข้อ 1 ข้ามคำว่า "อรหโต" ไปค่ะ

ขออภัยค่ะ

य्प" อ่าน ยฺป ครับ 

แก้แล้วครับ

สันสกฤต โดยปกติ ถ้ามี นิคหิต ออกเสียงเป็น อัม ครับ

สํฆํ ออกเสียง สังฆัม ครับ เพราะ ฆ ตามหลัง สํ, ตัวหน้าจึงออกเสียงเหมือนมี ง สะกด

ส่วนตัวท้าย ไม่มีอะไรตามมา ออกเสียง ฆัม ตามปกติครับ

ขอโทษที่ไม่ได้เข้ามานาน มีปัญหาเรื่องคอม/เว็บ/รหัสผ่าน ฯลฯ

อนุญาตให้แสดงความเห็นได้เฉพาะสมาชิก
พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท