ภาษาสันสกฤตอย่างง่าย บทที่ 46


กริยาย่อย ไม่แจกรูป (Gerund หรือ Absolutive)

ในภาษาสันสกฤตกริยาย่อยประเภทหนึ่ง ที่ไม่แจกรูป ใช้ง่ายมาก แค่เติม ตฺวา หรือ ย ก็เป็นอันใช้ได้ พบในภาษาสันสกฤตแบบแผน (เคยกล่าวไว้แล้วใน เจอรันด์ (gerund) ในภาษาสันสกฤตhttp://www.gotoknow.org/posts/515673) มีรายละเอียดดังนี้

ก. เติมปัจจัย ตฺวา

  1. ธาตุที่ไม่มีการเติมอุปสรรคข้างหน้า จะเติมปัจจัย ตฺวา ได้เลย บางครั้งอาจแทรก อิ ก่อน (การแทรก อิ นั้น คล้ายกับกรณีของการแทรกอิ ในกรณีกริยาย่อย ลงปัจจัย ต และ น ที่กล่าวมาแล้ว) พยัญชนะตัวท้ายของธาตุจะทำสนธิอะไรๆ
  2. สำหรับธาตุที่เติม น ในกรณี กริยาย่อย อดีตกาล กรรมวาจก จะไม่แทรก อิ ก่อนลง ตฺวา
  3. ตัวอย่าง ที่ไม่แทรก อิ

กริยาย่อย

ธาตุ

กริยาย่อย

ธาตุ

ชฺญาตฺวา

√ชฺญา

นีตฺวา     

√นี

ภูตฺวา     

√ภู

หิตฺวา     

√ธา1 (วาง, ดู หิต) และ √หา

คีตฺวา     

√คา

ยุกฺตฺวา   

√ยุชฺ

มตฺวา     

√มนฺ

ตีรฺตฺวา   

√ตฺฤ, ดู ตีรฺณ

ชิตฺวา     

√ชิ

ศฺรุตฺวา   

√ศฺรุ

สฺถิตฺวา   

√สฺถา

ทตฺตฺวา   

√ทา (ดู ทตฺต)

อูกฺตฺวา   

√วจฺ

คตฺวา     

√คม

วิตฺตฺวา    

√วิทฺ(ค้นหา),

ปูรฺตฺวา   

√ปฺฤ (ดู ปูรฺณ)

ต่อไปนี้มีการสนธิระหว่างเสียงท้ายของธาตุ และ ตฺวา

กริยาย่อย

ธาตุ

กริยาย่อย

ธาตุ

ทฺฤษฺฏฺวา

√ทฺฤศฺ

พุทฺธฺวา

√พุธฺ

สฺฤษฺฏฺวา

√สฺฤชฺ

ลพฺธฺวา

√ลพฺ

อิษฺฏฺวา

√ยชฺ (ดู การเติม ต ในบทที่ผ่านมา)

ทคฺธฺวา

√ทหฺ

เมื่อแทรกเสียง อิ

กริยาย่อย

ธาตุ

กริยาย่อย

ธาตุ

วิทิตฺวา

1√วิทฺ (รู้)

อุษิตฺวา

√วสฺ (อาศัย)

ศยิตฺวา

√ศี (ดู ศยิต)

คฺฤหีตฺวา

√คฺรหฺ (ดู คฺฤหีต)

ธาตุบางตัว แทรก อิ หรือไม่ก็ได้ ก่อนเติม ตฺวา แต่อาจเปลี่ยนแปลงเสียงสระบ้าง เช่น

√ขนฺ > ชนิตฺวา หรือ ขาตฺวา

√ภฺรมฺ > ภฺรมิตฺวา หรือ ภฺรานฺตฺวา (มฺ + ตฺ => นฺตฺ)

กริยาบอกเหตุ และนามธาตุ เติม อย ก็จะได้ อยิตฺวา เช่น

√จุรฺ > โจรยิตฺวา

√ตฑฺ > ตาฑยิตฺวา

√สฺถา > สฺถาปยิตฺวา

ข. เติม ย

อันที่จริงน่าจะง่ายกว่าข้อ ก เพราะแค่เติม ย เท่านั้นเอง

1. กรณีนี้ใช้สำหรับธาตุที่มี อุปสรรค และมีการประสมกับหน่วยๆ อื่น หรือ กริยาวิเศษณ์ นาม เป็นต้น กรณีของ ย นี้ไม่มีการแทรกเสียง อิ แต่.... ธาตุที่จบด้วยสระเสียงสั้น จะเติม ตฺ ก่อน ย เช่น

กริยาย่อย

ธาตุ

กริยาย่อย

ธาตุ

ปริณีย

√นี + ปริ

สํสฺตุตฺย

√สฺตุ+ สํ

วิชิตฺย

√ชิ +วิ

อธีตฺย

√อิ + อธิ

อธิกฺฤตฺย

√กฺฤ + อธิ

.

.

2.ธาตุที่ลงเสียง อมฺ และ อนฺ และมีรูปกริยาย่อย อดีตกาล กรรมวาจก เป็น อต จะสร้างรูปนี้เป็น อตฺย เช่น – คตฺย, - หตฺย แต่ธาตุที่ลงท้าย อมฺ (ไม่รวม อนฺ) อาจยังคงเสียงนาสิกไว้ เช่น –คมฺย

3. ธาตุที่ลงท้าย ฤ จะเปลี่ยนเป็น อีรฺ หรือ อูรฺ ก่อนเติม ย เช่น – ตีรฺย, - ปูรฺย

4. เสียงอาท้าย จะไม่เปลี่ยน เช่น อาทาย (ทา+อา)

5. บางธาตุอาจใช้รูปอ่อน ก่อนเติมปัจจัย เช่น

กริยาย่อย

ธาตุ

กริยาย่อย

ธาตุ

ปฺรคฺฤหฺย

√คฺรหฺ + ปฺร

อนูทฺย

√วทฺ+อนุ

สํปฺฤจฺฉฺย

√ปฺรฉฺ + สํ

วฺยุหฺย

√วหฺ + วิ

โปฺรจฺย (ปฺร-อุจฺย)

√วจฺ + ปฺร

.

.

6. กริยาบอกเหตุ และนามธาตุ ให้ลบ –อย ออก เช่น

กริยาย่อย

ธาตุ

กริยาย่อย

ธาตุ

ปฺรโจรฺย

√จุรฺ+ ปฺร

อวฆาตฺย

√หนฺ + อว

ปฺรตาฑฺย

√ตฑฺ + ปฺ

อานายฺย

√นี+อา

7. หากธาตุนั้นลงท้ายพยัญชนะตัวเดียว และตามด้วยสระ อะ ซึ่งไม่ยืดเสียงในกริยาบอกเหตุ กริยาย่อยที่จะได้จะเติม อยฺย เพื่อให้แตกต่างจากธาตุเดี่ยว เช่น อวคมฺ > อวคมฺย เมื่อเป็นกริยาย่อยบอกเหตุ > อวคมยฺย

8. กริยาย่อยไม่แจกรูป ปกติจะใช้เพื่อบอกอาการของประธาน แสดงการกระทำที่เกิดขึ้นพร้อมกัน หรือก่อนกริยาหลัก อาจมีค่าเป็นปัจจุบันกาล อดีตการ ก็ได้ ตัวอย่างเช่น

तद्आकर्ण्य च्छागं त्यक्त्वास्नात्वा स्वगृहं गतः

ตทฺ อากรฺณฺย จฺฉาคํ ตฺยกฺตฺวา สฺนาตฺวา สฺวคฺฤหํ คตะ. (ฉาค = แกะ)

เมื่อได้ยินเช่นนี้แล้ว เมื่อทิ้งแพะแล้ว เมื่ออาบน้ำแล้ว เขาก็ไปแล้วสู่บ้านของเขา

अभिगम्य सुरास्सर्वे प्रणिपत्येदमब्रुवन्

(अभिगम्य सुरास् सर्वे प्रणिपत्य इदम् अब्रुवन्)

อภิคมฺย (คมฺ+ อภิ) สุราสฺสรฺเว ปฺรณิปตฺเยทมพฺรุวนฺ. (√ปตฺ + ปฺร+นิ)

เมื่อเข้าไปแล้ว เมื่อได้น้อมคำนับแล้ว เทวดาทั้งปวง ก็กล่าวแล้ว...

9. ธาตุบางตัวอาจมีความหมายเพียงแต่บุพบท เช่น อาทาย (เมื่อได้รับแล้ว) นั่นคือ ความหมายเหมือนกัน “กับ” มุกฺตฺวา “เมื่อปล่อยแล้ว” ความหมายเหมือนกับ “ปราศจาก, ยกเว้น, เว้นจาก”

10. หน้ากริยาย่อย ไม่แจกรูป อาจใช้คำปฏิเสธ อนฺ หรือ อ เช่น อลพฺธฺวา (เมื่อไม่ได้รับแล้ว) อนาหฺวย (เมื่อไม่ได้เรียกแล้ว)

ศัพท์

ธาตุ

√อสฺ + นิ (นฺยสฺยติ) วางใจ (ให้คนอื่นดูแล)

√อาปฺ ได้รับ บรรลุถึง

√อิ + ปฺร   ไป, ตาย

√อิ + สมฺ + อ = ร่วม

√กฺฤ + อธิ ให้เป็นหัวหน้า (สัมพันธการก)

√จลฺ + ปฺร (ปฺรจลติ) เคลื่อนไป

√จินฺตฺ (จินฺตยติ) พิจารณา

√จฺยุ (จฺยวเต) ตก ล้ม

√ทา+อา รับ

√ธา+สมฺ+อา วาง นอน

√นี+นิสฺ (นิรฺณยติ) พิจารณา กำหนด นำไปสู่ปลายทาง

√ภชฺ + วิ (วิภชติ, วิภชเต) ทำให้แตก

√วฺรชฺ + ปฺร (ปฺรวฺรชติ) ท่องไป ทิ้งบ้านเป็นนักบวชพเนจร

นาม

อภิปฺราย ปุ. แผน การออกแบบ

อาหรณ นปุ. การนำ

กปิ ปุ. ลิง

กรินฺ ปุ. ช้าง

ชย ปุ. ชัยชนะ

ทุรฺทศา ส. โชคร้าย

ปกฺษ ปุ. ปีก ข้าง ด้าน ฝ่าย

เภก ปุ. กบ

ลงฺกา สฺ เกาะลังกา

ศูร ปุ. วีรบุรุษ

สาธน นปุ. หนทาง อุปกรณ์

เสตุ ปุ. สะพาน แนวเขื่อน

หนุมนฺตฺ ปุ. หนุมาน

หุตภุชฺ (ประธาน เอก. หุตภุกฺ) ปุ. ไฟ (ผู้กินเครื่องสังเวย)

คุณศัพท์

อหิต ไม่เห็นด้วย

อาปฺต รับผิดชอบ น่าเชื่อถือ

อุภ (ทวิ.) ทั้งสอง

กฺษุทฺร (-อา ส.) เล็กน้อย

นิตฺย (-อา ส.) ประจำ ทุกวัน

มูรฺธค บนหัว

บุพบท

ปฺรติ (ใช้กับกรรม) ต่อ กับ เช่น อาตฺมานํ ปฺรติ = ต่อตัวเอง

แบบฝึก

1. แปลสันสกฤตเป็นไทย

2. แปลไทยเป็นสันสกฤต

 1). เมื่อพระราชาเอาชนะดินแดน (ใช้ สามนฺต) ตะวันตกแล้ว เสด็จ (ใช้ กฤต กรรม กรรมวาจก) สู่(ดินแดน)ตะวันออก.

2). พ่อค้าทั้งหลาย ยินดีแล้ว (ใช้ กฤต กรรม กรรมวาจก) เมื่อได้รับเงินและถวายอัญมณีแด่พระราชา (ใช้ ตวา, กรรมการก)
3). เมื่อกล่าว “เมื่อบูชาเทวดาในยามสนธยา และวางฟืนบนกองไฟแล้ว จงนำน้ำมาจากบ่อ” แล้ว ครูก็นั่ง (ใช้ กฤต กรรม กรรมวาจก) บนเสื่อ
4). วีรบุรุษต่อสู้แล้วกับศัตรูทั้งหลาย ได้รับเกียรติยศอันยิ่งใหญ่แล้ว โดยชนะต่อพวกเขาทั้งหลาย(สัมพันธการก)
5). พราหมณ์ เมื่อละทิ้งตนเอง (พหุ.) กลายเป็นนักพรตแล้ว (ปฺร-วฺรชฺ กฤต กรรมการก)
6). เมื่อพ่อค้าบอก (วิ-วิทฺ) แผนการณ์แก่คนรับใช้แล้ว ก็ส่งให้เขาไปยังหมู่บ้าน
7). เจ้าบ้านนำเงินไปแล้ว (ตฺวา) และแจกแล้วแก่คนยากจน
8). พระราชาจงอย่าตัดสินคดี โดยปราศจากการฟังข้อโต้แย้ง (วาจฺ) ของทั้งสองฝ่าย
9). ผู้ใดดูหมิ่นศัตรูผู้มีอำนาจ และรบกับพวกเขาโดยปราศจากการคิดถึงวิถีที่จะนำไปสู่ชัยชนะ (ตฺวา), ย่อมพินาศ
10). ผู้ใดเป็นนักบวชโดยปราศจากการศึกษาพระเวท ย่อมไม่บรรลุความหลุดพ้น (แต่)ตกสู่นรก (อธิกรณการก)


(คำในวงเล็บไม่ต้องแปล)

หมายเลขบันทึก: 565543เขียนเมื่อ 7 เมษายน 2014 07:37 น. ()แก้ไขเมื่อ 12 พฤษภาคม 2014 17:56 น. ()สัญญาอนุญาต: ครีเอทีฟคอมมอนส์แบบ แสดงที่มา-ไม่ใช้เพื่อการค้า-ไม่ดัดแปลงจำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (8)

บทที่ 46 แล้วนะคะ ได้ความรู้กันมากกมาย นะคะ ขอบคุณค่ะ ^_^

ขอบคุณค่ะอาจารย์ มาเรียนรู้ด้วยคนค่ะ

มาให้ดอกไม้ ส่วนวิชาขอยอมแพ้ซะแล้ว

คเต หิ ทุรฺทศำ โลเก ..ทฺรี ' ปฺยหิตมาจเรตฺ

ปงฺเก นิมนฺเน กริณี เภโก ภวสิ มูรฺะคะ

1.) ราวุษิตฺวา เวทมธีตฺย สฺพีํ ปริณีย ปุตฺรํ ชยยิตฺวา นิตฺยานิ กรฺมาณยนุษฺฎาย ย .. านิ..ทานานิ จ ทนฺ..เปฺรตฺย พฺราหฺมณี น จฺยวเตพฺรหฺมณี โลกาตฺ

2.) ภุ..ปีตฺวา ไจเต นราะ สุ..

3.)ธีมตำ มนฺพิณามาคมนํ สฺวาภิเน นิเวทฺธ ภฺฤตฺโย นิษฺกฺรานฺต

4.)สรฺวฺยา หนุมตานฺไย..กปิภิสฺ สเมโต'ปำ ภรฺตริ เสตุมฺ พ ..ลงฺกํ ปฺวิศฺย จ ราโม ราวณํ หตวาน

5.)กฺฤตฺสฺนํ วนํ ทคฺ..ตภุคธุนา ศานฺตะ

6.)พลวโต มรูต ขาทาย มธวา ความาหรณาย นิรคตะ

7.)ศิษฺยานา..ยคุรูสฺไตะ สํยคฺวนฺ ทิตสฺตานฺฤโจ ยชูษิํ จาธฺยาปิตวานฺ

8.)หวิเษ..คมฺโย ภูโย ธนํ ยชมาเนน ทตฺรมฺ

9.)ตฺวำ มุ..จ เกนาปิ ตาทูคทูะขํ โสฑมฺ

10.)คูไฑ..ศตฺรูณำ พลํ วิทิตฺวา การฺยาณิ มนฺพิษุ

นยสฺยไสนฺย อา ..ราขา ยุ ..นิรฺ..

คเต หิ ทุรฺทศำ โลเก กฺษุทฺโร ' ปฺยหิตมาจเรตฺ
ปงฺเก นิมคฺเน กริณิ เภโก ภวติ มูรฺธคะ ฯ

1.) คุราวุษิตฺวา เวทมธีตฺย สฺตฺรีมฺ ปริณีย ปุตฺรํ ชนยิตฺวา นิตฺยานิ
กรฺมาณฺยนุษฺฐาย ยชฺญานิษฺฏฺว ทานานิ จ ทตฺตฺวา เปฺรตฺย พฺราหฺมโณ น
จฺยวเต พฺรหฺมโณ โลกาตฺ ฯ

2.) ภุกฺตฺวา ปีตฺวา ไจเต นราะ สุปฺตาะ ฯ

3.) ธีมตำ มนฺตฺริณามาคมนํ สฺวามิเน นิเวทฺย ภฺฤตฺโย นิษฺกฺรานฺตะ ฯ

ปริวรรตแล้ว ต้องคิดด้วยว่าถูกต้องไหม อย่าง "นิษฺกฺรานฺต" แบบนี้ไม่น่าจะถูก ก็ต้องเช็คไวยากรณ์ไปด้วย ตัวไหนผิดบ่อยๆ ต้องทบทวน

แปลไม่รู้เรื่องเลยค่ะ เลยขอแยกมาทีละคำ

6.) พลวโต มรุต อาทาย มฆวา ความาหรณาย นิรฺคตะ

(พลวโต มรุต) เหล่ามรุตผู้ทรงพละกำลัง รับแล้ว (รับแล้ว) พระอินทร์ที่หลบหนีไปแล้ว (มฆวา นิรฺคตะ) เพื่อการนำไปของวัวทั้งหลาย ความาหรณาย หนี

เมื่อรับเหล่ามรุตผู้ทรงพลังแล้ว, พระอินทร์ก็ออกไปแล้ว เพื่อนำวัวทั้งหลายกลับมา

(พระอินทร์มักจะไปตามหาวัว พร้อมกับเหล่ามรุต)

มรุต ประธาน, กรรม พหูพจน์ แจกรูปเดียวกัน เลยงงใช่ไหม

นิรฺคต แปลว่า หาย หรือออกไป ก็ได้

อนุญาตให้แสดงความเห็นได้เฉพาะสมาชิก
พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท