สถาบันครอบครัวสั่นคลอน เมื่อเตารีดหัวไก่ กรรไกรหัวหงส์ พลัดหลงกับเชี่ยนหมาก


ตัวชีวัดว่าครอบครัวใหนที่เป็นครอบครัวใหญ่ มีมิตรสหายแวะเวียน มาสเมอ ให้ดูที่ ปลัก"ขี้กรา" ถ้าปลักขี้กราใหญ่ แสดงว่าเป็นครอบครัวใหญ่มิตรสหายมาก

     

 

เตารีดหัวไก่

 

เตารีดผ้าใช้ถ่าน รุ่นแรกที่ผู้เขียนพบเห็นเมื่อ 50 ปีล่วงมา รุ่นนั้นทุกบ้านมักมีเตารีด

รุ่นหัวไก่ หลังๆมาเป็นหัวเสือ หัวลิงและหัวสิงสาราสัตว์ต่างๆ และที่พบเห็นคู่กันก็คือ

กรรไกรหนีบหมากหัวหงส์ ทุกเรือนชานบ้านช่องที่มีผู้สูงวัย  จะมีเชี่ยนหมากไว้ต้อนรับผู้มา

เยือน

 

กรรไกรหนีบหมากรูปหัวสัตว์

 

 

    ตอนเด็กๆผู้เขียนถูกคุณยายใช้ให้ ลิด(ปลอก)หมากเป็นประจำ ทั้งหมากอ่อน หมาก

ห้าว หมากสุก หมากแห้ง และหมากแช่  การแช่หมากเป็นการถนอมหมากไว้กินข้ามปี การ

ที่ถูกใช้ให้ไปล้วงหมากในไหแช่หมาก  เป็นที่ไม่พึงปราถนา เพราะกลิ่นหมากแช่เหม็น

ติดมือ ทำไปทำมาก็หัดเคี้ยวหมากไปด้วย บางครั้ง คุณยายมักเผื่อแผ่โดยไม่ต้องร้องขอ

 คือมีหมากมีพลู จะให้ผู้เขียนนำไปฝากเพื่อนบ้าน การใช้เด็กๆลูกหลาน นำของไปให้

เพื่อนบ้านผู้หลักผู้ใหญ่ เป็นกุศโลบาย(เป็นกุศลและอุบาย) ที่มีนัยะแฝงเพื่อ สืบโยด สาว

ย่าน สานโยง เชื่อมสายใย แห่งเครือญาติ ว่านเครือทางวัฒนธรรม ด้วยว่าผู้เฒ่าผู้แก่จะซัก

ถาม"เป็นลูกเต้าเหล่าใคร"แล้วมักมีมักของฝากกลับมาให้เป็นการต่างตอบแทน ........

 

       ไปเมืองสามอ่าว กุยบุรีครั้งนี้ นับว่าเป็นการเดินทางที่ไม่รีบร้อน เจ้าของบ้าน  น้อง

มะเดื่อ  ได้นำเที่ยวด่านสิงขร (เคยไปมาแล้วสองสามครั้ง) แต่ไปครั้งนี้ มีโอกาสเดิน

เอ้อระเหยลอยชาย(แก่) แบบพญาน้อยชมตลาด ณ.ร้านขายของเก่า น้อง อรเลือซื้อ ไก่

ทองเหลือง น้องอรถามผู้เขียนว่า ราคาแพงไปใหม ผู้เขียนตอบว่าของรัก ของชอบหากเรา

พอใจ ก็ไม่มีคำว่าแพง แล้วยกตัวอย่างที่ผู้เขียนเคยซื้อ ปกหนังสือ ทั้งๆไม่มีเนื้อข้างในเป็น

เพียงภาพปกที่คนวาดภาพผู้เขียนชื่นชอบ ด้วยราคาหลักพัน  และร้านนี้ผู้เขียนได้สนทนา

กับเจ้าของร้านด้วยการแลกเปลี่ยนเรียนรู้ในสินค้าที่ได้มา...

     เตารัด หัวไก่ และกรรไกรหัวหงส์ ผู้เขียนได้มาพบที่ด่านสิงขร ทั้งๆที่ชอบแต่เอามา

เพียงภาพถ่าย  เหลือไว้เพียงความทรงจำ ในเดือนแห่งมหาสงกรานต์ วันแห่งครอบครัว

เมื่อนึกถึงสถาบันครอบครัวในปัจจุบันที่มักเป็นครอบครัวเดี่ยว ไม่เหมือนสมัย 50 ปีที่ผ่าน

มา จะปลูกบ้านยกพื้นใต้ถุนสูง รั่วบ้านมักใช้ไม้เคี่ยมทั้งต้น นอกชานกว้าง บ้านตามชนบท

มักเป็นครอบครัวใหญ่ ตัวชีวัดว่าครอบครัวใหนที่เป็นครอบครัวใหญ่ มีมิตรสหายแวะเวียน

มาสเมอ  ให้ดูที่ ปลัก"ขี้กรา" ถ้าปลักขี้กราใหญ่ แสดงว่าเป็นครอบครัวใหญ่มิตรสหายมาก

        แต่ปัจจุบันหาชมครอบครอบครัวแบบนี้ยากมากแล้ว เมื่อมาพบพบเตารีดหัวไก่  กับ

กรรไกรหัวหงส์ทำให้นึกถึงความสั่นคลอนของสถาบันครอบครัวใหญ่ หายไปจากชนบท

 เมื่อเตารีดหัวไก่ กรรไกรหัวหงส์พลัดหลงกับเชี่ยนหมาก ด้วยประการะฉะนี้

 

 

เคียวเกี่ยวข้าวเขมร

สาวน้อยชมตลาด

หมายเลขบันทึก: 566034เขียนเมื่อ 14 เมษายน 2014 23:28 น. ()แก้ไขเมื่อ 14 เมษายน 2014 23:48 น. ()สัญญาอนุญาต: ครีเอทีฟคอมมอนส์แบบ แสดงที่มา-ไม่ใช้เพื่อการค้า-ไม่ดัดแปลงจำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (27)

...เครื่องใช้โบราณแสดงออกถึงวัฒนธรรมที่มีความเปลี่ยนแปลงไปตามยุคสมัย บ่งบอกถึงวิถีชีวิตความเป็นอยู่ของผู้คน...ที่สำคัญมีคุณค่าทางจิตใจมากนะคะ

ขอบคุณบันทึกดี ๆ กับเพื่อนดี ๆ ที่คุณวอญ่าได้พบเจอนะครับ

มีความสุขในวันครอบครัว ครับ

ขอบคุณบันทึกทรงคุณค่า ....ได้เคยพบเห็นมาเมื่อเยาว์วัย....ปัจจุบันแปรเปลี่ยนไป...จะอย่างไร....ก็ไม่ลืม....

ขอบคุณด้วยความระลึกถึงนะคะ

ที่บ้านยังมีอันเก่าๆอยู่ 1 อัน

ไม่ทราบว่าหัวอะไร

ต้องกลับไปดู

ไม่ได้ใช้นานมากๆ

เตี่ยหนูบอกว่าแต่ก่อนรีดทีไรผ้าเป็นรู

ปลักขี้กรา เป็นส่วนของบ้านหรือ คืออะไรหรือคะ ขอบคุณบันทึกเกร็ดเล็กเกร็ดน้อยน่าอ่านคะ :)

ของเก่าๆ มีเรื่องราวของความสุขซุกซ่อนเสมอครับ...สุขสันต์วันสงกรานต์นะครับ

ใครอยากกลับไปใช้เตารีดแบบนี้..กินหมากปากเปรอะ..รีบยกมือขึ้นเร็วๆๆๆๆ....๕๕๕๕...(ขอบคุณ..ท่านวอญ่า)

สวัสดีปีใหม่ค่ะ

ทุกปีใหม่ต้องมีเรื่องเล่าหน้าสนใจเสมอ

ชอบค่ะ ภาพเหล่านี้เคยมีที่บ้านเหมือนกัน

แม่กินหมากค่ะ

สมัยที่คุณมะเดื่อยังเป็นเด็กน้อย ที่บ้านยาย มีทุกอย่างที่ลุงวอกล่าวถึง เสียดาย ที่ไม่มีใครได้เก็บไว้เลย โดยเฉพาะเชี่ยนหมาก ที่คุณมะเดื่อกับน้อง ๆ ชอบค้นหาโน่นนี่ เอามาเล่นเสมอ

กรรไกรหัวหงส์ พลัดหลงกับเชี่ยนหมาก ไปอยู่ร้านขายของเก่า ไม่ก็พิพิธภัณฑ์

ที่ลุงเล่ามาน่ะ ทำมาแล้วทั้งนั้น ไหแช่หมากก็ล้วงมาแล้ว

ของคุ้นๆ ทั้งนั้น แสดงว่าเรารุ่นเดียวกันนะ

เรียนท่านดร. พจนา....

สิ่งของเครื่องใช้ โบราณ มีความประณีต ฝีมือทางช่างชั้นสูง

และทุกคนทุกบ้านต้องทำเครื่องมือเครื่องใช้ด้วยตยเอง

ด้ามจอบ ด้ามพร้า ด้ามวาน ไม้คาน สาแหรก เหล่านี้ต้องทำเอง

แต่ปัจจุบัน มีคนทำให้ ขอเพียงมีเงินจ่าย ด้ามจอบด้ามขวาน ใช้เงินทำทั้งนั้น

เป็นภาพที่หาดูได้ยากมากๆครับ ขอให้ท่านวอญ่าและครอบครัวมีความสุขปีใหม่ไทยครับผม

ขอบคุณ น้องแสง แห่งความดี ....

คนแก่ชอบเล่าความหลัง มีความหลังที่ทรงจำนำมาบอกต่อ

เรียนอาจารย์ จีโอวาย อาจารย์เป็นอีกท่านหนึ่งในมิตรรักแฟนเพลงของน้องมะเดื่อ พูดถึงกันอยากให้อาจารย์ มาร่วมวงสนทนา ภาษาแฟนเพลง

ผมเป็นเด็กรุ่นเก่า รุ่นท้าย ๆ ยังโชคดีได้เห็นได้ใช้ เตารีดใช้ถ่าย แต่หัวเป็นตะขอเกี่ยวธรรมดา ก่อนรีดต้องหาใบตองมารองรีดก่อน ได้ใช้กรรไกรปอกหมาก ได้หยิบหมากแช่น้ำที่มีกลิ่นเน่า แต่ก็ไม่ได้รังเกียจอะไร ได้ตำหมากให้ยาย หรือคนแก่กิน ใช้ยลหมาก เป็น กินหมากได้ และอีกหลาย ๆ อย่าง เวลาผ่านไป พอเห็นของพวกนี้ทีไร ภาพสมัยตอนเด็ก ๆ ก็ผุดขึ้นมากทุกทีครับ ขอบคุณที่ทำให้ความสุขในวันวานได้กลับมาอีกครั้งนะครับ

เรียนท่าอาจารย์ ขจิต

ผมได้รับหนังสือเชิญประชุมเรื่องกระดูกพรุนแล้ว วันนี้

ก็คงได้ไปคุยไปฟังและไปเล่าความหลังกัน

กล้วยไข ทันใช้เตารีดใช้ถ่านด้วยหรือ

ต้องคอยพัดให้เถ้าออก

หากถ่านไม้ไม่ดี จะปะทุถ่านไปออกตามช่อง มาโดนผ้า ทำให้ผ้าเป็นรู อย่างที่เตี่ยบอก

เรียนอาจารย์ หมอ ป.

ปรักขี้กรา ที่ ที่ชาวบ้านโบราณ ที่ทำบ้านยกพื้น และที่ในครัว หรือนอกชาน จะเป็นที่ล้างถ้วยชาม ราดน้ำลงใต้ถุน

เกิดเป็นปรักขึ้น บ้านใหนที่ขี้กราใหญ่ แสดงว่าบ้านนั้นคนมาก มีแขกมาพักบ่อย

อาจารย์ กาญจนา คนร่วมสมัยเตารีดใช้ถ่าน

เรียน น้องทิมดาบ

ของเล่าเล่าเรื่อง บอกเล่าถึงยุคสมัย และความเป็นอยู่ในวิถีของผู้คนในอดีต

เรียนรู้อดีต เพื่อปรับใช้ปัจจุบัน และวางแผนอนาคต

เรียนคุณ ยายธี พบของเก่า คนแก่จึงเล่าความหลัง ครั้งสมับใช้สตางค์ รู

เรียนคุณ ตันติราพันธ์....

นานแล้วที่ไม่เจอ เตารีดและกรรไกร จึงบันทึกมารำลึกความหลัง

น้องมะเดื่อ เชี่ยนหมากคือธนาคารของยาย ที่หลานมีใช้ได้ทุกเมือ่

เรียนอาจารย์ หนุ่ย

ไหหมากเป็นประสบการณ์ตรงที่ผู้ล้วงไหหมาก ได้สัมผัส มีคำถามมากมายที่ไม่ได้ถามยาย

แต่วันนี้รู้แล้วว่ายายต้องแช่หมากไว้กินตลอดปี

สวัสดีปีใหม่ไทยเช่นกัน อาจารยฺ์ป็อบ

ขอบคุณครับ

เรียนคุณ ชัยพร

นึกถึงความหลัง คนภูเก็ต พังงาต้องนึกถึง ขุมเหมืองที่เล่นน้ำ นึกถึงน้ำแข็งซึ่ง นึกถึงโตเชี่ยรถ และอีกหลายๆอย่างที่พานพบประสบการณ์ตรงในชีวิต

อนุญาตให้แสดงความเห็นได้เฉพาะสมาชิก
พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท