เตรียมตัว ก่อนเรียนสันสกฤต (บทที่ 4) พยางค์เบาและหนัก กับการเลื่อนขั้นของเสียงสระ


1.พยางค์เบาและหนัก

ในฉันทลักษณ์ พยางค์แบ่งออกเป็นพยางค์หนัก และพยางค์เบา (ไม่ใช่แบ่งที่สระ) มีหลักดังนี้

พยางค์หนัก (คุรุ) คือ
1) พยางค์ที่ประสมด้วยสระเสียงยาว หรือ
2) พยางค์ที่ประสมด้วยสระเสียงสั้นแต่ตามด้วยพยัญชนะมากกว่าหนึ่งตัว (เรียกว่า “เสียงยาวโดยตำแหน่ง”) ในที่นี้นับ วิสรรคะ และอนุสวาระเป็นพยัญชนะเต็มตัว

พยางค์เบา (ลฆุ) คือ พยางค์ที่ประสมด้วยสระเสียงสั้น ตัวอย่าง

เทว เทว ชคตํ ปเต วิโภ
De va de va ja ga tam pa te vi bho
_ . _ . . . _ . _ . _
เท ว เท ว ช ค ตํ ป เต วิ โภ

ที่ควรอธิบาย คือ ตํ นั้น เสียง ต ตามด้วยสระเสียงสั้น (สระอะ) มีอนุสวาระ (นิคหิต) ถือเป็นพยัญชนะตัวหนึ่ง แล้วตามด้วย ป จึงเป็นพยางค์หนัก ที่เหลือก็ว่าไปตามปกติ

นี่เป็นการอธิบายพยางค์หนักเบาตามปกติ สำหรับฉันทลักษณ์อาจมีข้อยกเว้น หรือกฎเกณฑ์อื่นๆ อีก

โปรดสังเกตว่าอักษรโรมันเหมาะสำหรับการพิจารณาเรื่องเสียง เพราะสระจะอยู่หลังพยัญชนะอย่างชัดเจน ถ้าเขียนด้วยอักษรอื่น บางครั้งรูปสระอยู่หน้า หรือบน/ล่าง พยัญชนะ ทำให้เข้าใจสับสนในช่วงเริ่มต้นได้ ผู้เริ่มศึกษาควรอ่าน/เขียนด้วยอักษรไทย เทวนาครี และโรมัน ให้คล่อง

 

2.การเปลี่ยนความยาวของเสียงสระ คุณ และ พฤทธิ

การเปลี่ยนเสียงของทั้งสระและพยัญชนะในภาษาสันสกฤตนั้นมีด้วยกันมากมาย ในบรรดาการเปลี่ยนเสียงสระนั้น ชนิดที่พบบ่อยที่สุดและเป็นกรณีปกติที่สุด เรียกว่า การเปลี่ยนเสียงแบบ คุณ และ พฤทธิ, ซึ่งพบบ่อยในการแผลงรูป (derivation) และการแจกรูป (inflection)
*การแผลงรูป คือการนำคำเดิมไปเติมเพื่อให้ได้ความหมายใหม่
**การแจกรูป คือการเติมเสียงท้ายตามหลักไวยากรณ์เพื่อใช้ในประโยค

ตารางข้างล่างแสดงถึงการเปลี่ยนแปลงเสียงสระ เรียกว่า ขั้นปกติ ขั้นคุณ และขั้นพฤทธิ

 

สระเดี่ยว -- อ, อา -- อิ, อี -- อุ, อู -- ฤ
คุณ -- อ, อา -- เอ -- โอ -- อรฺ
พฤทธิ -- อา -- ไอ -- เอา -- อารฺ

(ทำตารางไม่ได้ ก๊อปปี้มาก็ไม่ได้ คงมีปัญหาอะไรสักอย่าง ท่านนึกภาพเอาว่าเป็นตารางก็แล้วกัน)

ตามทฤษฎีแล้ว ฦ จะเปลี่ยนเป็น อลฺ ในทำนองเดียวกับ ฤ แต่ในการใช้จริงมีเพียงกรณีเดียว คือ ธาตุ กฺฦปฺ
หลักการนี้คือ นำไปใช้ในการเปลี่ยนแปลงตามกฎ และการสนธิสระด้วย

ในกระบวนการทำ คุณ ทั้งหมด อะ จะยังคงเดิมไม่เปลี่ยนแปลง หรือกล่าวได้ว่า อะ เป็นคุณของตัวมันเอง, ส่วน อา นั้นยังคงเดิมไม่เปลี่ยนแปลง ทั้งคุณ และพฤทธิ.

ส่วนการเพิ่มระดับคุณนั้นไม่เกิดขึ้นกับพยางค์เสียงหนัก ที่ลงท้ายด้วยพยัญชนะตัวเดียว (ยกเว้นในบางกรณี ซึ่งพบน้อยมากๆ) เช่น จิตฺ อาจกลายเป็น เจตฺ, และ นี อาจกลายเป็น เน. แต่ จินฺตฺ หรือ นินฺทฺ หรือ ชีวฺ จะไม่เป็น เจนฺตฺ หรือ เนนฺทฺ หรือ เชวฺ.

การเปลี่ยนแปลงอื่นๆ ของสระและพยัญชนะที่ปรากฏบ่อยมาก ในการสร้างคำเดี่ยวจากธาตุ โดยใช้ปัจจัยและวิภักติ, และในการสร้างคำคำประสมหรือสมาสโดยการรวมเค้าคำสองหรือสามคำเข้าด้วยกัน, อันเป็นกระบวนการที่พบบ่อยอย่างยิ่งในภาษาสันสกฤต. นอกจากนี้ ในรูปแบบภาษาวรรณคดีที่สืบทอดมาถึงรุ่นเรา คำที่ประกอบขึ้นเป็นประโยคหรือย่อหน้าจะถูกปรับและรวมเข้าด้วยกัน โดยใช้กฎเกือบจะแบบเดียวกันกับที่ใช้ในการสร้างคำประสม, จึงเป็นไปไม่ได้ที่จะทำความเข้าใจประโยคง่ายๆ ในภาษาสันสกฤตหากไม่เข้าใจกฎเหล่านี้.

หมายเลขบันทึก: 566208เขียนเมื่อ 18 เมษายน 2014 13:47 น. ()แก้ไขเมื่อ 18 เมษายน 2014 13:47 น. ()สัญญาอนุญาต: ครีเอทีฟคอมมอนส์แบบ แสดงที่มา-ไม่ใช้เพื่อการค้า-ไม่ดัดแปลงจำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (1)

โห

นึกคำตามไม่ค่อยออก เพราะคำในหัวมีน้อย

คงต้องลองลงสนามจริงในบทต่อๆไป แล้วค่อยหัดเอาทฤษฎีไปจับ

ขอบคุณค่ะ

อนุญาตให้แสดงความเห็นได้เฉพาะสมาชิก
พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท