ข้อมูลการเลี้ยงไก่ประดู่หางดำอีกแล้วครับท่าน ใจเปิด มีความพร้อมแล้วก็เริ่มเลี้ยงกันเลยครับ


ไก่พื้นเมืองพันธุ์ประดู่หางดำเชียงใหม่

 

ไก่พื้นเมืองพันธุ์ประดู่หางดำเชียงใหม่ เป็นไก่พันธุ์แท้ที่กรมปศุสัตว์ผลิตขึ้นเพื่ออนุรักษ์เป็นไก่พื้นเมืองของไทย สามารถเลี้ยงเพื่อการกีฬา หรือเพื่อการบริโภคได้ เนื่องจากมีรูปร่างปราดเปรียว กล้ามเนื้อแข็งแรง ไขมันแทรกน้อย มีความทนทานต่อโรคดี ให้ลูกดกกว่าพันธุ์เมืองทั่วไป หากินเก่ง เนื้อไก่มีรสชาติอร่อย สามารถเลี้ยงแบบขัง ในโรงเรือนหรือเลี้ยงปล่อยตามธรรมชาติ ควรให้วัคซีนป้องกันโรค และถ่ายพยาธิอย่างสม่ำเสมอ เพื่อให้ผลผลิตมากขึ้น

การลงทุน

ค่าพ่อแม่พันธุ์ไก่ จำนวน 12 ตัว (ตัวผู้ 2 ตัว ตัวเมีย 10 ตัว)                                             3,000 บาท

ค่าอาหารสำเร็จรูป จำนวน 300 ก.ก.ๆละ 15 บาท                                                          4,500 บาท

ค่าเวชภัณฑ์ วัคซีนป้องกันโรค ยาถ่ายพยาธิ ยารักษา                                                     500 บาท

ค่าใช้จ่ายอื่นๆ        น้ำ ไฟฟ้า อุปกรณ์ต่างๆ                                                                 1,000 บาท

รวมค่าใช้จ่าย                                                                                                        9,000 บาท

ผลตอบแทน

ค่าไก่รุ่น จำนวน  300 ตัวๆละ 120 บาท                                                                      36,000 บาท

ค่ามูลไก่ จำนวน 10 กระสอบๆละ 30 บาท                                                                       500 บาท

รวมรายได้                                                                                                           36,500 บาท

กรณีสร้างคอกใหม่ ขนาด 4*6 เมตร 1 หลั                                                                    5,000 บาท

 

ต้นทุนในการสร้างโรงเรือนขาด 4 x 8 เมตร

ค่าใช้จ่าย

            1. สังกะสี                          7,000     บาท

            2. ตะปู                                 200    บาท

            3. ตาข่าย                          1,200    บาท

            4. ระบบน้ำ,ไฟ                      600    บาท

ค่าโรงเรือนรวมค่าแรงงาน                12,000   บาท

 

การเตรียมโรงเรือนและอุปกรณ์การเลี้ยง

1. ใช้กล่องกระดาษหย่อนหลอดไฟ ขนาด 60 W

            2. น้ำ 1 ถังต่อไก่ 50 ตัว

            3. อาหาร 1 ถัง ต่อไก่ 25 ตัว

 

พื้นที่โรงเรือนสำหรับเลี้ยงไก่

ขนาดพื้นที่สำหรับเลี้ยงไก่ที่เหมาะสม

โดยพื้นที่ 1 ตารางเมตร

สามรถเลี้ยงไก่ได้ 15 ตัว

โรงเรือนขนาด 4 X 8 เมตร

สามารถเลี้ยงไก่ได้ 500 ตัว

 

การอนุบาลลูกไก่

ควรมีที่กกมิดชิด โดยเฉพาะฤดูหนาว เพราะลูกไก่ยังเล็กต้องได้รับความอบอุ่นที่เพียงพอ การสังเกต หากลุกไก่หนาวลูกไก่จะนอนสุมกันอาจเยอะถึงทับกันตาย แต่ถ้าหากร้อนลูกไก่จะนอนแยกกระจายกัน และไม่ควรกกลูกไก่ให้หนาแน่นจนเกินไป

 

การให้อาหาร  

                          ควรให้น้อยๆ แต่บ่อยครั้ง เพื่อกระตุ้นการอยากกินอาหาร เพราะให้เยอะไปไก่จะถ่ายมูลใส่ อาหารสกปรกไม่น่ากิน

การให้น้ำ    

                                  ควรให้น้ำสะอาดผสมจุลินทรีย์ ในอัตราส่วน 2 ซีซี. ต่อน้ำ 1 ลิตร

 

 การทำวัคซีนการถ่ายพยาธิ

ควรนำวัคซีน เข็ม ไซริงค์ มาทำการปรับอุณหภูมิให้เท่ากัน โดยแช่ในกระติกน้ำแข็ง แล้วค่อยดูดตัวทำละลายใส่ในเชื้อวัคซีน เขย่าให้เข้ากัน

                        ช่วงอายุ  7  วัน             นิวคลาสเซิล         หยอดตา  1-2  หยด

                         ช่วงอายุ  14  วัน            หลอดลม           หยอดจมูก  1-2  หยด

                          ช่วงอายุ  21  วัน            ฝีดาษ                แทงปีก

                        ช่วงอายุ  3  เดือน           อหิวาต์              ฉีดเข้ากล้ามเนื้อ

การทำวัคซีนควรทำในเวลาและที่อากาศเย็น  การถ่ายพยาธิ ควรถ่ายพยาธิทุก 3 เดือน สำหรับพ่อแม่พันธุ์ และ 1 เดือนสำหรับ ลูกไก่ ไก่รุน

 

การให้อาหาร

1.  อาหารไก่แรกเกิดจนถึง อายุ 21 วัน ใช้อาหารไก่เล็ก โปรตีน 19 %

2.  อาหารไก่รุ่นอายุ 21 วันขึ้นไปใช้อาหารไก่รุ่น โปรตีน 17 %   ผสมแกลบ 1:1

                                                            

 

 อาหารธรรมชาติ

ได้แก่

- ปลวก                                     - ฝักข้าวโพด                     

- กล้วยสุก                                  - แมลงทุกชนิด              

- ข้าวเปลือก                                - หญ้าอ่อนสด

- หนอนแมลงวันจากขี้หมู             - มันสำปะหลัง     

- หยวกหมัก                               - กากมะพร้าว

- กากถั่วเหลือง                          - ต้นกล้วย

- เศษอาหารจากในครัว (ระวังอย่าให้มีถุงพลาสติก)

- มันฝรั่ง  (ให้ระวังสารเคมี ฆ่าแมลงจากแปลงปลูก)

 

การทำหยวกหมัก

อุปกรณ์

1. ถังดำ  และ มีดหั่นหยวก

2. รำแก่ ,มะละกอ หรือผลไม้คัดทิ้งในสวน(หากไม่มี ไม่ต้องใส่ก็ได้)

3. เกลือ  และน้ำตาล

4. จุลินทรีย์มีประโยชน์

 

วิธีการทำหยวกหมัก

หั่นหยวกแล้วสับให้ละเอียด 30 กิโลกรัม  ,

ผลไม้, ผสมน้ำตาล 0.5 กิโลกรัม   

เกลือ 0.5 กิโลกรัม  

จุลินทรีย์แลคโต 500 cc.   

หมักในถังดำปิดทิ้งไว้  3 – 4  วัน

นำไปผสมอาหารให้ไก่กิน โดยเฉพาะช่วงอากาศร้อนจะช่วยลดความเครียดให้กับไก่ 

 

ประโยชน์ของหยวกหมัก

1. ช่วยลดความเครียด และการจิกกันเองของไก่พื้นเมือง

2. ช่วยให้ระบบย่อยดีขึ้น  ไม่เกิดอาการท้องเสีย และลดกลิ่นแก๊สแอมโมเนียากมูลไก่

 

 

อาหารไก่เล็ก 0-6 สัปดาห์

ข้าวโพดบด                                            58.2      กิโลกรัม

รำละเอียด                                             15         กิโลกรัม

กากถั่วเหลือง                                         18.4      กิโลกรัม

ปลาป่น                                                   6         กิโลกรัม

เปลือกหอย                                              0.4      กิโลกรัม

ไดแคลเซียม                                             1        กิโลกรัม

เกลือ                                                        0.5      กิโลกรัม

พรีมิกซ์                                                    0.5      กิโลกรัม

 

 

สูตรอาหารไก่รุ่น 6-23 สัปดาห์ 1.

อาหารไก่รุ่น                                            60        กิโลกรัม

รำ                                                         60        กิโลกรัม

ปลายข้าวหรือข้าวโพดบด                          100       กิโลกรัม

เปลือกหอย และแร่ธาตุ                                5        กิโลกรัม

 

 

 

สูตรอาหารไก่รุ่น 6-23 สัปดาห์ 2.

ข้าวโพดบด                                            53.7      กิโลกรัม

รำละเอียด                                             25         กิโลกรัม

ใบกระถิน                                               4         กิโลกรัม

กากถั่วเหลือง                                         10.2      กิโลกรัม

ปลาป่น                                                  5         กิโลกรัม

เปลือกหอย                                            0.6       กิโลกรัม

ไดแคลเซียมฟอสเฟต                             0.5       กิโลกรัม

เกลือ                                                     0.5       กิโลกรัม            

พรีมิกซ์                                                  0.5        กิโลกรัม

 

สูตรอาหารไก่ใหญ่ สำหรับพ่อแม่พันธุ์  23 สัปดาห์ขึ้นไป

ข้าวโพดบด                                            51         กิโลกรัม

รำละเอียด                                             20         กิโลกรัม

ใบกระถิน                                               5         กิโลกรัม

กากถั่วเหลือง                                         9.4       กิโลกรัม

ปลาป่น                                                  6          กิโลกรัม

น้ำมันพืช                                               1         กิโลกรัม

เปลือกหอย                                            6.8       กิโลกรัม

ดีแอล – เมทโธไซมิน                               0.05     กิโลกรัม

เกลือ                                                     0.5       กิโลกรัม

พรีมิกซ์                                                  0.25      กิโลกรัม

 

 

ข้อดีของการผลิตอาหารใช้เอง

1.   ต้นทุนต่ำกว่าอาหารสำเร็จรูปมาก

2.   สามารถดัดแปลงหรือประยุกต์ใช้วัตถุดิบที่มีในท้องถิ่นได้หลากหลาย

 

 แต่เกษตรกรท่านใดที่มีเวลาน้อยไม่มีเวลาไปหาวัตถุดิบให้ครบ จะปรับใช้หัวอาหารซึ่งมีส่วนผสมโปรีตีน วิตามินต่างๆมาพร้อมแล้ว มาผสม รำ ข้าวโพด ปลายข้าว ตามสูตรที่ระบุไว้ข้างกระสอบ ก็สะดวดดีครับ

 

 

คำสำคัญ (Tags): #ไก่ประดู่หางดำ
หมายเลขบันทึก: 566341เขียนเมื่อ 20 เมษายน 2014 10:08 น. ()แก้ไขเมื่อ 20 เมษายน 2014 10:14 น. ()สัญญาอนุญาต: ครีเอทีฟคอมมอนส์แบบ แสดงที่มา-ไม่ใช้เพื่อการค้า-ไม่ดัดแปลงจำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (3)

อาชีพที่น่าสนใจ นะคะ ขอบคุณค่ะ

หากว่างเว้นจากงานหลวงเมื่อไร คงต้องยึดอาชีพเกษตรกรแล้วละ สบายใจ อิสระด้วย ขอบคุณจ้ะ

ผมกะลังทำเล้า กะจะไปเรียนรู้กะคุณซิมโอนที่ฟาร์ม ขออนุญาตคัดลอกสูตรอาหารและภาพประกอบนะครับ

อนุญาตให้แสดงความเห็นได้เฉพาะสมาชิก
พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท