หนังขายยา รูปแบบการสอนสนุกๆที่ครูวุฒิใช้และเด็กชอบ(มั่กๆ)2


ต่อเนื่องจากบันทึกที่แล้ว

เมื่อหลายสิบปีก่อน หนังขายยาเป็นแหล่งบันเทิงที่ชาวบ้านชื่นชอบและรอคอยกันพอสมควร

โดยเฉพาะชาวบ้านนอกบ้านนาที่อยู่ห่างไกลความเจริญเช่นบ้านครูวุฒิ

เพราะไม่ใคร่มีแหล่งบันเทิงอื่นใดให้เลือกเสพและสัมผัสมากนัก

ซึ่งก็อาจจะคล้ายกับเด็กๆวัยก่อนประถมและประถมศึกษา

ที่อาจจะกระหายและชื่นชอบในความบันเทิงและการเรียนรู้ใหม่ๆที่ยังไม่ใคร่ได้สัมผัส

ครูวุฒิจึงใช้วิธีการจูงใจเด็กๆเหมือนกับพ่อค้าขายยาเร่ที่เราเรียกว่า "หนังขายยา"

ซึ่งเขาจะใช้หนังหรือภาพยนตร์เป็นสิ่งล่อหรือจูงใจให้ผู้คนมารวมตัวกันเพื่อเสพสื่อบันเทิงของเขา

ก่อนที่เขาจแนะะนำและขายสินค้าซึ่งเป็นเป้าหมายหลักในช่วงกลางๆของความบันเทิง

กับเด็กๆครูวุฒิใช้ภาพยนตร์และภาพยนตร์การ์ตูนที่ออกแนวแฟนตาซีน่ารักๆมาให้เด็กๆชมผ่านเครื่องรับและถ่ายทอดสัญญาณ (ทีวีจอแบน) ขนาด ๔๒ นิ้ว และระบบเสียงที่เร้าใจก่อนตามความเหมาะสม

ก่อนที่จะลงในเนื้อหาหลักที่เตรียมไว้

และในส่วนของเนื้อาหลักครูวุฒิก็จะเน้นเนื้อหาที่ออกแนวนอกตำราที่สอดคล้องกับธรรมชาติของชีวิตในทุกมิติ

ที่ครูวุฒิเรียกว่า"หลักสูตรการศึกษาที่เป็นหนึ่งเดียวกับชีวิต"

หรือชื่อเฉพาะอย่างเป็นทางการของโรงเรียนว่า "การศึกษาเพื่อรังสรรค์ชุมชนสู่ความพอเพียงและสันติสุข"

ซึ่งนอกจากจะใส่เนื้อหาลงในเวลานั้นแล้ว

ก็มักจะมีกิจกรรมนัดหมายต่อเนื่องในรูปแบบของการลงมือปฏิบัติกันเป็นหมู่คณะอย่างสนุกสนานและได้คุณค่าตามมา

เช่น การออมเงิน, การคัดแยกขยะ, การปลูกและดูแลรักษาต้นไม้, การปลูกการดูแลและใช้ประโยชน์จากการปลูกพืชผักสวนครัว, การเล่าเรียนอย่างตั้งใจ(ประเดี๋ยวจะอายคนพิการที่เรียนและสำเร็จในชีวิต), การรณรงค์เกี่ยวกับยาเสพติ-การคอรัปชั่น, ฯลฯ เป็นต้น

ผลที่ตามมาที่ชัดเจนที่สุดที่สัมผัสได้ก็คือ

เด็กจะมีทักษะชีวิตที่ดี. มีความมั่นในตนเอง(กล้าพูดกล้าคุยกับครูและผู้หลักผู้ใหญ่อื่นๆอย่างเหมาะสม), มีน้ำใจกับเพื่อนพ้องน้องพี่มากขึ้น, ความเห็นแก่ตัวและการทะเลาะเบาะแว้งแทบไม่มีให้ครูต้องเสียเวลาสอบสวนและตัดสิน, การแต่งการสะอาดสะอ้านและเป็นระเบียบเรียบร้อยมากขึ้น, รับผิดชอบงานที่ได้รับมอบหมายดี,ฯลฯ เป็นต้น

นี่คือผลงานการสอนแบบ "หนังขายยา" ที่ครูวุฒิเชื่อมั่น

ซึ่งหลายครั้งหลายคราวก็ได้นำไปใช้ในการอบรมเด็กระดับมัธยมต้น(กลุ่มเสี่ยง) และเกษตรกรปีละกว่า ๑,๕๐๐ คน ในนามของเครือข่ายประชาสังคมอำเภอขุขันธ์ด้วยครับ

<p></p><p></p>

หมายเลขบันทึก: 567278เขียนเมื่อ 3 พฤษภาคม 2014 10:29 น. ()แก้ไขเมื่อ 3 พฤษภาคม 2014 10:29 น. ()สัญญาอนุญาต: ครีเอทีฟคอมมอนส์แบบ แสดงที่มา-ไม่ใช้เพื่อการค้า-ไม่ดัดแปลงจำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (2)

ขอบคุณท่าน ดร.พจนา และทุกกำลังใจครับ

อนุญาตให้แสดงความเห็นได้เฉพาะสมาชิก
พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท