๑๗๘. มุมมองและมุมคิด ๑


                                   

                                    

ชื่อภาพ :  มุมมองและมุมคิด ๑ 
แนวคิด :  แบ่งปันศิลปะการถ่ายภาพ นำเสนอสู่การสนทนาภายในตนเองของผู้ชม
              ฝึกฝนบ่มสร้างกระบวนการสื่อสารและพัฒนาการเรียนรู้ภายใน (Intra-Personal Communication and Learning)
              มิติความรู้ ปัญญา และเหตุผลในการใช้อารมณ์และความรู้สึก  
              ในกรอบ นอกกรอบ มุมมองที่สาม และความเป็นทั้งหมด
ถ่ายภาพ :            วิรัตน์ คำศรีจันทร์
กล้องและเทคนิค : Nikon COOLPIX P510 แสงธรรมชาติ 
วันเวลาและสถานที่ : ๑๒ พฤษภาคม ๒๕๕๗ บ้านห้วยส้ม สันป่าตอง เชียงใหม่

หมายเลขบันทึก: 567930เขียนเมื่อ 14 พฤษภาคม 2014 08:21 น. ()แก้ไขเมื่อ 14 พฤษภาคม 2014 08:36 น. ()สัญญาอนุญาต: ครีเอทีฟคอมมอนส์แบบ แสดงที่มา-ไม่ใช้เพื่อการค้า-ไม่ดัดแปลงจำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (13)

* ภาพผลเชอรี่แดงเด่นเดี่ยวกลางกลุ่มใบเขียวเย็นตา....แสงเงาลงตัว...สบายใจเป็นสุขค่ะ...

* เก็บภาพผลมะยมหวานเต็มต้น ตะกูลเดียวกับผลเชอรี่ จากที่บ้านมาฝากค่ะ...


แวะมาเยี่ยมยามครับ

...ความรู้สึกในกรอบ และนอกกรอบ สำคัญที่เหตุผลนะคะอาจารย์

ตอนนี้เชอร์รี่กำลังออกดอกออกผลเหรอค่ะอาจารย์ ที่บ้านจันก็กำลังออกผลค่ะ

ปล. หน้าแรก GotoKnow ปรับใหม่แล้วนะคะ ใหม่! ส่วนตั๊ว ส่วนตัว กับหน้าแรกของ GotoKnow

ในกรอบ นอกกรอบ มุมมองที่สาม และความเป็นทั้งหมด

อยากให้อาจารย์ ขยายความอีกนิดหนึ่งครับเพราะสคุดความคิดของอาจารย์มากจริง ๆ

..

อาจารย์สบายดีนะครับ

ด้วยความระลึกถึงเสมอ

สวัสดีครับพี่ใหญ่ครับ
ในบ้านก็มีอยู่ต้นหนึ่งครับ แต่เป็นมะยมเปรี้ยว

                                    

ดกมากเช่นกันครับ เก็บได้เป็นกระสอบปุ๋ยเลย

สวัสดีครับผมอาจารย์หมอ JJ ครับ

                                     

เอารูปดอกบัวในสระมาคารวะอาจารย์ครับ ด้วยความรำลึกถึงเสมอครับอาจารย์

สวัสดีครับท่าน ดร.พจนาครับ
ล้วนให้มุมมองแปลกตาดีนะครับ

สวัสดีครับอาจารย์ ดร.จันทวรรณครับ

  • เชอร์รี่ออกดอกและผลตลอดเวลาเลยครับ แต่หน้าแล้งก็ออกน้อยหน่อย ตอนนี้หน้าฝนนี่ แตกใบเขียวพรึ่บพรั่บ พอมีผลสุกสีแดงแช๊ด ก็เลยดูสวยดีนะครับ
  • ขอบพระคุณอาจารย์มากครับ ที่แนะนำระบบจัดหน้าเพจเพื่อติดตามอ่านจำเพาะกลุ่มก็ได้

สวัสดีครับคุณแสงแห่งความดีครับ

  • เกิดไอเดียอะไรดีๆรึคุณแสงแห่งความดี  
  • ในแง่ของศิลปะภาพถ่ายและศิลปะสื่อนี่ ก็เป็นข้อดีอย่างหนึ่งครับ ที่ดูรูปแล้ว นอกจากจะได้ชมงานทางศิลปะ ก็ได้นั่งคิดและคุยกับตนเอง ก็แล้วแต่ใครจะได้ความคิดอะไร อย่างนั้นกระมังนะครับ
  • แต่ในแง่บันทึกไปด้วยนี่ ก็เป็นการพัฒนาวิธีสื่อด้วยภาพในเรื่องที่เข้าใจยากๆ ซึ่งในภาพนี้ จะว่าไปแล้วก็เป็นเรื่องแนวในการมองสิ่งต่างๆแบบ Triangulation ซึ่งเขียนเป็นตำราได้เป็นเล่มๆ ผมทดลองถ่ายทอดเป็นสื่อภาพถ่ายน่ะสิ  นอกจากเป็นภาพถ่ายมาแบ่งกันดูสวยๆแล้ว ก็เป็นเหมือนบันทึกงานเชิงทดลองและงานศึกษาค้นคว้าไปด้วยเหมือนกัน

ขอบคุณอาจารย์มากนะครับ

การมองสิ่งต่างๆแบบ Triangulation

  • รูปสื่อถึงฤดูฝนได้ดีนะครับคุณแสงแห่งความดี นิดเดียวแต่สื่อสะท้อนความหมายได้หมด
  • หลักของ Triagulation เป็นหลักของการตรวจสอบข้อมูล ข้อเท็จจริง  เป็นหลักทฤษฎีและระเบียบวิธีของการวิจัย ซึ่งโดยเบื้องต้นก็เพื่อทำให้ได้ข้อมูลที่ดีและเชื่อถือได้มากที่สุด แต่ก็รวมถึงการนำไปเป็นหลักปฏิบัติในมิติอื่นๆ ได้ด้วย หากจะนำไปใช้ในสถานการณ์อื่นๆก็เชื่อว่าจะเป็นข้อดีด้วยเช่นกัน 
  • ในการสร้างความรู้ พัฒนาการเรียนรู้ หาตัวปัญญา และพัฒนาการสื่อสารเรียนรู้ ตามหลักทฤษฎีสมัยใหม่ ก็ควรจะเริ่มจาก (๑) ทรรศนะของผู้อยู่ในตัวปรากฏการณ์ (Internal Point of View) ก็มีกรอบเหมือนกัน แต่เป็นกรอบในการเข้าสู่การเรียนรู้และการเห็นสิ่งต่างๆ โดยยึดหลักที่อิงอยู่บนความเป็นจริงของตนเอง  (๒) ทรรศนะของผู้สังเกตการณ์แบบคนภายนอก (External Observation) และ (๓) ทรระศนะของผู้เข้าถึงทั้งสองด้าน และอยู่เหนือการเข้าไปติดกรอบของทั้งสองทรรศนะ
  • ทั้งหมดที่กล่าวมานี้เป็นแนวทางของทั่วๆไป ซึ่งพอทดใช้ศิลปะสื่อและทดลองใคร่ครวญศึกษาดูแล้ว การจัดองค์ประกอบภาพ และมุมมองผ่านเล่น ผ่านกรอบต่างๆไปอีกทีหนึ่ง ก็พอจะเห็นความสัมพันธ์ ความแตกต่าง ความเป็นอิสระต่อกัน และการมีความเชื่อมโยงกัน ของหลักการโดยทั่วไปได้ 
  • โดยทั่วไปนั้น เมื่อมองได้ถึงตาที่ ๓ นั้น ก็นับว่าครอบคลุมและแทบจะหมดประเด็นที่จะคิดและมองกันแล้ว แต่หากคุณแสงแห่งความดีมองในภาพให้ดี เราจะเห็นความมีชีวิตของมิติการสังเกตการณ์ที่คร่อมลงไปบนทุกมิติ ๑,๒,๓ ซึ่งก็คือตัวเรา หรือหมายถึงทุกคนที่กำลังมองภาพและ 'ตัวรู้' ของเรานั่นเอง ผมเองก็เลยชอบครับ พอลองจัดภาพและถ่ายภาพอย่างนี้ออกมานั่งดู ก็ชอบครับ ที่สามารถเห็นวิธีสื่อหลายมิตินี้ให้ปรากฏ พอจะใช้ทำงานความคิดและเข้าถึง่รวมกันได้
อนุญาตให้แสดงความเห็นได้เฉพาะสมาชิก
พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท