เรื่องเล่าจาก KM MD KKU : 1. KM For Young Generation


การพัฒนาคนรุ่นใหม่ เป็นหัวใจของการพัฒนาองค์กรสู่องค์กรแห่งความเป็นเลิศ

สำนักบริหารจัดการองค์ความรู้ คณะแพทยศาสตร์ มหาวิทยาลัยขอนแก่นดำเนินการจัดอบรม KM ครั้งที่ 1/2557 “หลักสูตร KM For Young Generation” ในวันศุกร์ที่ 2 พฤษภาคม 2557 เวลา 08.00-16.30 น. ณ ห้องประชุม สว.2 ชั้น 3 อาคารสมเด็จพระศรีนครินทราบรมราชชนนีอนุสรณ์ โดยมีวัตถุประสงค์ เพื่อสร้างทัศนคติที่ดีและเรียนรู้หลักการจัดการความรู้ รวมทั้งนำเทคโนโลยีสารสนเทศมาจัดการความรู้ ทำให้มีความรู้ ความเข้าใจและเกิดทักษะในด้านการจัดการความรู้ สามารถนำไปพัฒนาตนเองและพัฒนางานที่ปฏิบัติให้ได้ประสิทธิภาพ โดยจัดให้บุคลากรรุ่นใหม่ที่ปฏิบัติงานในคณะแพทย์ไม่เกิน 5 ปีจำนวนหนึ่งเข้าอบรม


ได้รับเกียรติจาก ดร.ประชาสรรค์ แสนภักดี อาจารย์สังกัดวิทยาลัยการปกครองท้องถิ่น มหาวิทยาลัยขอนแก่น เป็นวิทยากร

ภาพบรรยากาศ  

เนื้อหาและกิจกรรมประกอบด้วย

  • แนวคิดของการจัดการความรู้
  • Workshop “The MD Big Picture”
  • การจัดการความรู้สู่นวัตกรรม
  • Workshop “Model for Excellence”

...

บรรยากาศที่ได้สัมผัสและประสบการณ์ที่ได้รับมีคุณค่าต่อการเรียนรู้มากมาย เป็นความยากมากของผู้เขียนในการเล่าเรื่องให้ได้รสชาดอย่างที่สัมผัส จึงขอสรุปความรู้ที่ได้เพียงบางส่วนของการอบรมเท่านั้น และขออนุญาตนำภาพเนื้อหาของอาจารย์บางภาพประกอบการเล่าเรื่อง

การเรียนรู้เริ่มที่ตนเอง

เริ่มด้วยการรู้จักตนเองด้วยการประเมินศักยภาพตนเอง (ตามแนวพุทธ) ว่าเรามีสิ่งต่างๆ เหล่านี้หรือไม่ มากน้อยเพียงใด (รายละเอียดดังภาพ)

  • 1.เป็นคนดี : มีอริยทรัพย์ 7
  • 2.เป็นคนใฝ่รู้ : มีโพชฌงค์ 7
  • 3.มีการจัดการที่ดี : มีสัปปุริสธรรม 7
  • 4.มีกัลยาณมิตรในการทำงาน : มีกัลยาณมิตรธรรม 7
  • 5.มีความพร้อมในการเรียนรู้ : มีบุพนิมิตของมรรค 7

และในอนาคตนั้นบุคคลที่ต้องการประสบความสำเร็จได้อย่างรวดเร็ว ควรมี “จิต 5 ปั้นยอดมนุษย์” ดังนี้

  • 1.จิตชำนาญการ (Disciplined Mind) : มีความรู้และความคิดแตกฉานในวิชาแห่งตน ต้องมีวินัย “รู้ทุกอย่างในบางเรื่อง รู้ทุกเรื่องในบางอย่าง” เป็นต้น
  • 2.จิตสังเคราะห์ (Synthesizing Mind) : สร้างข้อมูลใหม่จากสิ่งที่มีอยู่สร้างคุณค่าใหม่ เพิ่มคุณค่าจากงานเดิม เป็นต้น
  • 3.จิตสร้างสรรค์ (Creating Mind): เป็นการสร้างสรรค์ทางเลือกใหม่ ผลิตความคิดใหม่ พยายามทำสิ่งที่ไม่ซ้ำกันในทุกสัปดาห์ เป็นต้น
  • 4.จิตเคารพ (Respectful Mind) : ยอมรับและเคารพในความแตกต่าง ฟังอย่างลึกซึ้งด้วยหัวใจ เป็นต้น
  • 5.จิตจริยธรรม (Ethical Mind) : เข้าใจในธรรมชาติของงาน ไม่เห็นแก่ประโยชน์ส่วนตัว เข้าใจว่าทุกอย่างบนโลกใบนี้มีเหตุและผลเสมอ

การก้าวสู่ ASEAN เป็นเรื่องที่หลีกเลี่ยงไม่ได้ ซึ่งเราต้องปฏิบัติงานของตนแบบมืออาชีพ (Professional) โดย

  • 1.มีการวางแผน : วางแผนชีวิต วางแผนการทำงาน ระยะสั้น ระยะกลาง ระยะยาว การวางแผนของทีม เครือข่าย ชุมชน)
  • 2.เน้นผลงาน: ไม่สนใจกระบวนการจนเกินไป
  • 3.สื่อสารการพูด:ทั้งในที่ชุมชนและผ่านสื่อต่างๆ
  • 4.มีการคาดการณ์ : ประเมินสถานการณ์ มองไปในอนาคต และดูแนวโน้ม
  • 5.พัฒนาทีมงาน : พัฒนาผู้อื่นและเรียนรู้ร่วมกันเสมอ
  • 6.มั่นใจในตนเอง : โดยสนใจที่จะเรียนรู้แม้บนข้อผิดพลาดของตน
  • 7.มีกลยุทธ์ในการนำ : โดยใช้ทรัพยากรที่มีจำกัด และทำงานอย่างมีทิศทาง
  • 8.ริเริ่ม สร้างสรรค์ : โดยสร้างงาน โครงการ/กิจกรรมใหม่ๆ ที่เห็นผลลัพธ์ได้ในระยะ 5 ปี และเริ่มจากสิ่งที่มีอยู่เดิม
  • 9.ช่างสังเกต : โดยติดตาม เฝ้าระวังการเปลี่ยนแปลงของสิ่งแวดล้อมรอบตัว ไวต่อสถานการณ์ต่างๆ อย่างน้อยเห็นว่ามีอะไรที่เปลี่ยนแปลงใน 3 ปีที่ผ่านมา
  • 10. ทำงานเครือข่าย : ควรมีการเชื่อมโยงเครือข่ายต่างพื้นที่ ต่างสาขา หลากหลายภาคส่วนอย่างน้อย 1 เครือข่าย
  • 11. เรียนรู้ตลอดเวลา : ด้วยการอ่าน ร่วมประชุม และช่องทางอื่นๆ
  • 12. ฟังอย่างตั้งใจ : โดยฟังเสียงและความต้องการของผู้อื่นอย่างแท้จริง รวมทั้งฟังให้ได้ยิน “เสียงหัวใจตนเอง” ด้วย

คนรุ่นใหม่สามารถประสบความสำเร็จตามฝันได้ “เร็วและแรง” โดย

  • 1.รู้จักตัวตนที่แท้จริงเร็วกว่าคนอื่น (Know yourself first)
  • 2.ความฝันและแรงบันดาลใจที่ยิ่งใหญ่กว่าปกติ (BIG Dream and Great Inspiration)
  • 3.ความกล้าชนิดเปลี่ยนโลกได้ (Dare to CHANGE)
  • 4.เรียนรู้ตลอดเวลา และต้องรู้มากกว่าคนอื่น (Life Long Learning /Know more)
  • 5.ครอบครัวต้องหนุนสุดตัว (FAMILY 100% support)
  • 6.ต้องมีความอดทนสุดยอด (High Endurance)
  • 7.สร้างความแตกต่างที่เหนือกว่า (Make the Different)
  • 8.มองเห็นโอกาส และใช้โอกาสเป็น (Opportunity for LIFE)
  • 9.บริหารชีวิตเป็น (Life Management) และ
  • 10.คนรุ่นใหม่ต้องมีคุณธรรม (Virtue MIND/Moral)

การทำความรู้จักตน เข้าใจตน โดยประเมินว่ามี “จริตแบบใด” (ดังภาพสไลด์ของอาจารย์) ทำให้ทราบจุดแข็งและจุดอ่อนของตน รวมทั้งวิธีแก้ไขจะได้ประโยชน์ในการนำมาเป็นแนวทางปรับปรุงตนเอง

...

ประเด็นขององค์กร “The MD Big Picture”

ทำไมเราต้องเป็นองค์กรแห่งการเรียนรู้?

เพราะสังคมโลกมีการเปลี่ยนแปลงทั้งด้านเศรษฐกิจและเทคโนโลยี เกิดความสับสน ยุ่งเหยิงและการเปลี่ยนแปลงขององค์กร ระบบราชการถูกปฏิรูป ลูกค้า/ผู้รับบริการคาดหวังสูงขึ้นซึ่งนำไปสู่เรื่องร้องเรียนตามมา “ความรู้ภายในองค์กร” จึงเป็นสินทรัพย์ที่สำคัญที่จำเป็นต้องจัดให้มีการเรียนรู้ระหว่างกัน และมีการจัดการให้สามารถนำไปสู่การแข่งขันอย่างช่วยไม่ได้

องค์กรสามารถประเมินตนเองได้ด้วย KMAT (Knowledge Management Assessment Tool) ซึ่งสามารถนำเกณฑ์ กพร. ในแต่ละหมวดมาประเมินและวางแผนปฏิบัติได้ นอกจากนั้นองค์กรสามารถใช้ 5Ds Model เป็นกระบวนการขับเคลื่อนได้

5Ds Model ประกอบด้วย

  • 1.Definition: เป็นการหาขอบเขตของงานที่ทำ
  • 2.Discovery: ค้นหา 3 ประเด็นหลักที่ท้าทายในงานนั้นให้ได้ โดยอาจใช้เครื่องมือ SWOT SPOT 6W2H เข้าช่วย
  • 3.Dream: สร้างภาพฝันที่ครอบคลุมอนาคตทั้งระยะสั้น ระยะกลาง และระยะยาว ให้ชัด
  • 4.Design: ออกแบบกลยุทธ์เพื่อเดินทางสู่ความสำเร็จตามฝันนั้น
  • 5.Drive: หาทางขับเคลื่อนสู่ความสำเร็จ ด้วยการ 1) การจัดทีมรับผิดชอบ 2) การแบ่งบทบาทความรับผิดชอบ 3) การควบคุมกำกับ 4) การติดตาม และ 5) การเรียนรู้ร่วมกัน(Before Action, During Action และ After Action)

สิ่งสำคัญ องค์กรต้องพยายามสร้างให้บุคลากรเกิดแรงบันดาลใจ (aspirations) เพื่อสร้างงานที่ต้องการให้ได้

สำหรับผู้บริหารนั้นควรมีความคิดเป็นกระบวนระบบ (Systems Thinking) โดยมีหลักการมองระบบตาม Five Discipline (ของ Peter M.Senge) ดังนี้

  • -ควรอ่านหนังสือ (Books for brain) เกี่ยวกับ Systems Thinking ต่างๆเพิ่มเติม
  • -รู้จักควบคุมตนเอง ให้ได้ในทุกมิติ
  • -สร้างภาพจำลองความคิด
  • -สร้างวิสัยทัศน์ร่วม และ
  • -เรียนรู้ร่วมกันเป็นทีม
  • ที่กล่าวมา มีศาสตร์ต่างๆ ที่ต้องถูกนำมาประยุกต์ใช้อย่างมากมาย


การจัดการความรู้สู่นวตกรรม

อาจารย์แนะนำให้ใช้ A-to-F Model ได้แก่

  • A-Activatorsผู้ริเริ่มความคิด
  • B-Browsersผู้ค้นหาสารสนเทศ
  • C-Creatorsผู้สร้างสรรค์ความคิด
  • D-Developersผู้แปลงความคิดสู่รูปธรรม
  • E-Executorsผู้บริหารจัดการ และ
  • F-Facilitators ขับเคลื่อนนวัตกรรม

ซึ่งแต่ละส่วนอาจเชื่อมโยงถึงกันได้ ดังภาพ

สำหรับแนวคิดการจัดการความรู้ (Knowledge management : KM) นั้นอาจารย์บรรยายด้วยแผนที่ความคิดเพียง 1 ภาพ (ดังภาพที่แสดง) 

ซึ่งได้เน้นว่า หัวใจของ KM คือ SCS : Show Idea, Care (capture) และ Share Idea)

นอกจากเนื้อหาที่กล่าวมา ยังมีเรื่องที่คงต้องแสวงหาความรู้เพิ่มเติมเพราะเก็บเกี่ยวไม่ไหวจริงๆ ได้แก่ การถอดบทเรียน, แนวคิด Best Practice, หมวก 6 ใบ คิด 6 แบบ (Dr.Edward De Bono) และ SOAR Framework

อาจารย์แนะนำเครื่องมืออื่นๆ อีกที่ใช้ช่วยในการจัดการความรู้ให้สมบูรณ์ยิ่งขึ้นได้ เช่น

  • -โปรแกรม App. Mindjet Map
  • -โปรแกรมสเกตภาพ
  • -www.xmind.net
  • -The Business Model Canvas : เป็นใบงานใช้บริหารงาน
  • -The Visual Story Map : เป็นเครื่องมือพาเล่าเรื่อง
  • -First Thing First : เป็นใบงานที่บรรจุทุกบทบาทในชีวิตเราเข้าไว้ด้วยกัน

การบรรยายวันนี้ มี keyword ทุกช่วงเวลา เป็นหนึ่งวันของการร่วมสังเกตการณ์ของผู้เขียนที่คุ้มค่าจนไม่สามารถบรรจุความรู้ ความเข้าใจไว้เล่าได้หมด เรียกได้ว่า งานนี้ ผู้เขียนยอมแพ้จริงๆ...

...

ขอขอบคุณ ดร.ประชาสรรค์ แสนภักดี และสำนักบริหารจัดการองค์ความรู้ คณะแพทยศาสตร์ มหาวิทยาลัยขอนแก่นที่ได้ดำเนินการจัดอบรมครั้งนี้ค่ะ

หมายเลขบันทึก: 568550เขียนเมื่อ 18 พฤษภาคม 2014 22:25 น. ()แก้ไขเมื่อ 19 กรกฎาคม 2014 13:50 น. ()สัญญาอนุญาต: ครีเอทีฟคอมมอนส์แบบ แสดงที่มา-ไม่ใช้เพื่อการค้า-ไม่ดัดแปลงจำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (3)

ขอบคุณ สำหรับเรื่องดีๆ ในเช้าวันสดใสจ้า

พ่อหมูอ้วน...

เห็นว่าประสบการณ์ดีๆ ที่ได้รับ น่าจะเป็นเครื่องมือสำคัญที่สามารถดัดแปลงใช้ในชีวิตจริงที่ยุ่งเหยิงได้ง่ายขึ้น เลยนำมาฝากจ้า

แวะมาเรียนรู้ KM version ใหม่ ครับ

อนุญาตให้แสดงความเห็นได้เฉพาะสมาชิก
พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท