" ใกล้เกลือ กินด่าง "


ก่อนที่จะอำลาจากโลกนี้ไปด้วยวัย ๙๐ ปี คุณปู่ (พลตรีพงศ์ เภกะนันทน์) ได้เปิดใจคุยตัวต่อตัวกับหลานชายคนโต (อมรพงศ์ เภกะนันทน์) เพื่อประกอบงานวิเคราะห์วิจัยผลงานแก่นสาระชีวิตของอัตตลักษณะบุคคลส่งอาจารย์ เมื่อครั้งเป็นนักศึกษาปีสุดท้ายระดับปริญญาตรี ในคณะสังคมศาสตร์และมานุษยวิทยา ของมหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ ซึ่งใช้กรอบทางมานุษยวิทยาวัฒนธรรม (Cultural Anthropology) และสังคมวิทยาชราภาพ (Social Gerontology) .ในการวิเคราะห์วิจัย " การเปลี่ยนแปลง" และ " ความต่อเนื่อง " ตลอดอายุขัยของบุคคลหนึง ที่มีผลต่อความสัมพันธ์ ระหว่างการพัฒนาของปัจเจกบุคคลกับวัยชรา ที่ประกอบด้วย กระบวนการเกิด (Birth) >>>> การตาย (Death) >>> การเกิดใหม่ (Rebirth) เพื่อปรับปรุงความสมดุลที่ไม่หยุดนิ่ง ตลอดวงจรชีวิตที่หล่อหลอม เป็นอัตตลักษณ์ หรือความเป็นตัวตนของบุคคลนั้นๆ

การที่หลานชายเลือกวิเคราะห์วิจัยคุณปู่ เพราะนอกจากคุณปู่ได้ผ่านร้อนผ่านหนาวมาสี่แผ่นดิน ตั้งแต่รัชสมัยรัชกาลที่ ๖ อีกเหตุผลหนึ่งคือ คุณปู่ได้เตือนหลานชายเสมอว่า ปู่แก่มากแล้ว จะมีชีวิตอยู่ต่อไปได้ไม่นาน จึงไม่อยากให้หลานชายทำตัวเหมือนคน " ใกล้เกลือ กินด่าง " คือมีของดีอยู่ใกล้ตัว แต่ไม่รู้จักใช้ประโยชน์ .กลับละเลยและเสียเวลาไปแสวงหาของอย่างเดียวกันไกลตัว...

ของดี ที่คุณปู่ได้ฝากไว้ ทั้งคำพูดและการกระทำ ได้สะท้อนอัตตลักษณ์ของคุณปู่เปรียบเสมือน เกลือรักษาความเค็ม มีดังนี้

๑. ความประหยัดมัธยัสถ์ เก็บออม ไม่ใช้จ่ายเกินตัว

๒. ความรักสงบ มีความสุขแบบเรียบง่าย พึ่งตนเอง ไม่เบียดเบียนผู้อื่น และมีวินัย

๓. ความใฝ่รู้เท่าทันทางทางโลกและทางธรรม

๔. ความเอื้อเฟื้อสังคมตามสติ กำลังและโอกาส

คำคมโบราณอันเป็นอมตะ " ใกล้เกลือ กินด่าง " ที่สืบทอดกันมาช้านาน สมควรปลูกฝังหยั่งรากฐานจิตสำนึกของลูกหลาน เพื่อให้คุณค่าแก่ภูมิปัญญา และความสำคัญของปราชญ์ในครอบครัวและชุมชน ซึมซับไปปฏิบัติอย่างต่อเนื่อง...ขอขอบคุณคำสอนอันมีคุณค่านี้ที่ลูกหลานจักได้น้อมนำมาเป็นหลักการดำเนินชีวิตเพื่อความสุขที่ยั่งยืนต่อไป

ภาพจาก internet

.......................................................................................................................................................................................

หมายเลขบันทึก: 568729เขียนเมื่อ 19 พฤษภาคม 2014 15:59 น. ()แก้ไขเมื่อ 18 ธันวาคม 2014 15:27 น. ()สัญญาอนุญาต: ครีเอทีฟคอมมอนส์แบบ แสดงที่มา-ไม่ใช้เพื่อการค้า-ไม่ดัดแปลงจำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (21)

ใกล้ของดี แต่ไม่ใช้ เพราะคนเรามักไม่พอใจสิ่งที่มี

ดังนั้น  เราต้องรีบซึมซับความคิด  สิ่งดีงาม  จากผู้ที่ยินดีแบ่งปันให้เรานะคะ  

ขอบพระคุณคุณป้าใหญ่มากค่ะ  ที่เขียนบันทึกให้เราใช้ประโยชน์จากเกลือ  ไม่มัวเสียเวลากินแต่ด่างนะคะ  ^_,^

ขอบคุณ มากนะครับ พี่ใหญ่ ครับ

ท่านอายุยืนจังนะคะ คำสอนของท่าน เหมาะสำหรับทุกคน ลูกหลานของท่านย่อมเป้นผลไม้ที่หล่นไม่ไกลต้นหรอกค่ะพี่นงนาท ขอบพระคุณค่ะ 

...เป็นคำพูดที่ "คุณปู่" ท่านเห็นการณ์ไกลมาก เป็นการเตือนสติ...คนไทยมักสอนเรื่องที่ไกลตัวนะคะ...คงยังไม่สายที่จะปรับกระบวนการขัดเกลาทางสังคม ตลอดจนการจัดการศึกษาให้คนมีคุณภาพ และวิถีชีวิตบางอย่างที่สร้างความเห็นแก่ตัวให้หมดไป...พฤติกรรมมากมาย ที่หลายคนร่ำร้องให้เกิดให้มีในคนไทย...ตัวอย่างที่เห็นชัดเจน...ในเรื่องของการใช้ยานพาหนะ...คนไทยจะให้ความสำคัญรถ มากกว่าคน...เมื่อเห็นรถมาคนต้องหยุดเดินข้ามถนน...แต่ในต่างประเทศรถต้องหยุดเมื่อคนข้ามถนน...ผ่านบริเวณโรงเรียนจำกัดความเร็วเพียง 30 ก.ม./ชั่วโมง เห็นรถจักรยาน รถใหญ่ต้องหยุดให้จักรยานผ่านไปก่อน...เป็นการเอื้ออาทรให้ความสำคัญคนที่ด้อยกว่าไปในตัว ไม่ใช่ให้ความสำคัญคนที่มีรถขับ คนที่มีเงินนะคะ...หากไปกินอาหารถ้ามีผู้สูงอายุมาด้วย ทางร้านจะจัดที่นั่งให้ก่อน...การกินอาหารหากอายุเกิน 65 ปี ก็มีส่วนลดให้...ฯลฯ

ดีจัง...ขอนำไปสอนเด็กๆหน่อย..

พี่ใหญ่ครับ

ชอบใจคำสอน

ใกล้เกลือกินด่าง

แถมความคิดเห็นเพิ่มด้วย

๑. ความประหยัดมัธยัสถ์ เก็บออม ไม่ใช้จ่ายเกินตัว

๒. ความรักสงบ มีความสุขแบบเรียบง่าย พึ่งตนเอง ไม่เบียดเบียนผู้อื่น และมีวินัย

๓. ความใฝ่รู้เท่าทันทางทางโลกและทางธรรม

๔. ความเอื้อเฟื้อสังคมตามสติ กำลังและโอกาส

ขอบคุณมากๆจะนำไปประยุกต์ใช้ครับ

แก้ว..อุบล

Sukajan

ทพญ.ธิรัมภา

แสงแห่งความดี...

tuknarak

บุษยมาศ

ดร. พจนา แย้มนัยนา

กุหลาบ มัทนา

อัญชัญ ครุฑแก้ว

ขจิต ฝอยทอง

* สวัสดีค่ะ ขอบคุณมากสำหรับกำลังใจมอบแก่สุภาษิตสอนหลาน "ใกล้เกลือ กินด่าง" นี้ค่ะ

* น้องแก้วอุบล...ของดีใกล้ตัว มักเป็นของตายที่ถูกทอดทิ้งไม่เห็นคุณค่า กลับไปแสวงหาของอย่างเดียวกันไกลตัว นับเป็นเรื่องน่าเสียดายนะคะ

* หลานทพญ.ธิรัมภา...อย่างภูมิปัญญาไทยใกล้ตัวเรา ต้องรับถ่ายทอดซึมซับมาต่อยอดขยายผลให้พัฒนาต่อไปค่ะ

* น้องแสงแห่งความดี...ลูกหลานทั้งหลายอย่าละเลยเรียนรู้จากครอบครัวและปราชญ์ชาวบ้านใกล้ตัว อย่าให้สูญหายไปพร้อมกับการตายจากอย่างน่าเสียดายค่ะ

* น้องกุหลาบ...นับว่าโชคดีมากที่พวกเรามีสถาบันปู่ย่า ตายาย พ่อแม่ เป็นร่มโพธิ์ ร่มไทร อบรมสั่งสอนให้มีจิตสำนึกการเป็นพลเมืองดี ขอเพียงเห็นคุณค่าซึมซับรับเป็นมรดกภายในที่ไม่มีวันหมดสิ้นค่ะ

* น้องดร.พจนา...เห็นด้วยอย่างยิ่งค่ะที่สมควรสร้างอุปนิสัยรักความมีระเบียบวินัย เพื่ออยู่ร่วมกันอย่างมีความสุขในสังคม คุณปู่เป็นทหารอาชีพ ท่านให้ความสำคัญเรื่องนี้เป็นอย่างมาก โดยทำให้ดู อยู่ให้เห็น ตลอดชั่วชีวิตทีเดียว

* น้องอัญชัญ...ยินดีมากค่ะที่เห็นประโยชน์ของเรื่องเล่านี้ และตั้งใจนำไปขยายผลแก่ลูกศิษย์ เป็นกำลังใจให้ค่ะ

* น้องดร.ขจิต....ดีใจมากค่ะที่เห็นคุณค่าคำสอนของคุณปู่พงศ์ ฝากนำไปปลูกฝังกับเด็กๆของพวกเราด้วยค่ะ...

-สวัสดีครับ

-ตัวอย่างที่ดี มีค่ากว่าคำสอน..นะครับป้าใหญ่

-ดีจังเลยครับ..ได้เรียนรู้จากผู้ใหญ่ใกล้ตัว..

-มีผลไม้ป่า..นามว่า"บะโจ๊ก"มาฝากครับ..

ขอนำข้อคิดไปใช้ด้วยคนนะคะ คิดถึงมากเลยคะ

ขอบคุณครับ คุณพี่นงนาท สนธิสุวรรณ

เป็นคำสอนที่กระชับและสำคัญมากๆครับ เป็นความงดงามในวัฒนธรรมไทยซึ่งถ่ายทอดสู่รุ่นหลังๆด้วยครับ

  • สวัสดีครับป้าใหญ่
  • ขอนำไปเป็นแนวทางด้วยเช่นกันครับ
  • "ประหยัด เรียบง่าย เข้าใจสัจธรรม สร้างสรรค์สังคม"
  • ขอจดจำเป็นคำสำคัญสั้นๆ นะครับ แต่ไม่หลุดกรอบคุณปู่เป็นแน่ครับ

เรียนพี่ใหญ่  ข้อคิด สะกิดใจ จากผู้ใหญ่ 

นำมาเรียนรู้บอกเล่า กันต่อ  ดีมากๆ

เห็นด้วยอย่างมากครับ ดูจากการเเสดงโขนหรือเกี่ยวกับศิลปะไทยๆๆ น้อยคนจะไปดู มีแต่คนต่างชาติไปดูนะครับ 

พี่ใหญ่คะ

เขียนแบบใช้คำประหยัดมาก

แต่ทำไมมีความหมายลึกจังเลยคะ

จิตเบิกบานเมื่อได้อ่านคำสอนที่ผ่านประสบการณ์มายาวนานอย่างลึกซึ้งและตกผลึกมาถึงลูกหลานค่ะ

ตลอด อายุขัยของบุคคลหนึง ที่มีผลต่อความสัมพันธ์ ระหว่างการพัฒนาของปัจเจกบุคคลกับวัยชรา ที่ประกอบด้วย กระบวนการเกิด (Birth) >>>> การตาย (Death) >>> การเกิดใหม่ (Rebirth)

ขอน้อมนำไปใช้กับชีวิตค่ะ

มองย้อนไป ก็มี
ช่วงไม่รู้อะไร -> ช่วงคิดว่ารู้อะไรมากมาย ->  ช่วงที่ได้รู้ว่า ไม่รู้อะไรอีกตั้งมากมาย

สวัสดีค่ะ..คุณนงนาทสนธิสุวรรณ...คำสอนนี้..ก็ได้ยิน..จาก..ปากแม่เสมอๆเมื่อเป็นเด็ก..ว่าให้ช่วยตนเอง..เป็นตัวของตัวเอง..ซึ่งกว่าจะเข้าใจ  ลึกซึ้ง..ว่าคน..โบราณ..สอนอะไรๆที่ใหม่เสมอ..กับคำว่า..กาลและปุัจจุบัน...

มีดอกมะลิฝรั่ง..มาฝาก..เจ้าค่ะ..

๑. ความประหยัดมัธยัสถ์ เก็บออม ไม่ใช้จ่ายเกินตัว

๒. ความรักสงบ มีความสุขแบบเรียบง่าย พึ่งตนเอง ไม่เบียดเบียนผู้อื่น และมีวินัย

๓. ความใฝ่รู้เท่าทันทางทางโลกและทางธรรม

๔. ความเอื้อเฟื้อสังคมตามสติ กำลังและโอกาส

แบบอย่างที่ดีอันนี้ มีคุณค่ายิ่งครับ
ขออนุญาตนำไปเป็นแนวทางการสอนตน และลูกหลานครับคุณครู

ขอบพระคุณครับผม ^_^

อ.นุ

วอญ่า-ผู้เฒ่า-natachoei--

เพชรน้ำหนึ่ง

ครูหยิน

rojfitness

ครูอาร์ม

ถาวร

ไอดิน-กลิ่นไม้

อักขณิช

ลูกสายลม

ศูนย์วิจัยและจัดการความรู้เพื่อการควบคุมยาสูบ (ศจย.)

กล้วยไข่

Sila Phu-Chaya

ป.

ยายธี

* สวัสดีค่ะ ขอบคุณมากสำหรับกำลังใจมอบแก่สุภาษิตสอนหลา"ใกล้เกลือ กินด่าง"

* หลานเพชรน้ำหนึ่ง....ขอบคุณภาพผลไม้ป่า "บ๊ะโจ๊ก" ที่นำมาฝากกัน ได้แวะไปอ่านแล้ว ชื่อแปลกน่าสนใจมากค่ะ

* น้องครูหยิน...ยินดีมากค่ะที่เห็นคุณค่าของคติโบราณนี้ และฝากความคิดถึงกัน ขอให้มีความสุขมากๆค่ะ

* น้องRojfitness...เรามาช่วยกันถ่ายทอดคำสอนของบรรพชน จากรุ่นสู่รุ่นนะคะ

* หลานครูอาร์ม...ดีใจมากค่ะที่เข้าใจเนื้อหาคำสอน..จดจำให้ขึ้นใจ...นำไปประยุกต์ใช้...เพื่อเป็นแบบอย่างที่ดีของเยาวชนนะคะ...

* ท่านวอญ่าฯ...ทั้งบอกเล่า และทำให้ดู อยู่ให้เห็น เป็นความจดจำที่สืบต่อกันไปตลอดสาย

* น้องลูกสายลม...ใช่ค่ะ เรามาช่วยกันปลูกฝังจิตสำนึกของการรู้คุณค่าวัฒนธรรมไทย ของดีใกล้ตัว ให้สืบทอดต่อไปอย่างยั่งยืนค่ะ

* น้องศูนย์วิจัยฯ...ยินดีมากค่ะที่แวะมาอ่านด้วยความสนใจ..

* น้องกล้วยไข่...นี่แหละค่ะภาษิตโบราณของไทย...สั้นกระทัดรัด ได้ใจความในความหมายที่ลึกซึ้ง...เห็นรูปธรรมชัดเจน....ครูกล้วยไข่ ควรต้องนำภาษิตไทยเหล่านี้ ปลูกฝังจิตสำนึกลูกศิษย์อย่างต่อเนื่องค่ะ

* น้อง Sila....ยินดีมากค่ะที่เห็นคุณค่าของคำสอนถ่ายทอดสู่ลูกหลานเช่นนี้ค่ะ

* น้องหมอป. ...วัฎจักรของการเรียนรู้ สู่การพัฒนา และต่อยอด อย่างต่อเนื่อง เพื่อหล่อหลอมอัตตลักษณ์ของบุคคลนะคะ

* คุณยายธี....ขอบคุณที่มาแลกเปลี่ยนประสบกาณ์ และภาพดอกมะลิฝรั่งขาวสวยงามที่นำมาฝากกัน...รูปทรงดูแข็งแรงกว่าดอกมะลิไทยและเกสรเหลือง คงหอมมากๆ นะคะ...

น้องอ.นุ....ขอบคุณมากค่ะสำหรับกำลังใจ และให้ความสนใจนำคติชีวิตเหล่านี้ ไปถ่ายทอดต่อแก่ลูกๆ...ขออวยพรให้ครอบครัวมีความสุขด้วยคุณธรรมนำชีวิตตามที่ตั้งใจไว้ทุกประการค่ะ

อนุญาตให้แสดงความเห็นได้เฉพาะสมาชิก
พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท