การเหยียดผิวสี......ปัญหาชนชั้น


ความรุนแรงมีแต่จะสูญเสีย และเมื่อมีฝ่ายหนึ่งชนะ ก็จะสร้างรอยแผลแห่งความเจ็บปวดให้ผู้แพ้

  ถ้าเรานีกถึงประเทศแอฟริกา แต่ก่อนสิ่งแรกที่เกิดขึ้นในมโนภาพคือการเห็นผู้คนผิวดำ ร่างกายบึกบึนน่าเกรงขาม  แต่กลับเป็นทาสที่ทำงานอย่างหนัก เห็นเด็กๆถอดเสื้อวิ่งเล่นฝุ่นตลบในสนามดิน มีรอยยิ้มที่เห็นแต่ฟันขาวๆ ความเป็นอยู่ก็เรียบง่ายจนมองเหมือนคนไม่ศิวิไลซ์ แต่ปัจจุบัน แอฟริกาคือประเทศที่เป็นเจ้าภาพฟุตลอลโลก คนผิวดำมากมายที่มีเชื้อสายแอฟริกัน กลับเป็นผู้นำของประเทศหลายคน และมีคนผิวขาวเป็นพลเมือง

      แต่ก่อนที่คนแอฟริกาจะมีสิทธิเสรีภาพเช่นทุกวันนี้ เขาถูกปกครองด้วยคนผิวขาวชาวยุโรป ที่มีเพียง 8 %ของประเทศมาก่อน  ซึ่งคนเหล่านี้มีอิทธิพลขับเคลื่อนเศรษฐกิจ ทำตัวเหมือนเจ้าของประเทศ เป็นพลเมืองต่าชั้นกับคนผิวดำ ซึ่งคล้ายกับอาณานิคมอื่นๆของอังกฤษ มีผู้บันทึกไว้ว่า


               

                                          ( ภาพจาก Bloggang ของคุณ alei )

     "คนผิวสีในแอฟริกาใต้ช่วงนั้น ไม่มีสิทธิ์ลงคะแนนเลือกตั้งไม่สามารถใช้สาธารณูปโภค เช่น รถเมล์ โรงเรียน ชายหาดหรือแม้กระทั่งม้านั่งในสวนสาธารณะ ร่วมกับคนผิวขาวได้  คนผิวสีถูกจำกัดเขตที่อยู่อาศัยและถึงขนาดต้องมีสมุดประจำตัวเพื่อแสดงต่อเจ้าหน้าที่ทุกครั้งที่พบหน้า"

       ยิ่งหลังสงครามโลกครั้งที่สองถึงกับมีกฎหมายในการเหยียดสีผิวอย่างเข้มข้นชัดเจน และคนผิวดำแม้จะเป็นคนพื้นเมืองมาแต่ต้น กลับมีสถานะที่ต่ำสุด การดูถูก ข่มเหง เหยียดหยามเหมือนพลเมืองชั้นสอง ทำให้คนผิวดำบังเกิดความกดดันอย่างมาก และเนลสัน แมนเดลล่า ก็เป็นคนหนึ่ง ที่ลุกขึ้นมาต่อสู้ด้วยความรุนแรง ทั้งเกลียดชังและโกรธแค้น แต่ที่สุดพวกเขาก็พ่ายแพ้รัฐบาล ที่ปราบปรามอย่างรุนแรงเช่นกัน มีการล้มตายเป็นจำนวนมาก ที่สุดเหล่าแกนนำก้ถูกนำไปกักขังลืม โดยเฉพาะเนลสัน ถูกขังที่บนเกาะร็อบเบนเกาะเรือนจำนอกชายฝั่งเมืองเคปทาวน์ เป็นเวลานานถึง 27 ปี  


                                      ( ภาพจากwww.ibtmes.com)

     การถูกคุมขังอย่างยาวนานนั้น เนลสันยังศึกษาหาความรู้จนจบปริญญาตรีทางด้านกฎหมายจากสหรัฐ โดยการเรียนทางไกล แต่สิ่งหนึ่งที่เนลสันได้รับและมีคุณค่าต่อชีวิตในเวลาต่อมาของเขาก็คือ การได้มีเวลาคิดทบทวนการต่อสู้ที่ผ่านมา ความรุนแรงมีแต่จะสูญเสีย และเมื่อมีฝ่ายหนึ่งชนะ ก็จะสร้างรอยแผลแห่งความเจ็บปวดให้ผู้แพ้ และคนผืวดำอย่างพวกเขา ก็พ่ายแพ้เสมอ การหายุทธวิธีอื่นที่สันติสงบ ก็คือการสร้างความสมานฉันท์ต่อกัน

ในระหว่างติดคุกนั้น ชื่อเสียงของเนลสัน ก็กระฉ่อนไปทั่ว ในนามของนักต่อสู้เรื่องผิวสี และเป็นที่นับถือของขอคนแอฟริกันผิวดำทุกคน ยังไม่มีใครลืมวีรกรรมของเนสันเลย โดยเฉพาะการกดดันรัฐบาลและนานาชาติของเพื่อนร่วมอุดมการณ์ของเขาที่ชื่อโอลิเวอร์ แทมโบ ภายใต้คำขวัญ "Free Nelson Mandela!"

     "Free Nelson Mandela!" จะเป็นตัวผลักดันให้เกิดกระแสเรียกร้องอิสรภาพให้แก่เนลสันที่ถูกจำคุกตลอดชีวิตได้อย่างไร นักโทษจำคุกที่ตลอดเวลา เต็มไปด้วยการเตรียมพร้อม มีกำลังใจ และความหวังเสมอ แม้จะได้รับการปฏิบัติ เท่านักโทษชั้นต่ำสุดก็ตาม

  จะขอเล่าไว้ในบันทึกต่อไปนะคะ

 

หมายเลขบันทึก: 569100เขียนเมื่อ 25 พฤษภาคม 2014 22:05 น. ()แก้ไขเมื่อ 25 พฤษภาคม 2014 22:05 น. ()สัญญาอนุญาต: ครีเอทีฟคอมมอนส์แบบ แสดงที่มา-ไม่ใช้เพื่อการค้า-ไม่ดัดแปลงจำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (2)

สนใจเรื่องนี้ จะรออ่าน ขอยคุณนะคะที่เล่า

สวัสดีค่ะคุณnui

  จะตั้งใจเขียนนะคะ

ชอบเรื่องราวของท่านมากๆค่ะ

อนุญาตให้แสดงความเห็นได้เฉพาะสมาชิก
พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท