พรก.ฉุกเฉิน : ช่วยประชาชนหรือปราบปรามประชาชน


บทความจากหนังสือพิมพ์แนวหน้า ฉบับวันเสาร์ ที่ 25 มกราคม 2557

ติดตามอ่านย้อนหลังได้ที่ลิงก์ข้างล่างนี้ครับ

http://www.naewna.com/columnist/1104

พรก.ฉุกเฉิน : ช่วยประชาชนหรือปราบปรามประชาชน

มวลมหาประชาชนไม่มีอาวุธ ใช้นโยบายสันติ อหิงสาอยู่มาเกือบ 3 เดือน ไม่มีความรุนแรง จะมีแต่ฝ่ายรัฐบาลที่ทำร้ายประชาชน ไม่ว่าจะเป็นบรรทัดทอง หรือระเบิดที่ราชวิถี และการโจมตีมวลมหาประชาชนอย่างต่อเนื่องด้วยอาวุธทั้งปืน ทั้งระเบิดจึงแปลกใจเมื่อมี พ.ร.ก.ฉุกเฉินออกมาอย่างคาดไม่ถึงเพื่ออะไร รักษาอำนาจของตัวเองหรือเพื่อปกป้องประชาชนกันแน่ โดยเฉพาะอย่างยิ่งเป็นรัฐบาลรักษาการ ไม่ควรทำนโยบายสำคัญที่กระทบต่อประชาชน ควรหันมาดูความต้องการของประชาชนส่วนใหญ่น่าจะดีกว่า

ยิ่งตั้งคุณเฉลิม อยู่บำรุง มาเป็นผู้อำนวยการศูนย์รักษาความสงบ (ศรส.) ด้วย ก็เลยเข้าใจว่าฝ่ายทหารเขาไม่เอาด้วย คงเป็นรัฐบาล+ตำรวจ ขี้ข้าคุณทักษิณ ถึงได้มีการออก พ.ร.ก.ฉุกเฉิน แต่การประชุมเพื่อพิจารณาอนุมัติก็จะขาดผู้บัญชาการกองทัพบก กองทัพเรือ ซึ่งจริงๆ แล้วคงจะมีส่วนร่วมถ้าคิดว่าเป็นสิ่งจำเป็นจริงๆ ที่จะปกป้องประชาชน

ขอถามดังๆ ว่า.. ทำไปทำไม? เพื่อต่ออายุรัฐบาลตัวเองหรือเปล่า? หรือเป็นการต่อสู้ขั้นสุดท้าย รอที่จะจบอย่างไรเท่านั้น

นอกจากนั้น เรื่องที่น่าตลกสิ้นดี คือ นโยบายจำนำข้าวทุกเม็ด แต่ไม่มีเงินจ่ายให้ชาวนา

จึงเป็นเรื่องน่าเศร้าของรัฐบาลชุดนี้ ว่าดำเนินนโยบายต่างๆ ที่หาเสียงกับประชาชน แต่ทำไม่สำเร็จ แล้วจะเรียกว่าดูแลเกษตรกรได้อย่างไร ที่แท้คือ นโยบายหลอกชาวบ้านไปวันๆ

สัปดาห์ที่แล้ว ผมค้างไม่ได้เล่าเรื่องไปบรรยายที่ Hong Kong ไว้ จึงขอสรุปให้ว่า..

นอกจากไปประชุม ASIAN Financial Forum และไปเป็นแขกของ Hong Kong ICAC Anti-Corruption ได้ความรู้มากมายเรื่องนโยบายปราบปรามทุจริตคอร์รัปชั่นของ Hong Kong กับเรื่องเศรษฐกิจโลกและเอเชียในปี 2014

บรรยากาศ Luncheon talk หัวข้อ Hong Kong ASEAN Partnership ได้รับเกียรติจากสภาธุรกิจไทย-ฮ่องกง เมื่อวันที่ 15 มกราคม 2557 ณ Hong Kong Club

ในนามของ Hong Kong -Thailand Business Council ยังได้เชิญผมไปพูดเรื่องความร่วมมือระหว่างไทย-ฮ่องกง-ASEAN-GMS นักธุรกิจฮ่องกงต่างให้ความสนใจมีระดับอธิบดีการค้าของฮ่องกง รวมทั้งท่านกงสุลใหญ่ของไทย(นายอรุณ จิวาศักดิ์อภิมาศ) ประจำฮ่องกงเข้าร่วมฟังด้วย

ผมเน้นให้เห็นว่าในด้านภูมิศาสตร์ ประเทศ GMS ที่ใกล้กับฮ่องกง ได้แก่ ลาว พม่า ไทย กัมพูชา เวียดนาม มณฑลยูนนานและกวางสีของจีน ซึ่งเป็นส่วนหนึ่งของ ASEAN นอกจากนั้นมีทรัพยากรธรรมชาติมาก ซึ่งจะช่วยการขาดแคลนแรงงานได้มีประชากรวัยหนุ่มสาวจำนวนมาก ถ้าฮ่องกงจะมีความสัมพันธ์กับ ASEAN น่าจะแบ่งเป็นความสัมพันธ์กับกลุ่ม GMS ส่วนหนึ่ง และกลุ่มประเทศอาเซียนเดิมอีกส่วนหนึ่งจะทำให้ฮ่องกงมีบทบาทที่มีคุณค่าในอาเซียนมากขึ้น ซึ่งถ้าไม่ทำฮ่องกงก็จะเป็นส่วนสำคัญของจีนต่อไป และถ้าความสัมพันธ์กับจีนมากเกินไปจะไม่เกิดความหลากหลาย (Diversity) อนาคตของฮ่องกงสมดุลและมีคุณค่ามากขึ้น ยิ่งไปกว่านั้น ฮ่องกงยังมีศักยภาพมากมาย อาทิ

-การเงิน

-การค้าระหว่างประเทศ

-การเงินและการเป็นศูนย์กลางการเงินของโลก

-การบริหารจัดการสมัยใหม่

-ทรัพยากรมนุษย์ทั้งระดับอาชีวะ และระดับมหาวิทยาลัย

-เป็นเขตเศรษฐกิจที่มีธรรมาภิบาลและปราศจากคอร์รัปชั่น

ดังนั้นการร่วมมือกันระหว่าง ASEAN-GMS- Hong Kong ก็จะน่าจะเกิดขึ้นได้ ผมจึงเป็นส่วนหนึ่งสนับสนุนให้เกิดการเชื่อมโยงกันต่อไป

เป็นที่สังเกตว่าในช่วงตอบคำถาม นอกจากคำถามเรื่องความสัมพันธ์ทางเศรษฐกิจระหว่าง ASEAN-GMS-Hong Kong แล้วมีคำถามที่เป็นห่วงสถานการณ์ของประเทศไทย เป็นจังหวะดีที่ผมได้อธิบายให้นักธุรกิจเหล่านั้น ทราบข้อเท็จจริงที่สังคมโลกอาจจะไม่เข้าใจ

ศอ.รส. ฝ่ายความมั่นคง มีมติให้รัฐบาลประกาศ พ.ร.ก.ฉุกเฉิน กทม. ปริมณฑล 60 วัน มีผล 22 มกราคม โดยมี “ร.ต.อ.เฉลิม” นั่ง ผอ.ศรส.

โดยเฉพาะฝ่ายมวลมหาประชาชนไม่ขัดข้องเรื่องเลือกตั้ง แต่เมื่อเลือกตั้งหรือเป็นรัฐบาลเสียงข้างมากจะต้อง เป็นรัฐบาลที่ทำประโยชน์สูงสุดให้ประชาชนไม่ใช่แค่ทำเพื่อ

-ออกกฎหมายนิรโทษตัวเองทั้งๆ ที่มีคดีอาญา ซึ่งศาลตัดสินไปแล้ว

-ใช้ทรัพยากรของชาติเพื่อครอบครัวมากกว่าประเทศเป็นส่วนร่วม

-สร้างนโยบายประชานิยมที่ทำลายเศรษฐกิจในระยะยาวเช่น จำนำข้าว เป็นต้น

-แต่งตั้งคนที่ทำงานเพื่อรับใช้รัฐบาลเท่านั้น กำจัดข้าราชการดีออกจากระบบ

-ประเด็นก็คือ ถ้าชาวต่างประเทศศึกษาการเมืองในประเทศไทย ลึกๆ ถึงบริบทของไทยก็จะเข้าใจ ไม่ใช่แค่มองเปลือกนอกว่าต้องเลือกตั้งเท่านั้นคือประชาธิปไตย

ผมเคยเขียนถึงอดีตผู้นำลีกวนยูของสิงคโปร์ ซึ่งยังมองการเมืองไทยไม่ละเอียด มองคุณทักษิณเป็นผู้นำของคนจนในประเทศไทย ซึ่งคนไทยรู้ว่าคุณทักษิณหลอกคนจนให้ลงคะแนนเสียงแต่ไม่จริงใจต่อคนจนอย่างเห็นได้ชัด

หน้าที่ของชาวต่างประเทศโดยเฉพาะสื่อ เช่น BBC หรือ CNN ต้องศึกษาประเทศไทยอย่างลึกซึ้งไม่ใช่มองฉาบฉวยแต่รูปแบบของประชาธิปไตยไม่ได้มองบริบทของสังคมการเมืองไทยอย่างชัดเจน

คล้ายๆ กับข้อเสนอแนะของผมต่อผู้แทนการค้าฮ่องกงว่า จะทำธุรกิจใดๆ ในประเทศ GMS ต้องศึกษา..

-วัฒนธรรม

-สังคม

-การเมือง

-ประวัติศาสตร์

ต้องรู้ให้จริง ไม่ใช่คิดแค่กำไรเท่านั้น

ดังนั้นการทำงานของผมคือสร้างความเข้าใจอันดีต่อประเทศเพื่อนบ้านจึงเป็นบทบาทเล็กๆ ที่ช่วยประเทศไทยได้ แนะนำประเทศเพื่อนบ้านอย่างฮ่องกงให้มีนโยบายที่รอบคอบ

“ผมได้ทำหน้าที่อย่างดีที่สุดเป็นตัวแทนของประเทศไทย”

จีระ หงส์ลดารมภ์

หมายเลขบันทึก: 569338เขียนเมื่อ 29 พฤษภาคม 2014 12:05 น. ()แก้ไขเมื่อ 29 พฤษภาคม 2014 12:05 น. ()สัญญาอนุญาต: ครีเอทีฟคอมมอนส์แบบ แสดงที่มา-ไม่ใช้เพื่อการค้า-ไม่ดัดแปลงจำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (0)

ไม่มีความเห็น

อนุญาตให้แสดงความเห็นได้เฉพาะสมาชิก
พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท