Obsession หรือภาวะครอบงำความเป็นประชาธิปไตย ของยิ่งลักษณ์และเสื้อแดงนำไปสู่ความหายนะ


บทความจากหนังสือพิมพ์แนวหน้า ฉบับวันเสาร์ที่ 8 มีนาคม 2557

ติดตามอ่านย้อนหลังได้ที่ลิงก์ข้างล่างนี้ครับ

http://www.naewna.com/columnist/1104

Obsession หรือภาวะครอบงำความเป็นประชาธิปไตย ของยิ่งลักษณ์และเสื้อแดงนำไปสู่ความหายนะ

ผมนำคำว่า Obsession หรือภาวะครอบงำมาเขียนเพราะมีตัวอย่างผิดๆ ในทางเศรษฐศาสตร์ที่น่าจะนำมาประยุกต์กับภาวะครอบงำเรื่องความเป็นประชาธิปไตยของรัฐบาลยิ่งลักษณ์

Paul Krugman นักเศรษฐศาสตร์ระดับโนเบลได้เขียนไว้เร็วๆ นี้ ในหนังสือพิมพ์ New York Times ว่า บางครั้งผู้กำหนดนโยบายเศรษฐศาสตร์ในอดีต เช่น ธนาคารชาติของสหรัฐ ธนาคารกลางของประเทศอื่นๆ จะมีภาวะถูกครอบงำเรื่อง การรักษาอัตราเงินเฟ้อไว้ในระดับหนึ่ง ซึ่ง Paul เห็นว่าบางครั้งการมีภาวะครอบงำแบบนี้ อาจจะก่อให้เกิดผลร้ายต่อระบบเศรษฐกิจภาคการผลิตที่แท้จริงเช่น เน้นการรักษาอัตราเงินเฟ้อ จะไม่ลดดอกเบี้ยเพื่อกระตุ้นเศรษฐกิจ ไม่เพิ่มปริมาณเงินเข้าสู่ระบบเพราะกลัวเงินเฟ้อ แบบนักเศรษฐศาสตร์ เช่น Milton Friedman เคยแนะนำผลของภาวะครอบงำทางแนวคิดเพื่อจะรักษาภาวะระดับเงินเฟ้อไว้ ทำให้เกิดการชะงักงันของระบบเศรษฐกิจภาคการผลิตภาคแท้จริง

Paul Krugman นักเศรษฐศาสตร์ระดับโนเบล

ยิ่งลักษณ์ ชินวัตร

หนังสือ “แผน” เพื่อแผ่นดิน เขียนโดยคุณวิทยา เวชชาชีวะ

เงินเฟ้ออาจจะไม่เพิ่มแต่การจ้างงานลดลงอย่างมาก อัตราการเจริญเติบโตทางเศรษฐกิจลดลง รายได้ของประชากรลดลง ซึ่งไม่ส่งผลดีในระยะยาว คงคล้ายกับปัญหาการตกต่ำทางเศรษฐกิจยุค ค.ศ.1932 ที่ควรกระตุ้นเศรษฐกิจที่เป็นมากซึ่งช่วงที่โอบามาแก้ปัญหาเศรษฐกิจยุคแฮมเบอร์เกอร์ได้บทเรียนช่วงหลัง ได้ให้ธนาคารกลางพิมพ์พันธบัตร เพื่อไปซื้อตราสารหนี้เพื่อให้เงินเข้าระบบมากขึ้น นำเม็ดเงินกระตุ้นเศรษฐกิจได้

ถึงแม้จะทำให้เศรษฐกิจช่วงแฮมเบอร์เกอร์ไม่ถึงกับตกต่ำเหมือนปี ค.ศ. 1932 แต่การแก้ปัญหาของโอบามาอาจจะช้าไปเพราะอัตราว่างงานของอเมริกาพุ่งขึ้นไปถึง 9% กว่าจะลดมาได้บ้างที่ 7% แต่ก็ยังลดไม่พอ ทำให้ระบบเศรษฐกิจและภาคการผลิตที่แท้จริงเสียหายในระยะยาวมากเพราะธนาคารกลางสหรัฐยังมี Obsession เรื่องเงินเฟ้อมากกว่าการเพิ่มการจ้างงาน

กลับมาพูดถึงคุณยิ่งลักษณ์ และสาวกเสื้อแดง เข้าอีหรอบเดียวกัน คือมี Obsession เรื่องประชาธิปไตย ที่พูดว่า หนูจะตายคาสนามประชาธิปไตย คือสร้างค่านิยมให้เกิดความคิดถูกครอบงำ ความสำคัญของประชาธิปไตยแก่สังคมที่คิดยังไม่เป็นให้คล้อยตาม ต้องการประชาธิปไตย ซึ่งไม่ใช่ความสำเร็จของประเทศในระยะยาว

แต่ถ้าจะใช้ตัวอย่างของกรณี เงินเฟ้อและการว่างงาน ก็พูดได้ว่าปัญหาของยิ่งลักษณ์คือ ครอบงำคำว่าประชาธิปไตยมากขึ้นเท่าไหร่ก็ทำปัญหาคอร์รัปชั่นและปัญหาอื่นๆ ตามมา ซึ่งไม่เป็นผลดีต่อประเทศ ซึ่งเป็นจุดทำให้เกิดพลังมวลมหาประชาชนดังที่เห็น

เรื่องคอร์รัปชั่นอย่างเดียว ก็เห็นแล้วว่า มีประชาธิปไตยแบบถูกครอบงำไม่ได้เพราะทำให้คนส่วนใหญ่ของประเทศเสียประโยชน์ ไปถามชาวนาเรื่องจำนำข้าว แต่ที่อันตรายยิ่งกว่านั้นก็คือ การครอบงำเรื่องประชาธิปไตย ไม่ได้ทำให้ประเทศไทยมีความเจริญรุ่งเรืองอย่างยั่งยืน แต่นำไปสู่ความหายนะอย่างใหญ่หลวง หลายเรื่อง เช่น

-การมีแต่ปริมาณของ สส. แต่ไม่มีคุณภาพ เช่น สส.อย่างจ่าประสิทธิ์ ขาดคุณธรรม ขาดความรู้

-สร้างกระแสว่าถ้าแพ้นั้นจะแบ่งแยกดินแดน หรือประชาธิปไตยโดยไม่เคารพกฎหมาย เป็นต้น คือไม่เคารพ “Rule of Law” แต่เคารพแต่ “My Law”

-ไม่พอใจองค์กรอิสระถ้าตัดสินให้ตัวเองผิด

คำถามที่น่าสนใจก็คือ การครอบงำ หรือการปลุกระดม ยังมีอิทธิพลต่อคนไทยอีกต่อไปกี่ปี และจะแก้อย่างไรให้หลีกเลี่ยงความหายนะ

นี่คือประเด็นการปฏิรูปประเทศไทยคือต้องปฏิรูปการศึกษา ปฏิรูปค่านิยม เช่น คุณธรรม จริยธรรม ปฏิรูปคนไทยให้คิดเป็น วิเคราะห์เป็น มีเหตุผล และแสวงหาความรู้อย่างต่อเนื่อง ถ้าคนไทยคิดเป็น วิธีการครอบงำ (Obsession) เรื่องประชาธิปไตยแบบทักษิณก็ไม่มีวันสำเร็จถ้าคนไทยมีความรู้ มีความคิด เข้าใจและรู้ทัน ในความเลวร้ายของระบบทักษิณ การปลุกระดมและการครอบงำทางประชาธิปไตยจะไม่ได้ผลซึ่งน่าจะเป็นตัวอย่างที่สำคัญในการปฏิรูปการศึกษา ปฏิรูปจริยธรรม ถ้าทำได้ การครอบงำทางความคิดเรื่องประชาธิปไตยผิดๆ ก็จะไม่เกิดขึ้นอีกในอนาคต

ผมขอแนะนำหนังสือที่มีคุณประโยชน์ “แผน” เพื่อแผ่นดิน เขียนโดยคุณวิทยา เวชชาชีวะ ถ่ายทอดถึงตัวอย่างของคนดี เพื่อแผ่นดินซึ่งหายากในคนปัจจุบันทั้งคุณแผน วรรณเมธี และคุณวิทยา เวชชาชีวะ ผู้เขียนอดีตเป็นปลัดกระทรวงการต่างประเทศ ที่รับใช้แผ่นดินอย่างน่าภาคภูมิใจ

จีระ หงส์ลดารมภ์

หมายเลขบันทึก: 569345เขียนเมื่อ 29 พฤษภาคม 2014 12:17 น. ()แก้ไขเมื่อ 29 พฤษภาคม 2014 12:17 น. ()สัญญาอนุญาต: ครีเอทีฟคอมมอนส์แบบ แสดงที่มา-ไม่ใช้เพื่อการค้า-ไม่ดัดแปลงจำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (0)

ไม่มีความเห็น

อนุญาตให้แสดงความเห็นได้เฉพาะสมาชิก
พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท