การทูตภาคประชาชนที่ประเทศลาว กรณีศึกษากศน.ไทย/ลาว


บทความจากหนังสือพิมพ์แนวหน้า ฉบับวันเสาร์ที่ 26  เมษายน 2557

ติดตามอ่านย้อนหลังได้ที่ลิงก์ข้างล่างนี้ครับ

http://www.naewna.com/columnist/1104

การทูตภาคประชาชนที่ประเทศลาว กรณีศึกษากศน.ไทย/ลาว

ขณะที่ผมเขียนบทความนี้อยู่จังหวัดหนองคาย มาอยู่ที่นี่ 5 วัน ตั้งแต่วันเสาร์ที่ 19 ถึง วันพฤหัสที่ 24

ในโครงการค่ายผู้นำของครูกศน. 103 คน ต่อเนื่องมาจากรุ่นที่ 1 ที่เชียงใหม่ทำการฝึกเรื่องกศน.ไปสู่ภาคเกษตรไทยโดยเน้น 4H

1. High Standard มีมาตรฐาน

2. High Productivity ใช้ศักยภาพเพิ่มมูลค่าในการทำงาน ใช้ปัจจัยการผลิตเท่าเดิมแต่มูลค่าสูงขึ้น

3. High Income เมื่อมี Productivity สูงขึ้น รายได้สูงขึ้น

4. Higher Income Distribution คือการกระจายรายได้ที่ดีขึ้น

มีผู้เชี่ยวชาญการเกษตรชาวต่างประเทศจากอาเซียน มาเป็นผู้ร่วมอภิปรายด้วยจาก 6 ประเทศ บางท่านอยู่ตลอด 5 วันเช่น ตัวแทนของอินโดนีเซียและเวียดนาม รวมมาจาก ASEAN 6 ประเทศ ได้แก่ กัมพูชา อินโดนีเซีย ลาว ฟิลิปปินส์ สิงคโปร์และเวียดนาม

(1) แต่ละท่านใน 100 คนจะต้องออกไปฝึกอาจารย์กศน.หรือเกษตรกรอีกท่านละ 100 คน เรียกว่า V1 และเลือกหัวข้อและโครงการเกษตรเพื่อจะเข้าไปช่วยพัฒนาการเกษตรอย่างแท้จริง เช่นบางกลุ่มในเรื่องการท่องเที่ยวเชิงเกษตร บางกลุ่มเลือกยางพารา บางกลุ่มเลือกแปรรูปผลไม้ บางกลุ่มเลือกข้าวปลอดสารพิษ เป็นต้น ซึ่งในช่วงต่อไป ก็จะต้องใช้ครูทั้งหมดไปแนะนำโครงการต่างๆเรียกว่า V2 เพราะต้องการมูลค่าเพิ่มให้สูง มีความคิดสร้างสรรค์ในภาคเกษตรเพื่อหลุดพ้นจากความยากจน

ส่วน V3 คือเกษตรในอาเซียน จะมีสิ่งที่น่าสนใจมาก จึงจะร่วมมือกันอย่างจริงจังทั้งด้านการผลิต การขาย และการบรรจุหีบห่อ เรียกว่า V3 ดังนั้นใน 5 วันจึงทำ 3 อย่าง

(1) สอนวิธีการเรียน Learning How to Learn เพื่อเป็นวิธีการให้ครูกศน.คิดและวิเคราะห์เป็น ปะทะกับความจริงและนำไปต่อยอดให้เกษตรกรเรียน ไม่ใช่ฟังและลอก ก๊อปปี้ ขึ้นหิ้ง หวังให้ครูจะเป็นผู้ใฝ่รู้ เรียนรู้ตลอดชีวิต ข้ามศาสตร์ด้วย

นอกจากนี้แนะนำการบริหารจัดการแบบใหม่มาช่วย เช่น การเงิน การตลาด การพัฒนาทุนมนุษย์ สร้างภาวะผู้นำเน้น Logistics การสร้างเครือข่ายเพื่อเพิ่มศักยภาพของภาคเกษตร

ผมคิดว่าภาคเกษตรของไทยคือ Back to Basics กลับมาสู่พื้นฐาน คือหันมาศึกษาและพัฒนาคนในภาคเกษตรเรียกว่า Smart Farmers

ที่น่าสนใจก็คือ เราได้รับความคิดเห็นจากประเทศใน ASEAN ส่งคนมาช่วยอธิบายสถานการณ์การเกษตรในแต่ละประเทศเพื่อจะร่วมมือกันต่อไป นอกจากนั้น

-ได้ฟังชีวิตปราชญ์ชาวบ้าน

-ได้รู้จักอาจารย์เก่งๆในมหาวิทยาลัยมาช่วยสอน

-ได้รู้จักผู้ส่งออกผักผลไม้ตัวจริง เช่น อาจารย์ชูศักดิ์ ชื่นประโยชน์ ซึ่งทำการส่งออกสินค้าเกษตรประสบความสำเร็จแล้วโดยปราศจากสารพิษ

การทำงานในอนาคต นอกจากเน้น Cluster ของอาจารย์ ใน 100 คนจะต้องสร้างเครือข่ายกับหน่วยงานอื่นๆเพื่อทำงานร่วมกัน เช่น

(1) สหกรณ์การเกษตร

(2) กระทรวงเกษตร

(3) ธกส.

(4) ธนาคารพาณิชย์

(5) ปราชญ์ชาวบ้าน

ผมและทีมงานจึงขอขอบคุณท่านเลขาธิการ ประเสริฐ บุญเรืองและคุณชาญยุทธ เฮงตระกูล เลขานุการรัฐมนตรีว่าการกระทรวงศึกษาธิการและคุณมณฑล ชาติสุวรรณ (ปลัดแรมโบ้) ที่ริเริ่มโครงการดีๆ ผมจะเน้นการศึกษาของครูกศน.ไทยว่า ถ้าได้ความรู้และวิธีการเรียนรู้จากผม จะได้ไปสู่เป้าหมายได้ ขอบคุณความตั้งใจของครูรุ่น 2 ทั้ง 103 คนที่มุ่งมั่นมาก

-สุดท้าย ใน 5 วันซึ่งมีทัศนศึกษาแบบเต็มๆ คือคณะทั้งหมดข้ามไปที่ประเทศลาว 1 วัน

ช่วงเช้าเป็นการเยี่ยมและแลกเปลี่ยนความรู้กับกระทรวงศึกษาของลาว ได้รับการต้อนรับอย่างสมเกียรติ ประทับใจมากจาก รศ.ดร.สีสะหมอน สิททิราด ปลัดกระทรวงฯ อาจารย์มีไชกอน วันนะจิด รองอธิบดีกรมแผนการ และ อาจารย์อุ่นเพ้ง คำมา รองอธิบดีกรมการศึกษานอกโรงเรียน กระทรวงศึกษาธิการ สปป.ลาว มาให้การต้อนรับและร่วมให้ความรู้ในเรื่องแผนการศึกษาของ สปป.ลาว และ นโยบายของกรมการศึกษานอกโรงเรียน และคุณทิพย์วรรณ ศุภมิตรกิจจา อัครราชทูตที่ปรึกษาใน สปป.ลาวก็ร่วมฟังด้วย

ได้เห็นว่าการศึกษาของ 2 ประเทศ จะต้องเรียนรู้จากกันและกัน Learn Share and Care และเราต้องเรียนจากลาวด้วย

เช่นครูของลาวจะเป็นครูที่ภูมิใจในอาชีพและได้คนเก่งเป็นครูและครูของลาวไม่มีหนี้แบบครูไทย

ข้าราชการและนักการเมืองของลาวมีนโยบายการศึกษาที่ชัดเจนและมุ่งมั่นไปสู่เป้าหมาย การศึกษาแบบมีระบบและมีขั้นตอน

ลาวอาจจะยากจนกว่าไทย แต่การศึกษาของเขามีทิศทางที่ชัดเจนกว่าไทย ไม่พึ่งพานักการเมืองแบบในประเทศไทย ไม่เปลี่ยนรัฐมนตรีศึกษาบ่อยๆ ยกตัวอย่างปลัดกระทรวงซึ่งท่านมาต้อนรับและรับฟัง มหาวิทยาลัยแห่งชาติลาวซึ่งเป็นตัวอย่างที่ดีดึงคนเก่งนอกระบบ กระทรวงศึกษามาช่วยทำงาน

ในขณะที่กระทรวงศึกษาไทย ผู้บริหารจะขึ้นมาจากข้าราชการประจำที่อยู่กระทรวงมาเป็นเวลานาน จึงทำให้ขาดการมองแบบหลากหลายและองค์รวม เพราะการศึกษาต้องเน้น do what you know ไม่ใช่ know what you know เพราะการศึกษาช่วยให้นำความรู้ไปใช้ในชีวิตและการทำงาน

ซึ่งกศน.ของไทยและลาวน่าจะร่วมมือกันต่อไป

เช่นกศน.ไทยมาสร้างศูนย์กศน.ประจำจังหวัดให้ประเทศลาว 7 แห่งแต่ยังไม่มีหลักสูตรพัฒนาการเกษตรลาว อนาคตลูกศิษย์ผมทั้ง 100 คน ก็อาจจะมาสร้างหลักสูตรร่วมกับประเทศลาว สร้างการเรียนรู้ภาคเกษตรต่อไป และในที่สุดก็ให้ภาคเกษตร 2 ประเทศร่วมมือกันอย่างใกล้ชิด

ผมจึงคิดว่า การทูตภาคประชาชนที่ผมทำอยู่ได้เป็นตัวอย่างที่ชัดเจนและปฏิบัติได้อีกครั้งหนึ่ง ที่นครหลวงเวียงจันทน์เมื่อวันที่ 22 เมษายนที่ผ่านมา

ศ.ดร.จีระ หงส์ลดารมภ์ เลขาธิการมูลนิธิพัฒนาทรัพยากรมนุษย์ระหว่างประเทศนำคณะผู้เข้าร่วมโครงการค่ายผู้นำต้นแบบของ กศน. เพื่อพัฒนาการเกษตรไทยสู่อาเซียนสำหรับรุ่นที่ 2 กลุ่มภาคตะวันออกเฉียงเหนือ เดินทางไปศึกษาดูงานณ กระทรวงศึกษาธิการ สปป.ลาว ในวันที่ 22 เมษายน 2557รศ.ดร.สีสะหมอน สิททิราด ปลัดกระทรวงศึกษาธิการ สปป.ลาว (ขวา) ให้เกียรติต้อนรับ และคุณทิพย์วรรณ ศุภมิตรกิจจา อัครราชทูตที่ปรึกษาใน สปป.ลาว (ซ้าย) ร่วมศึกษาดูงานด้วย
คณะผู้เข้าร่วมโครงการค่ายผู้นำต้นแบบของ กศน. เพื่อพัฒนาการเกษตรไทยสู่อาเซียนสำหรับรุ่นที่ 2 กลุ่มภาคตะวันออกเฉียงเหนือถ่ายรูปร่วมกับคณะของกระทรวงศึกษาธิการ สปป.ลาว หลังจากการศึกษาดูงาน ณ กระทรวงศึกษาธิการสปป.ลาว ในวันที่ 22 เมษายน 2557
พิธีมอบประกาศนียบัตรและปิดโครงการค่ายผู้นำต้นแบบของ กศน. เพื่อพัฒนาการเกษตรไทยสู่อาเซียน สำหรับรุ่นที่ 2 กลุ่มภาคตะวันออกเฉียงเหนือ ในวันที่ 24 เมษายน 2557 ณ โรงแรมบุศยรินทร์ จังหวัดหนองคาย
คณะวิทยากรและผู้เข้าร่วมโครงการถ่ายรูปร่วมกันในพิธีปิดโครงการค่ายผู้นำต้นแบบของ กศน. เพื่อพัฒนาการเกษตรไทยสู่อาเซียนสำหรับรุ่นที่ 2 กลุ่มภาคตะวันออกเฉียงเหนือ ในวันที่ 24 เมษายน 2557ณ โรงแรมบุศยรินทร์ จังหวัดหนองคาย


จีระ หงส์ลดารมภ์

[email protected]

หมายเลขบันทึก: 569352เขียนเมื่อ 29 พฤษภาคม 2014 12:35 น. ()แก้ไขเมื่อ 29 พฤษภาคม 2014 12:35 น. ()สัญญาอนุญาต: ครีเอทีฟคอมมอนส์แบบ แสดงที่มา-ไม่ใช้เพื่อการค้า-ไม่ดัดแปลงจำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (0)

ไม่มีความเห็น

อนุญาตให้แสดงความเห็นได้เฉพาะสมาชิก
พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท