วันแรงงานปี 2014 ย้ำนโยบายประชานิยมล้มเหลวของรัฐบาลยิ่งลักษณ์ 300 บาท ค่าจ้างขั้นต่ำทั่วประเทศ


วันงานปี 2014 ย้ำนโยบายประชานิยมล้มเหลว ของรัฐบาลยิ่งลักษณ์ 300 บาท ค่าจ้างขั้นต่ำทั่วประเทศ

บทความแนวหน้าฉบับวันเสาร์ที่ 3 พฤษภาคม 2557

ติดตามย้อนหลังได้ที่ลิงก์ข้างล่างนี้ครับ

http://www.naewna.com/columnist/1104

บทความจากหนังสือพิมพ์แนวหน้าฉบับวันเสาร์ที่ 

บรรยากาศกลุ่มแรงงานเคลื่อนตัวในวันแรงงานแห่งชาติ 1 พฤษภาคม 2557

คำตัดสินขององค์กรอิสระ ทั้ง ปปช.และศาลรัฐธรรมนูญ ใกล้เข้ามาแล้ว

นายกฯยิ่งลักษณ์ดิ้นทุกทาง โดยเฉพาะดึงเวลาให้ช้าที่สุด เล่นเกมส์ทางกฏหมายขอพยานเพิ่มเติม

องค์กรอิสระมีความยุติธรรมมากให้เวลาเพิ่มและให้พยานมาแสดงคัดค้านได้อย่างไม่ลำเอียง สมเหตุสมผล

ดังนั้นสิ่งแรกที่จะต้องเข้าใจก็คือ ยิ่งลักษณ์ใช้วิธีการทางกฏหมายต่อสู้คดีได้อย่างเต็มที่ ถ้าชนะก็ดีไป แต่ถ้าแพ้ต้องยอมรับ

เพราะถ้าคิดว่าองค์กรอิสระไม่ยุติธรรมควรจะแสดงจุดยืนตั้งแต่แรก เช่น

- ไม่ขอเลื่อน

- ไม่ขอเพิ่มพยาน

- คัดค้านไว้ก่อน

ที่ขอเลื่อนหรือขอเพิ่มพยานก็คือการยอมรับเข้าขบวนการยุติธรรมของ ปปช.และศาลรัฐธรรมนูญ

วันงานที่ผ่านมาทำให้ผมนึกถึงบรรยากาศสมัยที่ผมทำงานให้สถาบันทรัพยากรมนุษย์ของมหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ ผมมีโอกาสเรียนรู้จากท่าน ศ.นิคม จันทรวิฑูร ที่ได้ช่วยสร้างพลังให้แก่ขบวนการแรงงานของไทยเข้มแข็งอยู่ตลอดเวลา แม้กระทั่งการก่อตั้งกระทรวงงงาน ผมและอาจารย์นิคมก็มีบทบาทสนันสนุนอยู่ด้วย

ผ่านไปแล้วหลายสิบปีก็อดไม่ได้ที่จะแบ่งปันความรู้ให้แก่ผู้อ่านรุ่นหลังๆที่อาจจะไม่ได้ติดตามความคิดและผลงานของผมในอดีต

ช่วงที่ผมทำงานให้สถาบันทรัพยากรมนุษย์ ผมต้องดูแลความยุติธรรมของผู้เสียเปรียบก่อนคือ ผู้ใช้งงาน เพราะช่วงที่สหภาพงงานถูกกีดกันจากนายจ้างและฝ่ายรัฐบาล มองแรงงานเป็นแบบฝ่ายซ้ายเต็มตัว สร้างปัญหาต่อความมั่นคงของชาติ

ซึ่งอาจจะไม่จริง แต่ที่ถูกมองแบบนั้นเพราะรัฐบาลเข้าใจผู้ใช้แรงงานไม่มาก จึงมักจะเข้าข้างนายจ้างอยู่เสมอ มองเศรษฐกิจเน้นการแข่งขันมิติเดียว ผมจึงเป็นคนกลางเพราะ ความที่เป็นนักเศรษฐศาสตร์ต้องดูแลทุกมิติ เช่น

- คุณภาพชีวิตของแรงงานให้มีศักดิ์ศรีพอควร

- สามารถสร้างศักยภาพในการแข่งขันของเศรษฐกิจได้

- เรียกว่าพบกันครึ่งทาง

ผมเป็นกรรมการค่าจ้างอยู่ 3 สมัย 6 ปี มีโอกาสได้กำหนดค่าจ้างขั้นต่ำ ด้วยแนวคิดของผมซึ่งเป็นช่วงที่ประเทศไทยุคนายกฯชาติชาย เศรษฐกิจเจริญสุดขีด ค่าจ้างขั้นต่ำเพิ่มขึ้น 12 บาทต่อปี นับว่าสูงมากเป็นประวัติการณ์ในอดีต แต่ก็ยังต่ำกว่าการขึ้นค่าแรงงาน 300 บาทของคุณยิ่งลักษณ์มาก

เหตุผลที่ผมให้ขึ้น 12 บาทนั้น เพราะผมให้นายจ้างแบ่งปันส่วนเกินที่ได้จากระบบเศรษฐกิจที่เจริญเติบโตมากถึง 11 – 12 % ต่อปี ต้องยอมรับว่าการมีสหภาพแรงงานในช่วงนั้น จนกระทั่งถึงทุกวันนี้ประเทศไทยได้หลายเรื่อง เช่น สหภาพแรงงาน รัฐวิสาหกิจของการไฟฟ้าฝ่ายผลิตแห่งประเทศไทย ก็ต่อสู้ร่วมกับคุณรสนา โตสิตระกุล จนกระทั้งศาลปกครองยกเลิกการแปรรูป กฟผ. ซึ่งถ้า กฟผ. แปรรูปสำเร็จในยุคคุณทักษิณก็คงจะคุมค่าไฟฟ้าไม่อยู่เช่นเดียวกับ ปตท. ที่ให้ก๊าซลอยตัวในปัจจุบัน

จึงอยากให้คนไทยได้ศึกษาสิ่งเหล่านี้บ้าง โดยมองย้อนกลับไปและมองไปข้างหน้าว่าบทบาทของขบวนการแรงงานมีประโยชน์และต้องปรับปรุงอย่างไรให้มีคุณค่าต่อประเทศไทยในระยะยาวให้เป็นที่ยอมรับของสังคมมากขึ้น

แต่ผมคิดว่าวันแรงงาน ปี 2014 นี้น่าจะพูดถึงความล้มเหลวของนโยบายประชานิยมของคุณยิ่งลักษณ์ที่ไม่รอบคอบในการกำหนดนโยบายค่าจ้างขั้นต่ำ 300 บาททั่วประเทศ คำนึงถึงแค่การหาเสียงเท่านั้น นโยบายนี้มีปัญหามาก คนอาจจะพูดไม่มากเพราะไม่โด่งดังเหมือนการจำนำข้าว แต่ระยะยาวคงมีปัญหามาก คือการกำหนดค่าจ้าง 300 บาทของทุกจังหวัดเหมือนกันทั่วประเทศและกำหนด % เพิ่มสูงในอัตราที่สูงมากในประวัติศาสตร์ คือเพิ่มขึ้นทันที 70 – 100% ประเทศไทยก่อนที่จะมีนโยบายขั้นต่ำ 300 บาททั่วประเทศ เคยมีคณะกรรมการค่างจ้างประจำจังหวัด ซึ่งจะเสนอการขึ้นค่าจ้างให้สอดคล้องกับเศรษฐกิจและสังคม ซึ่งทำให้ค่าจ้างแตกต่างกันในแต่ละพื้นที่

ช่วงที่ผมอยู่ในกรรมการค่าจ้าง 6 ปี ได้กำหนดโดยใช้พื้นที่เป็นหลัก จังหวัดไหนค่าครองชีพสูงและระบบเศรษฐกิจเจริญ ค่าจ้างขั้นต่ำก็จะสูงหน่อย จังหวัดไหนค่าครองชีพถูกและเศรษฐกิจไม่เข้มแข็งก็จะถูกหน่อย

แต่การหาเสียงของยิ่งลักษณ์ไม่ใช้หลักเศรษฐศาสตร์เลย กำหนดค่าจ้างขั้นต่ำ 300 บาท ทั่วประเทศ ถ้าวิเคราะห์อย่างรอบรอบจะพบผลกระทบทางลบมากมายและสร้างปัญหาระยะยาว เช่น

- มีการปลดคนงานออกจำนวนมาก

- ราคาสินค้าและค่าครองชีพแพงเป็นประวัติการณ์อย่างที่ไม่เคยมีมาก่อน เช่น ข้าวแกงจานละ 50 บาท

- ธุรกิจ SME’s ต้องปิดกิจการ

- ธุรกิจบางแห่งย้ายฐานไปต่างประเทศ

- มีอัตราการว่างงานมากขึ้น

- มีงานต่างด้าวมาสวมสิทธิ์ 300 บาทมากขึ้น งานไทยไม่ได้ประโยชน์

- ไม่มีการพัฒนาฝีมืองานอย่างจริงจังเพื่อยกระดับฝีมือและความรู้

ผมได้ไปทำวิจัยมาพบว่า สหรัฐฯก็มีระบบค่าจ้างขั้นต่ำเช่นกัน แต่ไม่ได้ กำหนดเท่ากันทุกรัฐ ผมก็เชื่อว่าเขาทำเพราะมีเหตุผลที่ดี เพราะค่าครองชีพไม่เหมือนกันและความเจริญไม่เท่ากัน

ตาราง I ค่าจ้างขั้นต่ำ ปี 2014 ของรัฐต่างๆ ในสหรัฐฯ
ลำดับ รัฐ ค่าจ้างขั้นต่ำต่อชั่วโมง
1 คอนเนคติกัต $8.7
2 เนวาดา $8.25
3 แคลิฟอเนีย $8.1
4 อาร์แคนซอ $6.15
5 มินิโซด้า $5.25
6 ไวโอมิง $5.15

ในตารางนี้รัฐที่ค่าจ้างขั้นต่ำสูง คือ คอนเนคติกัต, เนวาดา,แคลิฟอเนีย และต่ำสุดก็คือ ไวโอมิง , มินิโซด้า เป็นต้น

จะเห็นได้ว่า นโยบายประชานิยม นโยบายค่าจ้างขั้นต่ำ 300 บาท อาจจะสร้างปัญหาเสียหายเป็นแสนๆล้านก็ได้ถ้ามีการวิจัยออกมาถึงผลกระทบในระยะยาว ความผิดพลาดล้มเหลวแบบนี้มาจาก “ประชาธิปไตยที่เอาแต่ขอให้ฉันได้เข้ามาเป็นรัฐบาล อะไรจะเกิดขึ้นฉันไม่สน ฉันต้องการอำนาจรัฐเท่านั้น”

เพราะฉะนั้นวันงานปี 2014 จึงพิสูจน์ให้เห็นว่า ควรปฏิรูปนโยบายงานและต้องปฏิรูปก่อนการเลือกตั้ง

จีระ หงส์ลดารมภ์

[email protected]

หมายเลขบันทึก: 569353เขียนเมื่อ 29 พฤษภาคม 2014 12:42 น. ()แก้ไขเมื่อ 29 พฤษภาคม 2014 12:42 น. ()สัญญาอนุญาต: ครีเอทีฟคอมมอนส์แบบ แสดงที่มา-ไม่ใช้เพื่อการค้า-ไม่ดัดแปลงจำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (0)

ไม่มีความเห็น

อนุญาตให้แสดงความเห็นได้เฉพาะสมาชิก
พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท