beeman 吴联乐
นาย สมลักษณ์ (ลักษณวงศ์) วงศ์สมาโนดน์

Living management summer 2556 sect.2<1> มุมมองใหม่ของอาจารย์(คนหนึ่ง)ต่อนิสิตที่เรียนภาคฤดูร้อนรายวิชาGENED.ในม.นเรศวร


ที่สำคัญคือ เป็นการสอนแบบไม่สอน..ให้นิสิตได้รู้จักวางแผนการเรียนล่วงหน้า

  ผมมักตั้งคำถาม ถามนิสิตว่า "มาเรียนวิชานี้ทำไม" กับแทบทุกรายวิชาที่สอน และเทอมนี้ซึ่งเป็นภาคฤดูร้อน (19 พ.ค.-19 ก.ค.2557) ซึ่งเป็นภาคฤดูร้อนแรกสำหรับนิสิตภาคปกติ ในยุคสมัยที่มหาวิทยาลัยนเรศวร จัดการศึกษาเพื่อเข้าสู่ประชาคมอาเซียน..

   ความรู้สึกดั้งเดิมของผม ที่ได้สอนนิสิตภาคฤดูร้อน คือ เป็นเด็กที่เรียนอ่อนในวิชานั้นๆ และไม่ค่อยตั้งใจเรียนเท่าไร...

   แต่ผมต้องเปลี่ยนมุมมองใหม่ เพราะนิสิตภาคฤดูร้อนในรายวิชา "การจัดการการดำเนินชีวิต" หรือ " Living Management " ให้คำตอบกับคำถามที่ว่า "พวกเธอมาเรียน Summer กันทำไม" ได้คำตอบมา 38 คน ดังนี้ (บางคนตอบมากกว่า 1 เหตุผล)

  1. เป็นวิชาที่นำไปใช้ในชีวิตประจำวันได้มาก เป็นวิชาพื้นฐานที่สามารถนำไปต่อยอดเพื่อพัฒนาตนเองได้ ความถี่ 15
  2. ต้องเรียน ๑ วิชาอยู่แล้ว จึงลงเพิ่มอีกวิชาจะได้เป็นการใช้เวลาว่างให้เป็นประโยชน์. ความถี่ 7
  3. ตกแผนการเรียน เนื่องจากรายวิชาทับซ้อนกับของรายวิชาและของคณะในภาคเรียนปกติ และการแย่งกันลงรายวิชาศึกษาทั่วไปในเทอมปกติ ความถี่ 4
  4. ลงเรียน เพื่อคาดว่าจะสามารถเพิ่มเกรดเฉลี่ยได้ เพราะลง ๒ วิชา ความถี่ 4
  5. เพราะว่า ลงเรียนรายวิชาศึกษาทั้วไปภาคฤดูร้อน เสียเงินแค่ 100 บาท (ค่ารถไฟฟ้า) เป็นแรงจูงใจ เลยวางแผนการเรียนล่วงหน้า เพื่อเทอมต่อไปเรียนน้อยลงจะได้ทุ่มเทกับวิชายากๆ และรายวิชาที่ใช้เวลาทำงานปฏิบัติมาก (สถาปัตย์ฯ) ความถี่ ความถี่ 11
  6. รุ่นพี่และเพื่อนแนะนำมาว่าอาจารย์สอนสนุก และไม่เครียด ความถี่ 3
  7. ต้องอยู่มหาวิทยาลัยเพื่อรับน้องอยู่แล้ว (จึงลงเรียนเพื่อใช้เวลาว่าให้เป็นประโยชน์) ความถี่ 1
  8. ได้ลงเรียนวิชาภาษาอังกฤษ (ฟรี) อยู่แล้ว จึงลงเรียนวิชาศึกษาทั่่วไปด้วย (ใช้เวลาว่างให้เป็นประโยชน์) ความถี่ 3

      จะเห็นคำตอบที่หลากหลายประมาณ 8 คำตอบด้วยกัน ซึ่งสรุปประเด็นได้ว่า

  1. ตัวเนื้ัอหาวิชานั้นมีประโยชน์ สามารถนำไปใช้ในชีวิตประจำวันได้ และผู้สอนมีวิธีการสอนที่น่าสนใจ
  2. เป็นการใช้เวลาว่างให้เป็นประโยชน์ เนื่องมาจากแรงจูงใจที่สำคัญคือ นโยบาย ไม่เก็บค่าธรรมเนียมการเรียนในรายวิชาศึกษาทั่่วไป ภาคฤดูร้อน
  3. เป็นการวางแผนการเรียนล่วงหน้า เนื่องมาจากเหตุผลสำคัญที่ไม่เก็บค่าเรียนรายวิชาศึกษาทั่วไป ภาคฤดูร้อน

     ซึ่งถ้าสรุปประเด็นแบบบูรณาการ....น่าจะเป็นว่า นโยบายไม่เก็บค่าธรรมเนียมรายวิชาศึกษาทั่วไปในภาคเรียนฤดูร้อน เป็นแรงจูงใจที่สำคัญ ทำให้นิสิตที่มีการวางแผนการเรียนที่ดี ทั้งที่ลงทะเบียนในรายวิชาศึกษาทั่วไปในภาคเรียนปกติไม่ได้เนื่องจากแย่งลงทะเบียนไม่ทัน หรือเป็นการวางแผนการเรียนล่วงหน้าในภาคเรียนถัดไป (ซึ่ง summer แนวเดิมจะต้องเป็นรายวิชาที่เคยลงทะเบียนมาแล้ว..) ซึ่งนิสิตจะวางแผนลงทะเบียนเรียน 2-3 วิชา จำนวน 6-9 หน่วยกิต ตามสิทธิ์ และตารางเรียนไม่ชนกัน..ซึ่งนิสิตส่วนหนึ่งอาจจะมีเหตุผลความจำเป็นที่จะต้องอยู่มหาวิทยาลัยในช่วงนี้ เช่น เรียนภาษาอังกฤษตามแผนของคณะฯ หรือ เตรียมค่ายสำหรับเตรียมความพร้อมให้น้องในคณะฯ ในช่วงนี้พอดี เป็นการใช้เวลาว่างให้เป็นประโยชน์...ที่สำคัญคือ เป็นการสอนแบบไม่สอน..ให้นิสิตได้รู้จักวางแผนการเรียนล่วงหน้า... 

    ดังนั้นนโยบายของท่านอธิการบดีมหาวิทยาลัยนเรศวร ศ.สุจินต์ จินายนต์ ที่ไม่เก็บค่าเรียนภาคฤดูร้อน (NUfee_GENED (1).pdf) ในรายวิชาศึกษาทั่วไป นั้น เป็นกลยุทธ์ที่โดนใจนิสิตเป็นอย่างมาก..สมควรได้รับการสนับสนุนจากประชาคม ม.นเรศวร และหากมหาวิทยาลัยอื่นๆ จะนำไปใช้บ้าง ทางมหาวิทยาลัยนเรศวรคงไม่ขัดข้องแต่อย่างไร

    ผลจากนโยบายนี้ ทำให้นิสิตที่เรียนภาคฤดูร้อน ในรายวิชาการจัดการการดำเนินชีวิต กลายเป็นกลุ่มเด็กปานกลางค่อนไปทางเก่ง ด้วยการมีผลการเรียนดังนี้ (จากนิสิตในห้อง 49 ราย)

  1. เกรดเฉลี่ย 4.00  1 ราย
  2. เกรดเฉลี่ย มากกว่า ๓.๐๐ จำนวน 12 ราย
  3. เกรดเฉลี่ย เท่ากับหรือมากกว่า ๒.๐๐ จำนวน 30 ราย
  4. เกรดเฉลี่ย น้อยกว่า ๒.๐๐ จำนวน 6 ราย

   การได้เด็กค่อนข้างเก่งมาเรียนในห้องเรียน และการที่มีเวลาว่างของผู้สอนในช่วงนี้ ทำให้ผู้สอนรายวิชานี้ทำหน้าที่เป็น "ครูในศตวรรษที่ ๒๑ ได้ค่อนข้างจะสมบูรณ์" คือจัดการเรียนการสอนโดยมีนักเรียนเป็นศูนย์กลาง, ไม่เน้นตัวเนื้อหามาก, สอนให้นิสิตมีระเบียบวินัยเป็นอย่างแรก..เช็คชื่อทุกคาบเรียน..โดยการมอบหมายให้นิสิตสรุปว่าได้อะไรจากการเรียน (รายบุคคล) และเน้นการสอนเป็น Team Learning โดยให้นิสิตทำสมุดบันทึกการเรียนรู้ Journal เป็นกลุ่ม (5 กลุ่มผู้เรียน จากนิสิต 10 คณะ) และให้ทำใบเช็คชื่อกันเองภายในกลุ่มด้วย...

หมายเลขบันทึก: 569462เขียนเมื่อ 31 พฤษภาคม 2014 11:54 น. ()แก้ไขเมื่อ 31 พฤษภาคม 2014 23:32 น. ()สัญญาอนุญาต: ครีเอทีฟคอมมอนส์แบบ แสดงที่มา-ไม่ใช้เพื่อการค้า-ไม่ดัดแปลงจำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (1)

เป็นคนนอก แต่ขอสนับสนุนการไม่เก็บค่าเรียนรายวิชาศึกดษษทั้่วไปภาคฤดูร้อนค่ะ

ถ้ามีวิชาที่เอาไปใช้ในชีวิตประจำวันที่หลากหลายได้ก็เยี่ยมเลยนะคะ  เป็นการจูงใจให้นิสิตใช้เวลาได้อย่างมีคุณค่าจริงๆ

อนุญาตให้แสดงความเห็นได้เฉพาะสมาชิก
พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท