monitor


ที่โรงเรียนลำปลายมาศพัฒนา ทุกระดับชั้นจะไม่มีการคัดเลือกหัวหน้าชั้น(ถาวร) แต่ละระดับเด็กๆ นักเรียนจะเวียนกันเป็นหัวหน้าชั้น หรือ monitor ที่จะทำหน้าที่เป็นผู้ช่วยครู ดูแลงานหลายๆ ด้านของชั้นเรียนในวันนั้น เช่น เพื่อนๆ ทำความสะอาดกันหรือยัง, ส่งการบ้านครบหรือเปล่า, ช่วยคุณครูติดสื่อสาร หรืองานตามอาสาในวันนั้น


สำหรับนักเรียนระดับชั้นมัธยม เราจะให้นักเรียนรับผิดชอบเหมือนเด็กโต


ใครอยากเป็นให้ยกมืออาสา - กล้าพร้อมที่จะได้รับคำตำหนิจากครูและเพื่อนๆ และต้องมั่นใจที่จะทำหน้าอย่างเต็มที่ในวันนี้ และตลอดวันที่ต่อๆ ไป

มีเหตุการณ์หนึ่งที่ผมเห็นความงอกงามของนักเรียนคนหนึ่ง คือ พี่อุ้มจุ้ย

วันนั้นเริ่มต้นตั้งแต่ชั่วโมงจิตศึกษา
ครูถามนักเรียนว่า "เชิญMonitor ครับ"
นักเรียน วันนั้นพี่อุ้ม "นักเรียน..เตรียมค่ะ" - เพื่อนๆ ยกมือขึ้นไหว้ทักทายครู

*วันนั้นพี่อุ้มก็ทำหน้าที่ของMonitor แต่ตามที่ผมมองดูแล้ว ยังไม่เต็ม100% ตามความสามารถ ยังมีการคุยกับเพื่อนๆ ระหว่างครูสอน ระหว่างครูให้รวมเพื่อนๆ พี่อุ้มก็ยังไม่รู้ตัว

ก่อนทานข้าวเที่ยงวันนั้น เด็กๆ ม.1 ทุกคน เราตั้งวงคุยกันถึงหน้าที่ดังกล่าวอีกครั้ง โดยทบทวนคำถามที่เราเคยตรงลงร่วมกันมาตั้งแต่สัปดาห์แรกมาแล้ว

ครู : "วันนี้นใครเป็นMonitorครับ"
พี่อุ้ม : "ซวยแล้วว!.."
ครู : "ทำไมพี่อุ้มคิดว่าเป็นMonitorแล้วมันซวยล่ะครับ ถ้าหากเป็นMonitorแล้วมันทำให้ซวยก็ไม่ต้องอาสาก็ได้นะ และพี่ๆ ม.1 ไม่ต้องมีMonitorก็ไม่เป็นไรครับ / ครูก็ทำหน้าที่สอน เราก็ทำหน้าที่เรียน สบายดีนะครูคิดว่า"

พี่อุ้ม - หลบสายตามก้มหน้าเหมือนจะไม่พอใจครู และเหมือยจะร้องไห้..

ครู : "ถ้าหากสิ่งที่เราทุกคนคุยกับครูแล้วว่า การจะทำหน้าที่Monitorในแต่วันเราจะกล้ายอมรับคำตำหนิติเตือนจากผู้อื่น ช่วยครูอย่างที่คุยกันไว้แต่เริ่มต้น แล้ววันนี้ล่ะ Monitorยังไม่สามารถดูแลตนเองได้เต็มที่เลยครับ แล้วครูจะให้มีMonitorเพื่ออะไร / ครูรู้วาพูดแรง และหากเรารับสิ่งที่ตำหนิวันนี้ไม่ได้ก็ลำบากที่จะเจอเรื่องที่ยากกว่านี้ในอนาคต สังคนข้างนองอีก 5 ปี 10 ปี จะเป็นอย่างไรใครจะรู้"
พี่อุ้ม - นั่งตัวตรง ตั้งใจคำพูดของของครูอย่างใคร่ครวญ

และหลังจากนั้น ผมก็เชิญเต็กๆ ทุกคนไปทานข้าวเที่ยง โดยเด็กๆ ทุกคนยังงุนงงกับความรู้สึกของครูอยู่.. (ผมตั้งใจอยากทดสอบอารมณ์บางอย่างของลูกศิษย์อยู่)

**หลังจากทานข้าวเที่ยงเสร็จเวลาประมาณ 12.35 น. เด็กๆ ม.1 มารอที่ใต้ถุนอาคารเรียน ผมมาถึงเจอสายตาเด็กๆ มองมาที่ครูว่าจะเกิดอะไรขึ้น / ครูจะรู้สึกอย่างไรกับพวกเขา.. ผมเดินขึ้นไปชั้น 2 ที่โต๊ะทำงาน.. ว่าจะไปแปรงฟัน

มีเด็กๆ ผู้หญิงกลุ่มหนึ่งประมาณ 3-5 คน โดยมีพี่อุ้มเดินขึ้นมาที่ชั้น 2 เดินเข้ามาหาผมแล้วยกมือไหว้ "ครูป้อมค่ะ หนูขอโทษนะคะ.."
ครู : "ครูไม่ได้โกรษพวกเรา แต่เพียงอยากให้เราหน้านั้นให้เต็มที่นะครับ" (ลูบหัวเบาๆ)

บางเหตุการณ์เป็นเรื่องราวที่ท้าทายครูมากนะ ถ้าหากเป็นเด็กโตระดับมัธยมต้นเรื่องความรู้สึกสำคัญมากๆ
แต่สิ่งที่เด็กๆ สะท้อนให้ครูเห็นผ่านการทดสอบนี้ได้ ครูก็ต่างมองเห็นความงอกงามในตัวเด็กๆ ของลูกศิษย์คนนั้นอีกมุมหนึ่ง..

ผมนำเรื่องราวนี้ไปแชร์กับครูด้วยกัน..ครูทุกคนต่างชื่นชมในความกล้าของพี่อุ้มที่เข้ามาพูดคุยกับครู ลดตัวตน-มองเห็นหน้าที่มากขึ้น..

ความงอกงามของลูกศิษย์ - คือ - ความสุขของครู..



หมายเลขบันทึก: 570226เขียนเมื่อ 11 มิถุนายน 2014 13:11 น. ()แก้ไขเมื่อ 11 มิถุนายน 2014 13:11 น. ()สัญญาอนุญาต: ครีเอทีฟคอมมอนส์แบบ แสดงที่มา-ไม่ใช้เพื่อการค้า-ไม่ดัดแปลงจำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (3)

ความงอกงามของลูกศิษย์ - คือ - ความสุขของครู.. ..... 


ขอบคุณค่ะ

การสอนกับการเรียนรู้ที่งดงามครับ

<p>มีไฟ..และเครื่องสังเวย ดอกไม้ดินมาฝาก..คุณครู..เจ้าค่ะ…</p>

อนุญาตให้แสดงความเห็นได้เฉพาะสมาชิก
พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท