ร่วมงานถอดบทเรียนนักถักทอชุมชน เพื่อพัฒนาเด็ก เยาวชน และครอบครัว (๒)


ในช่วง Morning Dialog ที่มูลนิธิสยามกัมมาจล ธนาคารไทยพาณิชย์ฯ เมื่อวันที่ ๒๔ มิถุนายน นี้ ซึ่งมี ศ.นพ.วิจารณ์ พานิช เป็นประธาน ภายหลังงานประชุมกรรมการผู้ทรงคุณวุฒิ ครั้งที่ ๑/๒๕๕๗ เรื่องหลักสูตรนักถักทอชุมชน เมื่อวันที่ ๑๙ มิถุนายน ที่ผ่านมา คุณสุทิน ศิรินคร ผู้ช่วยผู้จัดการโครงการต่อยอดพัฒนาเครือข่ายเด็กและเยาวชน ได้เล่าให้พวกเราฟังถึงประสบการณ์และบทเรียนในการเป็นผู้รับผิดชอบโครงการครั้งนี้ว่า จากวัตถุประสงค์ของโครงการที่ต้องการพัฒนาคนรุ่นใหม่ในท้องถิ่น เพื่อสร้างโอกาสที่ดีแก่เยาวชน โดยคาดหวังว่า บุคลากรของอปท.(องค์การปกครองส่วนท้องถิ่น) จะมีบทบาทสำคัญในการขับเคลื่อนงานพัฒนาเยาวชนหลังการผ่านหลักสูตรลงสู่การปฎิบัติจริง ซึ่งจากการทำงานร่วมกัน ได้พบว่า อปท.ที่เคยยึดติดกับระเบียบราชการ ได้ลงมาจัดการเรื่องปัญหาเด็กในชุมชนอย่างใกล้ชิดด้วยความตั้งใจจริงอย่างมีส่วนร่วมกับชุมชน แม้จะยังมีจุดอ่อนที่จะต้องได้รับการพัฒนาต่อไป คือ การขาดเครื่องมือและกระบวนการทำงาน เช่น การบริหารจัดการโครงการ ระบบการติดตามประเมินผล และวิธีการ coaching ที่เหมาะสม

สำหรับการพัฒนาแกนนำเยาวชน ได้ใช้เครื่องมือพหุปัญญา เพื่อเปิดความคิด ในการทำงานร่วมกัน โดยใช้ในการสร้างทีม เพื่อแบ่งหน้าที่ทำงานตามความถนัด ด้วยการทำโครงงานชุมชนเพื่อความยั่งยืน ทั้งนี้ได้ใช้โมเดลแมนดาลา มาเป็นกรอบความคิด และวิธีการทำงานว่า ทำแล้วเราได้อะไร ผู้อื่นได้อะไร โดยใช้หลักคิดของปรัชญาเศรษฐกิจพอพียงมาประยุกต์ เด็กได้รับการเปิดโอกาสให้คิดเอง ทำเอง ในทุกขั้นตอน ในรูปแบบของแผนที่เดินดิน จากตัวอย่างของชุมชนบ้านดินที่ภูเวียง จ.ขอนแก่น ในการค้นหาภูมิปัญญาในชุมชน ทั้งนี้ ในขณะที่ สรส.มุ่งเน้นพัฒนานักถักทอชุมชน ทีมงานของคุณสุทินจะพัฒนาแกนนำเยาวชนพร้อมกันไป และประสานการบูรณาการอย่างสอดคล้องสู่ความต่อเนื่องยั่งยืน

ศ.นพ.วิจารณ์ พานิช ได้ให้ข้อคิดเห็นว่า การทำงานของคุณสุทิน ในฐานะบทบาทการcoaching ที่ให้ความสนับสนุน จุดประกาย ให้เกิดการคิดเอง ทำเอง เช่นนี้ เป็นหัวใจสำคัญของความสำเร็จของโครงการ ขอฝากให้ดูแลเด็กที่อ่อนแอด้วย และควรจัดทำสื่อถอดบทเรียนที่สะท้อนทั้งความสำเร็จ และความล้มเหลวที่ผ่านมา และผลต่อสังคม เพื่อให้เยาวชนได้เรียนรู้ ทั้งด้านบวกและลบ

ข้าพเจ้าได้ให้ความเห็นเพิ่มเติมว่า ในการติดตามงาน ควรจัดทำตาราง matrix สะท้อนคุณภาพการเป็นนักถักทอในระดับต่างๆ เนื่องจากทุนสังคม และปัจจัยแห่งความสำเร็จแตกต่างกัน และขณะเดียวกัน เพื่อประโยชน์ในการสืบค้นข้อมูล และการขยายผลในวงกว้าง สมควรแสวงหา อปท.จิตอาสา ที่อาจกระจายอยู่แล้วในบางพื้นที่ ให้เข้ามาร่วมแลกเปลี่ยนเรียนรู้กันด้วย ...ขอขอบคุณที่ได้รับฟังสิ่งดีๆจากบทเรียนนี้ และเป็นกำลังใจให้ทุกฝ่ายที่เกี่ยวข้องประสบผลสัมฤทธิ์ในการขับเคลื่อนงานนี้ด้วยดี...


..............................................................................................................................................

.

หมายเลขบันทึก: 570999เขียนเมื่อ 25 มิถุนายน 2014 16:13 น. ()แก้ไขเมื่อ 18 ธันวาคม 2014 15:14 น. ()สัญญาอนุญาต: ครีเอทีฟคอมมอนส์แบบ แสดงที่มา-ไม่ใช้เพื่อการค้า-ไม่ดัดแปลงจำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (10)

ผมเห็นด้วยครับสำหรับประเด็นการถอดบทเรียน ต้องเห็นทั้งความสำเร็จและความล้มเหลว
ในหลายเวที มุ่งค้นหาปัจจัยความสำเร็จ
ละข้ามความล้มเหลวที่ค้นพบและยังข้ามไม่พ้น
บางที ความสำเร็จบนความล้มเหลวก็มีเยอะครับ
ผมเคยเจอประเภท  ทำงานไม่ถึงฝั่งฝัน  งานไม่บรรลุวัตถุประสงค์  พูดง่ายๆ คือทำงานไม่เสร็จ
แต่ตัวคนทำเปลี่ยนแปลงในเชิงบวก....
เหล่านี้  ผมมองว่าเป้นความสำเร็จบนบริบทของความล้มเหลวเหมือนกัน...

ชอบใจการทำงาน ร่วมงานถอดบทเรียนนักถักทอชุมชน เพื่อพัฒนาเด็ก เยาวชน และครอบครัว

ดีใจที่ให้โอกาสชุมชนที่อยู่ใกล้ๆและ อปท จิตอาสาที่สามารถจะเข้าร่วมได้ด้วยครับ

ขอบคุณพี่ใหญ่มากครับ

-สวัสดีครับป้าใหญ่

-ตามมาให้กำลังใจและขอเป็นส่วนหนึ่งในการถักทอชมุมชนครับ

-เห็นด้วยกับการพัฒนาเยาวชนครับ

-หากได้ส่งเสริมให้ชุมชนได้ร่วมกิจกรรมด้วย โดยการดึงเอาผู้นำมาร่วมรับรองว่าการพัฒนาสำเร็จแน่นอนครับ

-แต่จะยั่งยืนหรือไม่นั้นคงต้องหาแนวร่วมและให้ชุมชนมีส่วนร่วมให้และมีบทบาทในการพัฒนาครับ..

-ขอบคุณครับ..


ยินดีด้วยนะคะพี่ใหญ่ที่บุคลากรของอปท ซึ่งจะมีบทบาทสำคัญในการขับเคลื่อนงานพัฒนาเยาวชนในวันข้างหน้า ได้ให้ความร่วมมืออย่างจริงจัง และจริงใจ นับว่าเป็นเป็นนิมิตหมายที่ดียิ่งนะคะ ขอให้งานของมูลนิธิสยามกัมมาจลสำเร็จลุล่วงได้ผลดีเยี่ยมในเร็ววันค่ะ รู้สึกชื่นชมในความตั้งใจและมุ่งมั่นของมูลนิธิ ที่จะช่วยเหลือสังคมที่รัฐและภาคอื่น ๆ ยังดูแลได้ไม่ทั่วถึงนะคะ ส่งกำลังใจมาเชียร์พี่ใหญ่ค่ะ 

...ด้วยความชื่นชมการทำงาน และขอเป็นกำลังใจนะคะ

งานถอดบทเรียนนักถักทอชุมชน เพื่อพัฒนาเด็ก เยาวชน และครอบครัว .... โดยให้เกิดการคิดเอง ทำเอง ...เป็นกิจกรรมที่เยี่ยมมากค่ะ .... ขอบคุณที่ได้ช่วยชุมชน นะคะ


ขอบคุณค่ะพี่ใหญ่

<p>มีรักมาฝาก..มีดอกไม้มามอบให้..เป็น..ขวัญแลกำลังใจ..เจ้าค่ะ</p>

ขอบคุณบันทึกดี ๆ จากพี่ใหญ่ค่ะ

ถอดบทเรียนนักถักทอชุมชน สุดยอดค่ะ

Prof. Vicharn Panich

ขจิต ฝอยทอง

Dr. Pop

nui

แผ่นดิน

ป.

เพชรน้ำหนึ่ง

ยายธี

ธรรมทิพย์

Dr. Ple

tuknarak

Pojana Yeamnaiyana Ed.D.

กุหลาบ มัทนา

kanchana muangyai

อร วรรณดา

* สวัสดีค่ะ ขอบคุณมากสำหรับกำลังใจแก่การขัีบเคลื่อนโครงการนักถักท อชุมชน เพื่อพัฒนาเยาวชนนี้ค่ะ

* น้องแผ่นดิน....การทำโครงการให้สำเร็จ เพื่อขับเคลื่อนไปสู่การพัฒนาเยาวชน ต้องวิเคราะห์และประเมินจุดอ่อน-จุดแข็ง ของปัจจัยที่เกี่ยวข้องให้รอบด้าน และควรถอดบทเรียนทุกด้านเช่นกันค่ะ

* น้องดร.ขจิต..การสร้างเครือข่าย เป็นการหนุนเสริมพลังขับเคลื่อนงานให้กว้างไกลและมั่นคง

* หลานเพชรน้ำหนึ่ง...ขอบคุณภาพแห่งความสุขของกลุ่มยุวเกษตรกรบ้านใหม่เขาดงรื่น ที่ทำกิจกรรมเพาะปลูกมันสำปะหลัง ดีใจแทนเด็กๆด้วยค่ะที่มีผู้ใหญ่ใจดีมาช่วยหนุนเสริมให้เช่นนี้

* น้องกุหลาบ มัทนา...ร่วมด้วยช่วยกันเพื่อนาคตที่ดีของเยาวชนไทยนะคะ

* น้องDr.Podjana...อีกหนึ่งมิติของการขับเคลื่อนแบบบูรณาการเพื่อพัฒนาเยาวชนค่ะ..

* น้องDr.Ple....แม้ยังอยู่ในระยะเริ่มต้น แต่ทุกฝ่ายได้ประสานความร่วมมือกัน ย่อมหนุนนำให้ก้าวเดินต่อไปด้วยใจศรัทธาค่ะ

* น้องอร วรรณดา....งานของคุณสุทิน ได้เริิ่่่มก่อตัวจากพื้นฐานที่มั่นคงด้วยศรัทธาและวิริยะอย่างมุ่งมั่น การสานเครือข่ายอย่างมีส่วนร่วมเชื่อมร้อยกันเช่นนี้ เป็นแบบอย่างการทำงานที่น่าเรียนรู้มากๆค่ะ

* คุณยายธี..ขอบคุณภาพดอกไม้สีฟ้าปนม่วงงามมากๆ และความรักที่นำมาฝากคนทำงานเพื่อชุมชนนี้ค่ะ

* น้องธรรมทิพย์...ยินดีมากค่ะที่เห็นคุณค่าของการถอดบทเรียนนักถักทอนี้....พี่ใหญ่จะได้นำความคืบหน้ามาเล่าอีกค่ะ

อนุญาตให้แสดงความเห็นได้เฉพาะสมาชิก
พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท