นาทีฉุกเฉิน


ของเก่าเก็บอย่าเสียดาย อันตรายมาถึงตัว

เหตุการณ์นี้เกิดเมื่อคืนวันอาทิตย์ที่ผ่านมา เวลาผ่านมา3วัน อาการพอจะทุเลาลงบ้าง เลยมาเล่าเหตุการณ์ที่เกิดขึ้น เพื่อจะได้ไม่เกิดขึ้นกับทุกๆคนนะคะ 

เรื่องมันก็มีอยู่ว่า เกิดอาการปวดท้องประจำเดือน ปวดมากจนทนไม่ไหว นอนไม่ได้ ทั้งๆที่เป็นคนไม่ค่อยปวดท้องเวลามีประจำเดือน จนทนไม่ไหวลุกไปต้มน้ำร้อน เอามาใส่กระเป๋าน้ำร้อนที่แขวนทิ้งไว้เป็นเวลานาน นานมากจนจำไม่ได้ 

สาวๆ คงคุ้นเคยกับมันดีนะคะ

พอได้กระเป๋าน้ำร้อนมาแล้วก็เอามาห่อผ้าขนหนู เอามาประคบ นอนกำลังสบายเลยค่ะ กำลังเบาปวดท้อง ก็ต้องสะดุ้ง ร้องกรี๊ดเลยล่ะค่ะ รู้สึกว่ามันร้อนตรงท้องน้อย แล้วก็ขา รีบลุกออกจากที่นอน ผลปรากฎว่า เจ้ากระเป๋าน้ำร้อนตัวดีมันคงเสื่อมสภาพตามกาลเวลา มันแตกค่ะ 

ตอนแรกก็แค่รู้สึกร้อนๆ ไม่คิดว่าจะมีแผลอะไรมาก พอผ่านไปสักพัก ก็เกิดแผลพุพอง แดงเต็มไปหมด ตรงท้องน้อย ขา น่ากลัวมาก รูปไม่สามารถออกสื่อได้เลยค่ะ นี่ขนาดว่าห่อผ้าขนหนูอย่างหนาเวลาประคบแล้วนะเนี่ย

โชคดีที่มีเจ้าสิ่งนี้ค่ะ 

ปกติมันจะแช่อยู่ในช่องแข็งอยู่แล้ว เพราะชอบเอามาประคบเวลาปวดหัวหนัก รู้สึกว่ามันจะทุเลยลง เลยเอามาประคบแผล มันก็ช่วยได้เยอะเลยนะคะ ไม่อย่างนั้นนอนหลับไม่ลงเลยล่ะค่ะ จากที่ว่าปวดท้อง มันหายไปเลยค่ะ กลายเป็นเจ็บแผลน้ำร้อนลวกแทน

หลังจากปฐมพยาบาลเบื้องต้นไปแล้วก็จัดหนักค่ะ ทั้งยาแผนปัจจุบัน สมุนไพร ทาๆ จนแผลดูดีขึ้นมากแล้วค่ะ ถ้าให้แนะนำ คงบอกไม่ได้ว่าตัวไหนดีกว่ากัน เพราะใช้ทุกอย่างเลยค่ะ ใครว่าอะไรดี ยี่ห้อไหนดี เอามาหมดเลยค่ะ

นี่ก็ตัวอย่างส่วนหนึ่งของยาที่เอามาทาแผลค่ะ แล้วก็สภาพเจ้าตัวร้ายค่ะ 

พอเจอเหตุการณ์นี้เลยค้นหาความรู้การเก็บรักษากระเป๋าน้ำร้อนมาฝากกันค่ะ

การใช้กระเป๋าน้ำร้อน

กระเป๋าน้ำร้อน1. เติมน้ำร้อนลงไปในกระเป๋าน้ำร้อน ประมาณ 2/3 ของกระเป๋า ไล่อากาศที่อยู่บริเวณส่วนบนออกให้หมดเพื่อให้กระเป๋าสามารถเปลี่ยนรูปร่างไปตามอวัยวะของร่างกายได้สะดวก การไล่อากาศสามารถทำได้โดยวางกระเป๋าราบลงกับพื้น ใช้มือจับปากกระเป๋าและค่อยๆลดระดับลงจนกระทั่งน้ำอยู่บริเวณคอกระเป๋า ปิดจุกให้แน่น

2. ทดสอบว่าน้ำร้อนไม่ซึมออกมาโดยคว่ำปากกระเป๋าลง

3. หุ้มกระเป๋าด้วยปลอก หรือปลอกหมอน หรือผ้าเช็ดตัว ไม่วางกระเป๋าน้ำร้อนบนผิวหนังโดยตรง เพราะอาจทำให้เกิดการบาดเจ็บของเนื้อเยื่อบริเวณนั้นๆได้

4. ระยะเวลาที่เหมาะสมในการวางกระเป๋าน้ำร้อน คือ ประมาณ 20-30 นาที

5. ไม่ควรนอนทับกระเป๋าน้ำร้อน

6. เมื่อเลิกใช้แล้ว เทน้ำออกให้หมด ล้างให้สะอาด แขวนกระเป๋าน้ำร้อนโดยคว่ำปากกระเป๋าลง เมื่อแห้งแล้วทำให้กระเป๋าพองลม ปิดจุกเก็บเข้าที่ให้เรียบร้อย

ขอบคุณข้อมูลดีๆจาก http://www.yaandyou.net ค่ะ

วันนี้ไปพักผ่อนก่อนนะคะ ราตรีสวัสดิ์ค่ะ

MoTtAnOi 25/6/57

ป.ล. อย่าลืมนะคะ ของเก่าๆ อย่าเสียดายนะคะ ทิ้งมันไปค่ะ

หมายเลขบันทึก: 571013เขียนเมื่อ 25 มิถุนายน 2014 21:41 น. ()แก้ไขเมื่อ 25 มิถุนายน 2014 21:41 น. ()สัญญาอนุญาต: ครีเอทีฟคอมมอนส์แบบ แสดงที่มา-ไม่ใช้เพื่อการค้า-ไม่ดัดแปลงจำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (6)

ขอให้หายไวๆนะครับ

ทุกอย่างมีเตรียมไว้พร้อม

จะดีมากเลยครับ

ปกติแถวๆบ้านผมใช้ยาสมุนไพรครับ

ลองถามคนเฒ่าคนแก่ดูนะครับ

ปล. ผมยังไม่เคยเป็น 555

ขอบคุณที่แบ่งปันข้อมูลความรู้นะครับ

แม้ผมจะไม่เคยเป็น

แต่เชื่อว่าจะมีประโยชน์ต่อท่านอื่นๆ

คาดว่า....ถึงตอนนี้คุณมดคงหายจากอาการป่วยแล้วนะจ๊ะ  คุณมะเดื่อเป็นหญิงที่ไม่เคยรู้จักกับความปวด เวลามีรอบเดือน  ตั้งแต่สาวจนเฒ่าชราเลยจ้ะ  ก็นับว่าโชดดี  แต่ก็เข้าใจนะว่ามันคงทรมานมาก ๆ ..คิดถึงคุณมดนะจ๊ะ   สิงหานี้ จะล่องใต้ไปบ้านคุณมะเดื่อหรือเปล่าจ๊ะ

สวัสดีค่ะ อ.ขจิต ลุงชาติ คุณมะเดื่อ ขอบคุณสำหรับความห่วงใยค่ะ

ตอนนี้แผลแห้งแล้วค่ะ เจ้ายา mebo หลอดสีเหลืองดีจริงๆค่ะ ถึงแม้จะเหม็นไปหน่อย ยาสมุนไพรยังไม่ได้ลองนะคะ อ.ขจิต 

โอกาสจะได้ไปเที่ยวบ้านคุณมะเดื่อ ต้องดูอีกทีค่ะ ช่วงนี้รู้สึกว่างานจะเข้าอีกแล้วค่ะ มาตรการช่วยเหลือชาวนามาอีกแล้ว ยังไงจะบอกอีกทีนะคะ คิดถึงเหมือนกันค่ะ

อนุญาตให้แสดงความเห็นได้เฉพาะสมาชิก
พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท