เพชฌฆาต..กับ..ฆาตรกร..ต่างกันตรงไหน?


   

     ขอแสดงความดีใจกับ....  รางวัลนานาชาติ .... ของนักแสดงรุ่นใหญ่ คุณ...ปู วิทยา ปานศรีงาม”  ... สร้างชื่อ ระดับนานาชาติ..อีกครั้ง... 

  เมื่อได้รับ...รางวัลใหญ่ .... นักแสดงชายยอดเยี่ยม .. จากเทศกาล....หนังนานาชาติเซี่ยงไฮ้ ครั้งที่ 17 ....จากการรับบท... เชาวเรศน์ จุรุบุณย์..... มือยิงเป้าประหารชีวิตนักโทษ ..... คนสุดท้ายของกรมราชทัณฑ์ .... ในหนังเรื่อง....เพชฌฆาตคนสุดท้าย ... The Last Executioner … งานกำกับของผู้กำกับลูกครึ่งไทย-อังกฤษ ทอม วอลเลอร์….


   

                           

             

               

                    

   

         


         ผู้เขียน ... ดูเรื่องย่อแล้ว .. ในหนังให้ข้อคิดมากมายค่ะ ... อาชีพนี้ ... เป็นอาชีพที่...ทำใจอยากและลำบากมากๆๆ นะคะ .... บางอาชีพ และงานบางงาน.... ที่ต้องทำตามหน้าที่ ... หน้าที่ที่ต้อง...

  - "ฆ่าคน" ... "ที่เราไม่รู้จัก" ...ว่าเขาผิดจริงไหม? 

  - ฆ่าเขา..... โดยที่เขาไม่ได้ทำอะไรให้เราโกรธแค้น

  - ฆ่าเขา ....โดยที่เขาไม่เคยทำอะไรเราเลย..แม้แต่เล็กน้อย


           เอ้!!!! ....แล้วท่านคิดว่า... "เพชฌฆาต" ... ต่างกับ... "ฆาตรกร/มือปืนรับจ้าง" ... ต่างกันอย่างแน่นอนและต่างกันอย่างไร ... ... อยากให้เพื่อนๆๆ  ... พี่ๆๆ  .... น้องๆๆๆ .. ช่วยเขียนข้อ Comment ... ให้ผู้เขียนด้วยนะคะ ..... ขอบคุณล่วงหน้าค่ะ



ขอบคุณค่ะ

๒๗ มิถุนายน ๒๕๕๗

หมายเลขบันทึก: 571118เขียนเมื่อ 27 มิถุนายน 2014 14:24 น. ()แก้ไขเมื่อ 27 มิถุนายน 2014 14:38 น. ()สัญญาอนุญาต: ครีเอทีฟคอมมอนส์แบบ แสดงที่มา-ไม่ใช้เพื่อการค้า-ไม่ดัดแปลงจำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (11)

-สวัสดีครับ

-เห็นตามสื่อ...ของแสดงความยินดีกับ "คุณ...ปู วิทยา ปานศรีงาม"ด้วยครับ

-ต่างกันตรงหน้าที่และเจตนาครับพี่หมอ..

-ขอบคุณครับ


คุณเพชรน้ำหนึ่งค่ะ พูดถูกเลยค่ะ

ฆาตรกร /  มือปืนรับจ้าง.....ฆ่าคนแล้วมีความผิดและผิดกฏหมาย...ไม่ว่าคนที่ถูกฆ่า จะเป็นคนร้าย 

หรือคนดี

เพชฌฆาต.....ฆ่าคนแล้วไม่ผิดกฏหมาย ไม่ว่าคนที่ถูกฆ่านั้น จะเป็นคนดีหรือคนร้าย....ล่ะจ้าาา

ขอเห็นต่างนะครับคุณหมอ

นี่คือ ปัญหาปรัชญา ด้านจริยศาสตร์ครับ

ประเด็นคือ ทั้งสองคำ มีผล คือ "การฆ่า" (ถ้าตาย) ถือว่า "ผิด" หลักศาสนาที่สอนให้มนุษย์มีมโนธรรมต่อกัน ในแง่ผลสำเร็จในพุทธศาสนามุ่งหมายที่ "เจตนา" การฆาตกรรม ฆาตกรมีอาจมีสองกรณีคือ ๑) อาจทำปืนลั่น ในขณะเล็งขู่ นี่อาจไม่ถือในข่ายเจตนาได้ไหม แค่ประมาทไป แต่ถ้าลงทำลงไปแล้ว ย่อมมีผลทางความรู้สึกของฆาตกร และสังคมเลยเหมาว่าฆ่าด้วยเจตนา (แต่ใครจะเชื่อเขา) ๒) ฆาตกรมีสิ่งเจือในจิต เพราะจิตถูกเคลือบด้วยความโกรธแค้น ความอยาก ความหลง สติเลอะเลือน หน้ามืดตามัว จิตจึงอาจไม่ปกติก็ได้ กรณีเช่นนี้กฎหมายอาจอนุโลมว่า วิกลจริต (บ้า) ผลอาจไม่เป็นเจตนาได้ 

คำว่า "ฆาตกร" น้ำหนักเน้นที่ผู้ใด ผู้หนึ่ง ที่มีเจตนาหรือไม่มีเจตนาก็ได้ ถือว่าเป็นฆาตกรได้ และถือว่าผิดในทางสังคมวิทยา  อาชญากรรมวิทยา และหลักศาสนธรรม ไม่มีการยกเว้น ส่วนผลมีสอง ๒ มิติ คือ ๑) ผลทางสังคม (ถูกจับ ฟ้องร้อง ติดคุก ประหาร) ๒) ผลทางศาสนา คือ รับผลกรรม ที่ตกค้างในจิตที่ทำลงไป ไม่มีข้อยกเว้น

ดังนั้น คำนี้ ไม่มีคำว่า "ทำตามหน้าที่" แต่อาจมีหลักที่ "เจตนา" ในการพิจารณา

ส่วนคำว่า "เพชฌฆาต" (การฆ่าแบบเด็ดขาด) ถ้าหมายถึง ผู้ใดก็ตามที่ฆ่าหรือประหารใครก็ตาม ตามหน้าที่ ที่สั่งมา ผลที่เราต้องพิจารณาคือ ๑) ผิดหรือไม่ ๒) เป็นบาปกรรมหรือไม่ ๓) ผู้ตายจะโกรธแค้นหรือไม่ ๔) ผู้สั่งจะผิดหรือไม่

๑) การฆ่าใครก็ตามจะถือว่าผิดหรือไม่ พิจารณาดังนี้ 

ก. หากพิจารณาตามมโนธรรม (มนุษยธรรม) ทุกคนย่อมมีสามัญสำนึกในความผิด-ถูกด้วยจิตสำนึกตนเองได้ ทุกคน (ผู้ฆ่า) ย่อมรู้ดีว่า นั่นคือ การทำไม่ดีต่อความรู้สึกตน และสังคมมนุษย์ ความผิดจึงเกิดขึ้น แม้ไม่มีหลักศาสนาหรือกฏทางสังคมก็ตามที

ข. หากนำเอาหลักศาสนามาจับ ถือว่า "ผิด" แน่นอน เพราะแรงเจตนาด้วยอาการของกรรมทางแรงกาย แม้ว่าใจเขาอาจไม่เต็มก็ตาม กรณีนี้เป็นการบังคับให้ทำ คนสั่งก็ผิด คนทำก็ผิดด้วย ไม่มีข้อยกเว้น ถ้ากฏหมายแก้ว่า เพื่อป้องปรามความชั่วร้ายหรือ กันอันตรายต่อสังคมหรือผู้อื่น นั่นเป็นการอ้างที่ไม่มีผลรับรอง เพราะฆาตกร ยังไม่ได้ทำจริงๆ

ค. การทำตามหน้าที่นั้นเป็นการอ้างในกฏหมายที่สังคมตราขึ้นมา แล้วสังคมก็ยอมรับตามศาลสั่ง สังคมเลยไม่เห็นต่างใด แต่หากผู้ถูกฆ่าเป็นญาติพี่น้องของผู้ฆ่าละ เพชฌจะรู้สึกเช่นไร จะรู้สึกบาปหรือรู้สึกผิดตลอดชีวิตไหม

ง. จากกรณีที่ ค. เราทำตามหน้าที่ ไม่มีทางเลือก ไม่มีเจตนา ถือว่าเหตุผลแคบไป เพราะว่า อาชีพของมนุษย์มีมากมาย ถ้าเราอ้างว่า "เป็นหน้าที่" หากมีใครเข้ามาแย่งสมบัติ แล้วเกิดต่อสู้เราบอกว่า ทำตามหน้าที่ของตน จะถือว่า ผิดไหม ฉะนั้น หน้าที่มิใช่คำแก้อ้างให้ตกเป็นผู้บริสุทธิ์ หากไม่อยากทำผิดในกรณีนี้ ก็ไม่ควรทำหน้าที่นี้ (ถ้าเราไม่ทำ ก็มีคนอื่นทำ ก็กลายเป็นเรื่องผิดเป็นกระบวนครับ)

ช. กฏหมายการประหาร เป็นวิธีการหนึ่งในการปรามขั้นรุนแรง ที่มิให้คนอื่นเอาอย่างแต่การสังคมยุคใหม่ การประหารอาจถูกยกเลิกด้วยการใช้หลักจริยธรรม นำหลักนิติธรรม หากควบคุมคนไม่ได้ รัฐนั้นก็เสี่ยงที่จะหันไปใช้กฏหมายจัดการ เพราะการฆ่าคน อย่างไรก็ถือว่า รัฐละเมิดสิทธิมนุษยชนขั้นพื้นฐานด้วย หากรัฐอ้างเพื่อให้คล้อยตามว่า เพื่อปรามมิให้คนทำผิด ตลอดชั่วเวลา ๑ ศตวรรษ เราเห็นคนกลัวทำผิดหรือไม่ คนทำผิดก็ยังมีเหมือนเดิม ฆ่าเท่าไหร่ก็ไม่หมดครับ

๒) ผู้ฆ่าจะบาปไหม คำตอบคือ "บาป" เนื่องจาก ผู้ฆ่าบุคคลที่ฆ่าผู้อื่น รู้อยู่ว่า นี่คือชีวิต พยายามฆ่า เขาตายด้วยแรงกาย แม้ไม่มีเจตนาก็ตามถือว่า "บาปกรรม" เพราะ ผู้ฆ่าย่อมรู้สำนึกว่าตนทำผิด และเสียใจ ไม่อยากทำ กรรมในใจ จะสะสมผลนี้ ก่อนตายจะส่งผลต่อจิตตนเองแน่นอน (บาปในใจ มิใช่เอาเกณฑ์ทางศาสนาวัด)

๓) ผู้จะตาย ยอมรับผลกรรมของตนดีว่า ผลที่ตนทำจะเป็นเช่นไร จึงก้มหน้ายอมรับผลกรรมของตน ก็ไม่มีอะไรตกค้าง ผู้ตายจึงไม่มีติดใจผู้ฆ่า แต่ผลการกระทำนั้น จะโมฆะมิได้ ย่อมส่งผลต่อสามัญสำนึกต่อคนเป็น (คนฆ่าอยู่ดี)

๔) ผู้สั่งฆ่า ย่อมผิดแน่นอน (สามัญจิต) ดังนั้น การกระทำนี้ เกิดเป็นกระบวนดังนี้ ตำรวจ อัยการ ศาล ผู้สั่ง ผู้ฆ่า ฉะนั้น ใครทำหน้าที่ราชการนี้ ย่อมไม่อาจจะหลีกหนีกรรมได้เลย ด้วยเหตุนี้ กรรมของบุคคลกลุ่มนี้ จึงเสี่ยงในการรับผลกรรมในปัจจุบัน และอนาคต ขึ้นชื่อว่า "ฆ่ากัน" ย่อมผิดเสมอ เพราะกฏหมายเกิดเพราะมนุษย์ตราขึ้นป้องปรามกันเองเท่านั้น ธรรมชาติของสัตว์โลก ยังไงก็ตายด้วยกรรมของตน และอายุไข อยู่แล้ว ทางอื่นในการป้องปรามมีมากมาย

ในแง่ทางปรัชญา จริยศาสตร์ สังคมควรจะพิจารณาตามประเด็นดังนี้

๑) การฆ่านั้น ตัวเองได้ประโยชน์อย่างไร (ซาร์ต: อัตนิยม)

๒) การฆ่านั้น สังคมได้ประโยชน์อะไร (มิลล์ : ประโยชน์นิยม)

๓) การฆ่า เป็นหน้าที่อย่างไร (ค้านท์: หน้าที่นิยม)

๔) คุณค่านิยม มีผลอย่างไรต่อการดำรงชีวิต (โสเครตีส)

๕) เหตุผลนิยม (เดการ์ด)

สรุปว่า การฆ่าจะถือหลักการใดถือว่า "ผิด" มโนธรรมทั้งสิ้นครับ (รู้สึกตัวเองดีว่าทำผิด)

...หลายประเทศยกเลิกกฎหมายประหารชีวิตนักโทษนะคะ

Buddhists siila #1: refrain from taking life (in all physical forms, even your own).

In a modern wording:  respect the Right to Life.

This cuts a lot of knots and puts all kinds of killing into a bleach of Right to Life. 

No one can justify taking a life -- no reason (by where-ever; by who-so-ever) is acceptable!

This opens a question "how do we penalise crimes" or breahes of siilas. Buddhists can only discommunicate (or cut off from membership of [Buddhist] society [or sangha]). Is this enough? 

One reaps what one sows.

การฆ่าเป็นบาปทั้งสองอย่างเลยครับ

แต่การที่เป็นฆาตกร น่ากลัวกว่า

ขอบคุณพี่เปิ้นมากๆครับ

แวะมาเติมพลังใจ และบอกให้รู้ว่าคิดถึง จริง

เข้ามาบันทึกนี้รู้สึกว่า ได้อ่านหนังสือหลายเล่มเลยครับ...เห็นด้วยว่าการฆ่าคนหรือฆ่าสัตว์ก็บาปหรือกรรมทั้งนั้น แม้ไม่มีผลทางด้านสังคม บ้านเมือง แต่มีผลทางจิตใจของผู้กระทำ ต้องหนี ต้องเดือดร้อนใจเหมือนกัน เพราะฉะนั้นแล้ว ก็อย่าฆ่ากันเลยนะครับ

ต้องได้ดูหนังเรื่องนี้สักวันครับ ขอบคุณครับ

อนุญาตให้แสดงความเห็นได้เฉพาะสมาชิก
พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท