การจัดกิจกรรมการเรียนรู้บูรณาการแบบย้อนศร


             หนึ่งในความเชื่อมั่นอันจากการลงมือปฏิบัติจริงในการจัดกิจกรรมการเรียนการสอน ให้เกิดประสิทธิผลรอบด้านหรือครบวงจรของครูวุฒิ ซึ่งเคยได้ร่วมกับเด็กๆออกแบบและลงมือปฏิบัติมาตั้งแต่ครั้งเป็นนักศึกษาฝึกสอน เมื่อปี ๒๕๒๕ กระทั่งเริ่มเป็นครูน้อยสอนชัน ป.๑ เมื่อปี ๒๕๒๙ คือ การพานักเรียนลงมือปฏิบัติกิจกรรมเชิงสร้างสรรค์ที่เกี่ยวข้องภาคสนามก่อน แล้วค่อยสอนเชิงสัญญลักษณ์ หลักการ หลักภาษา หรือทฤษฎีที่เกี่ยวข้องทีหลัง

ผัก                                                               (ภาพทดแทน)

            ยกตัวอย่างเช่น ก่อนการเรียนการสอนในห้องเรียน ครูวุฒิจะชักชวนนักเรียนลงมือปลูกฟักทอง ข้าวโพด ฯลฯ เป็นหลุมๆ หลุมละ 5 ต้นก่อน แล้วค่อยนำเข้าสู่การสอนภาษาไทยให้รู้จักอ่านคำ-เขียนคำ-สร้างประโยคจากพฤติกรรมที่เกี่ยวข้อง , สอนคณิตศาสตร์ด้วยการพานับจำนวน เขียนเป็นสัญญลักษณ์ตัวเลข - บวก-ลบ-คูณ-หาร ระดับพื้นฐาน, สอนการงานอาชีพด้วยหลักการปลูก-การดูแลรักษา-น้ำ-อาหารและธาตุอาหารสำคัญสำหรับพืช. สอนวิทยาศาสตร์ว่าด้วยองค์ประกอบ,หลักการเจริญเติบโต-การสังเคราะห์แสง, สอน สลน.ด้วยเพลงที่เกี่ยวข้อง (ส่วนใหญ่จะแต่งกันเอง) - สอนคุณลักษณะนิสัยความขยันหมั่นเพียร-ความมีน้ำใจ-ความไม่อิจฉาริษยา. ฯลฯ ได้หมด

                                                                                (ภาพทดแทน)

           บังเอิญโรงเรียนที่สอนตอนนั้นมีชั้นเรียน ป.๑ อยู่ ๒ ห้องเรียน สิ่งที่ครูวุฒิเห็นเป็นประจักษจากการประเมินผู้เรียนในทุกมิติและหลากหลายวิธีการ เริ่มตั้งแต่การสังเกตธรรมดาๆ ไปจนถึงการวัดตามหลักการทดสอบเพื่อวัดผลประเมินทั่วไป สรุปความได้ว่า "ผู้เรียนมีความสามารถในการเรียนรู้ พร้อมบุคลิกภาพแตกต่างจากห้องเรียนอีกห้องที่อัดกันด้วยเนื้อหาในตำรา ซึ่งดูหน้าคร่ำเคร่งอยู่แต่ในห้องเรียน" อย่างชัดเจน


สรุปความว่า.... เป็นหลักการเรียนการสอนที่ "เลียนรู้" ก่อน แล้วค่อย "เรียนรู้" อะครับ...

หมายเลขบันทึก: 573870เขียนเมื่อ 5 สิงหาคม 2014 11:53 น. ()แก้ไขเมื่อ 6 สิงหาคม 2014 08:57 น. ()สัญญาอนุญาต: ครีเอทีฟคอมมอนส์แบบ แสดงที่มา-ไม่ใช้เพื่อการค้า-ไม่ดัดแปลงจำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (2)

เห็นและรู้ได้  ด้วยตน..แม่นแท้...(แล้วทำไม..เราต้องทำอะไรๆที่ได้ผล..ช้ากว่า(หื) หรืออย่างที่ทำจนเป็นประเพณีนิยมอยู่เช่นนั้น...เพราะอะไร..)ที่จริงฝรั่งใช้ระบบนี้มานานแล้ว..อิอิ

นั่นสิครับคุณยาย ผมเพิ่งได้อ่านข่าวสารเกี่ยวกับการเรียนอาชีวะของเยอรมันฯว่า นศ.ที่เข้าเรียนจะต้องไปฝึกงานและเรียนรู้ในสถานประกอบการต่างๆที่เกี่ยวข้องก่อน ๒ ปี ถึงจะให้เรียนหลักการ ทฤษฎี หลักกลศาสตร์ ฯลฯ หรืออื่นๆที่เกี่ยวข้องทีหลัง และดูเหมือนว่าประเทศไทยเพิ่มจะทำข้อตกลงนำเอามาใช้ในบางสถาบันเท่านั้น...

ขอบพระคุณคุณยายมาก... คุณยายสบายดีนะครับ...

อนุญาตให้แสดงความเห็นได้เฉพาะสมาชิก
พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท