ภาษาสันสกฤตอย่างง่าย บทที่ 48: กริยาพึงกระทำ (Gerundive)


ในบทนี้เราจะกล่าวถึงกริยากริยาย่อยพึงกระทำ โดยการเติมปัจจัยต่อท้ายธาตุหรือเค้ากริยา

ปัจจัยบอกกริยาพึงกระทำนี้ ได้รูปเป็นคุณศัพท์ นำไปแจกรูปได้ตามคำนามที่ขยาย ภาษาอังกฤษ (ละติน) เรียกว่า Gerundive หรือ Future Passive Particle  (ซึ่งความหมายอาจไม่ตรงเท่าใดนัก)

ปัจจัยที่ใช้คือ ย, ตวฺย, หรือ อนีย

ปัจจัย 

การเติมปัจจัย ย มีหลักพื้นฐานดังนี้

1.เมื่อเติมหลังธาตุที่ลงท้ายสระอา จะเปลี่ยนอานั้นเป็นเอก่อน เช่น ทา > เทย, คา > เคย

2.สระท้ายอื่นๆ จะไม่เปลี่ยน แต่บางครั้งอาจทำคุณ หรือ วฤทธิ ก็ได้. เมื่อทำคุณแล้ว สระ เอ อาจจะเปลี่ยนเป็น อยฺ และสระโอท้ายจะเปลี่ยนเป็น อวฺ เสมอ ก่อนเติม ย (เสมือนว่ามีสระตามมา) เช่น

  • ชิ > เช >เชย และ ชยฺย(ได้สองแบบ)
  • ภี > เภ > เภย และ ภยฺย(ได้สองแบบ)
  • ศฺรุ > ศฺโร > ศฺรวฺ > ศฺรวฺย และ ศฺราวฺย(ได้สองแบบ)
  • กฺฤ > การฺย
  • ธู > ธูย
  • ภู > ภาวฺญ

     3.บางกรณี สระสั้นจะเติม ตฺ ก่อนเติม ย เช่น อิตฺย (อิ) ศฺรุตฺย (ศฺรุ) กฺฤตฺย (กฺฤ)

     4.สระอะกลางธาตุ อาจคงเดิม หรือยืดเสียง แบ่งได้เป็นสองพวก คือ พวกที่คงสระอะ หรือยืดอะเป็นอา เช่น

  • ทภฺ > ทภฺย *(คงสระอะ)
  • วนฺทฺ > วนฺทฺย *
  • สทฺ > สทฺย *
  • มทฺ > มาทฺย (ยืดสระอะเป็นอา)
  • วจฺ > วาจฺย **

    5.สระ อิ, อุ และ ฤ ที่อยู่ต้น หรือกลางธาตุ บางครั้งไม่เปลี่ยน บางครั้งทำคุณ เช่น อีฑฺย, คุหฺย, ตฺฤทฺย, เวทฺย, โยธฺย, โพธฺย

    6.ธาตุ ศาสฺ ได้รูป ศิษฺย. ส่วนรูป วธฺย (จากธาตุ วธฺ) ถือว่ามาจากธาตุ หนฺ. ส่วน อาลภฺ จะได้ อาลภฺย และ อาลมฺภฺย

   7.กริยาบอกเหตุ และนามธาตุที่ลง อย ให้ทำเป็นเค้าปัจจุบัน แต่ลบอย ออก เช่น cur > cor= coraya+ya = corayaya > corya

ปัจจัย ตวฺย

     ใช้หลักการเดียวกับการเติม ตุมฺ หรือ เติม ตวฺย หรือ แทรก อิ ก่อน เช่น วกฺตวฺย, ลพฺธวฺย, วนฺทิตวฺย, ศยิตวฺย (จาก ศี)

ปัจจัย อนีย หรือ อณีย 

      เติมเข้ากับธาตุ โดยทำคุณก่อน. กริยาบอกเหตุและนามธาตุ ทำขึ้นตอนการสร้างเค้าปัจจุบัน แล้วเอา อย ออก เช่น ทา > ทานีย, คา > คานีย, ศฺรุ > ศฺรวณีย, พุธฺ> โพธนีย, จุรฺ > โจรณีย, คูหนีย (คุหฺ)

      การใช้ปัจจัย ตวฺย นั้นเป็นการแสดงว่าควรทำกริยานั้น ไม่ได้มีความหมายแสดงกาล และเป็นกรรมวาจกที่ไม่แสดงบุรุษ เช่น เตน ตฺวยา สุขินา ภวิตวฺยมฺ (พร้อมด้วยสิ่งนั้น ท่านพึงมีความสุข)

คำศัพท์

นาม

  • กฺฤษีวล ปุ.ชาวนา เกษตรกร
  • คีต นปุ. เพลง การขับร้อง
  • ตปสฺ นปุ. ความร้อน, ตบะ
  • นาฏก ปนุ. การแสดง การละคร บทละคร
  • นฺฤตฺต นปุ. การเต้นรำ
  • วปุสฺ นปุ. ร่างกาย รูป
  • สมาช ปุ. การประชุม กลุ่ม
  • สามนฺ นปุ. บทเพลงสวดในพระเวท เพลง (ถ้าใช้พหูพจน์หมายถึง สามเวท)

คุณศัพท์

  • ตรุณ  (ส. -อี) เยาว์ อ่อน บอบบาง
  • ปุษฺฏ อ้วน ท้วม
  • ปฺรียวาทินฺ พูดน่าฟัง
  • ผลวนฺตฺ มีผล ได้ผล
  • ยชฺญิย ควรแก่การบูชา ควรแก่การสังเวย
  • วิหิต (ต เติม วิ-ธา) จัดระเบียบแล้ว
  • สมรฺถ (ส. -อา) สามารถ
  • สฺวยมฺภู เกิดเอง, นามพระพรหม (หรือเทพอื่นๆ)

กริยาวิเศษณ์ (ไม่แจกรูป)

  • อลมฺ พอ ยิ่ง ใช้กับกรณการก หมายถึง พอเพียงกับ, พอแล้ว, ใช้กับสัมประทานการก หมายถึง เหมาะสำหรับ
  • สฺไวรมฺ ด้วยความยินดี

แบบฝึก

แปลสันสกฤตเป็นไทย

*322 = กริยาที่มีความหมายเชิงกรรมวาจก

คำสำคัญ (Tags): #Gerundive
หมายเลขบันทึก: 574679เขียนเมื่อ 16 สิงหาคม 2014 16:43 น. ()แก้ไขเมื่อ 16 สิงหาคม 2014 16:53 น. ()สัญญาอนุญาต: ครีเอทีฟคอมมอนส์แบบ แสดงที่มา-ไม่ใช้เพื่อการค้า-ไม่ดัดแปลงจำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (8)

1.) สรฺเว เปาราะ กาลิทาเสน รจิตํ นาฎกํ ทฺรษฺฎมฺ อาคจฺฉนฺ - ประชาขนทั้งหลาย (สรฺเว เปาราะ) ได้มาแล้ว (อาคจฺฉนฺ) ดู (ทฺรษฺฎมฺ) นาฎกรรม (นาฎกํ)ที่ถูกรจนาแล้ว (รจิตํ) โดยกวีกาลิทาส (กาลิทาเสน)

ดูยังไงแล้ว รจิตํ นาฎกํ ทฺรษฺฎกํ ก็แจกไม่สัมพันธ์กับส่วนอื่นๆเลย คือ นาฎกํ นี้เป็นเพศกลางแจกกรรตุหรือกรรมตรงคะ

ถูกแล้ว

ทฺรษฺฏุมฺ =เพื่อดู (ไม่ใช่ ทฺรษฺฏกํ)

รจิตํ ขยาย นาฏกํ ซึ่งเป็นกรรม 

2.) สรฺวานฺทฺวิโษ พาหุภฺยำ เชตุมฺ สฺวามี สมรฺถ อิติ ปฺริยวาทิโน ภฺฤตฺยา ราชานมุกตวนฺตะ = เหล่าคนใช้ (ภฺฤตฺยา) ที่พูดจาไพเราะน่าฟัง (ปฺริยวาทิโน) ได้กล่าว (อุกฺตวนฺตะ) กับพระราชา (ราชานมฺ) ว่า (อิติ) นายท่าน (สฺวามี) สามารถ (สมรฺถ) ที่จะเอาชนะ( เชตุมฺ) ซึ่งศัตรูทั้งหลาย (สรฺเวทฺวิโษ) ได้ด้วยมือทั้งสอง (พาหุภฺยำ)

3.) ปาปานฺยปมารฺษฺฎุมโป ' วคาหฺยรฺจะ ปฐนียาะ สามานิวาเคยานิ = ข้อนี้แยกสนธิช่วงต้นไม่ได้ค่ะ

4.) ตีวรํ ตปสฺตปฺตุํ ยติรฺวนาย ปฺรสฺถิตะ = นักพรตได้ออกเดินทางแล้วเพื่อป่าเพื่อการบำเพ็ญตบะที่กล้าแข็ง (ประธานสองตัวงงมากค่ะ)

6.) ปิตฺฤภฺโย ทาตฺวยมฺฤณมปากรฺตุมฺ พฺราหฺมณาะ ปุตฺรํ ชนเยตฺ = เหล่าพราหมณ์ทั้งหลาย (พฺราหมณาะ) ควรให้กำเนิด (ชนเยตฺ) ซึ่งบุตร (ปุตรํ) เพื่อเป็นการจ่าย (อป-อากรฺตุม) ซึ่งหนี้ (ฤณมฺ) ที่ควรให้ (ทาตฺวยมฺ) แก่บรรพบุรุษทั้งหลาย (ปิตฺฤภฺโย) #ข้อนี้เคยอ่านมาในมนู มีหนี้สามอย่าง ข้อนี้คงเป็น ปิตฤ ฤณ คือหนี้ต่อบรรพบุรุษที่ต้องให้กำเนิดบุตรที่มีความศรัทธาเลื่อมใสในพระเวท

7.) สฺวรฺคํ ลพฺธุมฺ ภูยโส ยชฺญานฺยษฺฐุมรฺหสิ = ท่านควรที่จะทำการสังเวยบูชา (ยษฺฐุมฺ อรฺหสิ) ซึ่งการสังเวยที่ยิ่งใหญ่ (ภูยสสฺ ยชฺญานฺ) เพื่อให้ลุถึงสวรรค์ (สฺวรฺคํ ลพฺธุมฺ)

8.) สรฺวาสุ ทิกฺษุ สฺไวรํ จริตุมฺ ยชฺญิโย'ศฺโว ภวทฺภิรฺโมกฺตวฺย อิติ ราชฺญาทิศฺยต = ถูกสั่งแล้ว (อาทิศฺยต) โดยพระราชา (ราชฺญา) ว่า (อิติ) ควรปล่อย (โมกฺตวฺย) ซึ่งม้า (อศฺวํ) ที่ควรค่าแก่การสังเวย (ยชฺญฺิโย) โดยท่านผู้เจริญ (ภวทฺภิรฺ) ให้ไปในทุกๆทิศ (สรฺวาสุ ทิกฺษุ) ด้วยความเต็มใจ (สฺไวรํ)

9.) ภวตำ ภาษา นาวคนฺตุมฺ ศกฺยเต = ภาษา (ภาษา) ของท่าน (ภวตามฺ) ไม่สามารถที่จะถูกเข้าใจได้ (นาวคนฺตุมฺ ศกฺยเต)

11.) สฺวยํภุวา ชคตฺสฺฤษฺฎุมฺ มนะ กฺฤตมฺ = ใจได้สร้างแล้ว เพื่อที่จะสร้างด้วยโลกเอง (งงอีกแล้วค่ะประธานสองตัว)

3.) ปาปานฺยปมารฺษฺฎุมโป ' วคาหฺยรฺจะ ปฐนียาะ สามานิวาเคยานิ =

ปาปานิ อปมารฺษฺฏุมฺ อปสฺ อวคาหฺย ฤจสฺ ปฐฺนียาสฺ สามานิ วา เคยานิ

ปาปานิ อปมารฺษฺฏุมฺ = เพื่อที่จะล้างซึ่งบาปทั้งหลาย,

อปสฺ อวคาหฺย = เมื่อดำนำแล้ว

ฤจสฺ ปฐฺนียาสฺ (ปฐฺ+อนีย) = ฤคเวทพึงถูกสวด

วา = หรือ

สามานิ เคยานิ (ไค+ย) = สามเวทพึงถูกขับร้อง

4.) ตีวรํ ตปสฺตปฺตุํ ยติรฺวนาย ปฺรสฺถิตะ = นักพรตได้ออกเดินทางแล้วเพื่อป่าเพื่อการบำเพ็ญตบะที่กล้าแข็ง (ประธานสองตัวงงมากค่ะ)

ยติสฺ = นักพรต, ปฺรสฺถิตะ = ไปแล้ว, วนาย = เพื่อป่า (สู่ป่า)

ตปฺตุํ = เพื่อเผา, ตปสฺ = ซึ่งตบะ, ตีวฺรํ (อวฺยย) = อย่างกล้าแข็ง 

ระวังการแจก นปุงสกลิงค์ อาจจะงง ว่าไหนประธาน ไหนกรรม เพราะรูปตรงกัน

ข้อ 5 หายไปไหน, ที่เหลือถูกแล้ว

11.) สฺวยํภุวา ชคตฺสฺฤษฺฎุมฺ มนะ กฺฤตมฺ = 

จิตใจ(ความคิด) ถูกสร้างแล้ว ที่สร้างโลก โดย สฺวยํภู

อนุญาตให้แสดงความเห็นได้เฉพาะสมาชิก
พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท