วิกฤต "สิ่งแวดล้อมเป็นพิษ" เพชฌฆาต...รอวันประหารคนเอเซีย...1.


การพัฒนาการอย่างก้าวกระโดด...ของอุตสาหกรรมในทวีปเอเซีย.ประกอบกับการบังคับใช้กฏหมายที่หย่อนยานทำให้สภาพสิ่งแวดล้อม...ทั่วทั้งเอเซียได้รับความเสียหายอย่างรุนแรงส่งผลกระทบต่อวิถีการดำรงชีวิตของประชากรเอเซียมากขึ้นทุกขณะทั้งในรูปแบบของภาวะแห้งแล้ง-น้ำท่วมผิดธรรมชาติ-แหล่งน้ำปนเปื้อน-มลพิษทางอากาศฯลฯ.

     เรียบเรียงจาก...บทความนิตยสารไทม์ เอเซีย เอดิชั่น ฉบับ ต.ค. 2549. Asia's Environment : Living Dangerously.

     1 ทุกวันนี้...ประชากรส่วนใหญ่ ทั่วทั้งเอเซีย อาจจะยังไม่รู้ว่า...ทุกครั้งที่ฤดูหนาวของแต่ละปี วนเวียนมาถึง...ในชั้นบรรยากาศ เหนิอพื้นดินภูมิภาคของเรา จะเกิดปรากฏการณ์ที่เรียกว่า... " เมฆสีน้ำตาล " (Asian Brown Cloud) ปรากฏการณ์ดังกล่าว...เกิดขึ้นในช่วง...ฤดูหนาวของทุกปี  เมื่อสภาพของอากาศแห้งพอและเปิดทางให้สารพัด..."มลพิษในอากาศ"  จับกลุ่มรวมตัวกันเป็น...ก้อนเมฆสีน้ำตาลเข้มขนาดยักษ์  แผ่รัษมีปกคลุมอาณาบริเวณ ไล่ไปตั้งแต่ตอนเหนือของมหาสมุทรอินเดีย เอเซียใต้บางส่วน ประเทศอินเดีย ปากีสถาน จีน เอเซียตะวันออกเฉียงใต้ ซึ่งมี ประเทศไทย ของเรารวมอยู่ด้วย.

     นักวิทยาศาสตร์...พบ"ก้อนเมฆสีน้ำตาล" เป็นครั้งแรกเมื่อ...ปี 2542 ภายในกลุ่มเมฆจะประกอบด้วยฝุ่นละอองของ...ซัลเฟต ไนเตรต เขม่าถ่านหิน ก๊าซและสารเคมีมีพิษ รวมตัวกัน จนหนา 3 กิโลเมตร กลุ่มเมฆพิษเหล่านี้ มีที่มาจาก...ต้นกำเนิดจากไฟป่า ควันโรงงานอุตสาหกรรมโรงไฟฟ้า ไอเสียยวดยานพาหนะและแหล่งผลิตกลุ่มควันอื่นๆ.

     ผลกระทบจาก "เมฆสีน้ำตาล" ก็คือ มันแปรสภาพเป็นเหมือนกับ กำแพงลอยฟ้า ทำให้แสงอาทิตย์ สาดส่องลงมาบนพื้นโลกน้อยกว่าปกติ 15 เปอร์เซ็นต์ นอกจากนั้น มันยังเป็นต้นตอของโรค ระบบทางเดินหายใจ และกำลังเริ่มทำลายรูปแบบธรรมชาติสภาพดินฟ้าอากาศให้ผิดเพี้ยนไป เช่น ในพื้นที่หนึ่งกำลังประสบกับปัญหาน้ำท่วมอย่างหนัก...แต่อีกพื้นที่หนึ่ง...กลับต้องเผชิญกับภาวะแห้งแล้งอย่างรุนแรง...

     ล่าสุด...พื้นที่เกือบ 75 เปอร์เซ็นต์ของอัฟกานิสถาน ส่อเค้าเสี่ยงกลายเป็น "ทะเลทราย" ไม่สามารถเพาะปลูกไม้ได้โดยสมบูรณ์.  จากการสำรวจล่าสุด พบว่า...เมืองที่ทำสถิติมีมลพิษสูงสุดในจำนวน 25 แห่งนั้นอยู่ในทวีปเอเซียไปแล้วถึง...24 แห่ง ในจำนวนนั้น เป็นเมืองของจีน 17 แห่ง เมืองของอินเดียอีก 5 แห่ง โดยกรุงนิวเดลี...เมืองหลวงของอินเดีย ครองตำแหน่งสุดยอดเมืองมลพิษ...ทางการของอินเดีย พยายามบรรเทาวิกฤตอากาศของเมืองหลวงเป็นพิษ...ด้วยการสั่ง...ห้ามรถบัสโดยสารใช้เครื่องยนต์ดีเซลโดยเด็ดขาด เมื่อปี 2541 พร้อมกับการ สั่งการให้รถยนต์รุ่นเก่าที่วางตลาด ก่อนหน้าปี ค.ศ. 1990 (พ.ศ. 2533)  ต้องไปเปลี่ยนเครื่องยนต์ใหม่ ซึ่งมีคุณภาพดีขึ้น หากยังต้องการใช้วิ่งบนถนนต่อไป  ปัจจุบันทำให้สภาพเมืองหลวงของอินเดีย ดีขึ้น แต่ก็ยังไม่ดีพอที่จะถีบ...ตัวเองให้หลุดพ้นจากตำแหน่งสุดยอดเมืองมลพิษไปได้. 

    

หมายเลขบันทึก: 57486เขียนเมื่อ 6 พฤศจิกายน 2006 20:11 น. ()แก้ไขเมื่อ 21 มิถุนายน 2012 19:07 น. ()สัญญาอนุญาต: จำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (1)
พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท