พืชอาหารของผึ้งกัดใบชนิดที่๓๘


ใบตำลึงเป็นพืชอาหารชนิดที่ ๓๘ ของผึ้งกัดใบ ตำลึงมีชื่อวิทยาศาสตร์ว่า  (Coccinia grandisL.) Voigt) วงศ์ Cucurbitaceae ลักษณะทางพฤกษศาสตร์ คือ ลำต้นเป็นเถาไม้เลื้อยเนื้อแข็ง ใบเป็นใบเดี่ยว มีลักษณะเป็น 3 แฉก หรือ 5 แฉก กว้างและยาวประมาณ 4-8 เซนติเมตร โคนใบมีลักษณะเป็นรูปหัวใจ มีมือเกาะยื่นออกมาจากที่ข้อ ดอกเป็นดอกเดี่ยวหรือดอกคู่ มีลักษณะเป็นรูประฆัง กลีบดอกสีขาว แยกเพศอยู่คนละต้น ดอกออกตรงที่ซอกใบ ลักษณะของผลเป็นวงรีทรงยาวสีเขียวอ่อน เมื่อยามแก่จัดจะเป็นสีแดง เป็นที่ชื่นชอบของนกนานาชนิด สถานที่พบพืชอาหารของผึ้งกัดใบ อยู่ที่ หมู่ ๓ ตำบล คลองสวนพลู อำเภอพระนครศรีอยุธยา จังหวัด พระนครศรีอยุธยา หมู่บ้านถุงทองวิลล่า โดยลักษณะการกัดใบนั้น ผึ้งกัดใบจะเลือกใบตำลึงที่ตำแหน่งข้อใบที่ ๓ หรือ ๔ นับจากยอดลงมา ใบที่ถูกกัดจะมีลักษณะเป็นวงรี เส้นผ่าศูนย์กลางประมาณ ๑-๑.๕ เซ็นติเมตร แต่ละใบจะกัดเป็นวงรี เพียงวงเดียว ของใบที่ถูกตัดออกจะเรียบ ไม่เป็นขุย มักไม่กัดซ้ำต้นเดิม แต่จะไปหาต้นใหม่ต่อไป จากภาพ รอยกัดวงรี ๑วง( ด้านบนของภาพ)  ด้านล่างเป็นรอยกัดแต่ยังไม่สำเร็จ จะเห็นเนื้อใบเห็นขอบม้วนขึ้นเนื่องจากสูญเสียน้ำ

หมายเลขบันทึก: 577911เขียนเมื่อ 1 ตุลาคม 2014 14:47 น. ()แก้ไขเมื่อ 1 ตุลาคม 2014 14:47 น. ()สัญญาอนุญาต: ครีเอทีฟคอมมอนส์แบบ แสดงที่มา-ไม่ใช้เพื่อการค้า-ไม่ดัดแปลงจำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (0)

ไม่มีความเห็น

อนุญาตให้แสดงความเห็นได้เฉพาะสมาชิก
พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท