นักอารักขาพืชหน้าใหม่กับแปลงนาของเกษตรกร


กลุ่มอารักกขาพืช สำนักงานเกษตรจังหวัดลำปาง ร่วมกับเจ้าหน้าที่ของศูนย์ส่งเสริมเทคโนโลยีการเกษตรด้านอารักขาพืชจังหวัดเชียงใหม่ ได้ออกไปติดตามสถานการณ์การระบาดของศัตรูพืชในเขตพื้นที่ของอำเภอเสริมงาม เราพบว่า ข้าวซึ่งอยู่ในระยะออกรวงของเกษตรกร แสดงอาการที่ใบมีสีส้มและใบเหลือง

                 

               นักอารักขาพืชหน้าใหม่กับแปลงนาของเกษตรกร   สวัสดีครับพี่ๆเพื่อนๆในG๒K ผมกลับมาอีกครั้ง ซึ่งได้หายหน้าหายตาไประยะหนึ่งนานพอสมควรครับ เนื่องจากมีการโยกย้ายปรับเปลี่ยนตำแหน่งและที่ทำงานครับ กว่าจะเข้าที่เข้าทาง ปัจจุบันนี้ผมทำหน้าที่ในด้านอารักขาพืช ที่สำนักงานเกษตรจังหวัดลำปาง ได้ประมาณ ๒ เดือนเศษแล้ว จากการที่ได้ลงไปสัมผัสกับเกษตรกรในชุมชนต่างๆของจังหวัดลำปางที่ประกอบอาชีพทางการเกษตร โดยเฉพาะการผลิตข้าวของเกษตรกร แต่ละชุมชนก็จะกำหนดห้วงระยะเวลาของการปลูกข้าวก็จะแตกต่างกันไปครับ แต่ส่วนใหญ่พี่น้องเกษตรกรจะปลูกข้าวเหนียวมากกว่าการข้าวเจ้า เนื่องจากส่วนใหญ่จะเก็บผลผลิตข้าวไว้บริโภคในครัวเรือน แต่ก็มีเกษตรกรบางส่วนที่ได้ผลผลิตข้าวมากเหลือจากเก็บไว้บริโภคก็จะแบ่งไปจำหน่ายก็มีเช่นกัน

               แต่เท่าที่ทราบและพบเห็นการผลิตข้าวของเกษตรกรหลายพื้นที่ ได้เกิดศัตรูพืชระบาด ทั้งที่เป็นโรคและเกิดแมลงศัตรูพืชระบาด แต่ก็มีเกษตรกรอยู่บางรายได้รับผลกระทบต้นข้าวได้รับความเสียหายก็มีเช่นกันเมื่อไม่กี่วันมานี้เอง(๑๕ ตค.๕๔) ผมและทีมงานของกลุ่มอารักขาพืช สำนักงานเกษตรจังหวัดลำปาง ร่วมกับเจ้าหน้าที่ของศูนย์ส่งเสริมเทคโนโลยีการเกษตรด้านอารักขาพืชจังหวัดเชียงใหม่ ได้ออกไปติดตามสถานการณ์การระบาดของศัตรูพืชในเขตพื้นที่ของอำเภอเสริมงาม เราพบว่า ข้าวซึ่งอยู่ในระยะออกรวงของเกษตรกร แสดงอาการที่ใบมีสีส้มและใบเหลือง เมื่อลงไปตรวจดูในแปลงนาจริงๆแล้ว ก็จะพบต้นข้าวแสดงอาการเป็นบริเวณ ๒-๓ ตารางเมตรต่อรายหรือแสดงอาการเป็นหย่อมๆ ในชุมชนนี้เกษตรกรที่ประสบปัญหานี้มีเพรียง๓-๔ ราย

                  

                 

                  

              จาการลงในแปลงนาหรือแปลงปลูกข้าวของเกษตรกร เราใช้เครื่องมือคือสวิงโฉบแมลง เมื่อโฉบไปมา ๒- ๓ รอบแล้วพบว่า มีแมลงที่เป็นพาหะนำโรคใบสีส้มของข้าว ซึ่งเกิดจากเชื้อวิสา คือเพลี้ยจักจั่นสีเขียว ซึ่งมีลักษณะลำตัวมีสีเขียว ยาวประมาณ ๓ มม. ปลายปีกมีจุดสีดำข้างละจุด ทั้งตัวอ่อนและตัวแก่ดูดกินน้ำเลี้ยงจากใบข้าวนอกจากนี้ยังพบแมลงที่มีประโยชน์เช่นแมลงปอ แมงมุมที่ประโยชน์  จากการสอบถามข้อมูลและสังเกตเกี่ยวกับการปลูกข้าวของเกษตรกร ในเขตพื้นที่นี้ พบว่าช่วงนี้แปลงนาขาดน้ำ ฝนแล้ง จึงทำให้พื้นนาไม่มีน้ำหล่อเลี้ยงต้นข้าว และพันธุ์ข้าวที่ปลูกเกษตรกรไม่ได้คัดพันธุ์และได้นำมาจากเพื่อนบ้านติดต่อกันหลายๆรุ่นแล้ว และอาจจะมีความอ่อนแอต่อการเกิดโรคและถูกศัตรูข้าวระบาดได้ อีกประการหนึ่งพบว่าเกษตรกรได้ละเลย ไม่หมั่นออกไปตรวจแปลงนาอย่างสม่ำเสมอ ปล่อยให้คันนามีวัชพืชขึ้นรกมากซึ่งเป็นที่อยู่อาศัยของแมลงศัตรูพืช

               

               

              ทีมงานเราจึงได้แนะนำเกษตรกร หมั่นตรวจแปลงนา ให้มีการสำรวจประชากรของศัตรูพืชในแปลงนาอยู่เป็นประจำ หากพบอาการของต้นข้าวแสดงอาการผิดปกติ ก็จะต้องรีบรักษาด้วยสารชีวภัณฑ์ เป็นอันดับแรกที่ทดแทนสารเคมีในระยะแรก หากการระบาดยังไม่ถึงระดับเศรษฐกิจเราจะไม่แนะนำให้ใช้สารเคมีในการป้องกันกำจัดศัตรูพืช และควรประสานอาสาสมัครเกษตรประจำหมู่บ้าน(อกม.) หรือแจ้งประสานศูนย์จัดการศัตรูพืชชุมชน และนักส่งเสริมการเกษตรในท้องที่หรือแจ้งไปยังสำนักงานเกษตรอำเภอในเขตพื้นที่ได้เช่นกัน



เขียวมรกต

๑๘ ตค.๕๗



หมายเลขบันทึก: 578965เขียนเมื่อ 18 ตุลาคม 2014 19:30 น. ()แก้ไขเมื่อ 18 ตุลาคม 2014 20:00 น. ()สัญญาอนุญาต: ครีเอทีฟคอมมอนส์แบบ แสดงที่มา-ไม่ใช้เพื่อการค้า-ไม่ดัดแปลงจำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (4)

เป็นหน่วยงานที่สำคัญมากนะคะ "อารักขาพืช"

ขอขอบคุณอาจารย์ดร.พจนาและท่านวอญ่า ที่กรุณาแวะมาทักทายกัน

ขอบคุณครับท่านวอญ่าฯ ที่กรุณาแวะมาให้กำลังใจกัน

เอาแต้น่ออาจ๋าย...สุดยอดครับ

อนุญาตให้แสดงความเห็นได้เฉพาะสมาชิก
พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท