โค้ชส้ม Citrus
Miss. ปรีดิ์ฤทัย โค้ชส้ม ตั้งจิตญาณพัฒน์

ประสบการณ์ Coaching Conference ที่โซล เกาหลีใต้ ตอนที่ 2


เย็นวันแรก ตกลงกันว่าจะหาทางไปโรงแรมที่สัมมนาในวันรุ่งขึ้น ต้องขึ้น Taxi หรือเดินไปได้ ถามเจ้าหน้าที่โรงแรม เขาบอกเดิน 15 นาที บอกทางเดินให้ แต่ด้วยความไม่คุ้นกับถนน เราจึงหาไม่พบ เดินไปอีกทาง สิ่งที่เราเรียนรู้อย่างหนึ่งคือ คนที่คิดว่าจะพึ่งได้ คือคนใส่สูท ผูกไทค์ ที่สื่อสารภาษาอังกฤษ และน่าจะรู้จักโรงแรมหรูๆ ในความเป็นจริง คนที่พูดอังกฤษได้ดี รู้จักโรงแรม ช่วยเราได้ กลับเป็น คนเฝ้าประตู office ที่เหมือน รปภ อีกคนคือหญิงสูงอายุ ที่พยายามสื่อสารกับเรา ด้วยการผลักเราไปทิศทางที่ตั้งของโรงแรม เป็นการพิสูจน์ว่า ภาพความคิด หรือประสบการณ์เดิมของเราใช่ว่าจะถูกเสมอไป และอย่าดูแคลนความสามารถของคนที่สถานะทางสังคมอาจจะไม่สูง

ทางเดินไปโรงแรม Hilton ต้องขึ้นเขาเป็นเนินไปเรื่อยๆ ประกอบกับอากาศเย็นทำให้ทั้งหนาวและเหงื่อออกในเวลาเดียวกัน จากนั้นก็มาหาของรับประทาน แน่นอน ว่าย่านที่พัก ไม่ได้มีร้านอาหารเยอะ เลือกร้านที่ขายข้าวยำ คนที่มาเรียกลูกค้า คอยบริการ เป็นรุ่นป้าทั้งนั้น นี่คือจุดสังเกตในคืนวันแรก เขาจะพยายามเข้าใจเรา แต่สื่อเป็นภาษาเกาหลี นั่นคือเราคุยกันคนละภาษา แต่ก็สามารถได้ของกินตามต้องการ ท่ามกลางความไม่แน่ใจในระหว่างการรอ

ในเช้าวันรุ่งขึ้นคือการสัมมนาวันแรก เห็นการทำงานของทีมงาน ก็รู้ว่า เขาพยายามที่จะให้ทุกอย่างออกมาเรียบร้อย แต่เรามองเห็นประธานจัดงานที่อายุยังไม่มาก น่าจะประมาณสี่สิบ จริงจัง เครียด แต่ใบหน้าต้องยิ้มแย้ม และลงมาว่าราชการเองในหลายเรื่องเกี่ยวกับการจัดเวที สถานที่

คนที่มากลุ่มเดียวกันต้องจับฉลากไปนั่งโต๊ะที่ต่างกัน ทั้งนี้เพื่อรู้จัก สร้าง network แลกนามบัตร เป็นธรรมเนียมของการมางาน แบบนี้ พิธีเริ่มด้วยการมีสาวมาสีไวโอลิน เพลงอารีดัง ก็เรียกบรรยากาศครึกครื้นได้ดีทีเดียว ช่วงเรกทุกชีวิตจะฟัง keynote speaker พูดแล้วจึงแยกไปห้องย่อยๆ

จากการเห็น Theme ของหัวข้อที่นำเสนอในแต่ละห้องย่อย ทำให้ตระหนักว่า ไม่ว่าเป็นฝรั่ง หรือ ชาติไหน มีแนวโน้มที่สนใจเรื่องของโลกภายใน การใช้สมาธิ การอยู่กับปัจจุบัน การเข้าใจในตัวเองและผู้อื่น โดยเฉพาะการโค้ช ที่ต้องอาศัยการฟัง การอยู่กับเรื่องราวของผู้รับการโค้ชอย่างมีสมาธิ เชื่อมโยงกับโลกภายในของเขา ซึ่งเป็นแนวที่ชาวพุทธอย่างเราคุ้นเคย แต่อาจจะมีน้อยคนที่ซื้อวิธีการแนวคิดเช่นนี้

ห้องแรกที่เลือกไปคือ ห้องที่วิทยากร โค้ชคนไทย เล่าประสบการณ์ สร้างการเปลี่ยนแปลงด้วยการโค้ช ผสมผสานการทำ workshop เป็นห้องหนึ่งที่ทำให้รู้สึกภาคภูมิใจ ที่มีคนต่างชาติที่มีโอกาสคยกันชื่นชมผู้พูดให้ฉันฟัง เพราะมีวิธีการนำเสนอน่าสนใจ เนื้อหาดี ผู้พูดมีบุคลิกดี หน้าตาดี (คนชมเป็นสาวๆ )

ช่วงบ่าย เลือกเข้าห้อง Team/Group Coaching รู้สึกผิดหวัง เพราะผู้พูด ใช้ภาษาเกาหลี แล้วมีผู้แปล ให้เราใส่หู สำหรับตัวเองแล้ว ไม่มีสมาธิเลย และผู้พูดเร่ง speed เพราะมีคนพูดถึงสองคน ในเวลาที่เท่ากันกับห้องอื่น ที่มีผู้พูดคนเดียว จึงไม่เข้าใจว่า ทำไมต้องทำเช่นนี้ น่าจะ focus ที่หัวข้อนี้มากกว่า นำอีกเรื่องมาเสนอ คือ ความแตกต่างของการใช้ Coaching ในบริษัทขนาดใหญ่ กับ ขนาดเล็ก อีกห้องที่ไปฟัง คือ Mindfulness Leadership เน้นการสอนผู้นำให้ฝึกสมาธิ เพราะเห็นว่าเป็นประโยชน์ต่อการคิดเวลาอยู่ในงาน ได้ประโยชน์หลายอย่าง เกิดความคิดสร้างสรรค์สิ่งใหม่ๆ หรือ AHA moment มากขึ้น

ในท้ายของแต่ละวันจะกลับมารวมที่ห้องใหญ่อีกครั้ง เพื่อทำ Learning Reflection เป็นสิ่งที่ฉันคุ้นเคย ที่ประทับใจ คือ เขาจะมีการออกแบบกระบวนการที่ทำให้คนคิด ด้วยการหาคำพูด หรือ ภาพที่สร้างแรงบันดาลใจและเรียนรู้ไปในทิศทางบวก 

ค่ำวันแรก เจ้าภาพจัดงานเลี้ยงมื้อเย็นให้ เป็นอาหารลงโต๊ะ set ใหญ่ กว่าจะได้นอนคืนแรกดึกมาก เรานอนพักสามคนในห้องเดียวกัน ทำให้ต้องวางแผนการตื่นนอนเช้า เพื่ออาบน้ำ ทานข้าวเช้า เดินไปสัมมนาให้ทันเวลา พวกเราไม่มีโอกาสได้ไปไหน เลยอยู่แต่โรงแรมที่พัก และ ที่สัมมนา

หมายเลขบันทึก: 579852เขียนเมื่อ 6 พฤศจิกายน 2014 20:23 น. ()แก้ไขเมื่อ 6 พฤศจิกายน 2014 20:35 น. ()สัญญาอนุญาต: ครีเอทีฟคอมมอนส์แบบ แสดงที่มา-ไม่ใช้เพื่อการค้า-ไม่ดัดแปลงจำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (0)

ไม่มีความเห็น

อนุญาตให้แสดงความเห็นได้เฉพาะสมาชิก
พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท