“R2R ป่าติ้ว ต้นสุข ปลูกง่าย สร้างความสดใส ที่งดงาม ”


คงไม่มีใครปฏิเสธ เมื่อยินคำว่า "วิจัย" ที่ใครใคร ก็นึกขยาดกลัว นั่นถือเป็นเรื่องธรรมดา

เรื่องราวของโรงพยาบาลป่าติ้ว ที่ได้มีการพัฒนางานประจำสู่งานวิจัย R2R (Routine to Research) ผลลัพธ์ของ R2Rนอกจากจะเป็นการพัฒนางานประจำของตนเองแล้วยังเป็นเครื่องมือในการพัฒนาคนทำงาน เมื่อคนทำงานได้ถูกพัฒนา สามารถนำแนวคิดการพัฒนาไปงานอื่นๆได้ ไม่มีสิ้นสุด ยังเป็นแรงช่วยขับเคลื่อนให้เป็นองค์กรแห่งการเรียนรู้ที่ต่อเนื่อง... การขับเคลื่อนงาน R2R เปรียบได้เหมือนการปลูกผัก เพื่อให้ผู้อ่านได้มองเห็นภาพ ลำดับขั้นพัฒนาการการพัฒนางานประจำด้วยการวิจัย R2R ของโรงพยาบาลป่าติ้ว ดังนี้

เริ่มก่อ เริ่มคิดเตรียมแปลง เตรียมดิน เมื่อสะดุดใจกับวาทะกรรม "คุยกันเล่น เห็นของจริง อิงวิจัย" ของอาจารย์อนุวัฒน์ ศุภชุติกุล จากสถาบันรับรองคุณภาพสถานพยาบาล (องค์การมหาชน) ในงานประชุม HA ธัญนันท์ ศรีชนะ หัวหน้าพยาบาล จึงได้ริเริ่มจัดทำโครงพัฒนางานประจำด้วยการวิจัย R2R ในปี 2552 ขึ้น โดยมี อ.กะปุ๋ม (ดร.นิภาพร ลครวงศ์)นำพาการเรียนรู้ ซึ่งผู้เรียนไม่รู้ตัวว่ากำลังอบรมวิจัย เพียงแค่อาจารย์ให้เรียนรู้วิธีการค้นหา ปัญหาในหน้างาน ที่เป็นนำ โจทย์วิจัย R2R ในหน้างานประจำที่ทำในแต่ละวัน ด้วยการชวนค้น ชวนหาตั้งคำถาม เอ๊ะ... ทำไม ทำไม....เมื่อได้ประเด็นปัญหา แล้วตามด้วยการศึกษาค้นคว้า ว่ามีใครศึกษาไว้แล้วบ้าง ผลการวิจัยเป็นเช่นไรหากเป็นเรื่องเหมือนกันก็นำพัฒนางานตนเองได้เลยไม่ต้องทำ การศึกษาซ้ำ ถ้าประเด็นใหม่ยังไม่มีใครศึกษาไว้จึงค้นหาทฤษฎีที่เกี่ยวข้องมีว่าไว้อย่างไรจากนั้นหาวิธีดำเนินการ แก้ไขวัดผล อย่างเป็นขั้นตอน แบบง่ายๆ

เมล็ดพันธุ์รุ่นแรก เมื่อได้รับโอกาส จากหัวหน้าพยาบาล ในครั้งแรกนั้นสมหญิง อุ้มบุญ หัวหน้า หน่วยจ่ายกลางและซักฟอก ไม่รีรอที่จะชวน บังอร อินอ่อน พนักงานในหน่วยจ่ายกลางและอุทัยจันทรส พนักงานซักฟอกเข้ามาเรียนรู้ในขบวนการทั้งที่ พวกเขาไม่เคยรู้เลย ว่า"วิจัย"คืออะไรเริ่มเรียนรู้การค้นหาปัญหาในหน้างานซึ่งมีมากมายเรียนรู้วิธีจัดการกับปัญหา เรียนรู้การวัดและสรุปผล คำผิว วงษ์กล้า พนักงานเวรเปล อีกคนที่ ถูกชักชวนเข้าร่วมในการเรียนรู้ระยะต่อมา เป็นเรื่องที่น่าแปลกใจที่หน่วยงานสนับสนุน ทั้งเวรเปล ทั้งซักฟอก และหน่วยจ่ายกลาง นำแนวคิดพัฒนางานประจำอย่างต่อเนื่อง ให้เห็นผลเป็นที่ประจักษ์

เลือกปุ๋ยให้เหมาะ เป็นสูตรพิเศษเฉพาะ แนวคิดการพัฒนางานประจำด้วยการการวิจัย ได้สอดแทรกให้แนบเนียนในงานประจำ เน้นการทำง่ายๆ ได้ผลผลดี แบบไม่มีใครเหมือน ทำแล้วมีความสุข โดยมี สมหญิงอุ้มบุญ เป็นผู้เอื้อ อำนวย ให้เกิดการพัฒนา หาประเด็น ที่เรียกว่า Facilitator ชวน เชียร์ ชี้ เชื่อม ชื่นชม การชื่นชม ช่วยกันค้นหาสิ่งดีดี ด้วยความเชื่อที่ว่า ทุกคน ทุกระบบ ทุกองค์กร ล้วนมีสิ่งดีดีซ่อนเร้นอยู่ กำลังรอการค้นพบ ให้นำมา พัฒนาต่อยอด แล้วขยายผล ผ่านการตั้งคำถามเชิงบวก เป็นศาสตร์การพัฒนาองค์กรหนึ่งที่ได้เรียนรู้จาก ดร.ภิญโญรัตนาพันธุ์ อาจารย์ประจำที่วิทยาลัยบัณฑิตศึกษาการจัดการ (MBA)

มหาวิทยาลัยขอนแก่น www.gotoknow.org/user/rpinyo/profile ผู้ก่อตั้งชุมชนนักปฏิบัติ AI Thailand www.aithailand.org โรงพยาบาลป่าติ้ว ได้นำแนวคิด R2R และ AI มาจาก Appreciative Inquiry มารวมกันอย่างลงตัว เป็นปุ๋ยชั้นดี สูตรผสม AR2R รูปแบบใหม่ในการพัฒนางานประจำ "Appreciative R2R Model" ใช้หลักการสื่อสารเชิงบวก หรือสุนทรียสนทนา ใช้ในการแลกเปลี่ยนเรียนรู้ ในแต่ละขบวนการ การตั้งคำถามดีดี สร้างบรรยากาศการเรียนรู้ แบบผ่อนคลาย นอนฟังบรรยายการทำ R2R จากอาจารย์กะปุ๋ม คุยกันในวงส้มตำบ้าง แบบ "คุยกันเล่น เห็นของจริง อิงวิจัย" เป็นแนวคิดที่สรุปเป็นแผนภาพได้ดังนี้

รดน้ำพรวนดิน ดายหญ้าดูแลเอาใจใส่ การวิเคราะห์กระบวนการทำงาน อย่างละเอียด ค้นหาปัญหาและโอกาสพัฒนาในแต่ละขั้นตอนการทำงาน ที่เป็นปัญหา ที่ต้องการแก้ไข และ ส่งผลต่อการทำงานประจำ นำมาเป็นประเด็นหัวข้อพัฒนางาน ซึ่ง เป็นนโยบายของหัวหน้าพยาบาล แรงสนับสนุนสู่ความสำเร็จหนึ่งได้จากผู้อำนวยการโรงพยาบาล บริหารสูงสุด ส่งเสริมการค้นหาประเด็นการพัฒนาหนึ่งคนหนึ่งผลการพัฒนางานประจำ ถือเป็น อีกปัจจัยแห่งความสำเร็จ หนึ่งเป็นในแรงผลักให้เกิดการพัฒนาต่อเนื่อง เป็นปีที่ 6

ผลิดอก ออกผล เบ่งบาน ให้สดชื่นสดใสงานวิจัย R2Rชิ้นแรกน่าอายเสมอ มีคนกล่าวไว้ ถือเป็นก้าวแรก ที่ทุกคนได้รับประสบการณ์อันดี และเป็นก้าวต่อไปที่ขจัดความกลัวคำว่า " วิจัย" ออกไปได้ ในงานประชุมแลกเปลี่ยนเรียนรู้ "จากงานประจำสู่งานวิจัย" ครั้งที่ 3 ส่งผลงานเข้าร่วมได้รับแจ้งให้ส่ง Full Paper เข้าใจว่าคือ การ"ขยายเต็มหน้ากระดาษ" สมหญิง และทีมงาน ได้เรียนรู้ วิธีการเขียน แล้วลองส่งผลงานชิ้นแรก เรื่อง "เพิ่มพลังซักหารสอง" งานนี้ ได้เปลี่ยนวิธีทำงานของการซักผ้าที่งานซักฟอก มีประเด็นคำถามว่าทำเครื่องชำรุดบ่อย เมื่อศึกษาสมรรถนะของเครื่องซักผ้า ทำให้สามารถเพิ่มปริมาณผ้าได้ในแต่ละรอบซัก ทำให้ลดจำนวนรอบซักลดลง ลดค่าใช้จ่ายให้โรงพยาบาล กว่า 35,000 ต่อปี ผลงานชิ้นนี้ได้รับการตีพิมพ์ในวารสารผลงาน R2Rในปี 2553 ปี ในปี 2554 มีการพัฒนาอย่างต่อเนื่อง หน่วยจ่ายกลางได้ผลิตผลงาน R2R อีก 2 เรื่อง ได้แก่ เรื่อง "เพิ่มพลังนึ่งหารสอง สนองลดโลกร้อน" เป็นผลงานของ สหัสตอสูงเนิน พนักงานหน่วยจ่ายกลาง ศึกษาปริมาณน้ำที่เหมาะสมกับกระบวนการทำปราศจากเชื้อ ด้วยเครื่องนึ่งไอน้ำระบบก๊าซ หุงต้มแบบแนวนอน สามารถลดน้ำจาก 20 เหลือ 12 ลิตร ส่งผลต่อระยะเวลาที่ทำให้น้ำเดือดลงลด เวลารวมในขบวนการทำปราศจากเชื้อลดลง ยังลดต้นทุน ให้โรงพยาบาลได้อีกกว่า 15,000ต่อปีและนวัตกรรมการแก้ปัญหาหยดละอองน้ำในซองซีล บรรจุเครื่องมือแพทย์ ของ บังอรอินอ่อน เรื่อง "จากภูมิปัญญาไส้หมอนขิดป่าติ้ว ช่วยนึ่งซองซีลไม่ให้เปียกชื้น"ผลงานทั้ง 2 ชิ้นได้รับรางวัลผลงานวิจัย R2R ดีเด่น ประเภทสนับสนุนบริการ จากงานประชุมแลกเปลี่ยนเรียนรู้จากงานประจำสู่การวิจัย ครั้งที่ 4 ปี 2554 เมื่อเห็นผลลัพธ์อันดี จึงได้ชักชวน คนหน้างานคนอื่นๆ ให้เห็นความสำคัญคำผิว วงษ์กล้า พนักงานศูนย์เปลนักพัฒนาคุณภาพมีผลงานต่อเนื่องเช่นกัน ทำให้พยาบาลรู้สึกระอาย จนหันมาทำ R2R บ้าง และ 2 ผลงานของพยาบาลได้รับการตีพิมพ์เช่นกัน เป็นอีกแรงบันดาลใจให้เกิดผลการพัฒนางานประจำมากมายต่อเนื่อง ในระยะเวลา 6ปี มีผลลัพธ์การพัฒนางานประจำ รวม 153ผลงาน โดยแยกเป็น R2R 25 เรื่อง CQI 68 เรื่อง นวัตกรรม 40 เรื่องเรื่องเล่า 17 เรื่อง BestPractice 3 เรื่อง อีกเรื่องเป็นสิ่งที่น่าภาคภูมิอีก คำผิว พนักงานเวรเปล ได้ถูกรับเชิญเป็นวิทยากรหลายแห่ง ร่วมกับสมหญิง ทำให้โรงพยาบาลป่าติ้วเป็นแหล่งศึกษาดูงาน จากหลายพื้นที่ เพื่อแบ่งปันประสบการณ์การพัฒนางานแบบเรียบง่าย พลัง เอกตาแสง นักวิชาการอีกคนเป็นผู้มีความรู้รอบด้าน ถูกดึงเข้ามา ช่วยวิเคราะห์หาผลกระทบครบวงจรให้ผลงาน R2R มีคุณค่ายิ่งขึ้น สามารถลดพลังงาน ลดต้นทุนกว่า 156,000 บาทต่อปี ความใส่ใจสิ่งแวดล้อม จนได้เป็นโรงพยาบาลต้นแบบ ซึ่งดำเนินต่อเนื่องเป็นวิถีที่แนบเนียนในงานประจำ อย่างมีวัฒนธรรมอันดี เป็นดอก ผล จากต้นไม้แห่งความสุข ต้น R2R อย่าง "R2R ป่าติ้ว ที่ สุข ง่าย ใส งาม"

หมายเลขบันทึก: 583997เขียนเมื่อ 15 มกราคม 2015 12:05 น. ()แก้ไขเมื่อ 15 มกราคม 2015 12:05 น. ()สัญญาอนุญาต: ครีเอทีฟคอมมอนส์แบบ แสดงที่มา-ไม่ใช้เพื่อการค้า-ไม่ดัดแปลงจำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (4)

ขอเป็นกำลังใจให้ประสบความสำเร็จที่ปรารถนาทุกประการค่ะ...

คุยกันเล่น เห็นของจริง อิงวิจัย" ของอาจารย์อนุวัฒน์ ศุภชุติกุล จากสถาบันรับรองคุณภาพสถานพยาบาล (องค์การมหาชน) ในงานประชุม HA ธัญนันท์ ศรีชนะ หัวหน้าพยาบาล จึงได้ริเริ่มจัดทำโครงพัฒนางานประจำด้วยการวิจัย R2R ในปี 2552 ขึ้น โดยมี อ.กะปุ๋ม (ดร.นิภาพร ลครวงศ์)นำพาการเรียนรู้ ซึ่งผู้เรียนไม่รู้ตัวว่ากำลังอบรมวิจัย เพียงแค่อาจารย์ให้เรียนรู้วิธีการค้นหา ปัญหาในหน้างาน ที่เป็นนำ โจทย์วิจัย R2R ในหน้างานประจำที่ทำในแต่ละวัน ด้วยการชวนค้น ชวนหาตั้งคำถาม เอ๊ะ... ทำไม ทำไม....เมื่อได้ประเด็นปัญหา แล้วตามด้วยการศึกษาค้นคว้า ว่ามีใครศึกษาไว้แล้วบ้าง ผลการวิจัยเป็นเช่นไรหากเป็นเรื่องเหมือนกันก็นำพัฒนางานตนเองได้เลยไม่ต้อง ทำ การศึกษาซ้ำ ถ้าประเด็นใหม่ยังไม่มีใครศึกษาไว้จึงค้นหาทฤษฎีที่เกี่ยวข้องมีว่าไว้อย่าง ไรจากนั้นหาวิธีดำเนินการ แก้ไขวัดผล อย่างเป็นขั้นตอน แบบง่ายๆ ...

มาเชียร์การทำงาน

สมเป็น R2R ตั้งชื่อได้น่าสนใจมาก

พี่สบายดีนะครับ

คิดถึงทุกท่านเลยค่ะ สวัสดี พี่ใหญ่, น้อง อ.ขจิต เริ่มผ่อนคลายกับงานบ้างแล้ว

HA Forum ปี 2558 ที่เมืองทอง ต้องได้พบกันนะคะ จะไม่พลาดแน่นอนค่ะ

ขอบคุณ ค่ะ

Nursing Administration

อนุญาตให้แสดงความเห็นได้เฉพาะสมาชิก
พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท