สัมมนาภาควิชาวิสัญญีวิทยา มข.ครั้งที่ 16 ประจำปี 2558 : จากการบิน สู่การแพทย์ (2)


ในกฎการบิน "ต้องรู้ทุกสิ่งอย่างในการทำให้เครื่องบินนั้นขึ้นและลงได้อย่างปลอดภัย" น่าจะสอดคล้องไปกับทางวิสัญญีในปกหน้าหนังสือวิสัญญีสารที่ว่า "วิสัญญี เพื่อทุกชีวีปลอดภัย (Anesthesia : Safety for All)"

[ต่อจากบันทึกที่แล้ว สัมมนาภาควิชาวิสัญญีวิทยา มข.ครั้งที่ 16 ประจำปี 2558 : จากการบิน สู่การแพทย์ (1) ]

เริ่มต้นการสััมมนาด้วยการบรรยายเกริ่น ความสำคัญของความเสี่ยงในงานทางการบินซึ่งคล้ายคลึงกับทางการแพทย์ ด้วยการนำ The Swiss Cheese Model of Human Error Causation โดย กัปตันกรพรหม แสงอร่าม

(สามารถอ่านเพิ่มเติมได้ที่นี่ค่ะ)


Non-technical skills (Soft skill) เป็นลักษณะส่วนบุคคลที่สัมพันธ์กับความฉลาดทางอารมณ์ เช่นการตัดสินใจที่เหมาะสมการป้องกันความผิดพลาด การพัฒนาความสามารถของทีมการสื่อสาร เป็นต้น ซึ่งพบว่าทักษะเหล่านี้พัฒนาเพิ่มขึ้นเมื่อได้รับการฝึก

ทางการบิน non technical skills ที่ถูกใช้มีหลายประเด็น อาทิเช่น workload management, decision making, communication, coordination, team, leadership and team behavior, automation, human performance and limitation, safety culture, human error, stress and fatigue, situation awareness, personality awareness, assertiveness, cultural difference, management of the passenger, human factors และ cabin safety reporting

สัมมนาครั้งนี้ non technical skills ที่ทีมวิทยากรนำมาให้ชาววิสัญญี มข.ได้เรียนรู้มี 4 ประเด็นได้แก่ 1) human error 2) communication 3) decision making และ 4) situation awareness

จากนั้น แบ่งกลุ่มให้ได้เรียนรู้สถานการณ์ 4 กลุ่ม โดยมีเวลาราว 30 นาทีต่อกลุ่ม การเรียนรู้จึงได้ค่อนข้างน้อย

ผู้เขียนถูกจัดอยู่ในกลุ่มที่ 15 จึงไม่สามารถนำประเด็นเรียนรู้ที่ได้จากทุกกลุ่มมาถ่ายทอดได้ ขอนำเพียงเรื่องที่ได้เรียนรู้ในกลุ่มตนเองมาเล่า พอสังเขป ดังนี้

...

ความผิดพลาดที่เกิดจากคน (Human Error)

ความผิดพลาดนี้เกิดขึ้นได้ทั้งแบบไม่ตั้งใจ (unintentional) และแบบตั้งใจ (intentional)

  • แบบไม่ตั้งใจ เช่นการพลั้งเผลอ (slips) การลืม (lapses) หรือการเข้าใจผิด (mistake)
  • แบบตั้งใจ เช่น การฝ่าฝืน (violations) ไม่ปฏิบัติตามกฎ ระเบียบ กฎเกณฑ์ ข้อบังคับ เป็นประจำสม่ำเสมอเรียกว่าฝ่าฝืนจนเป็น routineจนผู้กระทำไม่รู้สึกผิด หรืออาจกระทำเพราะสถานการณ์บังคับ (situation) ให้ทำข้ามขั้นตอน หรือผิดพลาดเพราะละเว้นการกระทำในบางขั้นตอน (exceptional) ที่คิดว่ากระทำได้ด้วยตนเองโดยไม่ผิดพลาด

ตัวอย่างความผิดพลาดประเภทนี้ในงานวิสัญญีก็มีอยู่เช่นกัน เช่น การบริหารยาที่ผิดพลาด หรือเครื่องดมยาสลบมีปัญหาขณะใช้งาน เป็นต้น ซึ่งสาเหตุส่วนมากเกิดจากการละเว้นการปฏิบัติตามขั้นตอนที่กำหนด

เรื่องที่ได้เรียนรู้

  • ความผิดพลาดที่เกิดจากคน สามารถป้องกันได้โดยการใช้การควบคุมการปฏิบัติงานอย่างชัดเจน
  • คนที่ทำผิดพลาดแบบ routine violations แก้ไขได้โดยพยายามหาเหตุผล หรือจัดให้พบประสบการณ์ใหม่ให้รู้สึกว่า พฤติกรรมเดิมเกิดผลลัพธ์ที่เสียหายรุนแรง
  • ควรระลึกเสมอว่า "การปฏิบัติตามกฎ เพื่อ safe ผู้อื่น"เช่น ระบบการเตรียมยาตามแนวปฏิบัติที่วางไว้ เพื่อที่ผู้อื่นจะได้ใช้ยาไม่ผิดพลาด
  • การวางระบบให้วิสัญญีแพทย์และพยาบาลวิสัญญีผู้ให้การระงับความรู้สึกต้องทราบขั้นตอนการตรวจสอบเครื่องดมยาสลบเป็นสิ่งจำเป็น เพราะปัญหาเฉพาะหน้าอาจเป็นปัญหาวิกฤติที่คุกคามชีวิตผู้ป่วยที่ต้องแก้ไขฉับพลันแข่งกับเวลา เช่นเดียวกับนักบินที่ต้องทราบขั้นตอนการเตรียมพร้อมทางการบินด้วยเช่นกันแม้ในภาวะปกติจะมีเจ้าหน้าที่ดูแลตรวจสอบเป็นการเฉพาะแล้วก็ตาม ทางการบินเล่าว่า "...นักบินทุกคนต้องรู้ทุกอย่างแม้การเติมน้ำมันเพราะอาจเกิดสถานการณ์ฉุกเฉินนักบินอาจต้องเติมน้ำมันเอง หากจำไม่ได้ก็มีคู่มือ (manual) เป็นหลักปฎิบัติ"
  • ในกฎการบิน "ต้องรู้ทุกสิ่งอย่างในการทำให้เครื่องบินนั้นขึ้นและลงได้อย่างปลอดภัย" น่าจะตรงกับทางวิสัญญีในปกหน้าของหนังสือวิสัญญีสารที่ว่า "วิสัญญี เพื่อทุกชีวีปลอดภัย (Anesthesia : Safety for All)"


การสื่อสาร (Communication)

หมายถึง กระบวนการส่งข้อมูลข่าวสารไปยังผู้รับข่าวสาร ซึ่งที่มีทั้งใช้วาจา (verbal) และ ช่องทางอื่นที่มิใช่วาจา (non verbal) เช่น ท่าทาง ผลลัพธ์สุดท้ายที่ดีที่สุดของการสื่อสาร คือ ความเข้าใจที่ตรงกันทั้งผู้ส่งและผู้รับ

หัวใจสำคัญของการสื่อสารต้อง 3C คือ clear (ชัดเจน), concise (กระชับ) และ correct (ถูกต้อง ตรงกัน)

เรื่องที่ได้เรียนรู้

  • ตัวอย่าง การสื่อสารผิดพลาดทางการบินเรื่องเครื่องยนต์ที่ปีกเครื่องบิน เครื่องยนต์ที่ 1 ถึง 4 เริ่มนับจากปีกเครื่องบินด้านซ้ายมือไปขวามือของนักบินความผิดพลาดเกิดเมื่อกรณีลูกเรือหันหลังให้นักบินทำให้นับสลับกัน เรื่องนี้น่าจะเข้าได้กับการทำ mark site การผ่าตัด ที่ถือเอาข้างซ้าย-ขวาของผู้ป่วยเป็นหลัก เพื่อป้องกันความผิดพลาด
  • ทางการบินมีการ cross check และ assertive เป็นการแสดงออกด้วยคำพูดหรือกริยาที่เรามีความเห็นเรื่องหนึ่งเรื่องใดโดยไม่ปิดบัง ไม่อ้อมค้อม และไม่ก้าวร้าว เช่น เป็นข้อตกลงทางการบนว่า กรณีนักบินที่ 1 ตัดสินใจไม่เป็นไปตามมาตรฐาน นักบินที่ 2 (copilot)สามารถเตือนได้ และหากเตือน 2 ครั้ง ไม่ตอบกลับถือว่านักบินที่ 1 หมดสภาพการบินให้นักบินที่ 2 บินแทนได้นักบินทุกคนต้องมี SOP (Standard Operating Procedure)
  • ทางวิสัญญี มข.มีวัฒนธรรมการเรียนรู้ร่วมกันทุก 2 สัปดาห์ โดยนำข้อผิดพลาดมาเรียนรู้ รศ.วราภรณ์ เชื้ออินทร์ หัวหน้าภาควิชาฯ ในขณะนั้นกล่าวกลางที่ประชุมว่า ให้วิสัญญีพยาบาลสามารถทักท้วงได้ หากอาจารย์คำนวณขนาดยาผิดพลาดซึ่งถือเป็นสิ่งที่ดี

ภาควิชาวิสัญญีฯ ได้รับคำชมจากชาวการบินว่า เราใช้ความปลอดภัยของผู้ป่วยเป็นที่ตั้ง

น่าภูมิใจค่ะ

,,,

โปรดติดตามต่อได้ในบันทึกถัดไปค่ะ

หมายเลขบันทึก: 587114เขียนเมื่อ 6 มีนาคม 2015 14:03 น. ()แก้ไขเมื่อ 10 ตุลาคม 2016 16:27 น. ()สัญญาอนุญาต: ครีเอทีฟคอมมอนส์แบบ แสดงที่มา-ไม่ใช้เพื่อการค้า-ไม่ดัดแปลงจำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (0)

ไม่มีความเห็น

อนุญาตให้แสดงความเห็นได้เฉพาะสมาชิก
พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท