ปลูกต้นไม้เพื่อชีวิต...และเพื่อโลก


.ผมเติบโตและเรียนรู้มากับยุคสมัยของการพัฒนาที่แยกส่วน

ใช้เงินเป็นตังตั้งหรือเป็นเป้าหมายของชีวิตและเป้าหมายของการพัฒนา
ที่พอเวลาผ่านไป ชีวิตของผู้คนยิ่งออกห่างจากธรรมชาติ
ใช้ความรู้ที่คิดว่าเป็นความรู้สมัยใหม่ในการดำเนินชีวิต
....ยิ่งนานวัน ก็ยิ่งได้ข้อสรุปของการดำเนินชีวิต
ที่ต้องทำงานๆๆๆ แต่ชีวิตกลับตอบตัวเองไม่ได้ว่าความสุข
ที่แท้จริงมันคืออะไรกันแน่ หลายคนคงคิดไม่แตกต่างกัน
ชักจะไม่ชอบวันจันทร์เสียแล้ว เพราะต้องออกไปทำงาน
แต่พอวันหยุด กลับรู้สึกปลอดโปร่ง สบายใจ
แม้จะต้องออกไปทำงานกลางแดดจ้าในวันเสาร์-อาทิตย์
จนร่างกายอ่อนเพลีย...

...จนเมื่อหลายปีก่อน ได้มีโอกาสไปร่วมงานเฮฮาศาสตร์
ได้ไปเยียมเยียนสวนป่าพ่อครูบาสุทธินันท์ ที่สตึก บุรีรัมย์
ซึ่งเป็นเสมือนบ้านหลังที่สองของคนแซ่เฮ เห็นป่าปลูก
ที่เจริญเติบโตแม้จะอยู่ในถิ่นกันดารแล้วชื่นใจ
เลยนำต้นไม้เข้ามาปลูกแซมไว้ในสวนผลไม้
บางต้นก็โตพอที่จะใช้งานได้แล้ว
แต่ที่สวนก็ยังมีไม้ผลบางส่วนไว้ ก็เพราะว่า
กระบวนทัศน์เดิมยังหลงเหลืออยู่คือยังต้องการ
ผลผลิตเพื่อเปลี่ยนเป็นตัวเงิน คือความคิดเดิมๆ

....แต่เมื่อมามองย้อนหลังเปรียบเทียบกับการลงทุน
ลงแรง และผลตอบแทนที่ได้ระหว่างการปลูกไม้ผล
กับไม้ป่าแล้ว ถ้าคิดต้นทุนทุกอย่างแล้ว
ผมว่าไม้ป่าได้กำไรมากกว่าหลายช่วงตัว
เพราะไม่ต้องลงทุนมาก ไม่ต้องดูแลมาก
....หลายท่านอาจคิดแย้งว่าไม้ผลน่าจะดีกว่า
ก็จริงครับไม่ขอแย้ง จริงของท่าน
แต่สำหรับผมแล้วนึกเสียดายว่า
ทำไมผมไม่คิดปลูกไม้ป่าเสียตั้งแต่แรก
ป่านนี้เวลาผ่านไป 20 ปี ผมคงมีความสุข
มากกว่าทุกวันนี้อย่้างแน่นอน

....ตั้งแต่นั้นมา(ก็ไม่กี่ปีมานี้เอง) ผมเริ่มนำไม้ป่ามาปลูกแซม
ปลูกแซมไว้ห่างๆ และหากมีโอกาสไปแลกเปลี่ยน
ประสบการณ์ที่ไหนก็จะแนะนำให้ผู้ที่พอมีที่ดิน
หากยังปลูกพืชเพื่อการค้าใดๆ อยู่ก็ไม่เป็นไร
ขอให้แซมไม้ป่าไว้บ้าน ต้นสัก 50-100 ต้นก็ยังดี
ปลูกห่างๆ ไว้ต้นจะโตดีมาก หรือไม้ประจำถิ่นอื่นๆ
ก็ได้ ต้นสักปลูกไว้เมื่ออายุเกิน 20 ปี ก็สามารถนำมา
สร้างบ้านได้เป็นหลังแล้วละครับ (แบบพอเพียง)

....ปีนี้ตั้งใจว่าจะปลูกไม้ป่าแซมอย่างจริงจัง
เอาให้เต็มพื้นที่ อยากตื่นขึ้นมาแล้วอยู่ท่ามกลาง
ต้นไม้ อยู่กับธรรมชาติที่เราสร้างขึ้นมาได้เอง
เปลี่ยนความคิดตัวเองจากการปลูกต้นไม้เพื่อรายได้
หรือเพื่อเงิน มาเป็นปลูกต้นไม้เพื่อชีวิตของเราเองกันดีกว่า

คำสำคัญ (Tags): #เฮฮาศาสตร์
หมายเลขบันทึก: 588276เขียนเมื่อ 31 มีนาคม 2015 15:37 น. ()แก้ไขเมื่อ 31 มีนาคม 2015 15:37 น. ()สัญญาอนุญาต: ครีเอทีฟคอมมอนส์แบบ แสดงที่มา-ไม่ใช้เพื่อการค้า-ไม่ดัดแปลงจำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (5)

ดีใจมากๆๆที่ได้มีโอกาศได้อ่านข้อความเหล่านี้..มาสนับสนุน..ความคิดนี้..เจ้าค่ะ...(ถ้าเป็นไปได้..ละก็..พยายามให้เป็นพืชต่างชนิดค่ะ..อย่าเป็นสักอย่างเดียวหากเป็นไม้เนื้อแข็งที่เราเคยมีอยู่มากมาย..นับไม่ถ้วน..นับวันมีแต่จะสูญพันธุ์ไป..เพราะ..มีปัญหาการปลูกกับคำว่าไม้หวงห้าม(..ห้ามตัด...)มีคนปลูก.(อย่างยายธี)และ.โดนแต่ขโมยตัด..(อิอิ)..ข้อดีของการปลูกไม้ต่างชนิด..คือผลพวงของวัฏรจักร..ความเป็นอยู่..ของนกสัตว์แมลงที่อาศัยเกื้อกูลกันอยู่..จะกลับมาอีกครั้ง...ป่าธรรมชาติคือป่าต้นแบบ..ไม้ต่างชนิ.ด.ต่างความสูง...ต่างพันธุ์..คือความสมบรูณ์อยู่ในธรรมชาติก่อนที่จะถูกทำลายเพื่อปลูกพืชเชิงเดี่ยวอย่างที่เป็นอยู่เวลานี้...(ความคิดเห็นนี้..เป็นเพียงแบบฝึกหัดที่ประสพมา..เป็นเวลายี่สิบปี..ไม่ได้เป็นเรื่องวิชาการให้อ้างอิง..โปรดเข้าใจ..)...

นี้เป็นไม้แดงโตช้ามากๆเป็นไม้เนื้อแข็งที่ไม่มีแล้วในป่าทั่วไปอายุยี่สิบปีโตเพียงสิบห้าเซนติเมตร..ถูกขโมยตัด..(อาจจะเอาไปทำเสา..กระต๋อบ..หรือไม่ก็ทำฟืน.)..ถ้าไปบอกตำรวจท้องที่..เขาก็จะมาถ่ายรูปทำหลักฐาน..แต่ไม่เคยจับมือใครดมได้..และหากร้องเรียนมากๆก็จะถูกเตือนว่าระวังปากไว้หน่อย..แก่แล้วควรระวังต้วให้ดี..(อิ?.เออะ?ล่ะเจ้าค่ะ...)...เป็นความจริงที่ประสพมา..(.ไม่มีใคร..อยากปลูกป่า..ไม้ป่าหายากเพราะไม่ได้รายได้โดยตรงแถม..อาจเจ็บตัว..ด้วยราคาค่างวดของความต้องการของคน..ที่ไม่อยากปลูก)...

พี่สิงห์มีพื้นที่มาก

ปลูกเพิ่มเลยครับ

ดีใจๆที่ได้อ่านบันทึกดี

มีโอกาสจะแวะไปคารวะครับ

ยังไปไม่ถึงสวนพ่อครูบา สักที ฝันไว้นานแล้ว

Let us copy an ecology of a thriving forest (trees, weeds, insects,..., bacteria, fungi,..., all). Use it as our model for "world development" and learning. We may even "hope" that everything will turn out right. Butwe may intervene by creating "conditions" (of simple 'earth, water, wind, and fire' elements) to learn what work best (quickest) to return to our "real world" systems again.

อนุญาตให้แสดงความเห็นได้เฉพาะสมาชิก
พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท