SHA CUP


โรงพยาบาลชุมชนจึงเป็นทั้ง ผุ้ให้การรักษาพยาบาล สร้างสังคมที่ดีงาม อนุรักษ์วิถีชีวิตและวัฒนธรรม ใช้มิติทางจิตใจมาเป็นเครื่องนำพาการดำรงชีวิตอย่างมีสติ

การบูรณาการมิติจิตใจในหน่วยบริการปฐมภูมิแบบไร้รอยต่อ

เมื่อสรพ.ได้มีโอกาสทำงานร่วมกับโรงพยาบาลชุมชน และนำมาตรฐานของระบบงานด้านชุมชนมาเป็นส่วนหนึ่งในการเชื่อมระบบคุณภาพที่ดีลงสู่ชุมชนเพื่อประชาชนมีส่วนร่วมและเกิดพลังในการดูแลสุขภาพของตนเองมากยิ่งขึ้นสิ่งที่ค้นพบประการหนึ่งคือ คนที่ทำงานในโรงพยาบาลชุมชน ซึ่งเป็นจุดที่ใกล้ชิดกับประชาชนนั้น จะมีคุณสมบัติที่เด่นมากประการหนึ่งคือการมีมนุษยสัมพันธ์ที่ดี

และยิ่งเป็นโรงพยาบาลชุมชนที่มีผลงานเด่นๆ เรามักพบว่าเริ่มตั้งแต่ผู้บริหาร ทีมทำงานและคนทำงานทุกคน จะเป็นผู้ที่มีความสัมพันธ์อย่างใกล้ชิดกับชาวบ้าน กับประชาชน อันอาจจะเนื่องมาจากลักษณะงานที่ต้องมีความใกล้ชิดกับชาวบ้านมากกว่าโรงพยาบาลขนาดใหญ่

ความสัมพันธ์อันนี้มีผลต่อความสัมพันธ์ภายในขององค์กรด้วยโรงพยาบาลบางแห่งจึงแทบจะไม่มีช่องว่างระหว่างโรงพยาบาลกับชุมชนเลย

ที่โรงพยาบาล อุบลรัตน์ และโรงพยาบาลน้ำพอง จังหวัดขอนแก่น ได้สร้างความสัมพันธ์กับชาวบ้านโดยให้ประชาชนเป็นผู้ช่วยคัดเลือกเด็กนักเรียน ซึ่งเป็นลุกหลานของชาวบ้านมาช่วยเป็นอาสาสมัครดุแลผู้ป่วยในโรงพยาบาลซึ่งมาจากชุมชนนั้นเอง เด็กนักเรียนที่มีเป้าหมายที่จะเป็นแพทย์ หรือพยาบาลจึงมีโอกาสได้สัมผัสการทำงานที่ต้องใช้ทั้งความรู้และความรัก ความเมตตาจากใจในเบื้องต้น

และหากเด้กคนใดมีความรักและความผุกพันธ์ในงานที่ทำนั้น ทั้งชุมชนและดรงพยาบาลจะช่วยกันหาทางที่จะสนับสนุนให้เด้กนักเรียนได้มีโอกาสได้เข้าเรียนในวิชาชีพที่ตนเองรักและศรัทธา

แนวคิดนี้ จึงเป็นแนวคิดที่สร้างคนทำงานที่มาจาก" ศรัทธา" และ" ความรัก ในงานเป็นอันดับแรก หล่อหลอม เป้าหมายของการทำงานและเป้าหมายของชีวิตเป็นเรื่องเดียวกันเป็นแนวคิดที่หล่อหลอมอุดมการณ์อย่างชาญฉลาดเป้นการปลุกฝังแนวคิดที่อยากจะ" ให้" มากกว่าอยากจะ" ได้"

โรงพยาบาลชุมชนบางแห่ง เฝ้ามองการเปลี่ยนแปลงของสังคมและปัญหาต่างๆที่เกิดขึ้น แล้วนำไปทบทวนกับชาวบ้านสัมผัสชีวิตจริงรับรู้เรื่องราวในแง่มุมต่างๆ เพื่อนำมาวิเคราะห์สาเหตุที่แท้จริงกลับกลายเป็นว่า การแก้ปัญหาและการสร้างสุขภาวะที่ดีนั้น สามารถสร้างได้โดยชาวบ้านเองและมีความยั่งยืนมากกว่าเช่นปัญหาการติดเหล้าบุหร่การพนันปัญหาภาวะทุโภชนาการ เป็นต้น

บทบาทของโรงพยาบาลชุมชน จึงขยับบทบาทในการเป็นพี่เลี้ยง ค่อยๆขยับปรับเปลี่ยนวิธีคิด วิธีการดำรงชีวิต ให้ยึดความพอเพียง มีความพอดี ไม่หลงใหลในวัตถุนิยม จนทำให้วัฒนธรรมอันดีงามเสื่อมสลายไป

โรงพยาบาลบางแห่งคือที่พักพิงจิตใจของชาวบ้าน เป็นสถานที่เรียนรุ้ของชาวบ้านและเด็กๆในหมู่บ้านโรงพยาบาล โรงเรียน วัด และชุมชนมีความสัมพันธ์กันอย่างใกล้ชิดไม่แยกส่วน

โรงพยาบาลชุมชนจึงเป็นทั้ง ผุ้ให้การรักษาพยาบาล สร้างสังคมที่ดีงาม อนุรักษ์วิถีชีวิตและวัฒนธรรม ใช้มิติทางจิตใจมาเป็นเครื่องนำพาการดำรงชีวิตอย่างมีสติ

การบูรณาการงานอย่างเชื่อมโยงกันนี้ จึงไม่ใช่งานธรรมดา

สรพ.จึงค่อยๆขยับจากการกระตุ้นให้มีการพัฒนาคุณภาพในโรงพยาบาลมาสู่ฝันที่ยิ่งใหญ่กว่า

" คือการบูรณาการงานทุกอย่างเข้าด้วยกัน ตั้งแต่การทำงานตามมาตรฐาน การทำงานร่วมกับชุมชนอย่างเข้าใจในการค้นหาสภาวะสุขภาพการส่งต่อผุ้ป่วยในเครือข่าย การเชื่อมโยงมาตรฐานการน้อมนำแนวคิดเศรฐษกิจพอเพียงและการสร้างความสุขจากการเห็นคุณค่าในงาน"

" การพัฒนาเครือข่ายบริการปฐมภูมิ อันประกอบด้วยหน่วยงาน สถานพยาบาล โรงพยาบาลชุมชนโรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพ สถานีอนามัย อาสาสมัคร องค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น และชุมชน มีการทำงานร่วมกัน เริ่มจากการกำหนดปัญหาสาธารณสุขที่ค้นหาและยอมรับร่วมกันเชื่อมโยงปัยหานั้น ด้วยมิติคุณภาพที่ครบถ้วน ทั้งด้านมาตรฐาน การเข้าถึง ความพอเพียง และไร้รอยต่อ คนทำงานมีพลังใจในการทำงานร่วมกันงานนั้นมีคุณค่า และประชาชน คนทำงานมีความสุข

เป้าประสงค์ ระบบบริการสุขภาพระดับเครือข่าย มีความเชื่อมโยงอย่างไร้รอยต่อ มีมาตรฐานการทำงานร่วมกันระหว่างโรงพยาบาลชุมชน รพ.สต.และชุมชน มีผลให้ประชาชน มีความตระหนัก ในการดูแลสร้างเสริมสุขภาพและป้องกันโรคได้ด้วยตนเอง โดยภาคีเครือข่ายและองค์กรในพื้นที่อย่างมีส่วนร่วมอยู่ร่วมกันอย่างเอื้ออาทร

๖.๑.๔ วัตถุประสงค์

  1. สนับสนุนระบบบริการสุขภาพในระดับชุมชน มุ่งเน้นการแก้ไขปัญหาสุขภาพของคนในพื้นที่ เชื่อมโยงระบบบริการสุขภาพที่มีคุณภาพร่วมกัน ระหว่างรพช. รพ.สต.และชุมชน (Seamless Healthcare)
  2. สนับสนุนระบบบริการที่มีนวัตกรรมและรูปแบบ อันเกิดจากการรับฟังความคิดเห็น ความต้องการ และพื้นฐานชีวิตของประชาชน เชื่อมต่อกับวิถีชีวิต คุณค่าของสังคม รวมทั้งมิติทางด้านจิตใจ นำเอกลักษณ์และวิถีไทย มาบูรณาการในระบบบริการและบนพื้นฐานสิทธิที่ประชาชนควรได้รับ
  3. สนับสนุนการทำงานที่มีความปลอดภัย (safety) มีมาตรฐาน (standard) และรวมทั้งยกระดับมิติจิตใจ (spirituality) เพิ่มมากขึ้น เพื่อนำไปสู่สุขภาวะและความยั่งยืน
  4. สนับสนุนการทำงานที่ยึดหลักความพอเพียง (sufficiency economy) และความเป็นไทย
  5. ส่งเสริมการขับเคลื่อนระบบสุขภาพด้วยระบบเครือข่าย (network) และการแลกเปลี่ยนเรียนรู้ (learning) ในปีแรก สรพ.ได้คัดเลือกเครือข่ายบริการปฐมภูมิจำนวนสี่แห่ง ที่มีความสนใจเข้าร่วมเรียนรู้และแลกเปลี่ยนแนวคิดนี้ ประกอบด้วยเครือข่ายรพ.เสาไห้เครือข่าย รพ.หนองวัวซอเครือข่ายรพ.ยางตลาดและเครือข่าย รพ.สันทราย

นัดประชุมครั้งแรกที่จังหวัดเชียงใหม่ โรงแรมเมอร์เคียวดูท่าทางคนที่มาร่วมประชุมยังค่อนข้างงงๆ

เมื่อแม่ต้อยเล่า วัตถุประสงค์ ขั้นตอนการดำเนินงาน และเหตุผลที่เลือกโรงพยาบาลชุมชน ได้แก่ โรงพยาบาลสันทราย โรงพยาบาลยางตลาด โรงพยาบาลเสาไห้ และโรงพยาบาลหนองวัวซอ เข้าร่วมในโครงการเสริมสร้างมิติจิตตปัญญาในเครือข่ายบริการปฐมภูมิ รายละเอียดสรุปได้ดังนี้

"โครงการเสริมสร้างมิติจิตตปัญญาในเครือข่ายบริการปฐมภูมิ หรือ SHA CUP เริ่มจากประสบการณ์เข้าเยี่ยมโรงพยาบาล เข้าเยี่ยมชุมชน มองเห็นพลังในชุมชนที่มีมาก มีโรงพยาบาลหลายแห่งภายในประเทศที่พัฒนาการดำเนินงาน โดยเริ่มจากชุมชน จากการค้นหาความต้องการที่แท้จริงของชุมชน หากแต่ หน่วยงานด้านสุขภาพระดับสูง ยังไม่สามารถเข้าถึงข้อมูลดังกล่าวได้มากนัก หลังจากที่สถาบันรับรองคุณภาพสถานพยาบาล (สรพ.) ปรับมาเป็นองค์กรมหาชน ภารกิจหลักของสถาบันจากเดิมที่ดำเนินการในการประเมินขั้นการรับรองในโรงพยาบาล มีการขยายออกไปสู่สถานพยาบาลในระดับอื่นด้วย เช่น รพ.สต. โรงพยาบาลในระดับหน่วยบริการปฐมภูมิ ทาง สถาบันจึงเห็นควรว่าควรมีการพัฒนาคุณภาพในเชื่อมโยง ครอบคลุมสถานพยาบาลในทุกระดับ จึงได้จัดทำโครงการ SHA CUP ขึ้น เริ่มจากคัดเลือก CUP 4 แห่ง เพื่อให้ขับเคลื่อนการพัฒนาคุณภาพในลักษณะเครือข่าย โดยคัดเลือกและเชิญชวน รพ.ที่มีต้นทุนสูงมาร่วมสานฝัน ในระยะเวลา 3 ปี ซึ่งสรพ.เห็นว่าทุกๆ CUP มีความรู้ฝังลึกในตัวคนทำงานมาก ซึ่งเป็นโอกาสดีที่จะเชื่อมความต้องการที่แท้จริงของชุมชนกับระบบบริการที่มีอยู่ของรพ.ให้ประสานเป็นเนื้อเดียวกัน โดยการใช้มิติจิตตปัญญา ซึ่งการทำงานของ รพช. รพสต. ชุมชน ต่างก็มีมาตรฐานการทำงาน เช่นรพ.ใช้มาตรฐาน HA, PCA TQA

เชิญชวนให้รพ.นำปัญหาสำคัญของพื้นที่ หรือปัญหาสุขภาพมาคิดร่วมกันกับชุมชน และเครือข่ายว่าบทบาทของแต่ละคนที่เกี่ยวข้องจะต้องทำอย่างไร จะเชื่อมโยงกันอย่างไร ให้เห็นภาพของการร้อยเรียงเหมือนการตามรอยไหม เป้าหมายของโครงการ

"ระบบบริการสุขภาพระดับเครือข่าย มีความเชื่อมโยงอย่างไร้รอยต่อ มีมาตรฐานการทำงานร่วมกันระหว่างโรงพยาบาลชุมชน รพ.สต.และชุมชน มีผลให้ประชาชน มีความตระหนัก ในการดูแลสร้างเสริมสุขภาพและป้องกันโรคได้ด้วยตนเอง โดยภาคีเครือข่ายและองค์กรในพื้นที่อย่างมีส่วนร่วมอยู่ร่วมกันอย่างเอื้ออาทร"

เมื่อเริ่มต้นจากความเข้าใจตรงกัน จึงค่อยๆคืบคลานสู่ภาพฝัน SHARE Vision ร่วมกัน อีกครั้งหนึ่ง เป้นการสร้างความฝันร่วมของคนที่มีอุดมการณ์อันเดียวกัน มีจิตใจและความมุ่งมั่นสุ่เป้าหมายเดียวกัน

สิ่งที่นำมาเป็นฐานคิดของการสร้างระบบบริการอย่างไร้รอยต่อคือ กลุ่มหรือสภาวะโรคที่ภาคีเครือข่ายและชาวบ้านช่วยกันคัดเลือกขึ้นมา โดยมีตัวเชื่อมที่สำคัญคือ 4 spectrum of healthcare system, Quality concept , spirituality และแนวคิดการทำงานกับชุมชน เป็นสำคัญ

และแทบไม่น่าเชื่อว่าภาพฝันในวันนั้นเริ่มจะมีความเป็นจริงได้ในวันนี้ในปัจจุบันเรามี นวัตกรรมใหม่ของการจัดระบบบริการอย่างไร้รอยต่อ ถึง ๔ รุปแบบ ซึ่งมีความแตกต่างกัน และนำมาแลกเปลี่ยนเรียนรู้กันอย่างต่อเนื่อง มีทีมสหสาขาวิชาชีพ ที่เชื่อมระหว่างรพช. รพสต. อสม. ที่มีความรักใคร่และมีความผุกพันกัน ส่งผลดีต่อระบบบริการที่เต้มไปด้วยความปรารถนาดี และความรักความเมตตาต่อชุมชน

และสิ่งที่เกินความคาดหมายคือ สรพ.ได้รับการคัดเลือกให้นำแนวคิดนี้ เสนอในการประชุม "International Forum Quality & Safety in Health care ระหว่างวันที่ ๑๕-๒๑ เมษายน ๒๕๕๖ ณ . Excel ExibitionLondon ประเทศอังกฤษ

นับว่าเป็นย่างก้าวที่งดงามของการขยับระบบคุณภาพลงสู่งานชุมชน โดยให้ครอบคลุ่มระบบบริการสุขภาพทุกระดับแบบไร้รอยต่อ ตั้งแต่ระดับการให้บริการในหน่วงยงาน Institutional care, ระดับชุมชน Community Crae, การดูแลตนเองSelfcare. และการดุแลที่บ้าน Homecare รวมถึงการค้นหา caregiver หรือผุ้ดุแลผุ้ป่วยซึงจะเริ่มมีบทบาทที่สำคัยยิ่งต่อระบบบริการสุขภาพในระยะเวลาอันใกล้นี้

แนวคิดของการบูรณาการมิติจิตตปัญญาเข้าไปในระบบบริการสุขภาพระดับปฐมภูมินี้ จึงเป็นอีกการขับเคลื่อนการพัฒนาคุณภาพของสรพ.ในปี ๒๕๕๖ นี้.

สวัสดีคะ

แม่ต้อย

คำสำคัญ (Tags): #Spiritual in Health care
หมายเลขบันทึก: 589285เขียนเมื่อ 24 เมษายน 2015 12:57 น. ()แก้ไขเมื่อ 24 เมษายน 2015 12:57 น. ()สัญญาอนุญาต: ครีเอทีฟคอมมอนส์แบบ แสดงที่มา-ไม่ใช้เพื่อการค้า-ไม่ดัดแปลงจำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (0)

ไม่มีความเห็น

อนุญาตให้แสดงความเห็นได้เฉพาะสมาชิก
พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท