662. เรียนรู้เรื่องทุนทางปัญญา (Intellectual Capital) จากหนัง "ตำนานสมเด็จพระนเรศวรมหาราช"


Intellectual Capital

หนังที่ผมมีความสุขที่ได้ดูทุกตอนคือ " ตำนานสมเด็จพระนเรศวรมหาราช" ผมดูมาทุกตอน ยกเว้นภาค 5 และเมื่อภาค 6 มาผมก็เลยไปดูทั้งภาค 5 ก็คือ "ยุทธหัถถี" และภาค 6 คือ "อวสานหงสา".. การที่ผมได้ดูหนังเรื่องนี้ถึงสองตอนในระยะเวลาติดกัน ทำให้ผมเห็นอะไรบางอย่าง ภาพที่ติดตาของผมในภาค 5 ก็คือภาพที่มังรายกะยอชวาคอขาดตาย แต่ดูท่านไม่ได้ตายอย่างทุรนทุราย ตอนสิ้นพระชนม์ท่านดูสงบ เหมือนได้ตายอย่างสมศักศรีดิ์ศรี ได้ทำตามหน้าที่ ดูเป็นภาพที่ถ้าผมเป็นคนหงสา ก็คงคิดว่าท่านกล้าหาญที่สุด ทำได้ดีที่สุดแล้ว

คำว่ากล้าหาญที่ดังก้องอยู่ในหัวผมนี่เอง ที่ทำให้ผมเริ่มมองภาพรวมทั้งหมดตั้งแต่ภาคแรกจนถึงภาคหก แล้วผมก็ตั้งคำถามว่า เอ๊ก็ดูกล้าหาญหมดนะ ฝั่งของเราก็กล้าหาญลุยสุดๆ ฝั่งเขาเองก็กล้าหาญมากไม่ได้ด้อยกว่ากัน แต่ที่สุดทำไมคนกล้าหาญอย่างนันทบุเรงที่ไม่เคยกลัวพระนเรศวรเลย มหาอุปราชที่ทั้งๆรู้ว่าสู้แล้วตาย ก็ยังสู้ นี่ก็กล้านี่น่า ที่สำคัญทำไมแพ้ถึงขั้นที่หงสาวดี เมืองหลวงที่ยิ่งใหญ่ที่สุดในยุคนั้นถูก Shutdown ตัวคิงส์นันเองก็เอาชีวิตไม่รอดในที่สุด เรียกว่ากล้าหาญจนพัง ส่วนทางเราก็กล้าหาญ สู่กับศัตรูที่ดูเหนือกว่า ก็กล้าเหมือนกันแต่ที่สุดเรากับโตจนเป็นมหาอำนาจแห่งยุคได้

ผมเลยอยากวิเคราะห์ว่าเกิดอะไรขึ้นกับทางระบอบหงสา เท่าที่เห็นมาตั้งแต่ภาค 5 ก็คือนันทบุเรงสั่งให้บุก แต่ทุกคนทัดทานไว้ว่า "ไม่พร้อม" แต่ที่สุดก็ยังดึงดันให้บุก ที่สุดลูกชายสุดที่รัก ก็ต้องไปสิ้นพระชนม์ที่เมืองไทย พอภาค6 ก็ก่อเรื่องอีก เมื่อทราบลูกชายเสียชีวิต นันทบุเรงก็สั่งเผาแม่ทัพนายกองทั้งเป็น แถมยังประหารพระพี่นางสุพรรณกัลยา จนเป็นที่มาของการที่สมเด็จพระเนรศวรประกาศยกทัพไปปราบหงสา ด้วยเหตุที่ว่าหงสาทำ "ผิดประเพณี" ประหารองค์ตัวประกัน และที่สุดนันทบุเรงก็ต้องหนี เนื่องจากไม่มีใครยกทัพมาช่วย แถมพระเจ้าตองอูที่เป็นพี่น้องกันก็บอกให้หนี เพราะหาสา "ไม่พร้อม"รับศึก... คุณจะเห็นคำว่า "ไม่พร้อม" หลุดมาตั้งแต่ภาค 5 แล้ว แน่นอนความไม่พร้อมนี้เป็นสาเหตุหนึ่งที่ผมเชื่อว่าทำให้หงสาต้องถูก Shutdown ความไม่พร้อมนี้

"ความไม่พร้อม" นี้หากมองตามหลักของการพัฒนาองค์กร เราเรียกว่า Intellectual Capital (ทุนทางปัญญา) คุณจะเห็นว่าภาค 5 มหาอุปราช มีกำลังมากกว่า แต่ก็แพ้เสียทีกษัตริย์ไทย เอาเป็นว่าหงสาตั้งแต่รบกับพระเนรศวนมาตั้งแต่แรกๆก็แพ้ทางโดยเฉพาะด้านสติปัญญากับพระนเรศวรตลอดมาก เรามาวิเคราะห์ต่อครับ ทุนทางปัญญษประกอบด้วยสามทุนย่อย คือ Human Capital คือกำลังคนที่มีทัศนคติ และมีทักษะ ซึ่งก็แปลกครับนัทบุเรงรับมรดกกองทัพที่ประกอบด้วยบุคลากรชั้นยอดมาจากบุเรงนอง ผู้ชนะสิบทิศ นี่น่าจะพอ แล้วอะไรหล่ะที่ทำให้แพ้ ผมว่าผมเริ่มเห็นแล้วครับ Social Capital (ทุนความสามารถในการทำงานร่วมกัน) ซึ่งเท่าที่ดูรุ่นพ่อนี่สุดยอด เพราะคลุกคลีกับทหารมาตั้งแต่ต้น ตอนหลังดูเหมือนจะอยู่ในวังมากกว่า และไม่ค่อยฟังใคร แถมยังทำงานร่วมกับลูกไม่ค่อยได้ ยังมีดูถูกลูกชาาย จนต้องออกรบทั้งๆที่ดูแล้วว่ากำลังพลไม่พร้อม

แถมที่สร้างความหายนะแบบเต็มก็คือการใช้นโยบายผิดๆ คือการไม่ใช้ทุนด้านโครงสร้าง (Structural Capital) ซึ่งคือนโยบายดีๆ ขั้นตอนดีๆ ทิศทางดีๆ ที่บุเรงนองเคยทำ คือในภาค 5 นันทบุเรงสั่งให้ยกทัพบุกทำลายกรุงศรี ทั้งๆที่เพิ่งกลับจากศึกมา เสบียงก็ไม่พร้อม ขวัญกำลังใจไม่พร้อม การวางกลยุทธ์ไม่รัดกุมพอ ที่สุด Human Capital ก็สั่นคลอน ไม่พร้อมจริง ที่สุดไปรบกับพระนเรศวรที่สั่งสมคนเก่งคนดีมามากพอ แถมคลุกคลีสร้างบารมีกับกำลังพลมาก่อน ร่วมเป็นร่วมตายกันมาก่อน คือพร้อมทั้ง Human Capital และ Social Capital สุดท้ายที่สมบูรณ์มากๆก็คือ Structural Capital การที่เคยได้อยู่ไกล้ชิดกับมหาราชอย่างบุเรงนองมา ได้ครูดีอย่างมหาเถรคันฉ่อง พร้อมลำบากมาแต่เด็ก ทำให้ท่านวางแผนอย่างรัดกุม มีนโยบายดีๆ ทหารก็ถวายความคิดอย่างเต็มกำลัง จำได้ท่านไม่เยี่ยมกำลังพลก็แต่ตัวธรรมดา จะเห็นท่านมี Intellectual Capital เต็มเปี่ยม ที่สุดท่านก็รบชนะมหาอุปราช

เมื่อกองทัพกลับไปนันทบุเรงโกรธครับ หันไปฆ่านายทัพ ทหารเก่งๆ ไปหมด จบเลยครับ นี่คือการทำลายทุกอย่างที่สั่งสมมาจากรุ่นพ่อ แถมฆ่าพระสุพรรณกัลยาไปอีกซึ่งผิดประเพณีผิด Structural Capital อย่างรุนแรง นี่พังเลย Human Capital หาย Social Capital ถูกทำลาย พระนเรศวรก็ยกทัพมาแก้แค้น แต่ก่อนมาท่านก็เตรียมความพร้อมทั้งหมด ส่วนหงสาเอง เมื่อทำลายความพร้อมตัวเองหมดแล้ว ก็ไม่เหลืออะไร พอรู้พระนเรศวรจะมาก็ประกาศเกณฑ์ทัพเมืองอื่นๆ ก็ไม่มีใครส่งกองทัพมาช่วย เพราะทุกเมืองมองว่าแย่แล้ว พังแน่ เพราะไม่เหลืออะไร สุดท้ายก็พัง ยังไม่ทันยกไปถึง นันทบุเรงก็หนี เมืองก็ถูกเมืองไกล้ๆมาปล้น

คุณจะเห็นว่าหงสา พังด้วยตนเอง พังจากข้างใน พังเพราะไม่พร้อม เพราะขาดการสั่งสม การต่อยอดทุนเดิมที่มีอยู่ ถ้าเปรียบกับบริษัทก็ขาดการพัฒนาองค์กรอย่างต่อเนื่องนั่นเอง จะเห็นว่าองค์กรจะยิ่งใหญ่เพียงไหน แต่หากขาดทุนทางปัญญา เมื่อถึงเวลาก็ไม่สามารถจะสู้กับใครได้ ที่สุดก็ล่มสลายไปอย่างน่าเสียดาย

เพราะฉะนั้นองค์กรต้องวางเป้าหมาย ในการพัฒนาองค์กรระยะยาว การพัฒนาองค์กร (OD) จึงไม่ใช่เพียงการทำ Team Building เท่านั้น หาแต่มองระดับกลยุทธ์ทีเดียว ซึ่งต้องพัฒนาทุนทั้งสามทุน ต้องสร้างวิสัยทัศน์ เครื่องมือ OD ที่ช่วยสร้างวิสัยทัศน์จนถึงแผนปฏิบัติการอย่างครบวงจรก็ก็ได้แก่ Appreciative Inquiry Summit (AI) และอีกหลายๆเครื่องมือครับ เรื่องการสร้าง Structural Capital ดีๆ นี้ผมจะมาเล่าอย่างละเอียดในบทวิเคราะห์ตอนต่อไปนะครับ

ส่วนในตอนนี้ ส่ิงที่ผมอยากให้ผู้บริหารตรวจสอบก็คือ ดูสิครับว่านโยบายของเรา (ทุนทางโครงสร้าง) นี้ทำให้คนในองค์กรมีทักษะ และทัศนคติดีขึ้นไหม เพราะถ้าเก่งขึ้นแต่ทัศนคติแย่ลงก็ไม่ไหว ขั้นต่อไปลองดูสิว่าสามารถทำงานร่วมกันกับเพื่อนร่วมงานในทุกระดับได้ไหม กับลูกค้าได้ไหม ถ้าได้ Structural Capial นั้นมาถูกทางครับ เช่น KPI เห็นมานานครับ ว่าทำให้บริษัทรวยได้ ลดต้นทุนได้ แต่อาจทำให้เกิดผลกระทบอย่างอื่น

เช่นกรมทางหลวงของประเทศหนึ่งตั้ง Structural Capital คือกำนดนโยบายให้ลดการใช้พลังงานลง ได้ผลครับนี่คือ KPI คนในกรมก็ทำง่ายๆด้วยการปิดไฟถนนซะ ได้เรื่องครับ อุบัติเหตุเกิดขึ้นเยอะ คนตายเพียบ นี่ไงครับ KPI ที่นำมาสู่การทำให้ความสามารถในการอยู่ร่วมกันของหน่วยงานกับประชาชนย่ำแย่ลง คนในกรมก็ไม่ได้ดีขึ้นเก่งขึ้น นี่ก็ต้องพิจารณาแล้ว

สมัยใหม่เราเริ่มมองกันว่า KPI อาจไม่ใช่ทาง เราเริ่มมองอย่างอื่นเช่น Key Behavior Indicator (KBI) เช่นหน่วยงานหนึ่งมองหาอาจารย์หมอ เริ่มมาแนวใหม่ แทนที่จะดูแต่เกรด ตอนนี้ไปดูครับว่าตอนสมัยเรียนเขาเอาใจใส่คนอื่นให ก็ได้อาจารย์คนหนึ่งมา เธอเก่งมาก สมัยเรียนเพื่อนหมดแรงหมดกำลังใจ เธอจพโทรไปจิก ไปตามเพื่อนให้มาเรียน จนทุกคนเรียกเธอว่าครู นี่ไงเหมาะกับเป็นอาจารย์มาก เพราะเธอจะไม่ทิ้งใครแน่นอน เราไม่ต้องการหุ่นยนต์มาเป็นครูครับ

สำหรับท่านที่ศึกษาการพัฒนาทุนสามทุน ผมอยากแนะนำ Clip ดร.วรภัทร์ครับ น่าจะตอบได้หลายโจทย์ โดยเฉพาะทุนทางโครงสร้าง ที่เราอาจต้องรื้อกันใหม่ทีเดียว

วันนี้พอเท่านี้ เพียงเล่าให้ฟัง ลองเอาไปพิจารณาดูนะครับคำเตือนที่คนในยุคนั้นส่งมาถึงเราคงจะเป็น “ใหญ่แค่ไหนไม่สำคัญ สำคัญว่าปัญญาคุณพร้อมหรือเปล่า"

ส่วนผมวันนี้ก่อนเขียนบทความนี้ก็ได้ไปวัดนั่งภาวนาครับ และรู้สึกซาบซึ้งถึงพระมหากรุณาธิคุณของสมเด็นพระนเรศวรมหาราช ที่ท่านสร้างประเทศนี้มาจากศูนย์จริงๆ

บทความโดยดร.ภิญโญ รัตนาพันธุ์

www.aithailand.org

หมายเลขบันทึก: 589701เขียนเมื่อ 3 พฤษภาคม 2015 13:26 น. ()แก้ไขเมื่อ 3 พฤษภาคม 2015 22:43 น. ()สัญญาอนุญาต: ครีเอทีฟคอมมอนส์แบบ แสดงที่มา-ไม่ใช้เพื่อการค้า-ไม่ดัดแปลงจำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (0)

ไม่มีความเห็น

อนุญาตให้แสดงความเห็นได้เฉพาะสมาชิก
พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท