วปช(วิทยาลัยป้องกันชุมชน) สืบค้นประวัติศาสตร์เมือง ลิบง....3


ก็สอดคล้อง ตามนามเมือง บ้านหลังเขา เหลาสา ทุ่งหญ้าคา แหลมโต๊ะชัย ทุ่ง สีนหัวคน (สีน คือ ตัดหัว สถานที่ประหารนักโทษ)


จากการลงพื้นที่ สืบตำนาน ประวัติศาตร์ เมืองลิบง มีตำนาน มีเรื่องราว ที่แปลกเปลี่ยน บางเรื่องตามคำบอกเล่าฟังแล้วไม่น่าจะเชื่อ แต่พอลงไปสืบค้น ภูมิบ้านนามเมือง และสืบค้นจาก อาจารย์กูเกิ้ล ในวิกิพิเดีย ก็สอดคล้อง ตามนามเมือง บ้านหลังเขา เหลาสา ทุ่งหญ้าคา แหลมโต๊ะชัย ทุ่ง สีนหัวคน (สีน คือ ตัดหัว สถานที่ประหารนักโทษ) ข้อมูลต่อไปนี้ได้มาจาก วิกิพีเดีย (ขอบคุณแหล่งข้อมูล)

เกาะลิบงสมัยพุทธศตวรรษที่ 24 (รัตนโกสินทร์)


"เมื่อครั้งที่เมืองลิบงอยู่ใต้อำนาจของเคดาห์นั้น เจ้าเมืองหรือผู้ปกครองได้เป็นผู้จัดการหาผลประโยชน์จากการเก็บรังนกนางแอ่น และปลิงทะเลแต่เพียงผู้เดียว แต่หลังจากที่พม่าทำลายเมืองจนย่อยยับแล้ว สภาพของเมืองเกาะลิบงก็เป็นเพียงชุมชนเล็ก ๆ ที่ผู้ปกครองมีตำแหน่งเพียงโต๊ะปังกะหวาซึ่งเทียบได้กับตำแหน่งกำนันเท่านั้น และในช่วงนี้ ศักยภาพในการจัดเก็บผลประโยชน์จากทรัพยากรธรรมชาติของชาวเกาะลิบงคงจะซบเซาลงไปบ้าง เนื่องจากขาดแคลนแรงงานที่มีความชำนาญ แต่เนื่องจากรังนกนางแอ่น และปลิงทะเล นั้นเป็นทรัพยากรที่ตลาดต่างประเทศมีความต้องการสูง ราคาดี ประกอบกับโต๊ะปังกะหวา เกาะลิบงเป็นคนกว้างขวาง เป็นที่รู้จักกันทั่วไปในหมู่ชาวเรือและชาวทะเลทั้งหลาย ดังนั้นโต๊ะปังกะหวาจึงสืบทอดการจัดเก็บทรัพยากรเหล่านี้ภายใต้ข้อจำกัดดังกล่าวแต่เพียงผู้เดียว สำหรับบนแผ่นดินใหญ่ซึ่งเป็นที่ตั้งของเมืองตรัง (ที่เชื่อกันว่าตั้งอยู่บริเวณบ้านนาแขก หรือบ้านนาท่าม ปัจจุบันหมู่บ้านทั้ง 2 นี้อยู่ในเขตปกครองของอำเภอเมืองตรัง) นั้นอยู่ในยุคของพระยาตรังค์นาแขกเป็นเจ้าเมือง เมืองตรังในช่วงนี้คงเป็นเมืองขนาดเล็กที่มีประชากรอาศัยอยู่ค่อนข้างน้อย และอยู่ภายใต้อำนาจการปกครองของเมืองนครศรีธรรมราช ประกอบกับเกาะลิบงในขณะนั้นเป็นเพียงชุมชนเล็ก ๆแต่กลับมีรายได้ ผลประโยชน์มาก อีกทั้งอยู่ในภาวะที่ปลอดจากอำนาจของเมืองเคดาห์(ไทรบุรี) จึงเป็นไปได้ว่าในช่วงเวลานี้เองที่เมืองตรังได้ผนวกรวบเอาเกาะลิบงเข้ามาไว้ในความปกครองอย่างเด็ดขาด ดังนั้นในคราวที่พระยานคร(พัด)ส่งพระภักดีบริรักษ์(พระยาตรังค์ สีไหน)ออกมาเป็นเจ้าเมืองแทนพระยาตรังค์นาแขกนั้นได้มีหลักฐานว่า อาณาเขตของเมืองตรังทางทิศใต้จดถึงเกาะลิบง หลังจากที่เกาะลิบงถูกรวมเข้าเป็นส่วนหนึ่งของเมืองตรังเป็นที่เรียบร้อยแล้วโต๊ะปังกะหวาหรือกำนันผู้ปกครองเกาะลิบง ก็ได้โอนเข้ามารับราชการอยู่กับพระภัคคีบริรักษ์เจ้าเมืองตรังในตำแหน่งเดิมและทำหน้าที่จัดเก็บและรวบรวมรังนกนางแอ่น และปลิงทะเลตามเกาะแก่งต่าง ๆ ในทะเลแถบนี้ และจัดเก็บภาษีส่งไปเป็นรายได้บำรุงเมืองตรัง และเมืองหลวงต่อไป ด้วยความสามารถดังกล่าวทำให้โต๊ะปังกะหวามีความดี ความชอบในหน้าที่ราชการเป็นอย่างมาก จึงทำให้ท่านได้รับการโปรดเกล้าฯให้ดำรงตำแหน่งสูงขึ้นดังปรากฏหลักฐานว่าในปี พุทธศักราช 2330 นั้นท่านได้มีบรรดาศักดิ์เป็น "พระเพชภัคคีศรีสมุทรสงคราม ดำรงตำแหน่งพระปลัดตรังแล้วชื่อเสียงของท่านได้เป็นที่รู้จักของบุคคลทั่วไปกว้างขวางขึ้นกว่าเดิม ประกอบกับความสัมพันธ์ที่มีอยู่กับสุลต่านแห่งไทรบุรี ทำให้พระเพชภักดีศรีสมุทรสงครามสามารถที่จะติดต่อให้พ่อค้าต่างชาติเดินเรือเข้ามาซื้อ-ขายสินค้าที่เมืองตรังได้อีกด้วย ดังปรากฏหลักฐานว่าในปี พ.ศ.2335 ท่านได้เขียนจดหมายไปถึง พรานซิส ไลท์ เพื่อขอให้แจ้งแก่บรรดาพ่อค้าที่เดินเรือค้าขายแถบนี้ ให้แวะเข้ามารับซื้อช้างที่ปากน้ำเมืองตรัง (ซึ่งหมายถึงท่าเกาะลิบงนั้นเอง ปัจจุบันชาวบ้านเรียกคลองทีเคยเป็นท่าเทียบเรือแห่งนี้ว่า คลองพานช้าง ซึ่งเป็นคลองที่อยู่ระหว่างแหลมจุโหย กับปากคลองบ้านพร้าว) นับว่าท่านเป็นผู้ริเริ่มบุกเบิกการค้าขายทางเรือกับต่างชาติขึ้นเป็นครั้งแรกของเมืองตรัง ซึ่งผลจากที่ท่านได้ดำเนินการในครั้งนั้นจะประสบผลสำเร็จขนาดไหนไม่เป็นที่แน่ชัด แต่ตำนานเรื่องเขาเจ้าไหมที่ชาวบ้านเล่าสืบต่อกันมานั้น มีสาระเกี่ยวกับการเข้ามาค้าขายของชาวต่างชาติในสมัยนั้นซึ่งมีใจความน่าสนใจดังต่อไปนี้

"ในครั้งสมัยที่โต๊ะฮ้าหวา (โต๊ะปังกะหวา – ผู้เขียน) ได้เป็นเจ้าเมืองปกครองเกาะลิบงอยู่นั้น ที่บ้านทุ่งค่าย(เป็นหมู่บ้านที่ตั้งอยู่ใกล้ ๆกับบ้านท่าโต๊ะเมฆ อำเภอกันตัง ) ก็มีพระยางอกเขี้ยว เป็นเจ้าเมือง และเจ้าเมืองทั้งสองนี้มีความสนิทสนมกันมาก

ต่อมาไม่นานก็มีเจ้าไหมซึ่งเป็นคนจีนได้คุมเรือสำเภาเข้ามาค้าขายกับเมืองเกาะลิบงและได้เกิดชอบทำเลที่ตั้งของเมืองทั้งสองเป็นอย่างยิ่ง จึงได้ปรึกษากับเจ้าเมืองทั้งสองเพื่อจะขออนุญาตตั้งบ้านเรือนอาศัยอยู่ที่นี้โต๊ะฮ้าหวาจึงอนุญาตให้เจ้าไหมตั้งบ้านเรือนอยู่ที่ฝั่งข้ามกับเกาะลิบงแต่อยู่มาวันหนึ่งเจ้าไหมเกิดมีความทะเยอทะยานอยากจะเป็นเจ้าเมืองเกาะลิบงเสียเอง จึงได้ไปยุยงพระยางอกเขี้ยวให้เกลียดชัดโต๊ะฮ้าหวา จนกระทั่งทำให้ พระยางอกเขี้ยวกับโต๊ะฮ้าหวาแตกแยกกัน ในที่สุดเจ้าไหมก็ได้ร่วมมือกับพระยางอกเขี้ยวแล้วยกพลมาทำสงครามกับโต๊ะฮ้าหวา แต่ไม่มีใครสามารถเอาแพ้ ชนะกันได้ ข่าวสงครามครั้งนี้ทราบไปถึงโต๊ะละหมัย(ซึ่งเป็นบุคคลที่ทั้งโต๊ะปังกะหวา และพระยางอกเขี้ยวเคารพนับถือมาก) ท่านจึงเดินทางมาห้ามทัพมิให้ทำสงครามกัน แต่เจ้าไหมไม่ยอกฟังคำห้ามปราม ทำให้โต๊ะละหมัยโกรธมากจึงสาปแช่งให้เจ้าไหมกลายเป็นหิน (ปัจจุบันซากของเจ้าไหมได้กลายเป็นภูเขาที่เรียกว่าขาเจ้าไหม ซึ่งตั้งอยู่ที่หมู่ที่ 3 ตำบลเกาะลิบง) พร้อมกับให้โต๊ะฮ้าหวา กับพระยางอกเขี้ยวตกลงเป็นมิตรกันและยังยกแผ่นดินทั้งหมดแถบนี้ให้เป็นเขตปกครองของโต๊ะฮ้าหวา เมื่อไดรับอาญาสิทธิเช่นนั้น โต๊ะฮ้าหวาจึงใช้เท้าถีบผนังถ้ำเพื่อแสดงความเป็นเจ้าของแผ่นดิน (ปัจจุบันรอยเท้าของโต๊ะปังกะหวายังปรากฏอยู่บนผนังถ้ำที่เขาโต๊ะแหนะ) เกาะลิบงที่ตั้งเมืองตรัง หลังจากพระภักดีบริรักษ์(พระยาตรังค์ สีไหน) เจ้าเมืองตรังต้องคดีและได้ถูกเรียกตัวเข้าไปประจำอยู่ ณ กรุงเทพฯ พระเพชภัคดีสมุทรสงคราม พระปลัดตรังก็ได้เลื่อนขึ้นเป็นพระยาปลิบงดำรงตำแหน่งเจ้าเมืองตรัง ซึ่งการขึ้นดำรงตำแหน่งเจ้าเมืองของพระยาปลิบงในครั้งนั้นได้สร้างความไม่พอใจแก่พระยานคร (พัด) เป็นอย่างยิ่ง และจากความไม่พอใจครั้งนั้นทำให้พระยาทั้ง 2 เกิดความขัดแย้งกันอย่างรุนแรงในปีพุทธศักราช 2347 และทางราชธานีจึงได้แก้ปัญหาด้วยการโอนเมืองตรังไปขึ้นกับกรุงเทพฯโดยตรง เมื่อพระยาปลิบงขึ้นตำแหน่งเจ้าเมืองแล้ว การว่าราชการต่าง ๆ ก็ถูกย้ายลงไปดำเนินการที่บ้านพักของเจ้าเมืองบนเกาะลิบง(น่าจะอยู่ที่บ้านโคกท้อน เขตหมู่ที่ 1 บนเกาะลิบง) ตามประเพณีปฏิบัติของยุคนั้นที่เจ้าเมืองตั้งบ้านเรือนอยู่ที่ไหน ก็จะว่าราชการที่นั่น ตามปกติแล้วบ้านเจ้าเมืองหรือที่เรียกกันทั่วไปว่า "จวน" นั้นจะมีการสร้างศาลาไว้หลังหนึ่งสำหรับว่าราชการเมือง (ประชุมกรมการต่าง ๆ ตลอดทั้งชำระคดีความด้วย) แต่สำหรับชุมชนเมืองตรังเดิมในสมัยพระภักดีบริรักษ์(พระยาตรังค์ สีไหน) เป็นเจ้าเมืองนั้นยังคงตั้งอยู่ในสถานที่เดิมตามปกติ การดำรงตำแหน่งเจ้าเมืองของพระยาปลิบงนั้น เป็นที่ประจักษ์ชัดว่าได้ดำเนินการไปด้วยความเรียบร้อยราบรื่นตลอดมาในทุก ๆ ด้าน โดยเฉพาะการจัดเก็บภาษี หารายได้มาช่วยทำนุบำรุงเมืองนั้นนับว่ามีความโดดเด่นเป็นอย่างยิ่ง ดังเช่นได้ขยายขอบเขตในการจัดเก็บรังนกนางแอ่น ออกไปอย่างกว้างขวาง ดังหลักฐานทีระบุว่าก่อนพุทธศักราช 2342 นายบุญรอด ชาวเกาะลิบงได้ออกไปเก็บรังนกจนถึงเกาะหน้าเมืองมะริด ซึ่งตรงกับบันทึกของเจมส์ โลว์ ที่กล่าวว่าชาวเกาะตะลิบงเคยรวบรวมรังนกนางแอ่นจากเกาะต่าง ๆ ในทะเลแถบนี้ได้เป็นจำนวนมากถึงปีละ 6,500 บัลกัล(Bucals) ผลจากการขยายขอบเขตการเก็บรังนกออกไปในคราวนั้นทำให้เมืองตรัง(เกาะลิบง)มีรายได้จำนวนมาก ซึ่งรายได้ส่วนนี้ท่านได้นำมาจัดซื้อปืนใหญ่ขนาดกระสุน 3 – 4 นิ้วไว้ป้องกันเมืองหลายกระบอก ตลอดทั้งได้สร้างกำแพงเมืองอย่างแข็งแรง อีกทั้งยังได้ขุดสระขนาดใหญ่สำหรับเก็บน้ำจืดไว้บนภูเขาสำหรับใช้บริโภคภายในเกาะยามขาดแคลนอีกด้วย (ปัจจุบันสระน้ำนั้นยังคงมีอยู่และชาวบ้านเรียกภูเขาที่มีสระน้ำนี้ว่าควนสระ) พระยาปกครองเมืองตรังอยู่นานแค่ไหนไม่มีหลักฐานชัดเจน แต่ทราบว่าหลังจากที่ท่านถึงแก่อสัญกรรมแล้ว (ศพของท่านได้ถูกฝังไว้ตามประเพณีทางศาสนาอิสลามที่บริเวณบ้านโคกท้อนบนเกาะลิบงปัจจุบันชาวบ้านเรียกหลุมศพของท่านว่า "เปลวโต๊ะห้าหวา")ทางราชธานีก็ได้โปรดเกล้าฯให้เจ้าปะแงรัน ซึ่งเป็นบุตรเขยขึ้นเป็นหลวงฤทธิสงครามดำรงตำแหน่งเจ้าเมืองสืบต่อมา แต่เนื่องจากหลวงฤทธิสงครามยังขาดประสบการณ์ในการบริหารราชการแผ่นดิน ทางราชธานีจึงได้ยกเมืองตรังให้ไปขึ้นกับเมืองสงขลา ดังหลักฐานที่ปรากฏในสารตรา เจ้าพระยาอัครเสนาบดี เรื่องเมืองตรังภูรา มีใจความตอนหนึ่งกล่าวว่า "ครั้นจะให้เมืองตรังภูราขึ้นแก่กรุงเล่า หลวงฤทธิสงครามยังอ่อนแก่การอยู่ มีราชการประการใดหารู้ที่จะปรึกษาหารือแก่ผู้ใดไม่ กรุงฯกับเมืองตรังภูราระยะทางไกล จึงให้ยกเมืองตรังภูรามาขึ้นแก่สงขลา" ครั้นถึงปีพุทธศักราช 2352 ซึ่งเป็นช่วงปลายรัชสมัยของ พระบาทสมเด็จพระพุทธเลิศหล้านภาลัย อะเติงวุ่นแม่ทัพพม่าให้แยฆองคุมทัพเรือยกมาตีเมืองถลางอีกครั้ง ทางฝ่ายไทยได้ระดมพลจากหัวเมืองต่าง ๆ ทั้งในปักษ์ใต้ และหัวเมืองมลายู แล้วเพื่อไปช่วยกอบกู้เมืองถลางกับอย่างพร้อมเพรียง เหตุการณ์ในครั้งนั้นเมืองเกาะลิบง(ซึ่งเป็นที่ตั้งเมืองตรัง)ได้เป็นสถานที่สำคัญอีกแห่งหนึ่งในประวัติศาสตร์ คือเป็นสถานที่ชุมนุมทัพของกองเรือจากเมืองต่าง ๆ เช่น เคดาห์(ไทรบุรี),ตะรุเตา,ลังกาวี,สตูล, สงขลา และพัทลุง ที่จะยกไปช่วยรบพม่าซึ่งกำลังล้อมเมืองถลาง สำหรับหลวงฤทธิสงคราม ในฐานะเจ้าเมืองตรังขณะนั้นได้นำกองเรือจากเมืองตรังรวมเข้ากับกองเรือจากหัวเมืองมลายู แล้วเข้าร่วมทำสงครามกับพม่าที่ยกมาตีเมืองถลางอย่างอาจหาญ จนพม่าถอยทัพกลับไป วีรกรรมของหลวงฤทธิสงครามในสงครามครั้งนั้นเป็นที่ประทับใจของบรรดาแม่ทัพนายกองทั้งหลายที่ร่วมรบเป็นอย่างยิ่ง ดังที่ชาแอร์ เรื่องสุลต่าน เมาลานา ได้พรรณาความกล้าหาญของท่านเอาไว้มีใจความโดยสรุปว่า ราฌา ปะแงรัน นั้นเป็นชายชาตินักรับที่ไม่เกรงกลัวข้าศึกแม้แต่น้อย ร่วมรบพม่าเคียงบ่าเคียงไหล่กับขุนศึกทั้งหลายอย่างเต็มความสามารถ เสร็จศึกแล้วท่านเป็นหนึ่งในบรรดาแม่ทัพทั้งหลายที่ควรค่าแก่การบำเหน็จรางวับและเลื่อนยศเป็นอย่างยิ่ง เสร็จศึกคราวนั้นแล้ว 2 ปี คือในปีพุทธศักราช 2354 หัวเมืองปักษ์ใต้ได้เกิดเหตุการณ์สำคัญขึ้นหลายประการ เช่นพระยานคร(พัด) เจ้าเมืองนครศรีธรรมราชได้ขอลาออกจากตำแหน่ง ทางราชธานีได้โปรดเกล้าฯให้พระบริรักษ์ภูเบศ(น้อย)เลื่อนขึ้นเป็นพระยานคร(น้อย)เจ้าเมืองนครศรีธรรมราชแทน และในปีเดียวกันนี้ก็ได้ปรากฏหลักฐานว่าพระยาสงขลา(บุญอุย) และหลวงฤทธิสงคราม เจ้าเมืองตรังก็ได้ถึงแก่อสัญกรรมลง หัวเมืองปักษ์ใต้ในระยะนี้จึงไม่มีข้าราชการชั้นผู้ใหญ่ที่มีความรู้ความสามารถในการบริหารราชการแผ่นดินได้ดีเท่ากับพระยานคร(น้อย)ดังนั้นทางราชธานีจึงได้โอนเมืองตรังกลับมาขึ้นกับเมืองนครศรีธรรมราชตามเดิม เพื่อให้เป็นเมืองหน้าด่านของนครศรีธรรมราชสำหรับสอดส่องดูแลหัวเมืองตะวันตกแทนเมืองถลาง พร้อมกันนั้นยังได้จัดสรรปืนใหญ่ที่พระยาปลิบงและหลวงฤทธิสงครามซื้อไว้สำหรับป้องกันเมืองไปให้แก่เมืองนครศรีธรรมราชและเมืองสงขลาแบ่งปันกัน ทันที่ที่เมืองตรังได้ถูกโอนกลับมาขึ้นกับเมืองนครศรีฯแล้วพระยานคร(น้อย)ก็ได้ออกมาดำเนินการปรับปรุงเมืองตรังด้วยตนเองทันที พร้อมกันนั้นท่านก็ได้กราบบังคมทูลขอพระราชทานโปรดเกล้าให้หลวงอุไภยธานี(ม่วง)บุตรชายขึ้นเป็นพระอุภัยราชธานีมาดำรงตำแหน่งเจ้าเมืองตรังและได้จัดการย้ายที่ตั้งเมืองมาไว้ที่ควนธานี สำหรับการปกครองประชากรเมืองตรังเดิมที่นับถือศาสนาอิสลามนั้น เจ้าเมืองคนใหม่ก็ได้จัดการปกครองเป็นพิเศษแยกออกจากกลุ่มไทยพุทธ คือได้จัดตั้งกรมการเมืองฝ่ายไทยมุสลิมขึ้นอีกฝ่ายหนึ่ง โดยได้มอบหมายให้พระปลัดเมืองไทรบุรีเป็นผู้จัดการ และได้แบ่งไทยอิสลามออกเป็น 2 ส่วน ตามถิ่นอาศัยคือฝ่ายทะเลพวกหนึ่งซึ่งให้ตั้งอยู่ที่พระม่วง และฝ่ายบกอีกพวกหนึ่งซึ่งตั้งอยู่ที่ย่านซื่อ ยาวยาว และตามทำเนียบกรมการเมืองตรังของเก่าได้ปรากฏชื่อของกรมการเมืองตรังฝ่ายอิสลามดังต่อไปนี้

  • ศรีอินตรวังศา เป็นหัวหน้าเมือง
  • ศรีปาดุกาดะรายา ผู้ช่วยราชการหัวเมือง
  • ตนกระหมาเดหวา เป็นรอง
  • ศรย่าหหยาประกาษา เป็นปลัด
  • ตนเลหลาสกาทรากับเพื่อน เป็นรองปลัด
  • ราย่าเดหลาดินดาหรา เป็นยกบัตร
  • รายาปัต หลาเดหลา เป็นสัสดี
  • ตนอินตะหรายาหยากับเพื่อน เป็นรองสัสดี
  • ตะมังสุรปาตี เป็นนครบาล
  • ตนนาลากะตากับเพื่อน เป็นรองนครบาล

สำหรับมุสลิมฝ่ายบกซึ่งตั้งอยู่ที่ย่านซื่อ ย่านยาวนั้น จัดการปกครองต่างหาก ดังรายละเอียดต่อไปนี้

  • รายามะสะเดียมากะตา เจ้าหน้าที่ ฝ่ายปกครอง
  • ตนประกระมาวันตา เป็นรอง
  • ตนเลหลา เป็นรอง
  • รายาปาตี เป็นปลัด
  • ตนปะเหลียนจิตหรา เป็นรอง
  • ยาหยาอินตหรา เป็นรอง
  • รายานาลายะสา เป็นแพ่ง
  • ตนเดหลาราหยา เป็นรองแพ่ง

เมื่อย้ายที่ตั้งเมืองขึ้นมาอยู่บนบกเป็นที่เรียบร้อยแล้ว เจ้าเมืองคนใหม่ก็ได้สานต่อแนวนโยบายของพระยาปลิบงเจ้าเมืองคนก่อน โดยทำการปรับปรุงพัฒนาเกาะลิบงให้เป็นท่าเทียบเรือต่างประเทศ ซึ่งต่อมาท่าเรือแห่งนี้ได้มีเรือต่างชาติแวะเข้ามาค้าขายเป็นประจำทุกปี ๆ ละหลายลำ ดังเช่นในปีพุทธศักราช 2355 ได้มีเรือออกจากท่าเรือแห่งนี้บรรทุกช้างไปขายที่ประเทศอินเดียถึง 3 ลำเรือ , พุทธศักราช 2357 ก็มีเรือแวะเข้ามารับซื้อช้างที่ท่าเรือแห่งนี้อีก 2 ลำ, ปีพุทธศักราช 2358 ได้มีเรือบรรทุกช้างไปอินเดียอีกลำหนึ่ง, การเดินเรือค้าชายกับต่างชาติได้ดำเนินการเรื่อยมา แม้กระทั่งในปีพุทธศักราช 2362 การเดินเรือไปค้าขายจากเมืองท่าเกาะลิบงยังคงดำเนินไปตามปกติ ดังบทขึ้นต้นของนิราศเมืองเทศที่กล่าวไว้ว่า

"วันเสาร์ กาฬปักษ์ดิถี คิมหันต์ฤดูเดือนสี่ ปีเถาะเอกศก(พ.ศ.2362 – ผู้เขียน) เพลาสี่โมงนาที ฤกษ์ดีได้ล่องนาเวศผาย ออกจากเกาะตาลิงบงบรรจงราย ด้วยหาดทรายขาวสะอาดปลาดดี…"

หลังจากพุทธศักราช 2362 ไปแล้วการเดินเรือจากท่าแห่งนี้ออกไปค้าขายต่างแดนเริ่มซบเซาลง ซึ่งอาจจะมีสาเหตุมาจากการที่เมืองไทรบุรีเริ่มกระด้างกระเดื่อง และพยายามที่จะตีออกห่างจากรัฐบาลสยามแล้วหันไปคบค้ากับพม่า จนทำให้ราชธานีต้องส่งกองทัพจากเมืองนครศรีธรรมราชไปตีแตก เจ้าเมืองไทรบุรีหนีไปอยู่เกาะปินัง(เกาะหมาก)ซึ่งเป็นเขตเช่าของอังกฤษ การที่เมืองนครฯตีเมืองไทรบุรีในคราวนั้นทำให้อังกฤษไม่พอใจเป็นอย่างยิ่ง จากสภาพการณ์ที่ไม่ค่อยจะราบรื่นดังกล่าว ทำให้พระยานครฯ(น้อย)เจ้าเมืองนครศรีธรรมราช(ซึ่งเป็นผู้ควบคุมเมืองตรังในขณะนั้น) ได้แปรนโยบายให้เมืองตรังซึ่งเป็นท่าค้าขายมาเป็นที่ตั้งฐานทัพเรือ ซึ่งกล่าวกันว่าเรือรบที่เข้าประจำการรักษาน่านน้ำเมืองตรัง ในสมัยนั้นมีจำนวนถึง 300 ลำ สำหรับคอยควบคุมดูแลหัวเมืองพม่า และไทรบุรี ที่อาจจะยกมาตีหัวเมืองแถบนี้ หลังจากการค้าขายกับต่างชาติซบเซาลงไปแล้ว ประชากรบนเกาะลิบงก็ได้ค่อย ๆอพยพออกไปจากเกาะ จนกระทั่งกลายเป็นเกาะร้างลง ดังบันทึกที่ เจมส์ โลว์ กล่าวไว้เมื่อครั้งที่เดินเรือมาถึงที่เกาะแห่งนี้เมื่อปีพุทธศักราช 2367 เอาไว้ว่า "เกาะนี้ไม่มีคนอาศัยอยู่" นับตั้งแต่พระยานคร(น้อย)ได้ปรับเปลี่ยนนโยบาย ให้เมืองตรังมาเป็นที่ตั้งฐานทัพเรือแล้ว ชื่อของเกาะลิบงในฐานะที่เคยเป็นท่าเรือพานิชก็เริ่มหายไป จนกระทั่ง ถึงปีพุทธศักราช 2433 พระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัวได้โปรดเกล้าฯให้พระยารัษฎานุประดิษฐ์มหิศรภักดีมาเป็นเจ้าเมืองตรัง ท่านเจ้าเมืองคนใหม่ก็ได้ย้ายเมืองจากที่ตั้งเดิมที่ควนธานีมาอยู่ที่กันตัง และเจ้าเมืองคนใหม่นี้ก็ได้ปรับปรุงเมืองตรังให้เป็นเมืองท่าอีกครั้งหนึ่ง และได้ตั้งด่านตรวจเก็บภาษีขึ้นที่แหลมจุโหยเกาะลิบง (ปัจจุบันเป็นที่ตั้งของที่ทำการเขตห้ามล่าสัตว์ป่าหมู่เกาะลิบง) นับแต่นั้นมาเกาะลิบงก็เริ่มมีผู้คนจากแผ่นดินใหญ่อพยพลงไปตั้งถิ่นฐานขึ้นอีกครั้งหนึ่ง แล้วค่อยขยายเพิ่มมากขึ้นเรื่อย ๆ จนกระทั่งปัจจุบัน (พุทธศักราช2541)ชุมชนบนเกาะลิบงมีอยู่รวม 3 หมู่บ้าน และได้รับการยกฐานะเป็นตำบล ขึ้นกับอำเภอกันตัง จังหวัดตรัง"


โปรดติดตามตอนต่อไปในตอน ที่เจ้าหน้าที่ นมล (หน่วยควบโรคติดต่อนำโดยแมลง) หรือเจ้าหน้ามาลาเรียลงไปทำงาน เมื่อ ปี 2512 ตาม หน่วยงานของกระทรวงสาธารณสุข หน่วยนี้ เคยมีบทบาทสำคัญ ในอดีต แต่ปัจจุบัน ผู้คนมักไม่คุ้นชิน รู้จัก ตอน ที่ โรค ชิกุน กุนย่า ระบาด เมื่อสามสี่ปีก่อนหน้านี้ เจ้าหน้าที่ นมล มีผลงานเด่นชัด

คำบอกเล่าของ วปช บังหนุ้ย ทิพย์นุ้ย

วปช. หนุ้ย ทิพย์นุ่ย

หมายเลขบันทึก: 589831เขียนเมื่อ 6 พฤษภาคม 2015 23:31 น. ()แก้ไขเมื่อ 6 พฤษภาคม 2015 23:41 น. ()สัญญาอนุญาต: ครีเอทีฟคอมมอนส์แบบ แสดงที่มา-ไม่ใช้เพื่อการค้า-ไม่ดัดแปลงจำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (18)

สวัสดีค่ะคุณตา

คุณยายรอติดตามอยู่นะคะ

ขอบคุณค่ะ คุงลุงวอญ่า ที่แบ่งปันความรู้ค่ะ

Some pictures of บ้านหลังเขา เหลาสา ทุ่งหญ้าคา แหลมโต๊ะชัย ทุ่ง สีนหัวคน would be terrific ;-)

(Give then a penny and they want a pound ;-)

ขอบคุณ คุณยาย ห่างหาย เรื่องพัฒนาคุณภาพ รพHA เพราะไม่มีใครเรียกใช้ จึงขับขยับ เรื่อง พลเมือง ของ วปช วิทยาลัยป้องกันชุมชน

ชุมชน ==> ช่วยชุมชน นะคะ .... และประวัติศาสตร์ เป็นเรื่องสำคัญนะคะ

ได้เรียนทั้งเรื่องชุมชนและประวัติศาสตร์

วันที่ 14-15 พค

บังว่างลงมาที่ประจวบใช่ไหมครับ

ขอบคุณ อาจารยร์ อร ที่แวะมาชื่นชม

ยังอ่านไม่จบครับ แล้วจะกลับมาใหม่

ขอบคุณท่าน sr ที่มาช่วยเติมพลัง

มาอ่าน และ ให้กำลังใจค่ะท่าน

สวัสดีน้องมะเดื่อ

สหายน้อย โตขึ้น ฉลาดมาก

ขอบคุณที่ นำทัวร์ ป่าละอู

เรียน หมอเปิ้น

ไปกุยบุรีหนนี้ ต่อไปป่าละอู เสียดายที่ไม่ได้แวะบ้านลาด

โร้แล้วก้าอย่าบอกใคร

เห็นแล้วก้อย่าบอกใคร

ใต้ถุนมูสังขบไก

ที่บนปลายไทร นกฮังๆ

5555

ขอบคุณท่าน เดชาที่นำภาพของความสุขสนุกสนานมาฝาก

สวัสดีปีใหม่ 2559 ขอบคุณครูทิพย์ที่มาให้กำลังใจ

สวัสดีปีใหม่ อาจารย์ ขจิต

ผ่านมาหลายวันแล้วยังคิดถึง

โร้แล้วก้าไม่บอกใคร....

อนุญาตให้แสดงความเห็นได้เฉพาะสมาชิก
พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท