nui
นาง เสาวลักษณ์ พัวพัฒนกุล

​โทรเลข


โทรเลขฉบับนี้อายุ ๓๖ ปี

คนอายุต่ำกว่า ๓๐ ปี น่าจะไม่รู้จักโทรเลข

สมัยที่ยังไม่มีโทรศัพท์มือถือ โทรศัพท์บ้านก็หายาก เราเขียนจดหมายถึงกัน เมื่อมีเรื่องด่วนก็ใช้โทรเลข

โทรเลข ส่งไปตามสายเป็นรหัส ที่ต้องถอดความเป็นภาษา เวลาต้องการส่งข้อความเราจะไปที่สำนักงานไปรษณีย์ที่เปิดบริการ ๒๔ ชั่วโมง (เฉพาะบริการโทรเลข) กรอกแบบฟอร์ม ประกอบด้วยชื่อที่อยู่ของผู้รับ ข้อความที่ส่ง และชื่อที่อยู่ของผู้ส่ง

ไปรษณีย์คิดเงินเฉพาะข้อความที่ส่ง

จึงต้องเขียนเฉพาะใจความสำคัญ เพื่อไม่ให้เสียเงินเยอะ เพราะค่าส่งแพง

เขียนเสร็จ พนักงานโทรเลขก็จะไปที่เครื่อง เคาะเรียกปลายทาง พอไปรษณีย์ปลายทางตอบรับทางนี้ก็จะเคาะส่งไปเป็นรหัส ปลายทางก็จะต้องถอดรหัสออกเป็นภาษา แล้วพิมพ์ลงแบบฟอร์ม พับใส่ซอง นำไปส่ง

ที่โรงพยาบาลไกลโพ้น เวลาโทรเลขมา คนรับก็ต้องรีบไปหาผู้รับ เพราะโทรเลขต้องเป็นเรื่องสำคัญและอาจเป็นเรื่องร้าย ป่วย เจ็บ ตาย

สำหรับฉันโทรเลขเป็นเรื่องดีทุกฉบับ

โทรศัพท์ยังไม่มี เราเขียนจดหมายเล่าสารทุกข์สุขดิบ ส่งความรักความคิดถึงสู่กัน เป็นเสน่ห์ที่คนสมัยนี้ไม่รู้จัก

ฉันเก็บจดหมายเก่าไว้ทุกฉบับ ว่างๆ ก็เอามาเปิดอ่าน เพื่อรำลึกถึงเพื่อน พี่ น้อง ครูบาอาจารย์ และคนที่เรารัก

เป็นความสุขง่ายๆ ไม่ต้องซื้อหา.

พุธ ๒๐ พฤษภาคม ๒๕๕๘

คำสำคัญ (Tags): #โทรเลข#จดหมาย
หมายเลขบันทึก: 590392เขียนเมื่อ 20 พฤษภาคม 2015 07:56 น. ()แก้ไขเมื่อ 20 พฤษภาคม 2015 07:56 น. ()สัญญาอนุญาต: ครีเอทีฟคอมมอนส์แบบ แสดงที่มา-ไม่ใช้เพื่อการค้า-ไม่ดัดแปลงจำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (16)

ใจไม่ค่อยดีเวลามีโทรเลขมาที่บ้านค่ะ แต่ส่วนมากก็ถอนหายใจโล่งอก มักจะเป็นโทรจากคนที่จากบ้านไปไกลบอกว่าจะกลับให้ไปรับที่ไหนเมื่อไรค่ะ ฉบับที่ตื่นเต้นมากที่สุดเป็นฉบับที่รอคอยจากเพื่อนที่กรุงเทพ ฯ ส่งมาบอกว่าสอบบรรจุวิทยาลัยครูได้ให้มารายงานตัวสัมภาษณ์ ไม่กล้าเปิดกลัวไม่ได้ค่ะ


ดีจังค่ะ พี่นุ้ยมีเก็บไว้ด้วย ขอบคุณเรื่องราวที่แบ่งปันนะคะ

เพิ่งจะคุยกะพี่ที่บ้านอยู่เมื่อวันก่อนว่า "เอ้ เดียวนี้ไปรษณีย์มีบริการส่งโทรเลขอีกไหม

ขอบคุณค่ะ

คุณมะเดื่อไม่ได้เก็บไว้เลยจ้ะ

เคยสะสมแสตมป์ ก็ให้เพื่อน ๆ ไปหมดแล้ว

ผมก็ยังพอมีเก็บไว้ครับ แต่ไม่ได้มีโอกาสเปิดดูเลยครับ เด็กยุคหลังๆ นี้คงไม่มีโอกาสได้สัมผัสความรู้สึกของการเปิดอ่านจดหมายแล้วครับ

นานมากๆเลยนะครับ

ทึ่งมากๆ

จริงค่ะอาจารย์ GD

คนส่วนใหญ่เวลารับโทรเลขมักใจคอไม่ดี ยิ่งถ้ามาจากบ้าน เปิดมือไม้สั่นนะคะ

จริงด้วยค่ะน้อง หนูรี น่าสงสัยว่าเดี๋ยวนี้ยังมีบริการโทรเลขอยู่หรือเปล่า

แต่จดหมายยังมีเยอะ แต่เป็นจดหมายทางการ ประเภท ใบเสร็จ ใบแจ้งหนี้ ฯลฯ อะไรทำนองนี้ (ได้จากไปยืนดูกองจดหมายที่เข้ามาในโรงพยาบาลค่ะ

สงสัยต้องไปหาคำตอบเรื่องโทรเลขซะแล้ว

ของเก่าเก็บนานๆ จนลืม พอค้นเจอนี่มันตื่นเต้นเชียวละค่ะครู คุณมะเดื่อ

เพราะมันมีเรื่องราวเบื้องหลัง

อย่าทิ้งไปนะคะอาจารย์ ธวัชชัย รวมทั้งผลงานน้องต้นไม้ด้วยเก็บใส่ลังใส่แฟ้มไว้นะคะ

พอเขาโตเป็นหนุ่ม มันจะมีค่ามาก

พี่อ่านงานที่ลูกๆ เขียนตอนเขาเด็กๆ นั่งยิ้มได้ทั้งคืนเชียวค่ะ

พี่เป็นคนทำบ้านรกที่สุดค่ะน้อง ขจิต ฝอยทอง เพราะเก็บทุกอย่างแบบว่างกน่ะ

ขอบคุณค่ะพี่ใหญ่ นงนาท สนธิสุวรรณ ที่แวะมาชม

ขอบคุณนะคะคุณวินัย วินัย เจริญเฉลิมศักดิ์ ที่แวะมามอบดอกไม้

โทรเลข ....
คือ ความคลาสสิกของการสื่อสารอารมณ์ความนึกคิดของมนุษยชาติ ครับ

อีก ๕๐ ปีข้างหน้ามือถืออาจเป็นตำนานความคลาสสิกก็ได้นะอาจารย์ มนุษย์อาจคุยทางโทรจิต

สบายดีนะคะ งานเยอะหรือเปล่า

  • โทรเลขสมัยเรียนใช้ประจำ แต่ไม่ได้เก็บไว้เลย..
  • ส่วนจดหมายผม แฟนผมเขาเก็บไว้เป็นหลักฐานทั้งหมดเลยครับ ฮาๆๆ

หลักฐานมัดตัวนะคะ อาจารย์ ธนิตย์ สุวรรณเจริญ

ของพี่ใส่ลำดับไว้ด้วย เอามาอ่านบางทีก็ขำ

อนุญาตให้แสดงความเห็นได้เฉพาะสมาชิก
พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท