คิดๆ แล้วตั้งโจทย์ แล้วก็แก้โจทย์


การคิดอะไรที่ไม่ธรรมดาเกี่ยวข้องกับกลยุทธ์ล้วนๆหรือไม่ เป็นคำถามที่เกิดในใจค่ะ?

เรียนรู้ตามอัธยาศัยจากการอบรมหลักสูตรทางไกล

ดิฉันห่างหายไปนานกับการบันทึกรู้เพิ่มเติมที่ได้ ทั้งที่ไม่ควรทิ้งบล็อกนี้ให้เหมือนบ้านร้างความรู้ต่างๆ ที่ได้รับจากการเติมเต็มระหว่างเส้นทางทำงาน หากไม่บันทึกแล้วหมั่นทบทวน นานไปก็จะลืมอย่างน่าเสียดาย เคยแอบคิดเล่นๆว่าถ้าเรามีจำนวนชั่วโมงเพิ่มขึ้นจาก 24 เป็น 25 เวลา 1 ชั่วโมงที่เกินมาดิฉันจะอุทิศให้กับการเขียนบันทึก ถ่ายทอดเรื่องราวที่พบเจอ เพื่อเก็บ หรือเพื่อเกี่ยวดอกผลต่อยอดจากที่ได้

ปีพ.ศ. 2558 ดิฉันนำตัวเองเข้าสู่โหมดการพัฒนาตนเอง ผ่านหัวข้อเติมเต็มโดยการเรียนรู้ตามอัธยาศัย บนฐานนโยบายของหน่วยงานสังกัดที่มีบุคลากรเยอะมากแต่งบประมาณน้อย หน่วยงานเลือกวิธีให้บุคลากรเข้ารับ "การอบรมหลักสูตรทางไกลผ่านดาวเทียม" หัวข้อใดก็ได้ที่กำหนดไว้แล้ว คนละ 1-2 หัวข้อ ตามอัธยาศัย วิธีการนี้ดีมากเพราะแต่ละคนจะวิเคราะห์ตัวเองแล้วตัดสินเรียนรู้พัฒนาตนเองตามที่เห็นเองว่า "ใช่สิ่งที่ขาดไป"

แต่การเรียนรู้ตามอัธยาศัยเพื่อตอบโจทย์ KPI หน่วยงาน ของแต่ละคน มีจุดอ่อนที่รอการปิดอย่างน้อยที่ดิฉันเห็น มีสองแห่ง คือ ขาดการชี้แนะชี้นำของผู้บังคับบัญชาก่อนตัดสินใจเลือกหลักสูตร และเมื่อไปนั่งเรียนรู้ จะเรียนได้ตลอดรอดฝั่งไหม แล้วกลับมา จะนำมาปรับปรุงงานของตนเองหรือไม่ข้อ คงมีแต่ตัวเองเท่านั้นที่รู้

การบรรยายความรู้ของวิทยากรทรงคุณวุฒิจากที่ไกลๆ ส่งเป็นภาพและเสียงผ่านจอสี่เหลี่ยม เหมือนเรากำลังชมรายการโทรทัศน์ นั้น ถ้าสมาธิเรามี เราจะเข้าใจชัดเจน การสื่อสารมิใช่อุปสรรคสำคัญค่ะ ผู้เรียนสามารถติดต่อสื่อสารกับผู้สอนได้ผ่านเทคโนโลยีทันสมัย รวดเร็วทันใจ แต่แน่นอนว่าเวลาสามชั่วโมงกับหัวข้อความรู้แต่ละหัวข้อ นั้น

เราจะได้สิ่งที่เรียกว่า "องค์ความรู้" ที่วิทยากรถ่ายทอดมาแบบเนื้อๆ และเน้นๆ จะเกิดประโยชน์ต่อเมื่อผู้เรียน ได้ลงมือทำจนมี "ทักษะ"

หัวข้อที่มีการอบรมบางเรื่อง "ยาก"จนกระทั่งมีผู้เรียนบางคนยกธงขาว ไม่ยอมนั่งรับฟังการบรรยายให้จบ ทำให้ผู้อนุญาตให้เข้าอบรมควรต้องกลับมาคิดใหม่ว่าการปล่อยอิสระให้เลือกอบรมตามอัธยาศัยนั้น เหมาะสมสำหรับเขาหรือเธอหรือไม่ สิ่งที่สูญเสียไปคือความสูญเปล่า

หัวข้อความรู้ตามอัธยาศัยที่ดิฉันเลือกเติมเต็มสองหัวข้อคือ การแก้ไขปัญหาและการตัดสินใจเชิงกลยุทธ์โดย ดร.รัฐ ธนาดิเรก และการพัฒนาทักษะหัวหน้างานยุคใหม่ โดย อ.ธำรงศักดิ์ คงคาสวัสดิ์ ถ้านำมาสรุปรวมทั้งหมด คงเป็นภาพยนตร์สั้นๆ เรื่องหนึ่งได้ และคนอ่านคงเบื่อเสียก่อนถึงฉากจบ

จากหัวข้อ การแก้ไขปัญหาและการตัดสินใจเชิงกลยุทธ์โดย ดร.รัฐ ธนาดิเรก (9 เมษายน 2558) ดิฉันเก็บคำสำคัญของการคิดเชิงกลยุทธ์ Strategic Thinking ได้หัวใจ 3 ข้อ ของการคิด คือ Step, Scope, Logic

บันทึกรู้เพิ่มฯ นี้จึงขอเจาะเฉพาะความรู้ที่ได้เรื่อง "การคิด ที่ไม่ธรรมดา" ค่ะ

เวลาที่เราต้องเขียนแผนการดำเนินงาน หากเริ่มต้นว่า "ทำอะไรดี" ก็เหมือนการทำงานให้มีแผน เขียนแผนส่งๆ ไปให้เสร็จเท่านั้น แต่การคิดอย่างมีสติ มีหลักการหมายถึงคิดที่ละเอียดขึ้น ลึกขึ้น เช่น ตั้งคำถามถ้าทำแล้วจะช่วยให้ความสัมพันธ์อย่างไรดีขึ้น การคิดเชิงกลยุทธ์จึงหมายถึง ทำอะไรก็ได้ที่แก้โจทย์ที่มีนัยสำคัญ ตอบให้ได้ว่าทำไปเพื่อแก้โจทย์อะไรกลับไปดูโจทย์ ตั้งโจทย์ แล้วแก้โจทย์ เรียนรู้การคิดเชิงกลยุทธ์ไปเพื่อ "ตั้งโจทย์ที่ท้าทาย" เป็น ฉะนั้น Step ของการคิด ต้องไม่ถามคำถามว่า "ทำอะไรดี" ให้ถามตัวเองว่า "โจทย์คืออะไร"

ในเรื่อง Scope การคิด มีประเด็นคิดแบบ outside-in ไปสู่ inside-out ไม่ใช่แค่ inside-out อย่างเดียว เราดูคนที่เราต้องให้บริการไหมว่าเขาต้องการอะไร เราคิดอะไรเอาใครเป็นตัวตั้ง

สำหรับหัวใจห้องที่ 3 คือ Logic การคิดตั้งโจทย์ที่ท้าทายที่งานประจำทำไม่ได้ มีวิธีการที่ดึงเอาของเดิมมาด้วยแต่ทำให้เด่นกว่า ...เพื่อการแก้ปัญหาเรื้อรังมีแนวโน้มที่จะงอกเงย ...เพื่อรองรับปัญหาที่จะเกิดขึ้นในอนาคต ...เพื่อให้การพัฒนาเกิดขึ้นอย่างก้าวกระโดด ...เพื่อสร้างรากฐานการพัฒนาระยะยาว (งานกลยุทธ์ต้อง Overlab กับงาน Routine เอาของเก่ามาต่อยอดเพิ่มเพื่อแก้โจทย์ที่ท้าทาย)

แล้ว กลยุทธ์ คืออะไร? ยังไง? ตามที่(ดิฉัน)เข้าใจง่ายๆ ในกรอบการคิด

กลยุทธ์คือวิถีในการแก้โจทย์ที่ท้าทาย และเป็นวิธีที่พิเศษกว่าวิถีทางแบบ Routine คุณค่าของ "กลยุทธ์" มาจาก โจทย์ที่มีคุณค่า ก่อนการให้คุณค่ากับวิธีแก้โจทย์ แต่ต้องไม่ลืมตอบคำถามว่า หากแก้โจทย์ที่ระบุได้จริง องค์กร/Stakeholder จะได้อะไรที่เป็นรูปธรรม และมีโจทย์อื่นที่จะนำไปสู่ผลลัพธ์เดียวกัน แต่สามารถแก้ได้ง่ายกว่า และประหยัดกว่าหรือไม่

โจทย์ที่เราต้องการแก้คืออะไร? ทำไมโจทย์นั้นจึงมีนัยสำคัญ? การแก้โจทย์นั้นได้ ใครจะได้ประโยชน์บ้าง? ถ้าแก้โจทย์ไม่ได้ เราจะเสียอะไร

ในโลกการทำงานที่ยากขึ้น หนักขึ้น ตามตำแหน่งหน้าที่การงาน เมื่อเลือกเส้นทางเดินเช่นนี้แล้ว เราจึงต้องก้าวให้ยาวขึ้น ก้าวให้เร็วกว่ามากขึ้น การคิด คิด คิดอย่างไรที่ไม่ธรรมดา แล้วจึงค่อยไปสู่การแก้ไขปัญหา และการตัดสินใจเชิงกลยุทธ์ กันต่อไปค่ะ

(ขอขอบคุณสำนักบริการเทคโนโลยีสารสนเทศ มหาวิทยาลัยเชียงใหม่ ผู้จัดทำโครงการ "การอบรมหลักสูตรทางไกลผ่านดาวเทียม" เป็นประจำทุกปี ทำให้ผ็ปฏิบัติงานชั้นผู้น้อยได้รับโอกาสเติมเต็มองค์ความรู้ฉบับลัดสั้น)


หมายเลขบันทึก: 590574เขียนเมื่อ 27 พฤษภาคม 2015 11:08 น. ()แก้ไขเมื่อ 27 พฤษภาคม 2015 11:08 น. ()สัญญาอนุญาต: ครีเอทีฟคอมมอนส์แบบ แสดงที่มา-ไม่ใช้เพื่อการค้า-ไม่ดัดแปลงจำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (2)

ขอบคุณพี่ดาวมากครับ

ได้อ่านเรื่องดี

อย่าหายไปนานให้คิดถึงครับ

อนุญาตให้แสดงความเห็นได้เฉพาะสมาชิก
พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท