ยุคนี้หัวหน้างานต้องพัฒนาทักษะอะไร


"ต้นไม้" ยืนต้นได้ยืนยาวเพราะลึกลงไปในดิน มีรากแก้วแข็งแรง ถ้าเปรียบเป็นองค์กร มนุษย์ในองค์กรที่ดูแลระดับบริหาร คงเหมือนกับราก มีทั้งรากแก้ว รากฝอย

ฉันเองคงเป็น รากฝอยเล็กๆ เส้นหนึ่งในต้นไม้นั้น

เมื่อฉันคิดถึงภาระหน้าที่ในการเป็น ผู้บริหารระดับปฏิบัติการ ในตำแหน่งที่ครองอยู่คือ "หัวหน้างาน" ที่มีภาระหน้าที่ทั้งการลงมือปฏิบัติด้วยและบริหารงานบริหารคนไปด้วย ฉันคิดถึงความรู้ที่เคยสะสมสั่งสม ตามหลักเอ็นเนียแกรม ฉันนึกถึงผู้อยู่ในบังคับบัญชาที่ฉันมีหน้าที่ต้อง "รับใช้" พวกเขาแล้วฉันพบว่าช่างโชคดีเสียนี่กระไรที่มีบุคลากรให้เรียนรู้เรื่องท้าทายในการบริหารงานครบประเภทของ "คนทั้งเก้าแบบ" โดยเริ่มต้นจากทีมงานทั้งเก้าคนรวมตัวฉันเองด้วย จนกระทั่งได้รับอัตรากำลังเพิ่มมาอีกสอง ทำให้อย่างน้อย 1-2 คนในทีมงานนั้น มี "พรรคพวก"

แต่ความรู้ที่สั่งสมมาไม่มีวันพอ เราต้องเรียนรู้ไปเรื่อยๆ จนกว่าเราจะหยุดการเจริญเติบโตในตำแหน่งหน้าที่การงานของการเป็นผู้บริหารระดับปฏิบัติการ การเลือกเข้ารับการอบรมทางไกลหลักสูตร การพัฒนาทักษะหัวหน้างานยุคใหม่ โดย อ.ธำรงศักดิ์ คงคาสวัสดิ์ เป็นอีกทางเลือกของฉัน แล้วในเวลาสามชั่วโมงฉันได้อะไรเพิ่มบ้าง?


หัวหน้างานในที่นี้ไม่ได้หมายแค่หัวหน้างาน อาจเป็นผู้บริหารระดับผู้อำนวยการ ผู้จัดการ หรือเรียกชื่ออย่างอื่นใดก็ได้ที่มีผู้ใต้บังคับบัญชา 3 บทบาทหัวหน้างาน คือ เป็นผู้นำทีม เป็นโค้ช เป็นที่ปรึกษา 4 หน้าที่รับผิดชอบ ต่อตนเอง ต่องาน ต่อทีมงาน ต่อผู้บังคับบัญชา EQ/IQ จูงใจลูกน้อง ด้วย 3H-Heart/ Head/ Hand ทัศนคติ หลักวิธีการพัฒนา 3N-Negative-No-Next รู้จักทัศนคติเชิงลบ ทฤษฎีมด (Automatic Negative Thought: ANTs) 8:8:8 จัดเวลาให้สมดุล ทำงาน/ส่วนตัว/นอนหลับ

ที่น่าสนใจและใหม่สำหรับฉัน จากการอบรมรู้เพิ่มครั้งนี้ คือ ความรู้เรื่อง DISC (D-Dominance/Directive I-Influence S-Steadiness C-Compliance) เพื่อการมอบหมายงานอย่างเหมาะสม การอ่านคนทุกคนล้วนมีสไตล์หลัก และสามสไตล์รอง แต่ละคนเป็นคนที่ชอบทำงานเบื้องหน้า หรือเบื้องหลัง แต่ละคนเป็นคนทำงานที่มุ่งเอาคน หรือมุ่งเอางาน เป็นตัวตั้ง

ท่านเป็นหัวหน้างานสไตล์ไหน แล้วลูกน้องของท่านล่ะ เป็นคนอย่างไร จากการศึกษาศาสตร์แห่ง DISC นี้ แล้วท่านจะตัดสินใจอย่างไรกับการมอบหมายงานให้ทีมงาน

สิ่งสำคัญที่ต้องตระหนักไว้ คือ หัวหน้าที่จะประสบความสำเร็จได้จะต้องมีทุกสไตล์ ๆ หลักจะเป็นอะไรก็ได้ แต่ต้องไม่ลืมดึงอีกสามสไตล์มาใช้ด้วย


เกร็ดสาระที่ได้เพิ่ม ถามตัวเราสิว่า

  • เป็นผู้นำทีมแล้วเคยตกเป็นเหยื่อการเม้าท์ของลูกน้องบ้างมั้ย
  • ในความเป็นครู เคยสอนลูกน้องบ้างไหม
  • เคยคิดเอาตัวเองเป็นศูนย์กลาง และมโนเองเสร็จสรรพว่า เราเติบโตขึ้นมาได้เองลูกน้องก็ต้องโตเองได้เหมือนเราไหม ถ้าใช่ ก็เลยไม่มีการสอนงานให้ตามภารกิจหัวหน้า

เราเลือกเป็นหัวหน้าที่ดีได้ ลองย้อนมองดูว่าลูกน้องเคยมาปรับทุกข์อะไรกับเราบ้างไหมสำหรับบทบาทการเป็นที่ปรึกษา ในชีวิตการทำงานไม่ได้มีคำตอบเดียว เปิดใจรับฟังลูกน้องหรือเปล่า รับฟังให้มากกว่าพูด ระวังพฤติกรรม Me Too หากหัวหน้าจะเพิกเฉยในเรื่องบางเรื่อง การสื่อสารกับทีมงาน ต้องให้เครดิต(เชิงบวก) ต่อผู้บริหารด้วยเมื่อสรุปมติออกมาแล้ว แม้ไม่เห็นด้วย

(ขอขอบคุณสำนักบริการเทคโนโลยีสารสนเทศ มหาวิทยาลัยเชียงใหม่ ผู้จัดทำโครงการ "การอบรมหลักสูตรทางไกลผ่านดาวเทียม" เป็นประจำทุกปี ทำให้ผู้ปฏิบัติงานชั้นผู้น้อยได้รับโอกาสเติมเต็มองค์ความรู้ฉบับลัดสั้น)

พรวนบันทึกเดิม

อ่านเพิ่ม

หมายเลขบันทึก: 590734เขียนเมื่อ 2 มิถุนายน 2015 11:05 น. ()แก้ไขเมื่อ 4 มิถุนายน 2015 09:13 น. ()สัญญาอนุญาต: ครีเอทีฟคอมมอนส์แบบ แสดงที่มา-ไม่ใช้เพื่อการค้า-ไม่ดัดแปลงจำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (0)

ไม่มีความเห็น

อนุญาตให้แสดงความเห็นได้เฉพาะสมาชิก
พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท