nui
นาง เสาวลักษณ์ พัวพัฒนกุล

How Children Succeed เลี้ยงให้รุ่ง หนังสือที่เล่าเรื่องน่าตื่นเต้นของการพัฒนาเด็กในทศวรรษใหม่


นี่คือหนังสือที่จะเปลี่ยนวิธีคิดเกี่ยวกับการพัฒนาเด็ก

การพัฒนาเด็กในอดีตเรามุ่งที่การพัฒนาสิตปัญญา อันเป็นสิ่งที่เรียกว่า ทักษะทางปัญญา(Cognitive Skills) เรา (พ่อแม่ นักจิตวิทยา นักการศึกษา รวมทั้งนโยบายรัฐ) จึงมุ่งที่การพัฒนาสติปัญญา แต่องค์ความรู้ใหม่มากมายกำลังจะบอกเราว่าความสำเร็จหรือความล้มเหลวของเด็กๆ นั้นมิได้ขึ้นอยู่กับสติปัญญาเพียงอย่างเดียว แต่คำตอบสำคัญยิ่งยวดคือ สิ่งที่เรียกว่า “ทักษะทางพฤติกรรม”( non-cognitive skills) หรือง่ายๆ คือ ลักษณะนิสัย ได้แก่ ความมุมานะ การควบคุมตนเอง ความใฝ่รู้ สำนึกผิดชอบชั่วดี ความเข้มแข็ง และ ความมั่นในในตนเอง

หนังสือค่อยๆ ขยายความให้ผู้อ่านประจักษ์ชัดว่าสิ่งนั้นคือความจริง ด้วยการเล่างานวิจัยสำคัญๆ และหน่วยงานที่นำงานวิจัยไปใช้จริง ที่ยืนยันความคิดใหม่นั้น การไปคุยกับแพทย์ ครู ที่รับผิดชอบโปรแกรมสำคัญๆ ในการช่วยเหลือเด็กๆ และ การพูดคุยกับ “ตัวอย่างของจริง” คือ เด็กๆ ที่สามารถเปลี่ยนแปลงตัวเองได้อย่างน่าทึ่งและน่าประทับใจที่สุด

ยกตัวอย่างเช่น หนังสือพยายามหาคำตอบให้ผู้อ่านว่า “ประสบการณ์อันเจ็บปวดในวัยเด็กส่งผลต่อการเติบโตหรือไม่ อย่างไร?” แม้เราจะได้คำตอบว่า “แน่นอน” เพราะเราเห็นตัวอย่างมากมายในสังคมเช่นพวก ”เด็กเหลือขอ” ที่ถูกส่งไปอยู่สถานพินิจ หรือที่เรียกแบบแดกดันว่า “โรงเรียนดัดสันดาน” เราพากันประณามเด็กๆ เหล่านี้ โดยลืมนึกไปว่าพฤติกรรมเหล่านั้นล้วนมีที่มาจากการเลี้ยงดูและสภาพแวดล้อมที่พวกเขากำหนดไม่ได้

ปัญหาของเด็กๆ จำเป็นต้องร่วมกันแก้ไขทั้งสามฝ่าย คือ พ่อแม่ ครู และ ตัวเด็กเอง และต้องใช้องค์ความรู้ มิใช่ สามัญสำนึก

หนังสือขยายความให้เราเห็นชัดถึงที่มาของปัญหา อธิบายด้วยองค์ความรู้ และตัวอย่างจริง

หนังสือบอกเล่าสิ่งที่ไม่ทำให้เราสิ้นหวัง เพราะปัญหาของเด็กๆ มีทางออก มีทางแก้ ตัวอย่างเด็กๆ ที่เปลี่ยนแปลงตัวเองจนประสบความสำเร็จจากความช่วยเหลือของผู้ใหญ่ทำให้ซาบซึ้งมากจนน้ำตาซึมทีเดียว

พอล ทัฟ (Paul Tough) ผู้เขียน เป็นนักเขียนประจำนิตยสาร New York Time Magazine เขาเพิ่งมีลูกเล็กตอนเริ่มเขียนเรื่องนี้ ฉันเชื่อว่าลูกเป็นแรงบันดาลใจของเขาสำหรับหรับหนังสือคุณค่าสูงเล่มนี้

องค์ความรู้มีมากมายในโลกนี้ ยิ่งอ่านมากทำให้รู้สึกว่ายิ่งรู้น้อย และไม่รู้เลย ความน่าตื่นเต้นคือการได้รู้สิ่งใหม่อย่างไม่สิ้นสุด การทำงานที่ใช้องค์ความรู้เป็นฐานจะช่วยให้มั่นใจในความสำเร็จ การพัฒนาเด็กๆ เป็นหัวใจสำคัญยิ่งกว่าการพัฒนาทั้งหลาย ทำอย่างไรแนวคิดเรื่องการพัฒนาแนวนี้จะขยายกว้างออกไป และถูกนำไปใช้จริง.

ศุกร์ ๒๖ มิถุนายน ๒๕๕๘

...........................................

บันทึกเพิ่มเติม

Paul Tough . (ดลพร รุจิรวงศ์ แปล). How Children Suceed (เลี้ยงให้รุ่ง). กรุงเทพ : สำนักพิมพ์ Open World ,๒๕๕๗

ศาสตราจารย์นพ.วิจารณ์ พานิช ได้กรุณาเขียนคำนิยม ทั้งแนะนำแหล่งความรู้มากมายให้ไปอ่านต่อ รวมทั้งบันทึกของท่านใน G2K

ฉันโชคดีมาก ที่ได้รับหนังสือดีเล่มนี้เป็นรางวัลในการเขียนบันทึกเรื่อง “วิธีสอนอ่านอย่างถูกต้องแก่เยาวชน” อยากเชิญชวนกัลยาณมิตร G2K หาหนังสือเล่มนี้มาอ่านกันค่ะ

ท่านใดอยากอ่าน และยังหาซื้อไม่ได้ บอกดิฉันนะคะ จะหาซื้อ ส่งไปให้ด้วยความเต็มใจค่ะ

...........................................

หมายเลขบันทึก: 591651เขียนเมื่อ 26 มิถุนายน 2015 08:00 น. ()แก้ไขเมื่อ 26 มิถุนายน 2015 08:00 น. ()สัญญาอนุญาต: ครีเอทีฟคอมมอนส์แบบ แสดงที่มา-ไม่ใช้เพื่อการค้า-ไม่ดัดแปลงจำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (13)

พ่อแม่ ครู และ ตัวเด็กเอง และต้องใช้องค์ความรู้ ... มิใช่ สามัญสำนึก ... ในการดูแลเด็กๆ ..... เป็นประโยชน์ที่ดีและเห็นภาพ ค่ะ

ขอบคุณค่ะ

ขอบคุณที่แนะนำหนังสือดีๆนี้ค่ะ

ขอบคุณนะคะพี่ Dr. Ple ที่แวะมาอ่านและช่วยสรุปความให้เห็นภาพ

ขอบคุณอาจารย์จันค่ะ จันทวรรณ พี่เข้าไปอ่านบันทึกของอาจารย์แล้วนะคะ

อาจารย์ลองเข้าไปที่นี่ดูนะคะ http://www.mindsetworks.com/

ถ้ามีเวลาจะลองเก็บความคิดจากหนังสือ How Children Succeed มาเล่าค่ะ

พี่ใหญ่ นงนาท สนธิสุวรรณ ลองหามาอ่านดูนะคะ คิดว่าน่าจะชอบ

ขอบคุณท่านที่แวะมาอ่าน และให้กำลังใจค่ะ

คุณ อักขณิช

อาจารย์ ดร.กัลยา GD

  • ตัวอย่างจากเด็กๆที่เคยสอนและพูดคุย รู้ได้ว่าบางคนฉลาดแน่ ไหวพริบปฏิภาณดี แต่ความตั้งใจ มุ่งมั่น รับผิดชอบ วินัย ขาดมาก ทำให้วิชาเรียนในห้อง มีผลที่ไม่ดี สุดท้ายชีวิตตกอับ ขนาดติดคุกติดตารางก็มี ครอบครัว สภาพแวดล้อมรอบตัวเขา สร้างเขาให้เป็นอย่างนั้น
  • ท้องในวัยเรียน มีครอบครัว ออกไปอยู่กินร่วมกัน สุดท้ายเลิกราด้วยวัย ด้วยความรับผิดชอบ..สร้างปัญหาให้กับลูกหลานตัวเองที่สร้างขึ้นมาต่อไปอีก ซึ่งคล้ายที่มาตัวเองนั่นเอง เหมือนเป็นวัฏจักร เหล่านี้ก็ล้วนจากครอบครัว รวมถึงสภาพแวดล้อมที่ปั้นแต่งเขา่ขึ้น
  • เคยนึกจากเรื่องเหล่านี้แหละครับ รวมถึงอีกหลายๆเรื่อง ขับรถย้อนศร ไม่เคารพกฎจราจร พูดจาหยาบคาย ทิ้งขยะไม่เลือกที่ วินัย....ฯลฯ ถ้าโรงเรียนช่วยปรับแนวคิด หรือการปฏิบัติต่างๆเหล่านี้ไม่ได้ หรือเด็กๆยังทำได้เท่าที่เขาอยู่ที่บ้านเท่านั้น โรงเรียนจะไปมีความหมายอะไรล่ะในกรณีนี้ เพลาๆป่าวประกาศโฆษณาคุณงามความดีของโรงเรียนกันบ้างเถอะ!
  • ได้ข้อสรุปชัดเจนขึ้นครับ " ใช้สามัญสำนึกไม่ได้ ต้องใช้องค์ความรู้ "
  • จะไปหาหนังสือมาอ่านบ้างครับพี่Nui ขอบคุณมากๆครับ

ขอบคุณ อ.ธนิตย์ค่ะที่มาเพิ่มเติมให้เห็นภาพปัญหาเยาวชนชัดขึ้น

Notebookพี่มีปัญหา เดี๋ยวพี่จะมาตอบอีกรอบ

ขอบคุณนะคะคุณ aingfar ทีแวะมาอ่านและให้กำลังใจ

อ.ธนิตย์คะ ลองไปที่บันทึกอ.วิจารณ์บันทึกนี้นะคะ

กระบวนทัศน์เชื่อพรแสวง

ต่อจากบันทึกพี่ได้เลย คิดว่าอาจารย์จะได้ประโยชน์แน่นอน

จากหลายๆ บันทึกของอ.ธนิตย์ พี่ชอบวิธีคิดของอาจารย์นะคะที่เชื่อมั่นในศักยภาพของนักเรียน และมุมมองต่อนักเรียนที่เราเรียกพวกเขาว่า "เด็กมีปัญหา" จริงๆ แล้วมีจุดเริ่มต้นจากปัญหาสภาพแวดล้อมในครอบครัว

ตอนอ่านหนังสือบทแรกๆ พี่ตั้งคำถามว่า ผลวิจัยออกมาว่าเด็กมีปัญหาจากการเลี้ยงดู งั้นสมาชิกต่อๆ ไปของครอบครัวเจ้าปัญหาก็ไม่มีวันหลุดออกไปจากปัญหาได้งั้นหรือ แต่หนังสือมีคำตอบค่ะ

พี่คิดว่า เป็นหน้าที่ของรัฐค่ะที่จะต้องตัดวงจรปัญหาให้ได้ ส่วนตัวพี่เชื่อว่าแรกสุดพ่อแม่ต้องมีความรู้ค่ะ แค่ความรักไม่พอในสังคมยุคใหม่ ครูที่รับไม้ต่อจากพ่อแม่ก็ต้องมีความรู้ค่ะ

แต่ความรู้จะไปถึงมือพ่อแม่ครูได้อย่างไร เป็นโจทย์ที่กระทรวงศึกษาธิการ และ กระทรวงพัฒนาสังคมต้องจริงใจและคิดหนัก ถ้าปลดล็อคนี้ได้เราก็ไปต่อได้ค่ะ

  • ตามเข้าไปอ่านแล้ว ผลวิจัยที่เผยแพร่โดยสพฐ. ตรงใจมากครับ..
  • ขอบคุณพี่Nuiครับ
พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท