ความรู้ในอาชีพ...ที่หลากหลายในเวทีที่ 2 เวทีชีวิตจริงของสังคมชุมชน.


การมีความคิดดีๆที่จะรวมกลุ่มผู้เลี้ยงด้วงเข้าด้วยกันเพื่อขอรับการส่งเสริมจากหน่วยงานฯการกำหนดวันเก็บให้พร้อมๆกันการรักษาระดับราคาขายส่งตัวด้วงการพัฒนาต่อยอดไปเป็นการผลิตเป็นอาหารสำเร็จรูปบรรจุกระป่องส่งขายในท้องตลาดต่อไป.

     ประสบการณ์การแลกเปลี่ยนเรียนรู้ ในเวทีที่ 2 ของผมนั้น. เป็นการได้รับเชิญ จากคุณพี่ ประเสร็ฐ ศรีเจริญ เจ้าหน้าที่ธนาคารเพื่อการเกษตรและสหกรณ์การเกษตร สาขาอำเภอเชียรใหญ่ ซึ่งพี่ประเสริฐฯ ท่านเคยมาช่วยผม...ทำเวทีของกลุ่มวิสาหกิจชุมชนเกษตรพัฒนาบ้านมะขามเรียง (ในช่วงแรกเริ่ม)  แล้วก็มีคุณพี่สมโชค ทองเทพ  เจ้าหน้าที่เกษตร ประจำตำบลบ้านเนิน อำเภอเชียรใหญ่ ร่วมวงเสวนาด้วย.    

     เวทีการแลกเปลี่ยนเรียนรู้ที่ 2 ของผมกับชุมชน บ้านเชียรใหญ่ ตำบลเชียรใหญ่ อำไภอเชียรใหญ่  ซึ่งอยู่ห่างไกลจากตัวจังหวัดไปประมาณ 40 กว่ากิโลเมตร บ้านเชียรใหญ่มีลักษณะพื้นที่ ที่เหมาะสมกับการทำเกษตรกรรมมาก ชาวบ้านส่วนใหญ่ จึงประกอบอาชีพการทำเกษตรกรรมทำนา ปลูกพืชผักและเลี้ยงสัตว์ นับเป็นอีกบริบทหนึ่งของสังคมชุมชนที่มีความแตกต่างไปจากเวทีที่ 1 เพราะว่า...เป็นพื้นที่ ที่มีความอุดมสมบูรณ์ในเรื่องของน้ำ  เกษตรกรมีน้ำใช้ในการเพาะปลูก สามารถปลูกข้าวนาปรังและปลูกพืชอื่นๆหมุนเวียนได้ตลอดทั้งปี  เป็นเวทีพื้นๆแบบบ้านๆชนบทจริงๆ นั่งคุยกันสบายๆได้ความรู้มากมาย...เช่น ?

     1. การเพาะปลูกพันธุ์ข้าว โครงการฯเพื่อใช้ขยายเมล็ดพันธุ์ข้าวแก่เกษตรกร ที่ต้องมีการใส่ใจ ดูแล บำรุงพันธุ์ และรับรองพันธุ์ข้าวจากกรมการข้าว ในข่ายของหน่วยงานเกษตรฯจังหวัดนครศรีธรรมราช ที่ทำให้เกษตรกรสามารถขายเมล็ดพันธุ์ข้าวกลับคืน ในราคาสูงถึงเกวียนละ หมื่นกว่าบาท.

     2. การเลี้ยงสัตว์. แต่ที่ผมให้ความสนใจเป็นกรณีพิเศษคือ การเลี้ยงด้วงในท่อนลานหรือท่อนสาคู เลี้ยงกันในบริเวณบ้าน จนกลายเป็นอาชีพเสริมและเลี้ยงกันหลายครัวเรือน สร้างรายได้พอสมควร แต่ยังไม่ใด้รวมกลุ่มเป็นสมาชิกกัน โดยมีพี่ไข่ โสภณ บัวทอง  สารวัตรกำนัน ตำบลเชียรใหญ่ เกษตรกรผู้เลี้ยงด้วงเป็นผู้เล่ารายละเอียด และเทคนิคในการเลี้ยงด้วงให้ผมและทีมงานที่ร่วมไป...ฟัง เป็นการเลี้ยงโดยอาศัยธรรมชาติล้วนๆ ตั้งแต่เริ่มต้น  การหาต้นลาน ที่มีอยู่มากมายในพื้นที่ แล้วนำมาตัดเป็นท่อนๆสูงประมาณ  45 เซนติเมตร  นำมาตั้งเรียงรายไว้ในบริเวณบ้าน ใช้เปลือกไม้ส่วนที่ใช้แล้วปิดด้านบน ต่อมาตัวแก่ของด้วง(แม่พันธุ์)ที่มีอยู่ตามธรรมชาติ เข้ามาวางใข่และเวลาต่อมา...ก็เจริญเติบโตกลายเป็นตัวด้วง ชาวบ้านจะรู้ถึงเวลาที่เก็บตัวด้วงแล้วนำไปขาย ก่อนที่จะกลายเป็นดักแด้และเจริญเติบโตเป็นแม่พันธุ์ต่อไป.

     ราคาขายตัวด้วงกิโลกรัมละ 250 บาท และผู้ที่มารับสินค้าไปจะสั่งซื้อครั้งละ 400-500 กิโลกรัม ทำให้ชาวบ้านหันมาสนใจเลี้ยงด้วงเป็นอาชีพเสริมกันมาขึ้น.

     การมีความคิดดีๆที่จะรวมกลุ่มสมาชิกผู้เลี้ยงด้วง เข้าด้วยกัน โดยมีผมร่วมวงเสวนาเรื่องของการก่อตั้งกลุ่ม การบริหารจัดการกลุ่มเริ่มตั้งแต่การคิด การพูด การทำ(ปฏิบัติ) การบันทึกขุมความรู้ที่ได้จากจากการปฏิบัติ-ทดลอง บนพื้นฐานของความเป็นจริงและเป็นไปในวิถีสังคมชุมชน การรับการส่งเสริมจากหน่วยงานฯ การกำหนดวันเก็บให้พร้อมๆกัน การรักษาระดับราคาขายส่งตัวด้วง การพัฒนาต่อยอด ไปเป็นการผลิตเป็นอาหารสำเร็จรูปบรรจุกระป๋อง ส่งขายในท้องตลาดต่อไป  การนำเศษวัสดุที่เหลือจากการเลี้ยงด้วงไปทำปุ๋ยหมัก การนำลำต้นลานที่ใช้แล้วไปเป็นกระถางปลูกต้นไม้และแต่งสวน วันนั้นพี่ไข่ ให้ศรีภรรยา...เป็นกุ๊ก โชว์ฝีมือปรุงอาหารจากตัวด้วง ให้พวกผมใด้ชิมใด้รับประทานกันครับ ต้องขอชมว่า...สุดยอดแห่งความอร่อยครับ  พี่ไข่กระซิบบอกผมว่า...มันมีเทคนิคหรือสูตรในการปรุงที่ไม่เหมือนภัตตาคารครับ หากสนใจเทคนิคการเลี้ยงด้วงหรือวิธีปรุงสูตรเด็ด ติดต่อพี่ไข่ใด้ครับที่ (โทรศัพย์ 081-728-2696 โสภณ บัวทอง).    

     ปัญหาในการเลี้ยงด้วง ก็มีเหมือนกันครับ อย่างเช่น...ความเข้าใจของเกษตรกรอื่นที่ปลูกมะพร้าว กลัวว่า...หากเก็บตัวด้วงไม่หมดในตอนเก็บส่งขาย แล้วมันกลายเป็นตัวแก่บินขึ้นไปกัดกินอยู่ ในยอดมะพร้าวทำความเสียหาย จนต้นมะพร้าวตาย...

หมายเลขบันทึก: 59187เขียนเมื่อ 13 พฤศจิกายน 2006 13:01 น. ()แก้ไขเมื่อ 14 พฤษภาคม 2012 13:46 น. ()สัญญาอนุญาต: จำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (0)

ไม่มีความเห็น

พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท