"เวลานี้ยังไม่เห็นแสงสว่างที่ปลายอุโมงค์"



ดร.ประสาร ไตรรัตน์วรกุล อดีตผู้ว่าการธนาคารแห่งประเทศไทย แสดงความห่วงใยในอนาคตของประเทศไทยว่า "เวลานี้ยังไม่เห็นแสงสว่างที่ปลายอุโมงค์" ในรายการสัมภาษณ์พิเศษโดย" สุทธิชัย หยุ่น" ที่ปรึกษากองบรรณาธิการเครือเนชั่น ออกอากาศทางสถานีโทรทัศน์เนชั่นทีวีช่อง ๒๒ ถึงบทบาทหน้าที่ในตำแหน่งผู้ว่าการ ธปท.ในช่วง ๕ ปีที่ผ่านมา และประเด็นความเห็นถึง ดร.วิรไท สันติประภพ ผู้มารับตำแหน่งผู้ว่าการธนาคารแห่งประเทศไทยคนใหม่ต่อจากเขา

๑. เป็นห่วงอะไรมากที่สุด

๑.๑.เรื่องแรก คงเป็นเรื่องการเมือง จากประสบการณ์ที่ทำงานในตำแหน่งนี้มา ๕ ปี ค่อนข้างเป็นห่วงเรื่องนี้ เพราะดูประเด็นนี้สะท้อนถึงความไม่ต่อเนื่อง และระหว่างที่ทำงานก็ยังมีเรื่องเล็กๆ น้อยๆ เหมือนจะเป็น "ตุ้มถ่วง" ของประเทศ โดยผมเป็นผู้ว่าการ ธปท.มา ๕ ปี ทำงานมาแล้ว ๓ รัฐบาล กับอีก ๕ รัฐมนตรีคลัง ผ่านเข้ามาโดยตลอด ที่ซ้ำร้ายกว่านั้น คือ บรรยากาศโดยรวมของประเทศ เกิดความไม่เชื่อถือนักการเมือง ซึ่งผมอยู่ในองค์กร หรือการจะตั้งองค์กรใหม่ เช่น การปฏิรูปรัฐวิสาหกิจ หรืออย่างเพื่อนฝูงที่มีส่วนในการปฏิรูปรัฐธรรมนูญ กลายเป็นว่า ทุกคนพยายามที่จะทำยังไงก็ได้ไม่ให้การเมืองเข้ามาแทรกแซง ลองนึกภาพใหม่ว่า หากจุดเริ่มต้นของการเมืองดี มีความเรียบง่าย ทุกอย่างก็จะเดินหน้าได้เร็ว แต่ เวลานี้ยังไม่เห็นแสงสว่างที่ปลายอุโมงค์

อย่างเพื่อนฝูงที่มีส่วนร่างรัฐธรรมนูญ เราก็เชิญเขามาเล่าสูตรการร่าง ก็เห็นว่า เป้าหมายเขาต้องการให้การเมืองอ่อนแอ และอยากให้เกิดการปรองดองก่อน วันข้างหน้าเมื่อปรองดองเสร็จ ค่อยทำให้การเมืองเข้มแข็ง มันก็จะกลายเป็นวงกลม ซึ่งน่าเสียดาย ยิ่งเวลานี้พอคว่ำร่างรัฐธรรมนูญไป เราไม่เห็นเลยว่า กติกาใหญ่อันนี้หน้าตาจะเป็นอย่างไร ถ้าเทียบกับทีมฟุตบอล เคยมีคำกล่าวว่า กองหลังคือแบงก์ชาติ กองกลางคือรัฐบาล และกองหน้าคือเอกชน เวลานี้กองกลางกำลังอ่อนแรงไม่ใช่แค่อ่อนแรง แต่กำลังบาดเจ็บ อย่างการทำรัฐประหารนี่ก็ถือว่าเป็นเพียงการประคับประคองชั่วคราว แต่โจทย์บ้านเมืองเวลานี้ถาโถมเข้ามาเยอะ และต้องใช้เวลาในการแก้ปัญหา

จุดเริ่มต้นจึงต้องสร้างความเชื่อมั่นก่อน ซึ่งจะพันไปอีกหลายเรื่อง ไม่เฉพาะแค่การบริหารราชการแผ่นดิน แต่หมายถึงการลงทุนด้วย เวลานี้เราขาดการลงทุน อาจเพราะคนจะลงทุนต้องคิดหนัก กว่าจะได้เงินคืนก็ ๕-๑๐ ปี ซึ่งคนจะลงทุนต้องติดต่อสัมพันธ์กับรัฐบาล ก็ไม่รู้ว่ารัฐบาลเป็นอย่างไร นโยบายรัฐเป็นอย่างไร ทำให้หลายเรื่องที่เอกชนคิด อาจไม่มีพลังในการขับเคลื่อนได้มากนัก

๑.๒.ที่ห่วงต่อมา คือศักยภาพเศรษฐกิจของเรา เวลานี้พวกกองหน้าซึ่งเป็นภาคเอกชนขาดการฝึกซ้อม ทำให้หลายอย่างของเราตกเทรนด์ ตอนนี้เราจึงเหมือนคนที่ปล่อยตัวอ้วนไม่ระมัดระวัง นักลงทุนต่างประเทศเดี๋ยวนี้เขามองว่า มาประเทศไทยทำไม ไปเวียดนามถูกกว่า ทั้งยังมีเรื่องเทคโนโลยี นวัตกรรมต่างๆ ด้วย อันนี้ยังโยงไปถึงเรื่องพื้นฐานอื่นๆ เช่น เรื่องคุณภาพการศึกษา กำลังแรงงาน ที่จะสามารถเข้ากับแนวโน้มใหม่

๑.๓.อีกเรื่องหนึ่งคือเรื่องการศึกษาตามที่ นายอานันท์ ปันยารชุน อดีตนายกรัฐมนตรี เคยกล่าวปาฐกถาไว้เมื่อเร็วๆนี้ว่า ถ้าเด็กที่กำลังจะเข้าอนุบาลในปี ๒๕๕๘ นี้ แล้วเขาต้องเรียนและทำงานจนไปเกษียณอายุในอีก ๕๐-๖๐ ปีข้างหน้า เราจะสอนให้เขาอยู่อย่างไรในอีก ๕๐-๖๐ ปีข้างหน้า ซึ่งคงจะมีอะไรเปลี่ยนแปลงมากมาย แล้วเราจะสอนในสิ่งที่เราเรียนมาในอดีตหรือที่เรียนในตำรา คือ ท่านพยายามจะบอกว่า เราควรให้ศักยภาพเด็กได้ปรับตัวและได้เรียนรู้ในสิ่งแวดล้อมใหม่ ซึ่งเราเองก็ยังไม่รู้ด้วยว่าจะเป็นอย่างไร ดังนั้นจึงต้องให้โอกาสเขาได้เรียนรู้และปรับตัวกับบริบทใหม่ที่กำลังจะเกิดขึ้น

๑.๔.ถ้าพูดถึงระยะสั้น ความจริงพื้นฐานเศรษฐกิจไทยถือว่ายังใช้ได้ แต่ที่ห่วงคือ เวลานี้มักมีคนเปรียบเทียบเศรษฐกิจไทยช่วงนี้กับปี ๒๕๔๐ ซึ่งคราวนั้น เราเปรียบเหมือนคนที่ถูกน้ำร้อนสาด ทำให้สะดุ้งและก็เริ่มมีการแก้ไขปัญหา จนสามารถลุกขึ้นได้ภายใน ๕ ปี หลังจากนั้นก็ดีต่อเนื่องมา ๑๐ ปี แต่ยามนี้ค่อนข้างน่าห่วง ตรงที่อุณหภูมิน้ำค่อยๆ เพิ่มขึ้น เราจึงไม่รู้สึกตัวเท่าไร ถ้าเป็นแบบนี้จะยากกว่าตอนปี ๒๕๔๐ เพราะทำให้ไม่เกิดการปรับตัว แม้ว่าเราจะพยายามบอกอะไรไปก็จะถูกมองว่าเป็นการตีโพยตีพาย การชักชวนให้เกิดการปรับเปลี่ยนค่อนข้างยาก ที่ผ่านมาเราพยายามส่งสัญญาณ แต่ก็ยังไม่ทำให้คนรู้สึกกระตุกขึ้นมาได้ ยกตัวอย่างเช่น ประชากรของเรา กำลังเข้าสู่ยุคผู้สูงวัย คือ มีคนที่อายุเกิน ๖๐ ปี ในสัดส่วนถึง ๑ ใน ๓ ซึ่งหมายถึงการออมหลังเกษียณ สวัสดิการรักษาพยาบาล ถึงจุดหนึ่งจะเป็นภาระใหญ่ของภาคการคลัง เราควรต้องเตรียมความพร้อมแต่เนิ่นๆ

๒. ผู้ว่าการคนใหม่มารับตำแหน่ง ๑ ตุลาคมนี้ สิ่งที่ดร.ประสาร รับมาเมื่อ ๕ ปีก่อน กับสิ่งที่จะส่งไม้ต่อมีอะไรต่างกันหรือไม่?

๒.๑.เบื้องต้นคิดว่า ดร.วิรไทน่าจะมีการเตรียมตัวดีกว่าผม เพราะก่อนที่ดร.วิรไทจะเข้ารับตำแหน่งนี้ ท่านก็อยู่ในกรรมการของธปท. รวมทั้งเป็นกรรมการในคณะกรรมการนโยบายการเงิน (กนง.) อีกทั้งช่วง 2 เดือนครึ่ง หลังโปรดเกล้าฯ ท่านก็เริ่มเข้ามาดูงาน และมีส่วนในการสรรหาแต่งตั้งผู้บริหารระดับสูงของ ธปท. เรียกว่ามีการเตรียมตัวอยู่บ้าง แตกต่างจากผม ซึ่งไม่ได้คาดคิดว่าจะมาเป็นผู้ว่าการธปท.ระดับการเตรียมตัวจึงน้อยกว่า ส่วนโจทย์การแก้ปัญหา แตกต่างกันบ้าง สมัยผมเป็นช่วงที่เศรษฐกิจตะวันตกโดยเฉพาะ ประเทศใหญ่ๆ ไม่ค่อยดี แต่เศรษฐกิจในภูมิภาคค่อนข้างดี จึงมีเงินไหลเข้ามาก ปีเดียวเงินบาทแข็งขึ้น 3-4 บาทต่อดอลลาร์ แต่การส่งออกก็ยังโตได้ 29% ซึ่งเป็นเพราะภูมิภาคดี จีนคึกคัก แต่ตอนนี้จีนกำลังแสดงอาการสลบ การส่งออกของเราจึงติดลบ การเติบโตของเศรษฐกิจก็ลดลงตามด้วย

๒.๒.แนะนำผู้ว่าการธปท.คนใหม่อย่างไร...

ท่านเป็นคนเก่งอยู่แล้ว แต่หากจะแนะนำ

* เรื่องแรกคือ โดยรวมที่ผ่านมาเราดำรงความเป็นสถาบันที่คงไว้ซึ่งความน่าเชื่อถือได้ เพราะเรามีกรอบนโยบายการเงินที่ยืดหยุ่น เปรียบเหมือนนักมวยที่มีฟุตเวิร์ก ไม่ได้ยืนขาตาย รวมทั้งเป็นกรอบนโยบายที่มีธรรมาภิบาล เป็นเครื่องมือที่มีความโปร่งใส การมีเครื่องมือไว้หลายอย่างก็เป็นเรื่องดี และต้องพยายามไม่ให้ถูกต้อนเข้ามุม อันนี้ถือเป็นเรื่องใหญ่และสำคัญ

* เรื่องที่สองคือ การสื่อสารกับสาธารณชน ไม่ว่าจะเป็นประชาชนหรือตลาดเงิน อาจหมายถึง นักวิชาการ สื่อมวลชน รวมถึงรัฐบาลด้วย พวกนี้เป็นเรื่องที่ไม่ควรละเลย เพราะช่วยสร้างความเข้าใจ และงานบางครั้งต้องขอความช่วยเหลือ โดยเฉพาะในยามที่มีความเห็นแตกต่างกัน

* เรื่องที่สาม เป็นเรื่องคน ต้องดึงความสามารถของคน ดึงความรู้เขาออกมาให้ได้ อันนี้ถือเป็นหัวใจสำคัญ

๒.๓.มีสิ่งไหนบ้างมั้ยที่อยากบอกผู้ว่าคนใหม่ว่าอย่าทำในสิ่งที่เป็นแบบ "ประสาร" ..แต่ควรทำในสิ่งที่เป็นแบบ "วิรไท"

* มีโจทย์หนึ่งที่ผมยอมรับว่ายังทำได้ไม่ดีนัก คือ การมีบทบาทที่แอ็กทีฟในวงการนานาชาติ ระยะหลังเราพยายามทำเรื่องนี้ การ มีบทบาทที่แอ็กทีฟในวงการนานาชาติ ระยะหลังเราพยายามทำเรื่องนี้ แต่ต้องอาศัยการลงทุนในเรื่องของเวลาพอสมควร โจทย์อีกอันที่ผมยังทำได้ไม่ดีนักคือ การส่งเสริมบูรณาการคนเก่ง คนมีความสามารถ ให้เขาเติบโตได้ตามชีพจร และสุดท้าย คือ เรื่องการบริหารเวลา

๒.๔.สิ่งที่มองว่าท้าทายผู้ว่าการคนใหม่คืออะไร

* แน่นอนมีหลายมิติ บางมิติเราพูดไปบ้างแล้ว หนึ่งในนั้น คือ บริบททางเศรษฐกิจทั้งในและต่างประเทศ ของในประเทศเราถูกสำทับเรื่องการเมือง ในเชิงของความต่อเนื่อง ทำให้การทำงานต้องคิดหนัก

* ส่วนมิติเรื่องอายุ สักพักท่านคงเอาชนะได้ เพราะด้วยอายุ ๔๐ กว่าๆ ก็เป็นถึงนายกรัฐมนตรีกันแล้ว และนายกรัฐมนตรีของกรีซก็อายุเพียงแค่ ๔๐ ต้นๆ เท่านั้น

* ส่วนมิติต่างประเทศ คงเป็นเรื่องเศรษฐกิจจีนที่มีความท้าทายอยู่มาก

๒.๕. วันที่ ๑ ตุลาคม จะมีการส่งมอบตำแหน่ง พอบอกได้หรือไม่ว่า ๕ ปีก่อนที่รับช่วงมาและกำลังจะส่งไม้ต่อให้ ถือว่าอยู่ในสภาพที่ครบถ้วนมีรอยตำหนิอะไรหรือไม่?

* อันนี้อาจต้องให้คนอื่นประเมิน แต่ถ้าความรู้สึกโดยทั่วไป คิดว่าไม่บาดเจ็บหรือยิ่งหย่อนไปกว่าเมื่อวันที่ ๑ ตุลาคม ๒๕๕๓ สังเกตจากที่ผ่านมาเราผ่านสถานการณ์ต่างๆ มาได้โดยไม่บาดเจ็บ ความจริงผมตั้งความหวังไว้ว่า กองหน้าจะยิงประตูได้สักลูก แต่ก็ยังยิงไม่ได้ จึงคิดว่าอย่างน้อยเวลานี้เราก็ไม่เสียประตู ที่ผ่านมาเราดำรงความเป็นสถาบันที่คงไว้ซึ่งความน่าเชื่อถือได้ เพราะเรามีกรอบนโยบายการเงินที่ยืดหยุ่น เปรียบเหมือนนักมวยที่มีฟุตเวิร์ก ไม่ได้ยืนขาตาย รวมทั้งเป็นกรอบ นโยบายที่มีธรรมาภิบาล เป็นเครื่องมือที่มีความโปร่งใส การมีเครื่องมือไว้หลายอย่างก็เป็นเรื่องดี และต้องพยายาม ไม่ให้ถูกต้อนเข้ามุม อันนี้ถือเป็นเรื่องใหญ่และสำคัญ ระดับการเตรียมตัวจึงน้อยกว่า

..............................................................................................................................................

ภาพจากธนาคารแห่งประเทศไทย

ที่มา : หนังสือพิมพ์คม ชัด ลึก



หมายเลขบันทึก: 595633เขียนเมื่อ 1 ตุลาคม 2015 15:17 น. ()แก้ไขเมื่อ 7 มิถุนายน 2016 15:32 น. ()สัญญาอนุญาต: ครีเอทีฟคอมมอนส์แบบ แสดงที่มา-ไม่ใช้เพื่อการค้า-ไม่ดัดแปลงจำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (7)

จริงด้วยครับ

ประเด็นการเมืองเราไม่นิ่ง

แต่สนใจเรื่อง 1.3 มากครับ

การศึกษาของเรามีผลต่อเยาวชนมาก

ขอบคุณพี่ใหญ่ที่บันทึกให้อ่านครับ

...ยุคสมัยเปลี่ยนไป...คนย่อมมีการปรับตัวให้อยู่ในสภาพแวดล้อมได้เป้นอย่างดี...ขอเพียงให้มีหลักคุณธรรม จริยธรรมอยู่ในจิตวิญญาณของความเป็นคนนะคะ ...

  • ตรงใจจังครับ ปัญหาบ้านเราอยู่ที นักการเมืองไม่น่าเชื่อถือ เป็นทุกระดับเลย ตั้งแต่เล็กๆในระดับท้องถิ่น ที่มีโอกาสเห็นอยู่เนืองๆ ไปจนถึงระดับชาติ ที่ได้ติดตามจากสื่อ..
  • ท่านอธิบายเข้าใจง่าย เห็นภาพชัด..ขอบคุณครับ

อย่างเพื่อนฝูงที่มีส่วนร่างรัฐธรรมนูญ เราก็เชิญเขามาเล่าสูตรการร่าง ก็เห็นว่า เป้าหมายเขาต้องการให้การเมืองอ่อนแอ และอยากให้เกิดการปรองดองก่อน วันข้างหน้าเมื่อปรองดองเสร็จ ค่อยทำให้การเมืองเข้มแข็ง มันก็จะกลายเป็นวงกลม .....น่าเศร้านะคะ

สิ่งที่น่าห่วงใยตลอดกาลของบ้านเราคือ คุณภาพนักการเมือง กับคุณภาพการศึกษา

คนระดับดร.ประสาร ไตรรัตน์วรกุล บอกว่า "ยังไม่เห็นแสงสว่างปลายอุโมงค์" นี่เราคนไทยต้องก่ายหน้าผากกันล่ะค่ะ

ปี 2560 เลือกตั้ง ไม่รู้จะได้นักการเมืองแบบไหนเข้ามาอีก

  • dejavu monmon
  • โอ๋-อโณ
  • ขจิต ฝอยทอง
  • nui
  • ธนิตย์ สุวรรณเจริญ
  • ท้องฟ้า
  • เพชรน้ำหนึ่ง
  • ยายธี
  • แสงแห่งความดี...
  • คนใต้โดยภรรยา
  • คุณมะเดื่อ
  • Pojana Yeamnaiyana Ed.D.
  • GD
  • ดารนี ชัยอิทธิพร
  • วินัย เจริญเฉลิมศักดิ์ (น.ม.)
  • สวัสดีค่ะ ขอบคุณมากสำหรับกำลังใจมอบแก่การส่งมอบหน้าที่และแนวคิดของอดึตผู้ว่าการแห่งธนาคารแห่งประเทศไทยนี้ค่ะ
  • น้องดร.ขจิต... เรื่องการปฎิรูปการศึกษาเป็นอีกหนึ่งหัวใจของการปรับเปลี่ยนและพัฒนาที่ต้อง มีการขับเคลื่อนอย่างเป็นรูปธรรม เพื่อความยั่งยืนของประเทศไทยอย่างแท้จริง
  • น้องคุณมะเดื่อ..
  • น้อง Dr.Pojana..ยินดีมากค่ะที่มาให้ความเห็นเพิ่มเติมในส่วนของคุณธรรมที่เป็นเรื่องสำคัญของจิตสำนึกของคนในชาติ
  • น้องครูธนิตย์...รู้ปัญหา ร่วมกันมุ่งแก้ไข และป้องกันในทุกมิตินะคะ
  • น้องGD...ขอบคุณที่เข้ามาสะท้อนความรู้สึกส่วนตัวค่ะ...
  • น้องnui...ขอบคุณมากค่ะที่มาร่วมเป็นห่วงอนาคตของบ้านเมืองด้วยกันที่นี่...ประเทศไทยยังโชคดีที่มีภาคส่วนที่เกี่ยวข้อง มองปัญหาหลายด้านร่วมกัน และช่วยกันคิด แสดงออก และขับเคลื่อนการพัฒนาประเทศตามทุนสังคมและบริบทของตนเอง มิได้หวังพึ่งรัฐบาลแต่ฝ่ายเดียวนะคะ
  • ..... อ่านต่อได้ที่: https://www.gotoknow.org/posts/595633
    พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
    ClassStart
    ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
    ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
    ClassStart Books
    โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท