KM ทันตแพทย์ เขตบริการสุขภาพที่ ๘ @ หนองคาย (๑)


ผลการประชุมแลกเปลี่ยนเรียนรู้ Oral health CUP manager

โครงการพัฒนาศักยภาพ CUP manager เพื่อพัฒนาระบบสุขภาพช่องปาก เขตสุขภาพที่ ๘

ณ ห้องประชุมโรงแรมพันล้านบูติค รีสอร์ต อำเภอเมือง จังหวัดหนองคาย

วันที่ ๑๕ – ๑๖ ตุลาคม ๒๕๕๘

…………………………..

ผู้เข้าประชุม

ทันตแพทย์ CUP manager (บริหารจัดการงานทั้งอำเภอ) หรือผู้แทนจาก ๗ จังหวัด ในเขตสุขภาพที่ ๘ ได้แก่ อุดรธานี หนองบัวลำภู หนองคาย บึงกาฬ สกลนคร นครพนม และเลย ทีมวิทยากรและคณะผู้จัดการประชุม รวม ๖๔ คน

ชี้แจงวิธีการประชุม

โดยนางสาวพวงทอง ผู้กฤตยาคามี นักวิชาการสาธารณสุขอิสระ อดีตหัวหน้ากลุ่มพัฒนาการคุ้มครองผู้บริโภคด้านทันตสุขภาพ สำนักทันตสาธารณสุข กรมอนามัย

กล่าวถึงวิธีการทำงานของเขต ๘ คือ คิดถึงงานและคน การประชุมวันนี้ จะใช้หลักการในการแลกเปลี่ยน “๓ ต้อง” คือ ต้องชัด ต้องต่าง ต้องลึก

ผ่านกิจกรรมต่าง ๆ วิทยากรกระบวนการจะค่อย ๆ ดึงความรู้จากภายในของผู้เข้าประชุมที่ประสบการณ์ต่างกัน

ใช้มือทำ (Hand) ใช้หัวคิด (head) และใช้หัวใจทำงาน (heart) ที่แตกต่างกัน

ผู้เข้าประชุมจะได้ความรู้ใหม่เกิดขึ้นในตัวเอง

ทีมวิทยากรกระบวนการและ note taker

๑. น.ส.พวงทอง ผู้กฤตยาคามี นักวิชาการสาธารณสุขอิสระ (พี่พวง)

๒. ทพญ.สุรัตน์ มงคลชัยอรัญญา สำนักทันตสาธารณสุข กรมอนามัย (พี่สุรัตน์)

๓. ทพญ.วรางคณา อินทโลหิต สำนักงานสาธารณสุขจังหวัดหนองบัวลำภู (พี่ฝน)

๔. ทพ.วัชรพงษ์ หอมวุฒิวงศ์ สำนักงานสาธารณสุขจังหวัดหนองคาย (พี่ล่า)

๕. ทพญ.ธิรัมภา ลุพรหมมา โรงพยาบาลสระใคร จังหวัดหนองคาย (ดอกอ้อ)

ผู้สังเกตการณ์และช่วย note taker ทพญ.ดร.ศรินทิพย์ ชาลีเครือ ศูนย์อนามัยที่ ๖ จังหวัดขอนแก่น (บี)

กระบวนการกลุ่ม (๑) วางใจสร้างสายสัมพันธ์

ทีมวิทยากรกระบวนการให้ผู้เข้าประชุมทบทวนความสุขของตนเองใน ๑ เดือนที่ผ่านมา

สื่อด้วยการวาดภาพหรือบันทึกไว้ในกระดาษก็ได้

จับคู่กับคนที่ไม่รู้จัก ต่างจังหวัด ต่างเพศ ต่างวัยเกิน ๕ ปีขึ้นไป

ผลัดกันเป็นผู้เล่าและผู้ฟัง ปล่อยให้เรื่องราวไหลเข้าไปในใจของเรา อย่าเพิ่งถามแทรกระหว่างที่เพื่อนกำลังเล่า

หมดช่วงเวลาของแต่ละคนจะมีเสียงระฆังแห่งสติดังขึ้น ให้ดึงสติกลับมาสู่ปัจจุบัน ให้เวลาซักถามเพิ่มเติมภายหลัง

จากนั้น จับ ๒ คู่ เป็น ๔ คนที่ส่วนใหญ่ไม่รู้จักกันมาก่อน

ให้ผู้ฟังช่วงจับคู่เป็นคนเล่าเรื่องของคู่เราให้กลุ่มใหม่ฟัง เพื่อเก็บประเด็นและแบ่งปันเรื่องราวความสุขสู่เพื่อน ๆ


กระบวนการกลุ่ม (๒) เรื่องเล่าเร้าพลัง

จับกลุ่มใหม่สามคนที่ไม่รู้จักกันมาก่อนใช้เนื้อหาจากคำถามชุดที่สองใน one page summary ที่แต่ละคนส่งล่วงหน้าแล้วทาง mail หรือใครที่ไม่ได้ส่งมา คิดเรื่องเล่าเรื่องใหม่ได้

  • บอกเล่าสิ่งที่ชอบ สิ่งที่ทำได้ดีในงานของเรา ในช่วงปีที่ผ่านมา
  • บอกเล่ากระบวนการ/วิธีทำในเรื่องนั้น ๆ ถ้ามีเวลาพอ

ตัวแทนกลุ่มนำเสนอเรื่องเล่าสิ่งที่ชอบในการทำงาน ๑ ปี

  • หมอนาย สสจ. ทำแผนยุทธศาสตร์และนโยบาย ต้องสอดคล้องกับบริบทพื้นที่ ทำให้งานลดลง ตามลำดับจากสสจ. CUP รพ.สต. / CUP อาจไม่ได้ดูว่า รพ.สต. ทำงานอย่างไร บางทีไม่มีรถ พยายามทำงานทันตะ / CUP ต้องปรับจากนโยบายจังหวัดไปให้ รพ.สต. (คน เงิน ของและใจคนทำงาน)
  • ส้ม งานชุมชน ศพด. ตรวจแต่ไม่เคยคืนข้อมูลให้ผู้ปกครอง (แบ่งแบบฟอร์มผลการตรวจให้ผู้ปกครอง พร้อมข่าวสารเรื่องฟันน้ำนม) คิดว่าจะทำยุวทูตฟันดี และจัดตลาดนัดวิชาการ
  • ปูน รร.เครือข่ายเด็กไทยฟันดี เคยประกวดได้ระดับดีมาก อยากได้ยอดเยี่ยม ทำเรื่องขนม (ไฟเขียวแดง)
  • มิ้นท์ โนนสัง นวัตกรรมสมุดฟันเทียม แก้ความเข้าใจเรื่องระยะเวลาและขั้นตอนในการทำฟันเทียมให้คนไข้ (ปรับมา ๔ step ลักษณะสมุดจากกระดาษแผ่น ขนาดตัวอักษร เพิ่มวิธีการดูแลฟันเทียมและใส่รูปประกอบแทนตัวหนังสือ)
  • น้ำตาล ไอซ์ แพร เป้าหมายลดฟันผุในประถม เริ่มใหม่ที่ ศพด. ไปให้ความรู้ผู้ปกครอง แลกเปลี่ยนเรียนรู้เรื่องเลิกขวดนมกลุ่มผู้ปกครอง สอนแปรงฟัน ฝึกแปรงให้เด็ก ทำข้อตกลงร่วมกันระหว่างผู้ปกครองและ ศพด. ออกกฎใน ศพด. เพิ่งได้รู้ว่าเทศบาลมีเงินให้ทำงานใน ศพด.ได้ / อบรม ประกวดเด็กใน ศพด.
  • อ้อย นากลาง ชอบทำซีลแลนท์ เด็กไม่เจ็บ นิ่ม วาริชภูมิ ทำ รร.เครือข่าย ครบ ๑๐๐% มี รร.เอกชนที่ยังไม่ทำเรื่องคุมขนม สกลนครเน้นเด็กประถม มีฟันผุไม่เกิน ๐.๕ ซี่ต่อคน จบ ป. ๖ มี ๐.๖๒ ซี่ ยังขาดอีก ๗,๐๐๐ ซี่ ยังไม่ได้อุด ปัญหาเครื่องมือเก่า
  • นครพนม อ.ศรีสงคราม ชอบอธิบายให้คนไข้ฟัง / สายไหม อากาศอำนวย งานออก รร. ทำเด็ก ป. ๑ / แก้ม ท่าบ่อ งาน รร. ผู้บริหารให้ความร่วมมือดี เจ้าหน้าที่ตั้งใจ รร.มีแผนการสอนทุกชั้นปี ทีมงานมีความสัมพันธ์มากขึ้น แต่ต้องกระตุ้น
  • รพ.สต. เป็นคนที่อยู่ใกล้ชิดประชาชน ให้บริการได้ก่อนที่คนไข้จะไปรพ./ รพช. งานใน รร. มีทีมงานที่ดี (ทันตา) เด็กฟันผุลดลง ได้รางวัล / รพศ. ดูแลคนไข้ ANC รับรีเฟอร์เคสที่มีปัญหา (โรคหัวใจ ความดันโลหิตสูง )
  • อบรม อสม. ตามรอบที่มีการอบรม ติดตาม อสม. ใช้การมีส่วนร่วมและบูรณาการตอบสนองสิ่งที่เราให้ได้เช่น ฟันเทียม บริการทันตกรรม
  • โจอี้ เพิ่มการเข้าถึงเรื่องฟันเทียมใน รพ.สต. ให้ รพ.สต.เตรียมช่องปากให้ / ต้อม บุ่งคล้า งาน ศพด. มีขนม น้ำอัดลม เดิมคิดว่าขาดความรู้ใช้การจัดอบรม เพิ่มหลักฐานเชิงประจักษ์ หาเด็กฟันผุมากกับไม่มีฟันผุ มาแลกเปลี่ยนเรียนรู้ คืนข้อมูลตำบลให้ อบต. คืนข้อมูลระดับศูนย์พัฒนาเด็กเล็กและปัจเจก ผู้ปกครองเริ่มปรับพฤติกรรม ศพด.ได้สถานที่แปรงฟัน ผ่านเกณฑ์ประเมินคุณภาพ
  • พังโคน การเข้าถึงบริการฟันเทียมในคนที่อยู่ห่างไกล สำรวจผู้สูงอายุ นัดมาทำที่ รพ.สต. ต่อยอดรากฟันเทียมต่อที่ รพ.พังโคน ตรวจฟันผู้ป่วยศูนย์โรคเอดส์ ดูแลพระสงฆ์ / ผาขาว จ.เลย ออกหน่วยทันตกรรมใน รพ.สต.ที่ไม่มีทันตาภิบาล แรก ๆ ทำเจ้าหน้าที่เพราะขาดการประชาสัมพันธ์ ทำให้ได้ทำฟันในผู้ป่วยที่ไม่เคยได้รับ / เมธ์ หนองวัวซอ ถูกร้องเรียนบริการ ทันตแพทย์ไม่ได้กินข้าวเที่ยง ส่งคนไข้กลับไปพื้นที่ที่มีทันตาภิบาลใน รพ.สต. การออกหน่วยบริการมีปัญหาเครื่องมือพังบ่อย ได้น้องทันตาภิบาลที่ได้มาใหม่ แบ่งความรับผิดชอบ และกำหนดวันออกบริการที่ รพ.สต.ให้ชัดเจน เช่น ทุกวันจันทร์ ติดตั้งยูนิตเก่าไว้ที่ รพ.สต. เพื่อลดปัญหาเครื่องมือพังบ่อย
  • ใหม่ สสจ. แก้ปัญหาทันตาภิบาลจบใหม่ทำงานได้น้อย ไปชี้แจงกับผู้บริหาร
  • จี๊ด รพศ.อุดรธานี ทำซีลแลนท์มาก่อนกระทรวง พบว่าฟันผุไม่ได้ลดลง เมื่อกระทรวงเป็นนโยบายดูภาพรวมของเด็กฟันผุไม่ลดลง / เด็กเล็กทาฟลูออไรด์วาร์นิช ให้ทาทุกสามเดือนและหกเดือน มีปัญหาเรื่องการประเมินผลยาก ตัวชี้วัดไม่ออก ปรับให้เด็กทาปีละครั้งในหนึ่งโดส ทาให้ครบ ตามดูในช่วงขวบครึ่ง / ทำซีลแลนท์ซี่หกแต่วัดผลที่อะไร ดูล้มเหลว / การสอนแปรงฟันขึ้นกับตัวบุคคล พัฒนาโมเดลการสอนแปรงฟัน เน้นเนื้อหา คือ แปรงสีฟันแบบไหน การใช้ผิดวิธีเกิดปัญหาอะไร องค์ประกอบการแปรงฟันมีครบไหม (แปรงถูกวิธี ครบทุกซี่ ทุกด้าน แอ็คชั่นที่ถูกต้อง นานสองนาที) ฝึกแปรงฟันใน รร. ต้องฝึกจริงไม่ใช่เรียนจากการแปรงโมเดล มีรูปแบบวิธีการสอนแปรงฟันให้ผู้ช่วยสอนแปรงฟันได้
  • นะ น้ำโสม สุขที่ได้ทำงานให้คนไข้ ทำงานส่งเสริมกับทีมงานดี
  • แจ็ค ทุ่งฝน มีทีมเวอร์คแข็งแรง เป็นคนพื้นที่ เจ้าหน้าที่ส่วนใหญ่อาวุโส รักองค์กร งานชุมชนใน ศพด. ออกชุมชนมากขึ้น


พี่ฝนสรุป Big picture and Best Practice

  • CUP หนองวัวซอ ลดความแออัดของประชาชน (ประมาณ ๒๐%) กระจายจัดบริการที่ รพ.สต.
  • งานแก้ปัญหาฟันผุในเด็กเล็ก เริ่มจาก WCC ทาฟลูออไรด์ครบโดส ศพด. การที่ภาคีมีส่วนร่วม นอกจากตรวจต้องมีข้อมูลและคืนข้อมูลให้ผู้ปกครอง ผดด. อปท. นำไปสู่ “สามประสาน” ของนาวัง มีกฎที่มาจากฉันทามติ
  • งาน รร. ไปฝึกเด็ก แลกเปลี่ยนเรียนรู้ เครือข่าย รร. ผู้บริหาร อาหาร ฝึกแปรงฟัน
  • งานคลินิก นวัตกรรมฟันเทียม / ส่งต่อ
  • การเพิ่มการเข้าถึงบริการที่ รพ.สต. ทั้งงานพื้นฐาน ฟันเทียม ผู้ให้บริการน้อยทำอย่างไร จัดระบบชัดเจนให้หมุนเวียนไปเดือนละ ๒ ครั้ง แต่สามารถทำให้ผ่านตัวชี้วัดได้

พักยกสักครู่ เดี๋ยวมาต่อกันในบันทึกที่ ๒ นะคะ

ขอบคุณนะคะที่ติดตาม สวัสดีค่ะ

^_,^



ความเห็น (4)

คุณหมอกำลังพูดอะไรเนี่ย อยากไปฟังใกล้ ๆ ;)...

น้าน !!!! ชิดติดขอบเวทีกันเลยทีเดียว อิ อิ ^_,^

ตามมาอาจารย์ was มาติดๆ

ไม่อยากฟัง

อยากไปช่วยจัดกิจกรรมเลย

ขอโอกาสหน้านะครับ

ทับถมอาจารย์ was เล็กน้อย 555

ชอบใจตรงพี่ฝนทำให้เห็นภาพใหญ่ทั้งหมดว่ามี best practice อะไรบ้าง

ขอบคุณมากๆครับ

แหม .... ไปทับถมทำไมละคะ คุณครูเงาเขาไม่มีเวลาหรอกค่ะ กำลังจัดอีกประชุมค่ะ

พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท