วิจัยในชั้นเรียนเรื่องการพัฒนาความรับผิดชอบของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 4 ที่สอบตกรายวิชาสังคมศึกษาโดยการทำงานจิตอาสาและส่งงานที่ค้างส่ง


วันนี้เอางานการวิจัยในชั้นเรียนเรื่อง "การพัฒนาความรับผิดชอบของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 4 ที่สอบตก ในรายวิชาสังคมศึกษา ส 31101 ปีการศึกษา2557 โดยการทำงานจิตอาสาและส่งงานที่ค้างส่ง" มานำเสนอเพื่อใช้แก้ปัญหาเด็กขาดความรับผิดชอบไม่ส่งงานที่มอบหมายให้ทำในชั้นเรียน ซึ่งวิธีนี้ได้ผลมีการบอกต่อๆกันทำให้ปีนี้เด็กตกน้อยเหลือเพียง 12 คน ประกอบกับคิดกิจกรรมใหม่ให้เด็กได้ปฏิบัติจริงยิ่งเป็นการดีขณะนี้ได้เก็บข้อมูลอยู่ระหว่างดำเนินการเสร็จเมื่อไรจะนำเสนอที่นี่คะ

งานวิจัยในชั้นเรียนเรื่อง การพัฒนาความรับผิดชอบของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 4 ที่สอบตก ในรายวิชา
สังคมศึกษา ส 31101 ปีการศึกษา2557 โดยการทำงานจิตอาสาและส่งงานที่ค้างส่ง

ความสำคัญและความเป็นมา

จากการจัดการเรียนรู้สำหรับนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 4 ในรายวิชาสังคมศึกษา ส 31101ปีการศึกษา 2557 ที่ผ่านมามีนักเรียนจำนวน 71 คน สอบตก ได้ระดับผลการเรียน 0 ซึ่งเมื่อวิเคราะห์สาเหตุเนื่องมาจากการขาดวินัยในตนเองไม่มีความรับผิดชอบ ไม่ยอมส่งงานหรือทำกิจกรรมตามที่กำหนดรวมทั้งมีนิสัยรักสบายเห็นแก่ตัว ขาดการเสียสละเพื่อส่วนรวม ไม่อดทนต่อความยากลำบาก อีกทั้งเคยชินกับการเรียนในชั้นมัธยมศึกษาตอนต้นคิดว่า “อย่างไรครูไม่ให้สอบตก” จึงจำเป็นต้องแก้อุปนิสัยของนักเรียนให้มีความรับผิดชอบ รู้จักอดทนต่อความยากลำบาก และรู้จักเสียสละเพื่อส่วนรวม ได้มีโอกาสพัฒนาตนเอง รู้จักการเสียสละ อดทน มีจิตอาสาและมีความรับผิดชอบมากยิ่งขึ้น

วัตถุประสงค์
เพื่อให้นักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 4 ที่สอบตกได้พัฒนาพฤติกรรมตนเองให้เป็นผู้มีความรับผิดชอบ รู้จักอดทนและ
เสียสละเพื่อส่วนรวม

ประชากรที่ใช้ในการวิจัยครั้งนี้ ได้แก่นักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 4 ที่สอบตก ในรายวิชาสังคมศึกษา
ส 31101 ปีการศึกษา2557จำนวน71 คน

ตัวแปรที่ศึกษา
ตัวแปรต้นแบบตารางการทำงานจิตอาสา และตารางส่งงาน ในรายวิชาสังคมศึกษา ส 31101
ตัวแปรตามพฤติกรรมความรับผิดชอบของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 4 ที่สอบตก ในรายวิชาสังคมศึกษา
ส 31101 ปีการศึกษา2557จำนวน71 คน

เครื่องมือที่ใช้ในการเก็บข้อมูล
1. แผนการจัดการเรียนรู้บูรณาการเสริมเรื่องความรับผิดชอบรายวิชาสังคมศึกษา ส 31101

2. ตารางการทำงานจิตอาสาในรายวิชาสังคมศึกษา ส 31101
3. ตารางส่งงานที่ยังค้างส่ง ในรายวิชาสังคมศึกษา ส 31101
4. ตารางการตรวจวัดประสิทธิภาพการทำงานจิตอาสาในรายวิชาสังคมศึกษา ส 31101
5. ตารางการตรวจวัดประสิทธิภาพการส่งงานที่ค้างส่งในรายวิชาสังคมศึกษา ส 31101

ขั้นตอนการสร้างเครื่องมือ
ผู้วิจัยดำเนินการสร้างเครื่องมือแต่ละประเภทดังนี้
1. การสร้างแผนการจัดการเรียนรู้บูรณาการเสริมเรื่องความรับผิดชอบรายวิชาสังคมศึกษา ส 31101
1.1 ศึกษาหลักสูตรและวิเคราะห์หลักสูตรเพื่อหาสาระการเรียนรู้ที่สอดคล้องเหมาะสมในการปลูกจิตสำนึก
เรื่องความรับผิดชอบที่เกี่ยวข้องกับรายวิชาสังคมศึกษา ส 31101

1.2 ศึกษาเอกสารงานวิจัยสารนิพนธ์ และงานวิจัยในชั้นเรียนที่เกี่ยวข้องกับการพัฒนาความรับผิดชอบ

1.3 เขียนแผนการจัดการเรียนรู้บูรณาการเสริมเรื่องความรับผิดชอบรายวิชาสังคมศึกษา ส 31101

2. ตารางสำหรับเก็บและบันทึกข้อมูล
2.1 สร้างตารางการทำงานจิตอาสาในรายวิชาสังคมศึกษา ส 31101ประกอบด้วยข้อมูลวันเดือนปีลำดับที่ชื่อ-นามสกุลชั้น งานจิตอาสาที่ปฏิบัติลงชื่อครูและหมายเหตุ

2.2 สร้างตารางการส่งงานที่ค้างส่งในรายวิชาสังคมศึกษา ส 31101ประกอบด้วยข้อมูลลำดับที่ ชื่อ-นามสกุล
งานที่ค้างส่งกำหนดวันส่งลงชื่อส่งงานและลงชื่อครู

2.3 สร้างตารางตรวจวัดประสิทธิภาพการทำงานจิตอาสาในรายวิชาสังคมศึกษา ส 31101 ประกอบด้วยข้อมูลลำดับที่ชื่อ-
นามสกุลชั้น ระดับการปฏิบัติงานจิตอาสาและหมายเหตุ

2.4 สร้างตารางตรวจคุณภาพงานที่ส่งรายวิชาสังคมศึกษา (ส31101) ประกอบด้วยข้อมูลลำดับที่
ชื่อ-นามสกุลชั้น งานที่ส่งระดับคุณภาพและหมายเหตุ

การรวบรวมข้อมูล
1. แจ้งนักเรียนที่ตกให้ทราบเกี่ยวกับการสำรวจสถานที่และเวลาการทำงานจิตอาสาด้านสิ่งแวดล้อมในโรงเรียนมีดังนี้
1) จัดกลุ่มจำนวน10 คน อาสาสมัครช่วยทำความสะอาดบ่อดักไขมันกำหนดทำวันเสาร์-วันอาทิตย์

2) จัดกลุ่มอาสาสมัครช่วยรดน้ำต้นไม้และถอนหญ้ากำหนดทำช่วงเย็นติดต่อกัน7วัน

3) จัดกลุ่มอาสาสมัครทำความสะอาดห้องน้ำโรงเรียนกำหนดทำช่วงเย็นติดต่อกัน7วัน

4) จัดกลุ่มอาสาสมัครเก็บขยะในบ่อน้ำและถางผักกระเฉดออกจากบ่อกำหนดทำวันเสาร์-วันอาทิตย์

5) จัดกลุ่มอาสาสมัครขนถังจุลินทรีย์จากห้องฝ 1 มาจัดเรียงให้เป็นระเบียบที่ศูนย์การเรียนรู้วิถีบรรพบุรุษไทยกำหนด
ทำวันเสาร์-วันอาทิตย์
6) จัดกลุ่มอาสาสมัครเก็บขยะล้างถังดักไขมัน กำหนดทำวันเสาร์-วันอาทิตย์

2. แจ้งให้ทราบถึงเกณฑ์การประเมินความรับผิดชอบในการปฏิบัติหน้าที่จิตอาสาดังนี้
5 หมายถึง มาปฏิบัติหน้าที่ครบตามที่กำหนดทุกครั้งและมีความตั้งใจเอาใจใส่ในงานที่ปฏิบัติมากที่สุด

4 หมายถึง มาปฏิบัติหน้าที่ครบตามที่กำหนดและมีความตั้งใจเอาใจใส่ในงานที่ปฏิบัติมาก

3 หมายถึงมาปฏิบัติหน้าที่ครบตามที่กำหนดไม่น้อยกว่าร้อยละ80 และมีความตั้งใจเอาใจใส่ในงานที่ปฏิบัติ
หน้าที่ปานกลาง
2 หมายถึงมาปฏิบัติหน้าที่ครบตามที่กำหนดไม่น้อยกว่าร้อยละ60 และมีความตั้งใจเอาใจใส่ในงาน
ที่ปฏิบัติหน้าที่น้อย
1 หมายถึงมาปฏิบัติหน้าที่ครบตามที่กำหนดไม่น้อยกว่าร้อยละ50 และมีความตั้งใจเอาใจใส่ในงานที่
ปฏิบัติหน้าที่น้อยที่สุด
และการส่งงานกำหนดเกณฑ์ดังนี้

4 หมายถึง ส่งงานไม่น้อยกว่า 3 ชิ้น
3 หมายถึง ส่งงานไม่น้อยกว่า2ชิ้น
2 หมายถึง ส่งงานไม่น้อยกว่า 1ชิ้น
1 หมายถึง ไม่ส่งงานเลย

สถิติที่ใช้ในการวิเคราะห์
ในการวิจัยครั้งนี้ผู้วิจัยได้ใช้สถิติประกอบด้วยค่าความถี่(Freqency)ค่าร้อยละ(Percentage)ค่าเฉลี่ย (arithmetic mean) และค่าเบี่ยงเบนมาตรฐาน (Standard Deviation)

ผลการวิเคราะห์ข้อมูล

  • การวิจัยครั้งนี้มีจุดมุ่งหมายเพื่อพัฒนาพฤติกรรมด้านความรับผิดชอบของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 4ที่สอบตก ในรายวิชาสังคมศึกษา ส 31101 ปีการศึกษา2557 โดยทำงานจิตอาสาและการส่งงานที่ค้างส่ง จำนวน71คน ดังนี้

ตาราง 1 แสดงผลการพัฒนาความรับผิดชอบของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 4 ที่สอบตก ในรายวิชาสังคมศึกษา ส 31101 ปีการศึกษา2557 จำนวน71คน ว่ามีระดับการปฏิบัติงานจากการทำงานจิตอาสา

ผลการพัฒนาความรับผิดชอบ

(ระดับการปฏิบัติงานจากทำงานจิตอาสา)

จำนวนนักเรียน
ชั้นม. 4

คิดเป็นร้อยละ

อภิปรายผลจากตาราง

ระดับปฏิบัติมากที่สุด

25

35.21

การฝึกนักเรียนให้มีความรับผิดชอบโดยใช้การทำงานจิตอาสามากขึ้นก่อนการซ่อมส่งผลให้นักเรียนรู้จักคิดเปรียบเทียบการให้รับผิดชอบในการเรียนในชั้นเรียนว่าเป็นงานต้องใช้พลังและต้องอดทนทำงานที่กำลังมีความยากลำบากกว่าการทำหน้าที่ในห้องเรียนทำงานตามที่กำหนดซึ่งไม่ต้องลำบากกายกว่าทำให้นักเรียนยอมรับความผิดพลาดในอดีตที่ขาดการเอาใจใส่ในการเรียนและทุกคนมีเป้าหมายการซ่อมมากขึ้นมุ่งต้องการสอบผ่านจึงตั้งใจเคารพปฏิบัติตามกติกาส่งผลให้นักเรียนผ่านร้อยละ 100

ระดับปฏิบัติมาก

30

42.25

ระดับปฏิบัติปานกลาง

14

19.72

ระดับปฏิบัติน้อย

0

0.00

ระดับน้อยที่สุด

2

2.82

สรุปการทำงานจิตอาสาส่งผลให้นักเรียนมีความรับผิดชอบอยู่ในระดับมาก

คิดเป็นค่าเฉลี่ย (Mean) 4.13

ค่าเบี่ยงเบนมาตรฐาน (S.D.)0.75

ค่าแปรปรวน (Variance)0.60

ค่าเฉลี่ยของประชากร 0.75

(Population mean)

ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐานของ0.56
ประชากร (Zigma)

ตาราง 2 แสดงผลการพัฒนาความรับผิดชอบของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 4 ที่สอบตก ในรายวิชาสังคมศึกษา ส 31101 ปีการศึกษา2557 จำนวน71คน ว่ามีระดับคุณภาพจากการส่งงาน

ผลการพัฒนาความรับผิดชอบ

(ระดับคุณภาพจากการส่งงาน)

จำนวนนักเรียน
ชั้นม. 4

คิดเป็นร้อยละ

อภิปรายผลจากตาราง

ระดับคุณภาพงานมีมากที่สุด

18

25.35

นักเรียนส่งงานครบตามเงื่อนไขที่กำหนดคุณภาพงานส่วนใหญ่อยู่ในระดับ
ปานกลางคิดเป็นร้อยละ 43.66 แต่ถ้าคิดค่าเฉลี่ยในภาพรวมการส่งงานที่ค้างอยู่ในระดับมากและจากการซ่อมเสริมเรื่องความรับผิดชอบนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 4พบว่านักเรียนได้เรียนรู้เรื่องความรับผิดชอบโดยตรงจากการกระทำส่งผลให้มีเวลาคิดไตร่ตรองพฤติกรรมการขาดความรับผิดชอบของตนเองและทำให้เข้าใจการเรียนในชั้นมัธยมศึกษาตอนปลายมากขึ้น

และส่วนใหญ่รับปากกับผู้วิจัยจะไม่ทำพฤติกรรมเกียจคร้านขาดความรับผิดชอบอีกและวิธีการนี้สามารถแก้ไขพฤติกรรมการขาดความรับผิดชอบได้ดีแต่ต้องการใช้เวลามากในการฝึกฝนและซึมซับให้ผู้เรียนเกิดความรับผิดชอบซึ่งถ้าโรงเรียนขยายเวลาการส่งแก้ตัวให้มากขึ้นเพื่อนักเรียนได้มีโอกาสปฏิบัติซ้ำๆจนเป็นนิสัยยิ่งช่วยฝึกความรับผิดชอบเห็นภาพชัดยิ่งขึ้น

ระดับคุณภาพงานมีมาก

20

28.17

ระดับคุณภาพงานมีปานกลาง

31

43.66

ระดับคุณภาพงานมีน้อย

0

0.00

ระดับคุณภาพงานมีน้อยที่สุด

2

2.82

สรุปการส่งงานที่ค้างส่งพบว่า
1. มีการพัฒนาความรับผิดชอบในการ

ส่งงานของผู้เรียนมีความรับผิดชอบอยู่

ในระดับมาก

2. คุณภาพงานที่ส่งส่วนใหญ่อยู่ในระดับ
ปานกลาง

คิดเป็นค่าเฉลี่ย (Mean)3.79

ค่าเบี่ยงเบนมาตรฐาน (S.D.)0.83

ค่าแปรปรวน (Variance)0.68

ค่าเฉลี่ยของประชากร 0.82

(Population mean)

ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐานของ0.67
ประชากร (Zigma)

ตาราง3แสดงจำนวนร้อยละของผลการพัฒนาความรับผิดชอบของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 4 ที่สอบตก ในรายวิชาสังคมศึกษา ส 31101 ปีการศึกษา2557 โดยทำงานจิตอาสาและส่งงานที่ค้างส่ง จำนวน71คน

ผลการพัฒนาความรับผิดชอบ(ทำงานจิตอาสาและส่งงานที่ค้าง)

จำนวนนักเรียนชั้นม. 4

ร้อยละ

ผ่านเกณฑ์ที่กำหนด

69

97.18

ไม่ผ่านเกณฑ์ที่กำหนด

2

2.81

จากตารางที่ 3พบว่านักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 4ปีการศึกษา2557มีการพัฒนาความรับผิดชอบในการทำงานจิตอาสาและส่งงานที่ค้างส่งรายวิชาสังคมศึกษาส 31101 ตามเกณฑ์ที่กำหนดจำนวน 71คนคิดเป็นร้อยละ97.18และไม่ผ่านเกณฑ์ที่กำหนดจำนวน2คนคิดเป็นร้อยละ 2.81

สรุปผลการศึกษา
ผลการพัฒนาความรับผิดชอบของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่4ที่สอบตกโดยทำงานจิตอาสาและส่งงานที่ค้างส่งพบว่า การซ่อมรายวิชาสังคมศึกษาโดยวิธีการทำงานจิตอาสาและส่งงานที่ค้างสามารถฝึกพัฒนานักเรียนให้มีความรับผิดชอบเพิ่มขึ้น นักเรียนมีความสนใจในการเรียนในห้องเรียนดีขึ้น เข้าใจเหตุผลของการซ่อมที่ให้เห็นสิ่งที่เกิดขึ้นจริงซึ่งเป็นสถานการณ์จำลองในชีวิตที่นักเรียนต้องพบถ้าขาดความสนใจตั้งใจเรียนหรือเกียจคร้านในการทำงานที่อยู่สั่ง แม้ให้ทำในห้องบางคนไม่ยอมทำไม่สนใจกติกากฎระเบียบของสังคมแต่ยึดอารมณ์ของตนเป็นที่ตั้ง แต่เมื่อให้ดำเนินการตามสถานการณ์จริงที่กำหนด วางกติกาเงื่อนไขให้ปฏิบัติทำให้นักเรียนรู้จักการเปรียบเทียบความยากลำบากของการทำงานในภาคสนามมากขึ้น ส่งผลให้เกิดผลดีในการเรียนในภาคเรียนที่สองนักเรียนมีพฤติกรรมเปลี่ยนแปลงจากนักเรียนเกียจคร้าน เป็นคนขยันหมั่นเพียรมีความตั้งใจส่งงานในห้องเรียนทันทีหลังจบการเรียนจำนวนเพิ่มขึ้นซึ่่งเป็นปรากฎการณ์ใหม่ที่เกิดขึ้นในห้องเรียนทั้งนี้จากการสัมภาษณ์นักเรียนพบว่า เริ่มมีเข้าใจผลของการขาดความรับผิดชอบจะเกิดอะไรขึ้นในอนาคตของตนเองและมองว่าถ้ายังมีพฤติกรรมไม่เปลี่ยนแปลงจะต้องพบกับความยากลำบากในการสอบแก้วิชานี้จากการปฏิบัติจริงเพราะบทเรียนการเรียนยังมีความต่อเนื่องในการฝึกนักเรียนเป็นพลเมืองดีของสังคมตามวิถีประชาธิปไตยที่จะต้องปกครองตนเองให้ได้ บังคับตนเองให้เป็นเพื่อควบคุมตนเองเป็นพลเมืองดีของสังคม นอกจากนั้นจากการวิจัยในชั้นเรียนยังพบว่า ทำให้นักเรียนมีผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนในรายวิชานี้บรรลุผลการเรียนที่มุ่งให้เด็กเป็นเยาวชนที่ดีของสังคม รู้จักช่วยเหลือโรงเรียน ได้ฝึกการทำงานร่วมกันเรียนรู้นิสัยระหว่างกัน มีน้ำใจต่อกันไม่เอารัดเอาเปรียบกันและทำให้นักเรียนสอบผ่านในรายวิชานี้เพิ่มขึ้นคิดเป็นร้อยละ 97.18 แม้จะยังมีนักเรียนไม่ผ่านคิดเป็นร้อยละ2.81 จากนักเรียนที่สอบตกในรายวิชาสังคมศึกษา2557จำนวนทั้งหมด71 คน
ปัญหาและข้อสังเกตที่พบในการทำวิจัย พบว่า
1.การสอบแก้ตัวนักเรียนมีเงื่อนเวลาจำกัดให้ระยะเวลาสั้นเกินไปและมีกิจกรรมกีฬาสีซ้อนทำให้การสอบแก้ตัวภาคปฏิบัติในเรื่องความรับผิดชอบทำได้ไม่ต่อเนื่องเพราะการฝึกความรับผิดชอบให้นักเรียนถ้าทำอย่างต่อเนื่องจะเป็นการซึมซับการเรียนรู้ที่ดีจนเกิดข้อคิดบทเรียนเห็นจุดอ่อนที่เป็นพฤติกรรมบกพร่องของตนเองและได้ใช้เวลาทบทวนความคิดพร้อมที่จะยอมรับแก้ไขพฤติกรรมการขาดความรับผิดชอบของตนเองให้มีความรับผิดชอบให้กลายเป็นนิสัย ซึ่งการดำเนินการในเรื่องนี้ต้องใช้เวลามากกว่านี้และไม่ควรมีกิจกรรมอื่นมาซ้อนกับกิจกรรมการสอบซ่อม

2.นักเรียนที่มาแก้ไขในรายวิชาสังคมศึกษามักสอบตกในรายวิชาอื่นด้วยในหลายวิชาต้องดำเนินการในเวลาเดียวกันและนักเรียนไม่รู้จักการจัดตารางเวลาการสอบแก้วิชาต่างๆซึ่งต้องให้คำแนะนำแก้ปัญหาที่เกิดขึ้นให้กับนักเรียน
3.ธรรมชาติในรายวิชาสังคมศึกษาเป็นวิชาซึ่งต้องฝึก ต้องแก้ไขพฤติกรรมของนักเรียนในด้านจริยธรรม ดังนั้นจึงจำเป็นต้องใช้เวลาซ่อมมากกว่าปกติในการอบรมขัดเกลานิสัยให้เด็กเรียนรู้จุดอ่อนที่เป็นข้อบกพร่องของตนและไม่ใช่เป็นเพียงการกำหนดสอบแก้ตัวภายในเวลา 1 ชั่วโมงแล้วสำเร็จได้ ซึ่งเรื่องนี้ทางวัดผลวิชาการ ควรปรับเปลี่ยนแนวคิดการสอบแก้ตัวใหม่ในรายวิชาสังคมศึกษาโดยควรมีความยืดหยุ่นเพื่อจะได้แก้ไขพฤติกรรมของผู้เรียนในเรื่องความรับผิดชอบเพราะเป็นเรื่องสำคัญ ถ้าได้รับการแก้ไขที่ถูกวิธีจะช่วยพัฒนานักเรียนกลุ่มนี้เกิดความรับผิดชอบในหน้าที่ของนักเรียนเพิ่มมากขึ้น ปัญหาการสอบตกเพราะการขาดความรับผิดชอบมีน้อยลง เราสามารถเพิ่มพูนความรู้เรื่องอื่นๆได้มากกว่าที่เป็นอยู่เพราะขณะนี้แทบสอนเรื่องอื่นๆไม่ได้เลยเนื่องมาจากนักเรียนขาดความรับผิดชอบ ดังนั้นถ้าโรงเรียนตระหนักเห็นความสำคัญในการแก้ไขเรื่องการขาดความรับผิดชอบควรมีการจัดสอนซ่อมเสริมแก้ไขอย่างเป็นระบบโดยเริ่มจากคัดกรองสาเหตุนักเรียนสอบตกเพราะอ่อนวิชาหรือขาดความรับผิดชอบเมื่อคัดกรองนักเรียนที่สอบตกเนื่องจากขาดความรับผิดชอบน่าจะมีการให้ครูทุกกลุ่มสาระการเรียนรู้มาประชุมแก้ปัญหาเรื่องขาดความรับผิดชอบที่มีหลายวิชาที่ตกจะมีมาตรการแก้ไขร่วมกันอย่างไร และดำเนินการตามที่ตกลง ถ้าได้ดำเนินการในลักษณะนี้ผู้วิจัยเชื่อว่า "คุณภาพการศึกษาไทย" น่าจะมีส่วนช่วยให้ดีขึ้นทำให้นักเรียนได้เป็นเยาวชนและพลเมืองดีของชาติมีคุณภาพไม่เป็นภาระของสังคมต่อไปในอนาคตอย่างแท้จริง



บรรณานุกรม

ประตินันท์ อุปรมัย.ครอบครัวและชุมชนกับนักเรียนวัยรุ่น.เอกสารการสอนชุดวิชาพฤติกรรมวัยรุ่นหน่วยที่ 1- 8,2547.
วิทยา ใจวิถี.เอกสารประกอบการวิจัยในชั้นเรียน (ฉบับย่อ). ศูนย์ส่งเสริมและพัฒนาอาชีวศึกษาภาคเหนือ,2556.
สัมฤทธิ์ กางเพ็ง. การใช้เกณฑ์แปลความหมายค่าเฉลี่ยแบบสอบถามมาตราส่วนประมาณค่า.(ออนไลน์).เข้าถึงโดย : http://www.bmamedia.in.th/index.php?option=com_content (วันที่สืบค้น : เมื่อวันที่ 15ตุลาคม2557)
















หมายเลขบันทึก: 596507เขียนเมื่อ 20 ตุลาคม 2015 02:32 น. ()แก้ไขเมื่อ 20 ตุลาคม 2015 02:51 น. ()สัญญาอนุญาต: ครีเอทีฟคอมมอนส์แบบ แสดงที่มา-ไม่ใช้เพื่อการค้า-ไม่ดัดแปลงจำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (0)

ไม่มีความเห็น

พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท